Tag Archives: คอมพิวเตอร์

อลัน ทัวริง (Alan Turing) บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้เขียนบทความเรื่อง มรดก อลัน ทัวริง ซึ่่งเมื่อไม่นานมานี้ มีหนังเรื่อง The Imitation Game ได้กล่าวถึง อลัน ทัวริง ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ อลัน ทัวริง มีผลงานเด่นๆ ได้แก่

  1. เครื่องจักรทัวริง (TuringMachine) มีรูปร่างคล้ายเครื่องอ่านเทปยาวๆและอ่าน หรือเขียนตัวอักษรที่อยู่บนเทปทีละตัวไปเรื่อยๆ  (ลองดูหน้าตาและเรื่องราวของเครื่องจักรทัวริง ได้ที่ http://aturingmachine.com/)
  2. การทดสอบของทัวริง (Turing Test) เป็นการทดสอบว่าคอมพิวเตอร์บีมีสติปัญญาชาญฉลาดใกล้เคียงมนุษย์หรือไม่

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/327527

รายการอ้างอิง

ธงชัย โรจน์กังสดาล. มรดอของทัวริง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/it/327527

Mobile Only Internet Access

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ Smartphone เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการยืนยันว่ามันจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และเริ่มจะเป็นครึ่งหนึ่งที่ใช้สำหรับบริโภคสื่อดิจิทัลของสหรัฐอเมริกา

มีข้อมูลล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่าโทรศัพท์มือถือ สามารถชิงตำแหน่งที่ยาวนานของ Desktop ในฐานะเป็นช่องทางหลักในการท่องอินเทอร์เน็ต จากสถิติด้านล่างจะเห็นว่าในเดือนมีนาคม 2015 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออย่างเดียวมีมากกว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน Desktop อย่างเดียว

Mobil only internet

แค่ปีที่แล้วนี่เอง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน Desktop อย่างเดียว มีเกือบสองเท่าคือ ร้อยละ 19.1 ในขณะที่ผู้ใช้มือถืออย่างเดียว มีแค่ร้อยละ 10.8

ตัวเลขเหล่านี้ยังบอกให้เราทราบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ยังคงใช้ทั้ง Desktop และ Smartphone เพียงแต่ Smartphone จะกลายเป็น หรือได้กลายเป็นช่องทางหลักไปแล้วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพราะความสะดวกสบายในการสื่อสารแบบ 24/7 และการมีข้อมูลทั้งหมดของโลกในกระเป๋าของเราทำให้มันได้เปรียบ ประกอบกับความก้าวหน้าในความเร็วข้อมูล 4G ที่มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลผล

อย่างไรก็ตาม Desktop ยังคงมีบทบาทสำคัญในระบบดิจิทัล และจะยังไม่หายไปจากชีวิตของเราในเร็ว ๆ นี้เพราะมันมีความสามารถรองรับงานที่ซับซ้อนและข้อมูลจำนวนมาก การที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออย่างเดียวมีมากขึ้นกว่าผู้ใช้ Desktop อย่างเดียวเป็นสัญญาณว่าสื่อดิจิทัลจะมีการพัฒนาไปทางที่เป็น “mobile first”

สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในระบบดิจิทัล สามารถดูได้จากรายงานเรื่อง 2015 U.S. Digital Future in Focus

ใครรับผิดชอบโครงการศึกษาพฤติกรรมการใช้ หรือการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุด นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็น Review Literature น่าจะดี

รายการอ้างอิง

Lella, A. (2015, April 28). Number of mobile-only internet users now exceeds desktop-only in the U.S. [Web blog message]. Retrieved from

http://www.comscore.com/Insights/Blog/Number-of-Mobile-Only-Internet-Users-Now-Exceeds-Desktop-Only-in-the-U.S

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผู้ต้องขังในทัณฑสถาน

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2540 เพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการให้ผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นผู้ที่ยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีได้ หากได้รับการอบรมความรู้ด้านศีลธรรม คุณธรรม ควบคู่ไปกับการอบรมให้ความรู้ด้านวิชาการ … หากผู้ต้องขังได้รับการอบรมความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้แล้ว เมื่อพ้นโทษจะสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้รับระหว่างต้องโทษ ไปประกอบอาชีพสุจริตเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป โดยโครงการฯ ได้จัดทำห้องเรียนคอมพิวเตอร์ในเรือนจำและสอนคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ต้องขัง การซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ การรับจ้างพิมพ์ การได้รับการอบรมเพื่อให้สามารถทำหนังสือเสียงมัลติมีเดีย หรือ หนังสือเดซี (DAISY – Digital Accessible Information System) เพื่อใช้สำหรับผู้ไม่สามารถอ่านตัวพิมพ์ได้ เช่น คนตาบอด โดยวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่น

รายการอ้างอิง

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. เกี่ยวกับไอทีเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 จาก http://www.princess-it.org/project/itprison/about.html

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  (ตอนที่ 32)

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

หลายๆ ท่าน คงได้ยินเรื่อง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  แต่ทราบหรือไม่ว่า แม้ว่าเราจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา และเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องรู้จักกับพระราชบัญญัติฉบับนี้

สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ คำว่าผู้ให้บริการ เพราะว่า ผู้ให้บริการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมาย ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น  และผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้  เพราะฉะนั้น ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้บริการจึงถูกเก็บไว้โดยผู้ให้บริการ ดังนั้น เวลาที่เราไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไหนก็ตาม ข้อมูลการใช้ ของเราจะถูกบันทึกเก็บไว้ในหลักฐาน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ในส่วนของผู้ใช้บริการเอง ควรอย่างยิ่งที่จะไม่เป็นผู้กระทำความผิดโดยเฉพาะในมาตรา 14 ถึง 16 ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  

กำจัดไฟล์ขยะให้สิ้นซากด้วย CCleaner

หลายครั้งที่มโนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ตนเองทำงานช้าบ้าง อืดบ้าง ห่วยแตก (โดยลืมนึกถึงตนเอง)

ในบทความนี้จึงจะนำเสนอโปรแกรมสำหรับกำจัดไฟล์ขยะในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านให้ดูเหมือนใหม่สะอาด รวดเร็วและคล่องตัว (แบบสุดๆ)

บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าในขณะที่ Windows ทำงานหรือกรณีที่ท่านได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ มาเก็บมากมายโดยที่ตัวท่านเองอาจไม่ทราบและอาจจะเป็นไฟล์เว็บเพจ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์สคริปต์ของเว็บเพจ และรวมถึงไฟล์ประเภทมัลแวร์ หรือ ไวรัส เข้ามาก็เป็นได้นอกจากจะทำให้พื้นที่บางส่วนเริ่มหายไปเพราะต้องใช้เก็บไฟล์ชั่วคราวเหล่านี้ค้างไว้ ซึ่งหากเป็นไฟล์ปกติ ธรรมดาก็ไม่เป็นไร แต่หากเป็นไฟล์จากการใช้อินเตอร์เน็ตก็จะมีทั้งไวรัส มัลแวร์ สคริปต์อันตรายแฝงเข้ามาด้วย ดังนั้นจึงควรลบออกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและการลบไฟล์เหล่านี้ ท่านสามารถทำได้ด้วยตนเองโดยการใช้โปรแกรม CCleaner เพราะสามารถลบไฟล์ต่างๆที่ได้กล่าวมาในขั้นต้น ในคอมพิวเตอร์ของท่าน

c2 Continue reading กำจัดไฟล์ขยะให้สิ้นซากด้วย CCleaner

วิวัฒนาการของ Windows 1 ถึง Windows 7

บางท่านอาจสงสัยว่า บริษัท Microsoft ออกระบบปฏิบัติที่เป็น Graphic mode มาแล้วกี่ Versions พอดีผมได้เห็นบทความหนึ่งทาง Pantip.com จึงอยากจะให้ทุกท่านได้ทราบ วิวัฒนาการความเป็นมาของระบบปฏิบัติการ Windows ว่ามีกี่รุ่นโดยเริ่มจาก

Evolution of Windows Operating System from windows 1.0 to windows 7

Windows เป็นระบบปฏิบัติการแบบ GUI ของ Microsoft ซึ่งแต่ก่อนนี้มี MS-DOS เป็นแบบ Command Line ซึ่ง Windows ก็ได้พัฒนามาเรื่อยๆ โดยเริ่มจาก Windows 1.0 ที่ยังเป็นแบบ 16-bit ทำงานบน DOS อยู่ จนทุกวันนี้ก็ได้ออก Windows 7 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดออกมา มาดูกันว่า Windows แต่ละรุ่นของ Microsoft นั้น มีพัฒนาการความเป็นมายังไงบ้าง

Windows 1.0

Windows 1.0 เป็น OS แบบ 16 bit ที่มี GUI ตัวแรกของ Microsoft โดยออกวางขายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985 วางขายในรูปแบบของ Floppy Disk โดยผู้ใช้ต้องลง DOS ก่อน แล้วถึงลง Windows 1.0 ตามอีกที สามารถรันโปรแกรมของ DOS แบบ Multitasking ได้โดยมีข้อจำกัดบางอย่าง ต้องการ Ram ขั้นต่ำ 384 KB (แนะนำ 512 KB) Windows 1.0 มี Shell ชื่อ MS-DOS Executive โปรแกรมที่มาพร้อมกับ OS ก็มีพวก Calculator, Calendar, Cardfile, Clipboard viewer, Clock, Control Panel, Notepad, Paint, Reversi, Terminal, และ Write

w1 Continue reading วิวัฒนาการของ Windows 1 ถึง Windows 7

ภัยหน้าจอ

ผู้เขียน (คุณชูมาน ถิระกิจ) ลองค้น “คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ” หรือ “computer and health” ได้ link มาเยอะมาก apple.com ก็มีบทความเกี่ยวกับ ergonomics ว่าจะต้องดูแลร่างกายอย่างไรจึงจะไม่เสี่ยงการบาดเจ็บจากการใช้คอมพิวเตอร์อย่างละเอียดพร้อมรูปประกอบชัดเจน (http://www.apple.com/about/ergonomics/) แสดงว่าปัญหาสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และสุขภาพที่มากับการใช้คอมพิวเตอร์มีนัยที่สำคัญต่อชีวิตประจำวัน และเราควรต้องใส่ใจกับมันแล้ว  (เขาถึงได้บอกว่าสุขภาพดีไม่มีขาย นอกจากตัวเราเองที่จะใส่ใจดูแลรักษา) 

ติดตามข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
ชูมาน ถิระกิจ. ภัยหน้าจอ. โดมทัศน์ 33,1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) : 59-72.