All posts by wilaluk

หมดปัญหาเบอร์กวนใจด้วย Whoscall

เคยเบื่อเบอร์ขายประกันหรือขายของกันไหม หรือเบอร์ที่ไม่รู้จักโทรมากวนใจ วันนี้ขอเสนอแอพที่จะบอกคุณได้ว่าใครโทรมา

Whoscall ช่วยให้คุณสามารถระบุต้นทางของสายเรียกเข้าและข้อความได้ทันที แม้จะไม่มีหมายเลขของผู้โทรอยู่ในรายชื่อติดต่อของคุณก็ตาม อีกทั้งยังช่วยคุณในการบล็อคหมายเลขโทรศัพท์อีกด้วย

ทั้งนี้วิธีการใช้ก็ไม่ยุ่งยาก เพียงดาวน์โหลดติดตั้งก็สามารถใช้งานได้

สามารถใช้ได้ทั้ง  Android, Windows Phone และ  IOS

Android :http://bit.ly/whoscallgpth
Windows Phone :http://bit.ly/whoscallwpth
iOS :http://bit.ly/whoscalliosth

load

Continue reading หมดปัญหาเบอร์กวนใจด้วย Whoscall

หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร

ห้องสมุดวัดบวรนิเวศวิหาร จัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497  โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ริเริ่ม และใช้ห้องโถงชั้นล่างของตำหนักล่างเป็นห้องสมุด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2511  ได้ย้ายจากตำหนักล่างไปตั้งที่ชั้นล่างของตึก ภ.ป.ร. พร้อมทั้งปรับปรุงตู้หนังสือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ใหม่ ครั้งถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 นับเป็นวันครบรอบ 100 ปี วันประสูติแห่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์  ทางวัดและศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันจัดงานบำเพ็ญกุศลและจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ระหว่างวันที่ 21-27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และได้เปิดห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพ โดยผู้ริเริ่มการจัดตั้งห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพขึ้น คือ คุณนเรศ นโรปกรณ์  Continue reading หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร

Constructing SEAsia Periodical Database

ฟังบรรยาย Constructing Southeast Asian Periodicals Database เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

Southeast Asian Periodicals Database เป็นฐานข้อมูลวารสารขนาดเล็ก หลายภาษา ใช้ Open source software ชื่อ SQLite3/PHP ในการจัดทำ

Interface ในการสืบค้นมีหลายภาษา ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว และภาษาเขมร ให้ข้อมูลบรรณานุกรมของวารสารที่จัดพิมพ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

13721

การฟังการบรรยายครั้งนี้เน้นไปในเชิงภาษาเทคนิคในการจัดทำฐานข้อมูล โครงสร้างฐานข้อมูล และสาธิตการใช้ฐานข้อมูลจาก iPad

001

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนในโครงการ “SAKURA EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE : JAPAN-ASIA YOUTH EXCHANGE PROGRAM IN SCIENCE”

NATIONAL DIET LIBRARY, KANSAIKAN (NDL)

MAP ROOM , CENTER FOR SOUTHEAST ASIAN STUDIES, KYOTO UNIVERSITY

TEPIA MUSEUM

TOYO BUNKO 

INSTITUTE OF DEVELOPING ECONOMIES, LIBRARY: IDE

KYOTO UNIVERSITY : MAIN LIBRARY

Map Room, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

การศึกษาดูงาน Map Room, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University (CSEAS)  เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

Map Room, CSEAS จัดเก็บแผนที่ประมาณ 44,000 แผ่น ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศใกล้เคียง ได้แก่ อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ปากีสถาน จีน เกาหลี ออสเตรเลีย หมู่เกาะแปซิฟิก และญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้เข้าฐานข้อมูลออนไลน์ แต่จะมีแฟ้มอินเด็กแยกตามภูมิภาค เพื่อหาในตู้แผนที่

IMG_25580616_133321

นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายทางเดียวเทียมอีกประมาณ 3500 ชิ้น ซึ่งจัดทำดิจิตอลด้วยบริการห้องแผนที่ให้ใช้ภายในเท่านั้นและมีบริการถ่ายเอกสารฟรี เพื่อการศึกษาและวิจัย Continue reading Map Room, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University

National Diet Library, Kansaikan (NDL)

การศึกษาดูงานห้องสมุด National Diet Library เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

ห้องสมุด NDL หรือ ห้องสมุดรัฐสภาแห่งชาติ ถือเป็นหอสมุดแห่งชาติและหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติของญี่ปุ่นด้วย มีสองสาขาคือที่ โตเกียว และ คันไซ ซึ่งที่โตเกียวจะเก็บหนังสือที่ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงหนังสือการ์ตูน ภาพถ่าย หนังสือภาพ ส่วนที่วิทยาเขต คันไซจะเก็บหนังสือเอกสารวิชาการมากกว่า และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มีวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกกว่า 6 แสนเล่ม เอกสารต่างประเทศทางวิชาการ มาตรฐานอุตสาหกรรม และจัดเก็บหนังสือทางเอเชีย

IMG_25580617_143718

 ห้องสมุด NDL ก่อตั้งเมื่อปี 2002 เพราะปัจจัยด้านที่จัดเก็บที่โตเกียวไม่เพียงพอไม่สามาถขยายพื้นที่ได้ และต้องการให้สาขาคันไซเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  เป็นห้องสมุดใต้ดิน 4 ชั้น เพื่อการควบคุมความชื้นและป้องกันแผ่นดินไหว

IMG_25580617_142330

Continue reading National Diet Library, Kansaikan (NDL)

ขึ้นเครื่องครั้งแรกกับสายการบินนกแอร์

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่คนนิยมใช้เดินทางภายในประเทศ เพราะว่าปัจจุบันราคาโดยสารนั้นถูกลงจากเมื่อก่อนมาก เป็นที่รู้จักในสายการบินต้นทุนต่ำ  (Low-cost Airline) เพราะเมื่อเทียบราคากับการโดยสารทางรถประจำทางหรือรถทัวร์ในระยะทางที่ไกลๆ ค่าโดยสารจะไม่ต่างกันมากหรืออาจจะถูกกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีโปรโมชั่น  เมื่อเทียบกับเวลาที่ต้องใช้เดินทาง ทำให้ประหยัดเวลาเดินทาง สะดวกสบาย ไม่ต้องปวดเมื่อยจากการนั่งรถนานๆ คนจึงนิยมโดยสารทางเครื่องบินมากขึ้น

สายการบินต้นทุนต่ำที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ สายการบินแอร์เอเชีย (AirAsia)   สายการบินนกแอร์  (Nok Air) สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) สายการบินไทยสมายล์ (Thai Smile) เป็นต้น

แต่สำหรับวันนี้จะมาแนะนำวิธีการขึ้นเครื่องบินครั้งแรกกับสายการบินนกแอร์กันตั้งแต่เริ่มแรก  หลังจากที่เราจองตั๋วโดยสารผ่านหน้าเว็บไซต์ (http://www.nokair.com) แอพพลิเคชั่นบนมือถือ ศูนย์บริการลูกค้า 1318  หรือ เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) แล้ว ก่อนขึ้นเครื่องเราต้องทำการ เช็คอิน (Check-in) เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราจะเดินทางการเที่ยวบินนั้น แต่สิ่งสำคัญที่จะใช้ขึ้นเครื่องคือ บัตรโดยสาร (Boarding Pass) ที่จะได้หลังจากเราทำการเช็คอินแล้ว กับบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต Continue reading ขึ้นเครื่องครั้งแรกกับสายการบินนกแอร์

ไหว้พระใหญ่องค์ตื้อวัดปากแซง และเดินเล่นหาดทรายสูง

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร มีอายุเก่าแก่  ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต บ้านปากแซง ต.พะลาน กิ่ง อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่นับถือของประชาชนชาวไทยและชาวลาว ทุกปีจะมีงานประจำปีขึ้นเพื่อให้ประชาชนสองฝั่งโขงได้มีโอกาสนมัสการ ทำบุญ ตลอดจนมีการออกร้านให้ความบันเทิงแก่ผู้มาท่องเที่ยวบริเวณนอกวัด ซึ่งจะจัดประมาณก่อนวันมาฆะบูชาของทุกปี

71123

แต่เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง เมือประมาณวันที่ 13 ธันวาคม 2557 ได้เกิดไฟไหม้ภายในอุโบสถทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก จนปัจจุบัน (วันที่ 3 พ.ค. 2558) ได้ทำการบูรณะไปบ้างแล้วดังภาพ

71058

 

 

 

 

 

 

 

 

Continue reading ไหว้พระใหญ่องค์ตื้อวัดปากแซง และเดินเล่นหาดทรายสูง

เลขเรียกหนังสือ (Call number) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเวลาสืบค้นหนังสือของสำนักหอสมุด จะได้เลขเรียกหนังสือหรือเลขหมู่หนังสือนั้นมีอยู่หลายแบบ อาจจะทำให้ผู้ใช้บริการสงสัยอยู่บ้าง ทั้งนี้บางครั้งจะพบว่าหนังสือเล่มเดียวกันแต่มีเลขเรียกหนังสือต่างกัน เพราะสำนักหอสมุด ได้มีการปรับเปลี่ยนเลขเรียกหนังสือให้สอดคล้องกับปัจจุบันโดยไม่กลับไปแก้ไขเลขเรียกหนังสือเดิม  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการกำหนดเลขเรียกหนังสือของผู้ปฏิบัติงาน การจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้นของผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนการค้นหาของผู้ใช้บริการ

ตัวอย่าง    หนังสือเล่มเดียวกันแต่มีเลขเรียกหนังสือต่างกัน

63884

Continue reading เลขเรียกหนังสือ (Call number) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

KARAOKE ก็ไม่ใช่

ปัจจุบันเวลาสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นจากการสืบค้นผ่าน

One search

onesearch

หรือ WorldCat

worldcat

หรือ OPAC ของห้องสมุด

opac

มักจะเจอรายการบรรณานุกรมภาษาไทย มีอีกหนึ่งภาษาขึ้นมาคู่กัน เป็นภาษาที่จะเรียกว่า Karaoke ก็ไม่ใช่ แต่จะคล้ายๆ จะมีอักษรลักษณะพิเศษเพื่อช่วยในการออกเสียง ภาษาที่ว่านี้กัน นั่นคื่อภาษา Romanization

Romanization คือ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง           (ดูคู่มือการถอดเสียงได้ที่นี่) ในกรณีของภาษาญี่ปุ่น คือ Romaji ในกรณีของภาษาจีนคือ Pinyin

ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารและการเก็บ ข้อมูลในระดับสากล เพราะปัจจุบันสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC  (Online Computer Library Center)

Continue reading KARAOKE ก็ไม่ใช่

ร้อนนี้ที่สามพันโบก

สามพันโบก  หรือ แกรนด์แคนยอนเมืองไทย

11063355_10205527258433224_1701530644_n

ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี       สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้น้ำ ด้วยแรงของกระแสน้ำวนกัดเซาะ ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็กใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก (โบกในภาษาอีสานแปลว่า แอ่ง หรือ หลุม)

3

Continue reading ร้อนนี้ที่สามพันโบก