Category Archives: 03-Circulation CoP

ความรู้บริการเคาน์เตอร์ให้บริการ (ยืม คืน ตอบคำถาม การรับสมัครสมาชิก อื่น ๆ)

อรอนงค์ เอี่ยมเยี่ยม : ความทรงจำงานวารสารหอสมุดปรีดีฯ

อรอนงค์ เอี่ยมเยี่ยม
อรอนงค์ เอี่ยมเยี่ยม

ในวันที่คุณต้องเลิกทำงานที่คุณรัก คุณจะเตรียมรับมือกับมันอย่างไร?   สำหรับ “อรอนงค์ เอี่ยมเยี่ยม”  หรือ  “พี่อร”  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ประจำห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  เป็นหนึ่งในบุคลากรที่จะเกษียณอายุราชการในปี 2562 นี้  Continue reading อรอนงค์ เอี่ยมเยี่ยม : ความทรงจำงานวารสารหอสมุดปรีดีฯ

Customer Insight : ปรับปรุงบริการผ่าน Customer Journey จากโครงการ PatronX

customer insight-reและแล้วโครงการ  PatronX ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ก็สำเร็จเสร็จสิ้น หลังจากได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา  โดยล่าสุดได้มีการประชุมสรุปผลการดำเนินการ และระดมสมองเพื่อสรุปเส้นทางการค้นหาหนังสือของนักศึกษา ปัญหาที่พบในแต่ละเส้นทาง แนวทางการแก้ไขเพื่อจัดทำเป็นโครงการพัฒนางานห้องสมุดในปี 2563 และปี 2564 ตามความเหมาะสม เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา Continue reading Customer Insight : ปรับปรุงบริการผ่าน Customer Journey จากโครงการ PatronX

ยุวดี แก้วเอี่ยม : 9 คุณสมบัติบรรณารักษ์บริการ

ยุวดี แก้วเอี่ยม บรรณารักษ์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์
ยุวดี แก้วเอี่ยม
บรรณารักษ์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์

ในกระบวนงานห้องสมุด  “งานบริการ” โดยเฉพาะการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ถือเป็นหน้าที่สำคัญของบรรณารักษ์ห้องสมุด และยังเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของ “ยุวดี แก้วเอี่ยม”  ที่น้องๆ มักเรียก “พี่ตุ๊ก”  หรือ  “ป้าตุ๊ก”  บรรณารักษ์หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ที่จะเกษียณอายุราชการในปี 2562 Continue reading ยุวดี แก้วเอี่ยม : 9 คุณสมบัติบรรณารักษ์บริการ

22 คุณลักษณะของผู้ให้บริการ (บรรณารักษ์)ที่ดี

ภาวณา เขมะรัตน์

จากที่ผู้เขียนได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ความเชี่ยวชาญของผู้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า”  โดย คุณภาวณา  เขมะรัตน์  บรรณารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักบรรณาสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ในการประชุมผู้บริหารและคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562  ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“การเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อน และเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรเดินไปข้างหน้า”   Continue reading 22 คุณลักษณะของผู้ให้บริการ (บรรณารักษ์)ที่ดี

ความต้องการของผู้ใช้บริการต่อบริการยืมระหว่างห้องสมุด

WorldShare_Logo_H_Color

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์เรื่อง “สภาพและการประเมินความต้องการจำเป็นต่อบริการยืมระหว่างห้องสมุดเวิลด์แชร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย” โดยจะกล่าวถึงในส่วนของ “ความต้องการของผู้ใช้บริการต่อบริการยืมระหว่างห้องสมุด” ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้กำหนดนโยบายรวมทั้งส่งเสริมการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

Continue reading ความต้องการของผู้ใช้บริการต่อบริการยืมระหว่างห้องสมุด

1 เมษานี้ เตรียมพบบริการใหม่ TU-PULINET

PULINETLogo-01 (1)

ข้อมูลบริการยืมระหว่างข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET)

PULINET คืออะไร?

โครงการความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค มีสมาชิกข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ถึง 20 แห่ง ประกอบกับมีความร่วมมือกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางอีก 4 แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน, ศรีราชา และกำแพงแสน), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินคร์ (หาดใหญ่และปัตตานี), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยพะเยา Continue reading 1 เมษานี้ เตรียมพบบริการใหม่ TU-PULINET

รู้หรือไม่ “ทำไมบรรณารักษ์ หาอะไรก็เจอ” เรียนรู้เทคนิคง่าย ๆ และได้ผลจริงในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ

เทคนิคการค้นหาหนังสือโดยการใช้ Keywords

#เหมาะกับ ผู้ใช้บริการที่จำชื่อเรื่อง หรือ รายละเอียดของหนังสือที่ต้องการค้นหาไม่ได้ทั้งหมด

#ข้อดี หากกำหนด Keyword ได้อย่างถูกต้อง จะทำให้ได้ผลการค้นหาที่ต้องการอย่างรวดเร็ว

7B4E13FE-81CE-48FB-A407-6C50AB87BEB6

Continue reading รู้หรือไม่ “ทำไมบรรณารักษ์ หาอะไรก็เจอ” เรียนรู้เทคนิคง่าย ๆ และได้ผลจริงในการค้นหาหนังสือที่ต้องการ

การชดใช้หนังสือหาย

book-809887_1280

การชดใช้หนังสือหายมี 2 วิธี คือ การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน และการชดใช้ด้วยการซื้อมาชดใช้

1.การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน

การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน ผู้รับบริการจะต้องชำระเงินเป็นจำนวน 2 เท่า ของราคาหนังสือ ตัวอย่างเช่น หนังสือราคาเล่มละ 1,000 บาท ผู้รับบริการจะต้องชำระเงินเป็นจำนวน 2,000 บาท และค่าดำเนินการทางเทคนิค 100 บาท รวมทั้งสิ้น 2,100 บาท เป็นต้น

แต่ถ้าหากไม่ปรากฎราคาของหนังสือเช่น หนังสือบริจาค วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ปรับขั้นต่ำเล่มละ 300 บาท และค่าดำเนินการทางเทคนิค 100 บาท รวมทั้งสิ้น 400 บาท

การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน มีขั้นตอน ดังนี้

Continue reading การชดใช้หนังสือหาย

การกำหนดอายุสมาชิก / การต่ออายุสมาชิกบัตรห้องสมุด มธ.

การกำหนดอายุสมาชิก / การต่ออายุสมาชิก

เนื่องจากเมื่อเปิดภาคการศึกษาทุกเทอม  ห้องสมุดจะพบว่าบัตรนักศึกษาหมดอายุ  อาจเนื่องจากมาจาก ไม่ได้จ่ายค่าบำรุงห้องสมุด เพราะไม่ได้ลงทะเบียนเรียน  ลาพักการศึกษา รักษาสถานภาพ  หรือ ลงทะเบียนเสียค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่ายซึ่งกรณีนี้การต่ออายุจะต่อให้ 1 ภาคการศึกษา

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานยืม-คืนทราบขั้นตอนการต่ออายุบัตรสมาชิก  จึงขอให้ดำเนินการ ดังนี้

Continue reading การกำหนดอายุสมาชิก / การต่ออายุสมาชิกบัตรห้องสมุด มธ.

ประวัติและพัฒนาการบริการ Book Delivery มธ. ปี 2529-2561

BD

 

บริการ Book Delivery  เป็นบริการยืมระหว่างห้องสมุดภายใน มธ. ที่อำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยส่งคำขอยืมไปที่ห้องสมุดที่ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต  ศูนย์พัทยา ศูนย์ลำปาง และห้องสมุดสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. / ETDA) ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องไปยืมและคืนด้วยตนเอง

 ประวัติความเป็นมาของการให้บริการ Book Delivery มธ.

จากการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขยายการเรียนการสอนไปที่วิทยาเขตศูนย์รังสิต ปี 2529 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   และได้กำหนดรูปแบบการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่1 เป็นสหวิทยาการนั้นคณาจารย์และนักศึกษาจึงต้องใช้ทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายสาขาวิชา   ซึ่งในขณะนั้นศูนย์รังสิตมีห้องสมุดเปิดบริการเพียง  2  แห่ง  คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และห้องสมุดสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา  ดังนั้นสำนักหอสมุดในฐานะหน่วยงานที่ต้องสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยจึงได้จัดบริการรับคืนหนังสือระหว่างห้องสมุดที่ท่าพระจันทร์กับศูนย์รังสิต    ต่อมาได้ขยายบริการเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดด้วย   เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ท่าพระจันทร์และศูนย์รังสิตได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น   โดยกำหนดให้ผู้ใช้กรอกแบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุดภายใน และกำหนดวันที่ผู้ใช้มารับทรัพยากรสารสนเทศได้ในวันอังคารและวันพฤหัสบดี     ส่วนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะใช้โทรศัพท์ในการติดต่อระหว่างกัน   และใช้แบบฟอร์มส่งตามให้ภายหลัง

Continue reading ประวัติและพัฒนาการบริการ Book Delivery มธ. ปี 2529-2561