Tag Archives: หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดลำดับความเกี่ยวข้อง (Relevance Ranking) คืออะไร สำคัญไฉน !!!

การสืบค้น ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ปัจจุบันมีอยู่มากมายมหาศาล สำหรับหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในการสืบค้นหลักๆ ที่ทุกวันนี้มี 3 ช่องทางให้เลือกสืบค้นได้ตามความเหมาะ ประกอบด้วย (1) ระบบ EDS (EBSCO Discovery Service) (2) ระบบ Worldshare ILL และ (3) ระบบ OPAC ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha  Continue reading การจัดลำดับความเกี่ยวข้อง (Relevance Ranking) คืออะไร สำคัญไฉน !!!

ความร่วมมือกับหอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ

หอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น วารสาร งานวิจัย รวมทั้งสิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

Capture

Continue reading ความร่วมมือกับหอสมุดกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญ

ยกระดับความร่วมมือระหว่างห้องสมุด : TU Library และ SISUL

ความร่วมมือระหว่าง TU Library และ SISUL
ความร่วมมือระหว่าง TU Library และ SISUL

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยกระดับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ โดยวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงระหว่างห้องสมุด กับ Mr. Ren ShuHuai ผู้อำนวยการห้องสมุด Shanghai International Studies University

Continue reading ยกระดับความร่วมมือระหว่างห้องสมุด : TU Library และ SISUL

Journal Index คืออะไร?

Journal Index คืออะไร?


Journal Index คือ เครื่องมือที่ทำให้เราค้นหาบทความที่เราต้องการด้วย #ชื่อบทความ #ชื่อผู้เขียน #ชื่อวารสาร ได้จากระบบสืบค้น และยังสามารถกำหนด #ปีที่เผยแพร่ ได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังบอกด้วยว่าวารสารนั้น มีให้บริการที่ห้องสมุดใด

Journal Index

—-
ความพิเศษของ TU Journal Index คือ ถ้าวารสารเล่มใดมี Full Text ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้เลยภายในเครือข่ายมหาวิทยาลัย

ไปลองใช้งานกันได้ที่ >> https://index.library.tu.ac.th

ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่การอ่านและการค้นคว้า

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ในการสัมมนาบุคลากรประจำปี ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “หรือไม่ใช่ห้องสมุด!? ทำไม? อะไร? อย่างไร?”  ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรและพัฒนาองค์กร บริษัท ซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด และในฐานะคณะกรรมการอำนวยการหอสมุดฯ  ได้มาเล่าถึงยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่อ่านและการค้นคว้าของห้องสมุด พร้อมกับยกตัวอย่างของการปรับปรุงร้านหนังสือชื่อดังของเกาหลี คือ ร้าน Kyobo ซึ่งเป็นร้านหนังสืออันดับต้น ๆ ของเกาหลีใต้ ที่ให้ความสำคัญกับ “ลูกค้า” ด้วยการปรับปรุงรูปแบบร้าน “การมีพื้นที่ให้ผู้อ่าน” มากกว่าที่จะเป็นโกดังเก็บหนังสือ

2011yip_1132011_books_bookstore_downtown_throughthewindow-792411

หากถามถึง “ห้องสมุด” คงไม่ต่างกัน เพียงแต่ต้องปรับวิธีคิดว่า  “ห้องสมุด” จะเป็น “โกดังเก็บหนังสือ”  หรือ  เป็น “ที่รวมของคนอ่านหนังสือ” Continue reading ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่การอ่านและการค้นคว้า

เก็บตกจากการดูงานหอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล

ดูงานหอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์  2561 ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำคณะบุคลากรจากงานสื่อสารองค์กรและโสตทัศนศึกษา งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และทีมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ เยี่ยมชมและดูงานหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล Continue reading เก็บตกจากการดูงานหอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล

หอสมุดฯ ตรวจประเมินระบบบริหารคุณภาพ Stage 2

บรรยากาศการประชุมเปิดการตรวจรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ณ ห้องประชุม True Lab ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต
บรรยากาศการประชุมเปิดการตรวจรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ณ ห้องประชุม True Lab ชั้น 1 อาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต

ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม คณะผู้บริหารหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นำโดย ผศ.เอกรินทร์ ยลระบิล  ผู้อำนวยการหอสมุดฯ  อาจารย์กฤษณ์ ปัทมะโรจน์  รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้  และนางสาวฐิติมา หิรัญเวชยางกูร รองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนาได้ต้อนรับคณะผู้ตรวจประเมินระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2015  จากบริษัท SGS – CBE จำกัด ใน Stage ที่ 2    Continue reading หอสมุดฯ ตรวจประเมินระบบบริหารคุณภาพ Stage 2

การลดหย่อนค่าปรับ

เทคนิคง่ายๆ  ในการลดหย่อนค่าปรับ 

งานบริการยืม-คืน เป็นงานบริการหลักสำคัญบริการหนึ่งที่มีการใช้บริการกันมากในแต่ละวัน  โดยสิทธิการยืมจะแตกต่างกันทั้งจำนวนเล่ม และระยะเวลาในการให้ยืมตามประเภทของสมาชิก   สามารถยืมต่อทางอินเทอร์เน็ต (renew) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ยืมเป็นอย่างมากโดยไม่ต้องนำเล่มมายืมต่อที่ห้องสมุด แต่หากมีผู้อื่นจองหนังสือที่ยืมจะไม่สามารถยืมหนังสือต่อได้  และเมื่อนำหนังสือมาคืนห้องสมุดเกินวันกำหนดส่ง  จะเสียค่าปรับ ซึ่งค่าปรับที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่นอกจากเกิดจากการที่ยืมต่อไม่ได้แล้ว  ยังเกิดจากการที่ไม่ได้ทำการยืมหนังสือต่อเมื่อถึงวันกำหนดส่งจะด้วยเหตุใดก็ตาม  ทำให้เกิดค่าปรับตามจำนวนวันที่เกินกำหนดส่ง และตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดกำหนดดังนี้
Fine rate2

ที่มา    https://library.tu.ac.th/th/library-service/lending-renewing-service

ซึ่งห้องสมุดมีนโยบายลดหย่อนค่าปรับ 1 ใน 3 ของค่าปรับทั้งหมด  แต่ต้องมียอดค่าปรับไม่ต่ำกว่า 300 บาท  โดยผู้ยืมมากรอกแบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ (QF-LS-08) ได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ของห้องสมุดสาขาทุกแห่ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

example from2

ภาพที่ 1. ตัวอย่างการกรอกแบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ
(QF-LS-08)

หลังจากที่ผู้ใช้บริการกรอกแบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ (QF-LS-08) เรียบร้อยแล้ว ผู้ปฏิบัติงานจะทำการลดหย่อนค่าปรับในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ใส่ Username และ Password เพื่อ Login เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA

Login2

  1. ที่หน้าจอ Check Out ให้พิมพ์เลข ID ของผู้ใช้บริการที่มาขอลดหย่อน จากนั้นคลิกที่ Submit” หรือ กด Enter”
    Fine
  2. จะปรากฎหน้าจอข้อมูลของผู้ใช้บริการ ให้คลิกที่เมนู Fines”Fine2
  3.  จะปรากฏหน้าจอแสดงค่าปรับทั้งหมด  ดังภาพ ผู้ปฏิบัติงานคำนวณจำนวนเงินค่าปรับ คือจำนวนเงินที่ลดหย่อน และจำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายจริง
     ตัวอย่าง  กรณีมีค่าปรับทั้งหมด 1,155 บาท ลดหย่อน 1 ใน 3 คือจำนวนเงิน  385 บาท ผู้ใช้บริการต้องจ่ายจริงจำนวนเงิน 770 บาท  โดยคลิกที่ Pay amount” ดังภาพpayment
  4. ให้ทำการ Pay ค่าปรับในส่วนที่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายก่อน โดยกรอกจำนวนเงินที่ช่อง Collect from patron” จากนั้นคลิกที่ Confirm”
    Payment2
  5. ค่าปรับที่เหลือให้คลิกที่ Write off all” จากนั้นให้คลิกที่ OK”
         เพื่อลบค่าปรับทั้งหมดที่เหลือให้เป็น “0”  ไม่ให้มียอดค่าปรับคงค้างในชื่อของผู้ใช้บริการ
    write off
  6. ตรวจสอบอีกครั้ง โดยคลิกที่เมนู Fines” จะปรากฏหน้าจอไม่มีค้างค่าปรับ ดังภาพ
    nune2
  7. ผู้ปฏิบัติงาน ออกใบเสร็จการรับเงินให้กับผู้ใช้บริการเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงิน  และเก็บ“แบบคำร้องขอลดหย่อนค่าปรับหนังสือ”
    (
    QF-LS-08)  ไว้เพื่อตรวจสอบกับรายการ Report ค่าปรับ
    ในแต่ละวันต่อไป@@ คู่มือรายละเอียดการปฏิบัติงาน : เรื่องการเก็บ-ส่งเงินค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และการชดใช้ทรัพยากรสารสนเทศหาย/ชำรุด (QH-LS-05)
    ดูที่  https://eportal.tu.ac.th  

หอสมุดฯ ตรวจประเมินคุณภาพ ISO9001:2015 stage 1

ประชุมเพื่อรับทราบแผนการตรวจประเมิน ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารหอสมุดแห่ง มธ. ท่าพระจันทร์
ประชุมเพื่อรับทราบแผนการตรวจประเมิน ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารหอสมุดแห่ง
มธ. ท่าพระจันทร์

วันที่ 29 กันยายน 2560 คณะผู้บริหารหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นำโดย ผศ.เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดฯ ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจประเมินจากบริษัท SGS-CBE Company Limited จำนวน 3 ท่าน โดยมี คุณนฤมล มารดาสกุล เป็นผู้นำทีมในการตรวจประเมินครั้งนี้ โดยการตรวจประเมินดังกล่าว ดำเนินการพร้อมกันทั้ง 2 ศูนย์ คือ ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิต ในส่วนของศูนย์รังสิต นางปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ รักษาการหัวหน้าหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และนางญาณภา สมนึก หัวหน้าห้องสมุดศูนย์รังสิต คอยให้การต้อนรับ Continue reading หอสมุดฯ ตรวจประเมินคุณภาพ ISO9001:2015 stage 1

หอสุมดฯ กับระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 (PART 1)

“การประกันคุณภาพ” เป็นวิธีบริหารจัดการเพื่อเป็นหลักประกันหรือสร้างความมั่นใจว่ากระบวนการหรือการดำเนินงานจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนด หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ยึดหลักคุณภาพในการปฏิบัติงานมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา หอสมุดฯ มีการใช้ระบบคุณภาพต่างๆ อาทิ รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) และปัจจุบัน หอสมุดฯ อยู่ระหว่างการใช้ระบบ ISO 9001:2015 เป็นระบบบริหารคุณภาพขององค์กร โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในต้นปีงบประมาณ 2561  หอสมุดฯ จะต้องได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:201519275218_1427988253914505_8587031819247451099_n Continue reading หอสุมดฯ กับระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 (PART 1)