Tag Archives: Linked data

FAST กับยุคใหม่ของ Cataloger (ตอนที่ 1)

FAST ย่อมาจาก Faceted Application of Subject Terminology เห็นจากชื่อ น่าจะพอเดาได้ว่า น่าจะเกี่ยวกับ หัวเรื่อง คำศัพท์ แน่ๆ OCLC กำลังพัฒนา FAST ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เป็นหัวเรื่อง เพื่อให้ใช้กับสารสนเทศบนเว็บ โดยอยู่บนพื้นฐานของ หัวเรื่องหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LSCH) แต่ทำเพื่อให้ใช้ได้ง่ายกว่า

ถ้าผ่านการเรียนบรรณารักษ์มาน่าจะจำได้ว่า มีระบบ Faceted Classification เป็นการจัดหมวดหมู่แบบแยกสังเคราะห์ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ทุกแง่มุม เลยอนุมานจากชื่อก่อนว่า น่าจะเป็นการพัฒนาหัวเรื่องให้มีคำที่มีทุกแง่มุม หรือละเอียดมากขึ้น แต่ใช้ง่ายกว่าเดิม คงต้องติดตามต่อไปว่า FAST มีวิธีการอย่างไร เป็นแบบชื่อระบบ Faceted หรือไม่

OCLC วางแผนไว้ว่า FAST นี้ ช่วยให้ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานวิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม พูดง่ายๆ ว่า ไม่ใช่บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม หรือพูดให้ง่ายๆ อีกว่าไม่ใช่บรรณารักษ์น่ะ หรือไม่มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์การลงรายการ สามารถนำ FAST ไปใช้ได้ในการหาสารสนเทศได้ เพราะถ้าเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรม เหล่าบรรณารักษ์งานนี้จะรู้จักแต่คำศัพท์ควบคุม แล้วใครที่ไหนจะสามารถทำได้ แม้ว่าแนวคิดในการให้หัวเรื่องควรจะเปลี่ยนแล้วก็ตาม แต่บรรณารักษ์กลุ่มงานนี้จะยังไม่เปลี่ยน หรืออีกเหตุผลหนึ่งของการพัฒนา FAST ก็คือหัวเรื่องที่ใช้อยู่เดิม ไม่พอกับสารสนเทศที่โตขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเรื่องการขาดฟังก์ชั่นในเรื่องของระบบการจัดการเนื้อหา (Content management systems) กับหัวเรื่องของ LCSH มีการพูดถึงกันมากว่า ควรมีการทำงานข้ามระบบสารสนเทศกัน (รวมทั้งระบบที่ไม่ใช่ มาร์ค) นี่ก็น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็น FAST และที่สำคัญ FAST ใช้เป็น Linked data ได้ Continue reading FAST กับยุคใหม่ของ Cataloger (ตอนที่ 1)

BIBFRAME

จากบทความของ Marshall Breeding ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุด และพูดถึง Linked data กับโครงการ BIBFRAME ของ Library of Congress (LC) จึงขอแนะนำแหล่งสารสนเทศเกี่ยวกับ BIBFRAME เพื่อเป็นการศึกษาในเบื้องต้นว่า คืออะไร และจะมาเกี่ยวข้องกับ MARC ที่ใช้ทำงานกันอยู่ในทุกวันนี้อย่างไร

แนะนำเว็บไซต์ของ Library of Congress เป็นอันดับแรกเลย เพราะเป็นเจ้าของโครงการ  http://www.loc.gov/bibframe/  มีข้อมูลให้ศึกษาที่มาของโครงการ และพัฒนาการของโครงการ ข้อมูลมากมายทีเดียว สามารถติดตามได้

อีกเรื่องหนี่งที่น่าสนใจ คือ The Relationship between BIBFRAME and OCLC’s Linked-Data Model of Bibliographic Description: A Working Paper โดย Carol Jean Godby

เทคโนโลยีห้องสมุดในปี 2015

Marshall Breeding  ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุดไว้ในบทความ เรื่อง Library Technology Forecast for 2015 and Beyond   พอหยิบยกมาโดยสังเขป ดังนี้

  • Linked data
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจกันมากในปีที่ผ่านมา มีหลายโครงการที่เกิดขึ้น อย่างเช่น Library of Congress (LC) ที่มีโครงการ BIBFRAME เกิดขึ้น BIBFRAME จึงน่าจะเป็นโครงการที่น่าจับตามองในเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลจาก MARC
  • การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile)
    ในปีหน้า การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อรองรับการใช้บริการจากห้องสมุดยังเป็นเรื่องที่จะมีมากขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเว็บเพื่อให้สนับสนุนการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้มากขึ้นและใช้งานง่ายมากกว่าเดิม
  • 3D Printing
    การให้บริการ 3D Printer เป็นบริการทางนวัตกรรมอย่างหนึ่งของห้องสมุด
  • เทคโนโลยีอื่นๆ
    NFC (Near Field Communication)  เทคโนโลยี NFC เป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือระบบจ่ายเงินต่างๆ เช่น iPhone 6 ถูกออกแบบให้รองรับการใช้ NFC เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสำหรับสร้าง application ต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับ Samsung และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ

ติดตามอ่านโดยละเอียดได้ที่  http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

ายการอ้างอิง:

Marshall Breeding. “Library Technology Forecast for 2015 and Beyond” Computers in Libraries, December 2014,  Retrieved : 24 Jan, 2015 from http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml