All posts by นางสาวสุมมนา วัสสระ

Business Database : BMIResearch

บรรณารักษ์บริการอาจคุ้นกับชื่อ  Business Monitor Online หรือ BMO แต่ไม่นานมานี้ฐานข้อมูล BMO เปลี่ยนชื่อเป็น BMIResearch มาดูกันว่าฐานข้อมูลนี้มีเนื้อหาอะไร ใช้งานยากไหม

Content

Daily News รายงานข่าวประจำวัน มุมมองและบทวิเคราะห์เชิงลึก โดยอ่านบน platform ของฐานหรือผ่าน email alerts ที่สมัครไว้ก็ได้ ครอบคลุมภาคการตลาด ภาคการผลิต ทั่วโลก

Reports & Statistic Content ข้อมูลในการตัดสินใจด้านการลงทุนและการวางแผนกลยุทธ์ และรายงานการศึกษาเฉพาะเรื่องของประเทศต่างๆ  ให้ข้อมูลคาดการณ์ 5 และ 10 ปีข้างหน้า วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการตลาดของภาคอุตสาหกรรมสำคัญทั่วโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต

Data & Forecasting ข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์ที่เข้าถึงได้เร็วและง่าย สามารถปรับแต่งแผนภูมิด้วยข้อมูลล่าสุดได้เองก่อนที่จะดาวน์โหลดมาใช้งาน             Continue reading Business Database : BMIResearch

Mobile Only Internet Access

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ Smartphone เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการยืนยันว่ามันจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และเริ่มจะเป็นครึ่งหนึ่งที่ใช้สำหรับบริโภคสื่อดิจิทัลของสหรัฐอเมริกา

มีข้อมูลล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่าโทรศัพท์มือถือ สามารถชิงตำแหน่งที่ยาวนานของ Desktop ในฐานะเป็นช่องทางหลักในการท่องอินเทอร์เน็ต จากสถิติด้านล่างจะเห็นว่าในเดือนมีนาคม 2015 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออย่างเดียวมีมากกว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน Desktop อย่างเดียว

Mobil only internet

แค่ปีที่แล้วนี่เอง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน Desktop อย่างเดียว มีเกือบสองเท่าคือ ร้อยละ 19.1 ในขณะที่ผู้ใช้มือถืออย่างเดียว มีแค่ร้อยละ 10.8

ตัวเลขเหล่านี้ยังบอกให้เราทราบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ยังคงใช้ทั้ง Desktop และ Smartphone เพียงแต่ Smartphone จะกลายเป็น หรือได้กลายเป็นช่องทางหลักไปแล้วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพราะความสะดวกสบายในการสื่อสารแบบ 24/7 และการมีข้อมูลทั้งหมดของโลกในกระเป๋าของเราทำให้มันได้เปรียบ ประกอบกับความก้าวหน้าในความเร็วข้อมูล 4G ที่มีขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพสูงในการประมวลผล

อย่างไรก็ตาม Desktop ยังคงมีบทบาทสำคัญในระบบดิจิทัล และจะยังไม่หายไปจากชีวิตของเราในเร็ว ๆ นี้เพราะมันมีความสามารถรองรับงานที่ซับซ้อนและข้อมูลจำนวนมาก การที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออย่างเดียวมีมากขึ้นกว่าผู้ใช้ Desktop อย่างเดียวเป็นสัญญาณว่าสื่อดิจิทัลจะมีการพัฒนาไปทางที่เป็น “mobile first”

สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในระบบดิจิทัล สามารถดูได้จากรายงานเรื่อง 2015 U.S. Digital Future in Focus

ใครรับผิดชอบโครงการศึกษาพฤติกรรมการใช้ หรือการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้บริการห้องสมุด นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็น Review Literature น่าจะดี

รายการอ้างอิง

Lella, A. (2015, April 28). Number of mobile-only internet users now exceeds desktop-only in the U.S. [Web blog message]. Retrieved from

http://www.comscore.com/Insights/Blog/Number-of-Mobile-Only-Internet-Users-Now-Exceeds-Desktop-Only-in-the-U.S

Perfect Match

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558 เข้าฟังการบรรยายเรื่องฐานข้อมูล Web of Science, Journal Citation Reports, ResearcherID, EndNote web โดย Dr.Ning Ning ซึ่งนอกจากนำเสนอประเด็นเรื่องการเชื่อมโยงงานวิจัย และกระบวนการวิจัยที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังเล่าถึง feature ใหม่ของ EndNote web ที่เรียกว่า Manuscript matcher ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยผ่านตา feature ใหม่นี้จาก EndNote Newsletter ที่ได้รับทาง Email คิดว่าน่าสนใจจึงเข้าไปอ่านรายละเอียดแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง น้องๆ IL น่าจะนำไปประชาสัมพันธ์ตอนเป็นวิทยากรอบรม EndNote

หลายปีมาแล้วที่ EndNote ช่วยนักวิจัยจัดการงานวิจัยและรายการอ้างอิง แต่ ณ วันนี้ EndNote ยังสามารถช่วยนักวิจัยในขั้นตอนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานได้อีกด้วย feature ใหม่ล่าสุดของโปรแกรมเป็นการผสานนวัตกรรมการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กับข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมไว้อย่างมากมายใน Web of Science Core Collection ในการช่วยจับคู่เอกสารกับวารสารเป้าหมาย

ผู้ใช้โปรแกรม EndNote เข้าถึง Manuscript matcher ได้ทันทีเมื่อใช้งาน EndNote online เพียงแค่ใส่ชื่องานวิจัย บทคัดย่องานวิจัย และเลือก EndNote reference group ที่เหมาะสม โปรแกรมจะใช้ข้อมูลดังกล่าว พร้อมกับข้อมูลของวารสารในฐาน Web of Science เพื่อแนะนำว่าบทความวิจัยนี้เหมาะที่จะส่งไปเผยแพร่ในวารสารใดมากที่สุด นอกจากนี้มี feedback loop ที่ถามผู้ใช้งานว่าวารสารที่แนะนำให้เป็นประโยชน์หรือไม่ เป็นการใช้ practical และ human metric เพื่อพัฒนาความถูกต้องของการแนะนำในอนาคต

ขั้นตอนการใช้งานง่ายๆคือ ใส่ชื่อบทความวิจัย บทคัดย่อ ถ้ามี reference group ใน EndNote online library  ควรเลือก group จาก drop down list เพื่อใส่ข้อมูลด้วยเพื่อเพิ่มความถูกต้องของการแนะนำ แล้วคลิก Find Journals ผลลัพธ์ที่แสดงได้แก่

  1. ข้อมูลวารสาร 2-10 รายการ ระบุชื่อวารสาร สำนักพิมพ์ ISSN
  2. Match score
  3. Top Keyword Rankings
  4. Thomson Reuters Journal Citation Report (JCR) Impact Factor 1 ปี 5 ปี
  5. JCR Category ; Rank in Category ; Quartile in Category
  6. Journal Information ซึ่งลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของวารสาร

เมื่อคลิกปุ่ม Submit จะนำไปสู่หน้าที่ใช้เริ่มต้นกระบวนการส่งบทความไปยังวารสารที่เลือก ปุ่มให้แสดง feedback เพื่อนำไปใช้ปรับปรุง version ต่อไป

ใครที่ใช้ Manuscript matcher ต้องเข้าใจด้วยว่า feature นี้ใช้เทคโนโลยีการพยากรณ์ช่วยให้มีทางเลือกพร้อมข้อมูลสำหรับการส่งบทความ แต่ไม่ได้รับประกันว่าบทความที่ส่งไปจะได้รับการยอมรับจากวารสารที่ท่านเลือกส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EndNote’s Manuscript matcher ดูได้ที่ : http://bit.ly/1CcsYB8

Tanksalvala, S. (2015, March 13). Perfect Match: EndNote’s latest feature matches article drafts with publications [Web blog message]. Retrieved from http://endnote.com/blog/perfect-match-endnotes-latest-feature-matches-article-drafts-publications?utm_source=elq&utm_medium=edm&utm_campaign=newsletter&utm_term=mar&utm_content=en-all

Business Database : Passport

พวกเราอาจไม่คุ้นกับฐานข้อมูลเฉพาะสาขาของคณะพาณิชย์ฯมากนัก เพราะส่วนใหญ่ไม่มีตัวแทนในประเทศ การอบรมจะมี Client Relationship หรือ Client Services บินตรงจากต่างประเทศมาอธิบายประมาณ 30-45 นาที แล้วบอกให้ดูรายละเอียดใน Help Menu เอาเอง บางทีไม่มาแต่ใช้การสอนทางออนไลน์ นัดเวลาก่อนเมื่อถึงเวลาให้คลิกลิงค์ที่ให้พร้อมฟังบรรยายและสอบถามทางโทรศัพท์ ถ้ามีตัวแทนก็มักมาอบรมให้ช่วง 6 โมงถึง 3 ทุ่มเพราะนักศึกษาทำงานมาตอนกลางวันไม่ได้ นี่คือที่มาของการเขียน Blog ในชุด Business Databases ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวเองเวลาทำเอกสารข้อมูลประกอบการขออนุมัติบอกรับจากผู้บริหารคณะ หรือใช้ประกอบการสอน หรือตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆในกลุ่ม IL กับผู้ที่มาช่วยอยู่เวรที่ห้องสมุด หรือผู้สนใจอื่นๆด้วย

Passport เป็นฐานข้อมูลการวิจัยทางการตลาด ให้ข้อมูลเชิงสถิติ รายงานการวิเคราะห์ การสำรวจคู่แข่งทางการตลาด แนวโน้มในอนาคตที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ข่าวสารด้านอุตสาหกรรมและการบริโภค เนื้อหาครอบคลุมมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย Industry Research Data ; Country Reports/Countries and Consumers Research ; Global Perspective Report ; Company Profile เป็นต้น

รายละเอียดการใช้ดูที่ลิงค์ด้านล่าง

https://docs.google.com/document/d/1K2woPidNCRxC1fFH3PqL2SSXAiuxnrH_XtiYoxcTBac/edit?usp=sharing

LIBLICENSE

สารสนเทศดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทำให้ห้องสมุดและผู้จำหน่ายสารสนเทศต้องพบกับเรื่องท้าทายของสื่อประเภทนี้ ที่โดดเด่นมากคือการทำข้อตกลงกับเจ้าของสารสนเทศ สารสนเทศดิจิทัลต่างจากสารสนเทศในรูปสิ่งตีพิมพ์ ตรงที่ห้องสมุดไม่สามารถซื้อขาด แต่เป็นการอนุญาตให้ใช้ หรือเป็นการให้สิทธิ์การใช้แก่ห้องสมุด (licensed) การอนุญาตลักษณะนี้ปกติใช้รูปแบบการเขียนข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างห้องสมุดกับเจ้าของสิทธิ์

บรรณารักษ์หลายต่อหลายคนที่รับผิดชอบงานสารสนเทศดิจิทัลต่างรู้ดีว่าเอกสารการอนุญาตให้ใช้ หรือการให้สิทธิ์การใช้สารสนเทศดิจิทัลเป็นเอกสารที่มีความยุ่งยาก ยืดยาว เข้าใจยาก มีแต่ศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย อย่างคำว่า indemnity, severability, force majeure เพื่อช่วยบรรณารักษ์ ซึ่งอาจรวมทั้งผู้จำหน่ายสารสนเทศด้วย ให้เข้าใจในประเด็นที่กล่าวถึงในเอกสารประเภทนี้เป็นที่มาของ โครงการวิเคราะห์การทำเอกสารการให้สิทธิ์การใช้สารสนเทศดิจิทัล มีการรวบรวมคำศัพท์ที่พบเห็นทั่วไปในเอกสาร มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็น ทั้งเห็นด้วยและคัดค้านในประเด็นของภาษาเฉพาะที่ใช้ในเอกสาร โดยพยายามนำเสนอด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งห้องสมุดและผู้จำหน่าย มีตัวอย่างของข้อกำหนดต่างๆที่คิดว่าจะเป็นภาระมากเกินไปสำหรับห้องสมุด หรือยังไม่สะท้อนความต้องการของห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้

โครงการที่ว่านี้มีชื่อว่า LIBLICENSE ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 1997 โดย Ann Shumelda Okerson ตอนที่เธอเป็น Associate University Librarian ที่ Yale University โครงการได้รับเงินทุนจาก The Commission on Preservation and Access, the Council on Library Resources และ The Digital Library Federation ในเดือนพฤศจิกายน 2011 Center for Research Libraries  รับเป็นเจ้าภาพให้ โครงการ LIBLICENSE (ใครอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ Center for Research Libraries ดูได้ที่  http://www.crl.edu/ ) Continue reading LIBLICENSE

OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้

เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมประชุม OCLC Asia Pacific Regional Council Membership Conference ปี 2014 นี้ ใช้หัวข้อ “Collaboration in the Asia Pacific Century จัดที่เมือง Jeju ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี วันที่ 13-14 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรม Jeju Grand Hotel เจ้าภาพหลักของการประชุมคราวนี้ได้แก่ Korea Institute of Science and Technology Information (KisTi)  และ Jeju National University ในส่วนเนื้อหาที่จะนำมาสรุปเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้เป็น Session ของ George Needham, Vice President, Global and Regional Council  ที่กล่าวถึงการเป็นสมาชิก OCLC และประโยชน์ที่ได้รับ Continue reading OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้