และแล้วโครงการ PatronX ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็สำเร็จเสร็จสิ้น หลังจากได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยล่าสุดได้มีการประชุมสรุปผลการดำเนินการ และระดมสมองเพื่อสรุปเส้นทางการค้นหาหนังสือของนักศึกษา ปัญหาที่พบในแต่ละเส้นทาง แนวทางการแก้ไขเพื่อจัดทำเป็นโครงการพัฒนางานห้องสมุดในปี 2563 และปี 2564 ตามความเหมาะสม เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา Continue reading Customer Insight : ปรับปรุงบริการผ่าน Customer Journey จากโครงการ PatronX
Tag Archives: Customer journey
TULIB นำร่องโครงการใหม่ “PatronX” ศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุดยุคดิจิทัล
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำร่องเปิดโครงการ PatronX ศึกษาการใช้ข้อมูลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เตรียมพัฒนาบริการห้องสมุดแบบ Personalize รับแผนปฏิบัติการดิจิทัลของมหาวิทยาลัย Continue reading TULIB นำร่องโครงการใหม่ “PatronX” ศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ห้องสมุดยุคดิจิทัล
Journey map
แนะนำวิดีโอ Journey map ของการทานกาแฟ https://vimeo.com/78554759 ดูแล้วเข้าใจง่ายตั้งแต่เริ่มต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำ journey map ของการให้บริการของห้องสมุดได้ค่ะ
Customer journey
คำๆ นี้ ได้มาจากการฟัง อ. ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เล่าประสบการณ์การเป็นนักวิจัย การทำงานร่วมกับนักวิจัย ของอาจารย์ ในโอกาสที่ Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ของสำนักหอสมุด มธ. เชิญอาจารย์มาเล่าประสบการณ์ของอาจารย์ ด้วยเหตุที่มองเห็นว่า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ จะทำอย่างไรที่จะนำความสามารถของเราให้เป็น research supporter ได้
อาจารย์ทรงพันธ์ ในฐานะที่เป็นนักวิจัย เป็นอาจารย์สอนบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าประสบการณ์การเป็น informationist ที่ Vanderbilt University Medical Center, Nashville, Tennessee ตำแหน่ง Knowledge Management Leadership and Research Fellow อาจารย์ได้รวบรวมประเด็นต่างๆ ได้แก่ แนวคิดของการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความต้องการของนักวิจัย โอกาสในการทำงานร่วมกับนักวิจัย ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของคนที่จะทำงานร่วมกับนักวิจัย การพัฒนาตนเองให้สามารถทำงานร่วมกับนักวิจัยได้ ไว้ในการพูดแบบเล่าเรื่องด้วยความสนุก เรียกได้ว่า ฟังเพลินกันเลยทีเดียว ในเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง หมดเวลาโดยไม่รู้ตัว
การจะเป็น Informationist หรือ Embedded librarian ได้ยินอะไร ต้องตั้งคำถามไว้ก่อน เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อ Vanderbilt University Medical Center เป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน พนักงาน ประมาณ 20,000 คน หน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ โรงพยาบาล เรียนเกี่ยวกับ สุขภาพทุกอย่าง เพราะฉะนั้น philosophy ของ Vanderbilt คือ อย่ารอให้คิดทุกอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน ถามมา ทำได้จริง งานได้ 50% ก็จะผลักออกมาก่อน ดังนั้น องค์กรจะดีได้ ต้องมีข้อมูลที่ดี Vanderbilt ต้องตอบโจทย์ให้กับผู้บริหาร คนไข้ ญาติคนไข้ หมอ นักศึกษา โรงพยาบาล แต่กลุ่มใหญ่สุด คือ นักวิจัย ดังนั้น information และ Knowledge เป็นสิ่งสำคัญ หมอจึงต้องการได้ข้อมูลแบบที่เป็น Evidence Based Medicine เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ การที่หมอไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จะทำอย่างไร ต้องพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดไปเข้ากับระบบที่หมอจะสามารถค้นและใช้ข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะตัดสินใจผิดไม่ได้เลย เพราะคนที่ตัดสินใจไม่มีเวลามาหาข้อมูล Continue reading Customer journey