Tag Archives: ประชาคมอาเซียน

อาเซียน : ควร / ไม่ควร

แม้วันนี้ “รู้เขา รู้เรา” จะไม่ต้องรบเพื่อชนะร้อยครั้ง แต่กลับเป็นการ “รู้เขา รู้เรา” เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม อะไร “ควร” “ไม่ควร” ยังเป็นสิ่งที่ต้องระวัง บางเรื่องเราก็ไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่กลับสำคัญ ผู้เขียนได้เก็บเรื่องราวจากประสบการณ์ และการได้พูดคุยกับผู้รู้ มาบอกเล่าในแง่มุมที่น่าสนใจ และจำเป็นสำหรับการเข้าสู่ประขาคมอาเซียนในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่เราอาจไม่เคยทราบมาก่อน เช่น การเดินทางไปพม่าต้องขอวีซ่าก่อน  หรือ มาเลเซียไม่อนุญาตให้นำรถที่ติดฟิล์มเข้มมากๆ เข้าประเทศ เป็นต้น

as

 

สำหรับหนังสืออาเซียน : ควร ไม่ควร ห้องสมุดมีให้บริการที่หมวด HIST DS 2013 615826 ค่ะ

รายการอ้างอิง

ทศมล ชนาดิศัย, และ พรเทพ โตชยางกูร. (2556). อาเซียน ควร ไม่ควร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์

Evolution of University Libraries and the Preparation for Integration in Asian Community by 2015

Evolution of University Libraries and the Preparation for Integration in Asian Community by 2015 โดย Somxay Khamphavong ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงพัฒนาการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศลาว ความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การเป็นสมาชิกของ AUNILO การเป็นสมาชิกของ eIFL เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง ความท้าทายในการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบูรณาการเป็นห้องสมุดอาเซียน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

Cambodian Libraries: Preparation toward ASEAN Library Community

Cambodian Libraries: Preparation toward ASEAN Library Community โดย Kolap Mao นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานของห้องสมุดในประเทศกัมพูชา สถานภาพปัจจุบันของห้องสมุดประเภทต่างๆ รวมทั้งสมาคมวิชาชีพ นอกจากนี้ได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนดำเนินงานของห้องสมุดกัมพูชาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน

ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน โดย ดร.สุรพิชย์  พรหมสิทธิ์ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยกล่าวถึงประเทศในอาเซียนในภาพรวม เปรียบเทียบแต่ละประเทศในเรื่องของการอ่าน เช่น

  • อินโดนีเซีย มีการส่งเสริมให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ต้องมีโอกาส การเข้าถึงหนังสือ โดยเฉพาะห้องสมุด ร้านหนังสือ
  • สิงคโปร์ ห้องสมุดมีส่วนเชื่อมโยงประชาชนเข้าร่วมเป็นชุมชน ส่งผลให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มีห้องสมุดมาก ใช้ห้องสมุดทุกกลุ่ม ทุกวัย
  • เวียดนาม มีนโยบายในการพัฒนาประเทศเชิงรุก สร้างวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมผ่านกิจกรรมการอ่านของประชาชนเวียดนาม
  • ฟิลิปปินส์ มีวาระ 10 ประการ ในการปฏิรูปการศึกษาของฟิลิปปินส์ เด็กทุกคนจะต้องเป็นนักอ่านตั้งแต่เรียนเกรด 1 มีการจัดโครงสร้างพื้นฐาน ห้องสมุด หนังสือเรียนให้ครบ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียน อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนอย่างน้อย 2 เล่มใน 1 ปี (ภาษาอังกฤษ และภาษาฟิลิปปินส์)
  • มาเลเซีย ยกให้การอ่านและการรู้หนังสือเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนความพยายามและเสริมสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ  มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการอ่าน พัฒนาโครงการวิจัย แผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับคนในชุมชน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน

การพัฒนาห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ ได้กล่าวในการประชุมวิชาการ ประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า การจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาคงต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด น่าจะต้องเตรียมการอย่างมากในเรื่อง ทรัพยากรสารสนเทศและบริการ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ทรัพยากรและบริการ เป็นการแบ่งปันทรัพยากร

สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือที่สำคัญ คือ ASEAN University Inter-Library Online (AUNILO) เป็นเครือข่ายย่อย ภายใต้ ASEAN University Network (AUN) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ ที่้ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะในเรื่องทัศนคติ ค่านิยม โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถในการปรับตัว และพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งทักษะที่จะสามารถทำงานแบบข้ามวัฒนธรรม เช่น ความสามารถในการปรับพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ความตระหนักเรื่องการสื่อสาร สามารถสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรมและสามารถปรับการแสดงออกได้ตามสถานการณ์ ความสามารถในการค้นหาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ และการปฏิบัติตามวัฒนธรรม และสามารถนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ การเคารพผู้อื่น มีการเปิดใจกว้าง และพร้อมรับและเข้าใจความเชื่อต่างๆ ในวัฒนธรรมอื่น และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน

ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. เรื่องราวของ ASEAN
  2. Why ASEAN Community?
  3. ห้องสมุดยุคใหม่
  4. ห้องสมุดกับประชาคม ASEAN

ในหัวข้อห้องสมุดยุคใหม่ ได้เน้นถึงพลังของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการปรับบทบาทของพลเมืองทั่วโลก เพื่อสร้างความรู้ ใช้ความรู้ จัดการความรู้ และกระจายความรู้ “ห้องสมุดยุคใหม่” จึงจำเป็นต้องเป็นห้องสมุดที่ไม่มีผนังกั้น สนองความต้องการบริการที่หลากหลายและกว้างขวาง และไม่หยุดนิ่ง อย่างไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

ดังนั้น เมื่อจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บทบาทของห้องสมุดกับการเป็นประชาคมอาเซียนของไทย ก็คือ Continue reading ห้องสมุดกับประชาคมอาเซียน

การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเชียน

เมื่อวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง การอ่านเพื่อความพร้อมในการเป็นพลเมืองอาเซียน ณ ห้องประชุม 7-10 อาคารห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยากรในวันนั้น คือ คุณวรพันธ์ อุไรรัตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด และอดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ประเด็นของการพูด ก็คือ ทำอย่างไรจะให้เด็กไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น เพราะถ้าจะว่าไปแล้วความสามารถของประเทศไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศในแถบอาเซียน วิทยากรได้อ้างข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกสิกรไทยโดยเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  • อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย หากปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
  • สถานะการแข่งขันของไทยลดลงมาเป็นลำดับ         ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยอุปสรรคที่สำคัญของไทยคือ การพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง รวมทั้งประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐ
  • สิ่งที่ไทยต้องปรับปรุงเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขัน                ต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ  ศักยภาพของคน และเครือข่ายธุรกิจตลอดจนสร้างความโปร่งใสของกลไกรัฐ

ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน” ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ระหว่างวันที่่ 18-19 ธันวาคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษา การวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญา พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่่งในการส่งเสริมประชาคมอาเซียน ผ่านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

ในงานสัมมนาดังกล่าว ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และบุคลากรของสำนักหอสมุด คือ คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า  เป็นวิทยากรในการสัมมนา เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน – อุษาคเนย์”  ในวันที่ 19 ธันวาคม 2557

ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 (The 16th Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL XVI 2015)

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 7 สิงหาคม 2557 นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 (The 16th Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL XVI 2015) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม BITEC โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และ นางสาวกนกอร ศักดาเดช รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมในการแถลงข่าวครั้งนี้ด้วย

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา โดยหอสมุดแห่งชาติและสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยมีหัวข้อของการประชุมครั้งนี้ว่า “ความมุ่งหวังอาเซียน : ห้องสมุดเพื่อความก้าวหน้าที่ยั่งยืน” (ASEAN Aspirations : Librarians for Sustainable Advancement) เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. 0 2628 5192 หรือที่ www.consalxvi.org

อนึ่ง การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี้ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 4 เรื่อง Regional cooperation for the Development of National Information Services ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน พ.ศ. 2521 กรุงเทพมหานคร (5-9 June 1978)

ครั้งที่ 9 เรื่อง Future Dimensions and Library Development ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2536 กรุงเทพมหานคร ( 2-7 May 1993)

รายการอ้างอิง:

กรมศิลปากร. กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 The 16th Congress of Southeast Asian Librarians (CONSAL XVI 2015. สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2557 จาก http://www.finearts.go.th/promotion/ข่าวกรมศิลปากร-2/item/ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ครั้งที่-๑๖-the-16th-congress-of-southeast-asian-librarians-consal-xvi-2015.html