วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมวิชาการนำเสนอโครงการคลังภาพดิจิทัลของภาควิชา ภายใต้หัวข้อมนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย เป็นการบรรยายขั้นตอนจัดทำและประชาสัมพันธ์เว็บไซต์อักษรศาสตร์บรมราชกุมารี คลังดิจิทัลซึ่งเป็นงานวิจัยของคณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ โดยผศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล ประธานโครงการและอ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เป็นผู้บรรยาย
Tag Archives: ทรงพันธ์ เจิมประยงค์
คลังภาพดิจิทัล อักษรศาสตร์บรมราชกุมารี
คลังภาพดิจิทัล อักษรศาสตร์บรมราชกุมารี เป็นโครงการวิจัยของภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้นเพื่อจัดหา จัดเก็บ และให้บริการสืบค้นพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์ อย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งจะเป็นคลังทรัพยากรสารนิเทศที่ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระฉายาลักษณ์ (metadata) ได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านเว็บ และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ และถือเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมฉลองของคณะอักษรศาสตร์ในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558
สำหรับคลังดิจิทัล อักษรศาสตร์บรมราชกุมารีนี้ พัฒนาโดยใช้โปรแกรม Omeka ประกอบด้วย 10 คอลเลกชัน ได้แก่
- กิจกรรมรับน้องใหม่
- ชมรมดนตรีไทย
- การศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
- งานรับพระราชทานปริญญาบัตร ปี 2520
- งานรับพระราชทานปริญญาบัตร ปี 2524
- งานเลี้ยงรุ่นอักษรศาสตรบัณฑิต 41
- จุฬาฯวิชาการ
- การศึกษาระดับมหาบัณฑิต
- พิธีเปิดศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล
- วันคล้ายวันสถาปนาคณะ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นรายปี
มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย
บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ นางสาวณิชาพัฒน์ พลายประเสริฐ และ นางสาวอิสริ์ยา หมีเงิน ได้เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย” โดยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิริธร คณะอักษรศาสตร์ ในการประชุมฯ ดังกล่าว ได้นำเสนอ
การจัดการคลังภาพดิจิทัลอักษรศาสตร์บรมราชกุมารี: งานวิจัยด้านมนุษยสารสนเทศในยุคไซเบอร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์กุล และ อาจารย์ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการนำเสนองานวิจัยเรื่อง การจัดการคลังภาพดิจิทัล “อักษรศาสตร์บรมราชกุมารี” โดยการจัดหา จัดเก็บ และให้บริการสืบค้นพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์อย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในพระราชวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และเพื่อให้เป็นคลังทรัพยากรสารนิเทศที่ผู้สนใจ สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระฉายาลักษณ์ (Metadata) ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ผ่านเว็บ http://princessmcs.org/ และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ Continue reading มนุษยสารสนเทศ: พรมแดนการวิจัย
Customer journey
คำๆ นี้ ได้มาจากการฟัง อ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เล่าประสบการณ์การเป็นนักวิจัย การทำงานร่วมกับนักวิจัย ของอาจารย์ ในโอกาสที่ Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ของสำนักหอสมุด มธ. เชิญอาจารย์มาเล่าประสบการณ์ของอาจารย์ ด้วยเหตุที่มองเห็นว่า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ จะทำอย่างไรที่จะนำความสามารถของเราให้เป็น research supporter ได้
อาจารย์ทรงพันธ์ ในฐานะที่เป็นนักวิจัย เป็นอาจารย์สอนบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าประสบการณ์การเป็น informationist ที่ Vanderbilt University Medical Center, Nashville, Tennessee ตำแหน่ง Knowledge Management Leadership and Research Fellow อาจารย์ได้รวบรวมประเด็นต่างๆ ได้แก่ แนวคิดของการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความต้องการของนักวิจัย โอกาสในการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของคนที่จะทำงานร่วมกับนักวิจัย การพัฒนาตนเองให้สามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยได้ ไว้ในการพูดแบบเล่าเรื่องด้วยความสนุก เรียกได้ว่า ฟังเพลินกันเลยทีเดียว ในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง หมดเวลาโดยไม่รู้ตัว
การจะเป็น Informationist หรือ Embedded librarian ได้ยินอะไร ต้องตั้งคำถามไว้ก่อน เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อ Vanderbilt University Medical Center เป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน พนักงาน ประมาณ 20,000 คน หน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ โรงพยาบาล เรียนเกี่ยวกับ สุขภาพทุกอย่าง เพราะฉะนั้น philosophy ของ Vanderbilt คือ อย่ารอให้คิดทุกอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน ถามมา ทำได้จริง งานได้ 50% ก็จะผลักออกมาก่อน ดังนั้น องค์กรจะดีได้ ต้องมีข้อมูลที่ดี Vanderbilt ต้องตอบโจทย์ให้กับผู้บริหาร คนไข้ ญาติคนไข้ หมอ นักศึกษา โรงพยาบาล แต่กลุ่มใหญ่สุด คือ นักวิจัย ดังนั้น information และ Knowledge เป็นสิ่งสำคัญ หมอจึงต้องการได้ข้อมูลแบบที่เป็น Evidence Based Medicine เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ การที่หมอไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จะทำอย่างไร ต้องพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดไปเข้ากับระบบที่หมอจะสามารถค้นและใช้ข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะตัดสินใจผิดไม่ได้เลย เพราะคนที่ตัดสินใจไม่มีเวลามาหาข้อมูล Continue reading Customer journey
การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต
การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต โดย ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 7 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเสนอข้อคิดเห็นที่พยายามจะวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในการให้บริการห้องสมุดเพื่อพิจารณาแนวโน้มและความท้าทายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยนำแนวคิดเรื่องความเกี่ยวข้อง (Relevance) ทางด้านการค้นค้นสารสนเทศมาใช้เป็นกรอบในการพิจารณา โดยเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของผู้ใช้และบริการห้องสมุดที่มีอยู่ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต และได้นำแนวคิดเรื่องการออกแบบบริการ (Service design) และความสามรารถในการใช้ได้ (Usability) มาใช้พิจารณาความเป็นไปได้และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องสมุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด