Tag Archives: อนาคตของห้องสมุด

ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าห้องสมุด

ถ้าห้องสมุดเป็นมากกว่าห้องสมุด  ต้องลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ ไปเลย เพราะห้องสมุดจะกลายเป็น learning space เป็นที่ที่คนอยากเข้า เข้ามานั่งอ่าน นั่งคุยแลกเปลี่ยนความเห็น แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กับบรรยากาศสบายๆ ผ่อนคลาย ทำกิจกรรม เกิดแรงบันดาลใจจากผู้คนที่คุยด้วยหรือจากบรรยากาศ โดยรอบ

 HUMBOLDT-UNIVERSITY BERLIN, READING TERRACE

Keyword ที่พบสำหรับห้องสมุดในยุคที่เป็นมากกว่าห้องสมุด คือ คำว่า learning space ; Integration of digital device / digital media ; Event spaces ; Maker space

แนะนำให้เข้าไปเว็บไซต์ http://www.designinglibraries.org.uk/ เป็นเว็บไซต์การออกแบบห้องสมุด สำหรับผู้ที่สนใจในการออกแบบและนวัตกรรมในห้องสมุด มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุด เทรนต่างๆ การออกแบบที่สอดรับพัฒนาการการให้บริการของห้องสมุด แค่ดูรูปห้องสมุดก็สุดทึ่ง ถ้าออกแบบเป็นแบบนี้อยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ดูเว็บไซต์นี้แล้วนี่หรือห้องสมุด  มีทั้งสไตล์  และฟังก์ชั่น

บทความในเว็บไซต์ ก็ชวนให้อ่านทุกเรื่อง ตัวอย่างเช่น  Designing college libraries for Generation Z  หรือ A social hub of information, technology and services  

รายการอ้างอิง
Mahnkel, Christel and Sirirat Tinarat. Future Libraries- Libraries for the future. Retrieved from http://www.car.chula.ac.th/con2015/brain/files/resources/07-FutureLibraries.pdf

ห้องสมุด (สุด) แนวใหม่

Piscataway Public Library รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา  ปรับตัวเองให้เป็น Learning Centric สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและวัยรุ่น ในยุคของ STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) โดยห้องสมุดดึงดูดให้เด็กๆ ได้ทำงานร่วมกัน จัดหาเครื่องมือ ให้แรงบันดาลใจใหม่ๆ (เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักรออกแบบลายผ้า เครื่องพิมพ์ 3 มิติ) ความรู้ เทคนิค และทรัพยากร เพราะจะเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Piscataway Public Library
Piscataway Public Library

Oakland Public Library  รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ขานรับนโยบาย M.I.Y. (Make it Yourself) จัดหาเครื่องมือช่างให้บริการกว่า 3,500 ชิ้น มีเวิร์คชอป วิดีโอ และหนังสือฮาวทูเกี่ยวกับการซ่อมบ้าน งานสวน งานก่อสร้าง ฯลฯ นับว่าเป็นสวรรค์ของเมกเกอร์และนักประดิษฐ์เลยทีเดียว

Toronto Kitchen Library  ห้องสมุดที่มีพื้นที่สำหรับทำครัวร่วมกัน สามารถยืมอุปกรณ์ทำอาหารกลับบ้าน มีเวิร์คช็อป และให้บริการตำราอาหาร

Toronto Kitchen Library
Toronto Kitchen Library

รายการอ้างอิง

วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558

การจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว”

สรุปความจากเรื่อง “10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี ของ ดร. เคลาส์ อูลริช แวร์เนอร์ จากหนังสือ เรื่อง คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต โดยอุทยานการเรียนรู้ TK Park

1. เหมาะสมกับการใช้งาน (Functional)

การจัดพื้นที่ต้องทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดได้อย่างสะดวก สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้งานที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่าง เช่น Stuttgart Municipal Library ห้องสมุดที่นำเอาบันไดเป็นตัวเชื่อมทางเดินแต่ละชั้นอย่างต่อเนื่องกลมกลืน เพื่อให้ผู้ใช้บริการเดินหาและหยิบหนังสือได้สะดวก

ติดตามดูภาพ ได้ที่
http://hedgehogsvsfoxes.com/architecture-stuttgart-municipal-library/
http://bluesyemre.com/2013/04/28/stadtbibliothek-stuttgart-the-stuttgart-municipal-library/stuttgart4/

Continue reading การจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว”

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต
คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นจะไม่ต่างไปจากไดโนเสาร์ยุคดิจิทัล ที่สักวันหนึ่งย่อมถึงเวลาสิ้นสูญ

คิดทันโลกฯ เล่มนี้ จัดทำโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ส่วนแรกเป็นการนำบทความของวิทยากรจาก งาน TK Forum 2015 การประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 ได้แก่

  • อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail Inayatullah)
  • ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Jens Thorhauge)
  • แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)
  • หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

ส่วนที่สอง จะเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องของการทำพื้นที่การอ่าน พื้นที่สร้างความรู้ 3 บทความ คือ

  • Explore / Extend / Exchange พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
  • C.A.M.P สร้างสรรค์พื้นที่การอ่านให้เป็นแหล่งพบปะสร้างสรรค์หาความรู้
  • Maker Space พื้นที่สร้างความรู้ ด้วยวัฒนธรรม ทำ แบ่งปัน และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

ส่วนที่สาม ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา มีด้วยกัน 5 เรื่อง

  • ห้องสมุดแนวใหม่ ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ
  • Renaissance of Space อนาคตของห้องสมุด: โจทย์ใหม่ว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้
  • เก็บตกแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตสไตล์ดัตช์ จุดนัดพบของผู้คนและความสัมพันธ์ สะพานเชื่อมความทรงจำและความรู้
  • ห้องสมุดสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
  • 10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี

สนใจอ่านดาวน์โหลดได้ที่เว็บ TK Park

รายการอ้างอิง
วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.

ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล

ชื่อเรื่องดังกล่าว มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 1:28 น. เป็นการสรุปเนื้อหาจากการประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) ในงาน TK Forum 2015 วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 จัดโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ถกถึงวิถีและการปรับตัวของห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดที่เน้นหน้งสือเป็นหลักจะยังคงมีแต่จะลดความสำคัญลง ห้องสมุดจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้องกับสังคม และเพิ่มพื้นที่ให้กับการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้ใช้บริการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ที่นอกเหนือจาก พื้นที่การอ่าน (Learnig Space) เช่น พื้นที่การเล่นดนตรี การเล่นละคร เล่นเกม การเต้นรำ พื้นที่ของการพบปะ แลกเปลี่ยน การวิจารณ์การวิเคราะห์ (Community Space) พื้นที่ในการปฏิบัติการทดลองสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Maker Space)

นอกจากคำกล่าว ของ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แล้ว ยังมี ความคิดเห็นของศาสตราจารย์ โซเฮล อินอยาตอลเลาะห์ นักรัฐศาสตร์และนักอนาคตศึกษา จากประเทศออสเตรเลีย,  เยนส์ ธอร์โฮก์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องสมุด จากประเทศเดนมาร์ก ที่เห็นว่า เงื่อนไขการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นผลจากอินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดและสื่ออย่างสิ้นเชิง ด้านนีล แมคอินเนส หัวหน้าส่วนงานจดหมายเหตุ สารสนเทศและห้องสมุดเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เราต้องทำให้ห้องสมุดเป็นเสมือนพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมที่หลากหลายในทุกเพศ วัย อาชีพ มีส่วนของห้องสื่อ (Media Lounge) ที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างดนตรี ออกแบบอาร์ตเวิร์ก หรือใช้บริการเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ TK Park ได้เสนอเอกสารประกอบการสัมมนา เผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดเพื่อศึกษาอีกด้วย ได้แก่

อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail  Inayatullah)

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  (Jens Thorhauge)

แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)

หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

รวมทั้งสไลด์นำเสนอของวิทยากรแต่ละท่านด้วย ติดตามอ่านได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

แถมด้วยด้วยวิดีโอ

Manchester Library reopen

A tour of Manchester Library

Manchester Library live event

รายการอ้างอิง
ทีมเดลินิวส์38. ชี้ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/article/339597

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. TK Forum 2015 Library Futures: Challenges and Trends. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators

บทความน่าสนใจค่ะ เรื่อง Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators โดย Sohail Inayatullah

เนื่องจากการทะลักทะลายของสารสนเทศได้นำไปสู่ห้องสมุดไซเบอร์ (Cybrary) หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ Sohail Inayatullah ได้พูดถึงอนาคตของห้องสมุด บทบาทของห้องสมุดจากเดิมที่เป็น Knowledge keeper หรือ Keeper of the collection ผันมาเป็น Creators

จาก  Inayatullah, Sohail. 2014.  “Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators”  The Futurist, November/December 2014. 24-28.