Tag Archives: หอจดหมายเหตุ

เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ
วันพุธที่
17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมอโนมา
1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร

การสัมมนาในวันนี้นับว่าเป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์และผู้อยู่ในแวดวงของห้องสมุดและจดหมายเหตุเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีการถกเถียง สงสัย หรือไม่แน่ใจในการให้บริการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสำเนาสิ่งพิมพ์ที่มีในห้องสมุด การจัดทำดิจิทัลไฟล์ หรือแม้กระทั่งการแปลเอกสารเพื่อการปฏิบัติงานในห้องสมุด

จากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่าน สิ่งซึ่งมักถูกอ้างอิงถึงเสมอเมื่อกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ คือมาตรา 32 วรรค 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา : พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้ Continue reading เรื่องเล่าจากสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับห้องสมุดละหอจดหมายเหตุ”

รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

ที่ฉันชอบมากที่สุดคือ ห้องสมุด ตามประวัติว่าเมื่อ ค.ศ. 1803 มหาวิทยาลัยย้ายไปอยู่ที่ปัจจุบัน … แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็นห้องสมุดใน ค.ศ. 1838 โดยรวบรวมหนังสือจากวัดหรือคอนแวนต์ต่างๆ … มีทั้งต้นฉบับหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกๆ … เห็นทั้งหมดแล้วอยากเข้าไปดูอยู่นานๆ เปิดดูเสียให้ทุกเล่มว่ามันเป็นอย่างไร  (จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมันสัญจร)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอิตาลี เพื่อทรงเป็นกรรมการตัดสินวรรณกรรมของ คณะกรรมการหนังสือสำหรับเยาวชนระหว่างประเทศ (International Board on Books for Young People (IBBY)  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนห้องสมุดมหาวิทยาลัยโบโลญญา และทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ทอดพระเนตร ทรงสนพระทัยการอ่านหนังสือเป็นอย่างยิ่ง และจากหนังสือพระราชนิพนธ์ชุดเยือนต่างประเทศ สถานที่เสด็จฯ เป็นประจำ ก็คือ ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ จึงขอติดตามห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ผ่านทางเว็บไซต์ (ตามที่มีปรากฏบนเว็บไซต์) Continue reading รู้จักห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ผ่านหนังสือพระราชนิพนธ์

ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน” ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ระหว่างวันที่่ 18-19 ธันวาคม 2557 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษา การวิจัยเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายพรมแดนความรู้และสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาแก่คนและสังคมไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญา พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่่งในการส่งเสริมประชาคมอาเซียน ผ่านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

ในงานสัมมนาดังกล่าว ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และบุคลากรของสำนักหอสมุด คือ คุณกาญจนาภรณ์ จิตต์สง่า  เป็นวิทยากรในการสัมมนา เรื่อง “ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน – อุษาคเนย์”  ในวันที่ 19 ธันวาคม 2557

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น

การเปิดงานและบรรยายพิเศษ
การเปิดงานและบรรยายพิเศษ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นบรรณารักษ์ นักเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการสารสนเทศ เพราะหัวข้อบ่งบอกอย่างตรงๆ ว่า เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจในกิจกรรมบางอย่าง ที่ดำเนินการอยู่ ในการสัมมนาวันนั้น วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง

  1. กรณีเฉพาะ (certain special cases)
  2. ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
  3. ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)

Continue reading ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์