Tag Archives: ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

20150109-HRH-Sirindhirn

ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการ ที่นำเสนอในการเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างฐานข้อมูลภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับจีนศึกษา ทำงานประสานกับโครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาและสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนและอารยธรรมจีน ทั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามเป็นศิริมงคลตั้งแต่ พ.ศ. 2552 Continue reading ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นิทรรศการ 3Cs to Learning

ในโอกาสเปิดศูนย์อาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการ เรื่อง 3Cs to Learning ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามปณิธานของสำนักหอสมุด ดังนี้

นิทรรศการ 3Cs to Learning
นิทรรศการ 3Cs to Learning

สำนักหอสมุดมีพันธกิจในการให้บริการวิชาการแก่ประชาคม โดยเน้นหลักความถูกต้อง ความเชื่อมโยงของข้อมูลและที่สำคัญคือความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเข้าถึงสารสนเทศ สร้างนวัตกรรมใหม่ในการเรียนรู้ เพื่อการสืบค้นสารสนเทศที่มีคุณภาพและที่สำคัญคือส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อความยั่งยืนของการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพต่อไป

นิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วย 9 เรื่อง  ดังนี้

  1. การจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
  2. ศูนย์ทดสอบสมรรถนะแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ MyCat
  4. Koha โปรแกรมเปิดเผยรหัสสำหรับห้องสมุด
  5. การจัดการความรู้ในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  6. ระบบการยืมระหว่างห้องสมุดภายในและภายนอกประเทศ WorldShare ILL
  7. TULIB Application
  8. ebooks ของสำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์
  9. ศูนย์การเรียนรู้จีนศึกษาบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายการอ้างอิง:

ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ. นิทรรศการ 3Cs to Learning. (คำกราบทูลถวายรายงานในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558)

๑๐๐ ชื่อเรื่อง หนังสือคำสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

รายชื่อหนังสือคำสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑๐๐  ชื่อเรื่องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุดรวมรวบขึ้นมานี้เพื่อทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๘ โดยหนังสือคำสอนทั้ง  ๑๐๐ ชื่อเรื่องนี้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://beyond.library.tu.ac.th  ได้แก่  Continue reading ๑๐๐ ชื่อเรื่อง หนังสือคำสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ปลูกอาคารเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิด ก่อเกิดองค์ความรู้ใหม่

บทสัมภาษณ์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิชาย พันธุ์ไพโรจน์
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ. ดร.ภูมิชาย พันธ์ุไพโรจน์
ผศ. ดร.ภูมิชาย พันธ์ุไพโรจน์

แนวคิดรูปแบบและการใช้งานของอาคารเพื่อการเรียนรู้
แนวคิดการออกแบบศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นการจูงใจให้นักศึกษาได้เข้ามาใช้พื้นที่นอกห้องเรียน ได้มาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างเพื่อน สาขาวิชา และคณะ รวมไปถึงหน่วยงานและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย จนเกิดการเรียนรู้และองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง Continue reading ปลูกอาคารเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิด ก่อเกิดองค์ความรู้ใหม่

กาลานุกรม การก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

ช่วงเวลา เหตุการณ์
มิ.ย. ๒๕๕๒ เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการจัดทำตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความร่วมมือของกองแผนงานและสำนักหอสมุด
๙ มิ.ย. ๒๕๕๒ ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งแรก
๒๓ มิ.ย. ๒๕๕๒ คณะทำงานฯดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑ ส.ค. ๒๕๕๒ คณะทำงานฯ สรุปรายงานผลการศึกษาต่ออธิการบดี โดยร้อยละ ๙๑ จากการสำรวจทั้งหมด ๗๙๒ คน เห็นว่าควรดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ แนวคิดเบื้องต้น
พื้นที่ก่อสร้าง: จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๘,๕๕๘ ตร.ม. รวมพื้นที่เจ้าหน้าที่และพื้นที่ธุรกิจแล้ว คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๐,๔๘๔ ตร.ม.
แนวทางการบริหารงาน: มหาวิทยาลัยจะเป็นเจ้าของพื้นที่อาคารทั้งหมด โดยมอบหมายให้สำนักหอสมุดเป็นผู้ดูแลเฉพาะพื้นที่ในส่วนของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองฯ โดยจะผลักดันในเรื่องการเรียนรู้ภาษานานาชาติ ในรูปคณะกรรมการร่วมกับคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาจากคณะศิลปศาสตร์
สถานที่ตั้ง: บริเวณพื้นที่จอดรถด้านหลังหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งอยู่ติดถนนปรีดี พนมยงค์และอยู่ตรงข้ามห้องสมุดศูนย์รังสิต พื้นที่ว่าง ๒ ไร่ ๒ งาน ๑๒ ตารางวา และมีพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน ๓ ไร่-งาน ๘๖ ตร.วา
แนวคิดการให้บริการ: จะให้บริการด้วยระบบอัตโนมัติ เป็นอุทยานการเรียนรู้ของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้รู้จักตนเองและรู้จักพัฒนาตนเองให้ทันสังคมในระดับนานาชาติ ภายในศูนย์ฯ จะมีส่วนธุรกิจที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ด้วย
การแบ่งพื้นที่การใช้ภายในอาคาร :
Concept Design : Green Building งานก่อสร้างและออกแบบ จะเน้นประหยัดพลังงานและตัวอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ภายนอก: มีลานโล่งภายนอก โดยออกแบบให้มีความสวยงาม ทันสมัย มีลักษณะโปร่งแสง ประหยัดพลังงานไฟฟ้า การวางตำแหน่งอาคาร คำนึงถึงแสงแดด และทิศทางลม การเลือกใช้วัสดุลดความร้อน และการใช้ฉนวนกันความร้อน การจัด Landscape พื้นที่สีเขียวอย่างเหมาะสม
ภายในอาคาร : การเลือกใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน การจัดฟังก์ชั่นการใช้งานอย่างเหมาะสม ออกแบบตกแต่งภายในจะต้องไม่เลือกใช้อะไรมากเกินไป แพงเกินไป และเลือก technology ที่ทันสมัย การออกแบบภายในเพื่อนักศึกษาวัยรุ่น มีระบบ safety ตามกฎหมายควบคุมอาคาร
๒๕ ส.ค. ๒๕๕๒ มีข้อกำหนดการออกแบบก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรายละเอียดอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯ
ก.ย. ๒๕๕๒ สรุปการจัดสรรพื้นที่ภายในอาคาร รวมทั้งรับฟังการนำเสนอข้อมูล/ผลงานของบริษัทผู้ออกแบบและผลงานการออกแบบเบื้องต้น ของบริษัท ๔ บริษัท ได้แก่ บริษัท แปลน สตูดิโอ จำกัด บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด บริษัท ดี จี แอนด์ ซี จำกัด และบริษัท แปลน โมทิฟ จำกัด
๒๗ ต.ค. ๒๕๕๒ พิจารณาผลงานการออกแบบของบริษัทผู้ออกแบบ ๓ ราย โดยบริษัทที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด
๑ ก.ค. ๒๕๕๓ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด จัดทำแบบแปลนอาคาร โครงการออกแบบ อาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครุภัณฑ์ ๑ หลัง เพื่อนำเสนอ
สรุปพื้นที่ใช้สอยและประมาณราคาค่าก่อสร้าง
กำหนดระยะเวลาดำเนินการ
ดำเนินการประกวดราคา ตุลาคม ๒๕๕๓
สำนักงบประมาณ อนุมัติงบฯ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
เซ็นสัญญาโครงการ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
เริ่มก่อสร้าง ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
๒๑ มิ.ย. ๒๕๕๓ ขออนุมัติดำเนินการจ้างเอกชนเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมครุภัณฑ์ ๑ หลังโดยวิธีตกลงราคา
๑๘ ส.ค. ๒๕๕๓ เริ่มสัญญาจ้างออกแบบก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พร้อมครุภัณฑ์ ๑ หลัง ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด
๒๙ ก.ย. ๒๕๕๓ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี มธ. เห็นชอบในหลักการและให้ข้อสังเกตในการก่อสร้าง ๕ ข้อได้แก่ ๑.การขอพระราชทานพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นชื่อของอาคาร และขอให้ผู้ออกแบบจัดเตรียมพื้นที่บริเวณด้านหน้าโถงทางเข้าของอาคารไว้สำหรับจัดนิทรรศการถาวรที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒.ในชั้นดาดฟ้าควรมีความชัดเจนในเรื่องของกิจกรรมและให้ปรับพื้นที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมตามความต้องการของผู้ใช้งาน
๓.สีภายนอกอาคารควรเน้นความยั่งยืน คงทน และสอดคล้องกับบริบทของอาคารโดยรอบ
๔.ควรเพิ่มระบบป้องกันปลวกเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาอาคาร และขอให้ใช้ระบบกันซึมที่มีคุณภาพ เนื่องจากอาคารภายในศูนย์รังสิตจะมีปัญหาในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างมาก
๕.ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย โดยเฉพาะป้ายบอกทางหนีไฟต่างๆ อย่างครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
การเลือกใช้ต้นไม้ ให้พิจารณาเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่หลากหลาย เช่น ยางนา ตะเคียน เป็นต้น ในการใช้เป็น Canopy Trees ภายในศูนย์รังสิต และให้นำงานวิจัยดังกล่าวไปเป็นข้อมูลในการทำงานด้านกำกับและควบคุมการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านกายภาพของมหาวิทยาลัยต่อไป
๑๔ มิ.ย. ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกหนังสือ ที่ ศธ ๐๕๑๖/๙๕๔  ถึง สำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ขอพระบรมราชานุญาตขอพระราชทานนามศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
๒๐ ก.ย. ๒๕๕๔ เริ่มสัญญาการก่อสร้างอาคาร โดยมีบริษัท แคนดู คอนสตรั๊คชั้น จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง และบริษัท แปลน คอนซัลแตนท์ส จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน
๑๒ ต.ค. ๒๕๕๔ บริษัทผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างเข้าปรับพื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ เพื่อเริ่มงานก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒๒ ต.ค. ๒๕๕๔ น้ำท่วมพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทำให้ต้องชะลอการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ธ.ค. ๒๕๕๔ บริษัทผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างเข้าสำรวจความเสียหายและปรับสภาพพื้นที่การก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หลังน้ำลด
๑ ม.ค. ๒๕๕๕ เริ่มงานก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงราชนครินทร์อีกครั้งหลังน้ำลด
๙ ม.ค. ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกหนังสือ เลขที่ ศธ ๐๕๑๖/๑๕ ถึงสำนักราชเลขาธิการ เรื่องขอนำส่งข้อมูลเพิ่มเติมในการขอพระบรมราชานุญาตขอพระราชทานนามศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า “ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
๒๔ เม.ย. ๒๕๕๕ บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด ปรับปรุงและนำเสนอแบบอาคาร โครงการอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมครุภัณฑ์ ๑ หลัง มหาวิทยาลัยศาสตร์ ศูนย์รังสิต
๔ มี.ค. ๒๕๕๖ สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือแจ้งเรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า “ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
๙ ก.ย. ๒๕๕๖ ขยายเวลางานก่อสร้างครั้งที่ ๑  ๑๘๐ วัน (๙ กันยายน ๒๕๕๖-๗ มีนาคม ๒๕๕๗) ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี ๒๕๕๔
๘ มี.ค. ๒๕๕๗ ขยายเวลางานก่อสร้างครั้งที่ ๒  ๑๘๐ วัน (๘ มีนาคม ๒๕๕๗- ๔ สิงหาคม ๒๕๕๗) ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น ๓๐๐ บาท ต่อ วัน
๑๙ พ.ค. ๒๕๕๗ สำนักราชเลขาธิการ มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แจ้ง ชื่อภาษาอังกฤษของ “ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” ว่า Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra Learning Centre
พ.ค. ๒๕๕๗ งานก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
๒๕ ก.ค. ๒๕๕๗ ตรวจรับมอบอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๒๘-๓๐ ก.ค. ๒๕๕๗ เปิดให้นักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗ เข้าเยี่ยมชมอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในกิจกรรมวันแห่งการเรียนรู้เป็นครั้งแรก
๑ ก.ย. ๒๕๕๗ เปิดให้บริการอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๕ ก.ย. ๒๕๕๗ อธิการดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประธานในพิธีเปิดการใช้งานอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๔-๑๔ ต.ค. ๒๕๕๗ นำร่องเปิดให้บริการศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ๒๔ ชั่วโมงครั้งแรก
๑๒ ม.ค. ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อย่างเป็นทางการ

 

แต่งเติมเพื่อสีสันของการเรียนรู้

บทสัมภาษณ์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรา สุขียศ
ผู้ช่วยคณบดีฝายบริหารอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง

image
ผศ.ศรา สุขียศ

อาคารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน

หลักหรือแนวคิดในการออกแบบตกแต่งภายใน ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เน้นการใช้งานของนักศึกษาที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาเข้ามาใช้งาน เข้ามาทำงานร่วมกัน พูดคุยปรึกษาหารือกัน หลังจากเลิกเรียนแล้ว เป็นจุดศูนย์รวมของนักศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะเห็นได้จากรูปแบบของการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ ที่เน้นการจัดเป็นกลุ่ม รองรับนักศึกษาทั้งกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ นอกจากนั้น โต๊ะ เก้าอี้ โซฟาต่างๆ ที่เลือกมาใช้จะมีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดกลุ่มได้ ตามความชอบของนักศึกษา รวมถึงวัสดุต่างๆ ภายในอาคารเป็นวัสดุประเภทอะคสูติคที่ช่วยซับเสียงทำให้เก็บเสียงได้ดี สร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ Continue reading แต่งเติมเพื่อสีสันของการเรียนรู้

สูจิบัตรที่ระลึกในโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้

สูจิบัตรที่ระลึกในโอกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2558  รายละเอียด

บทความที่เกี่ยวข้อง:

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 

 

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉากสะท้อนเสรีภาพแห่งการเรียนรู้

บทสัมภาษณ์: นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ
ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ
ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

ที่มา/สาเหตุ ของการขอพระราชทานชื่อ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เพื่อระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ที่มีต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะท่านถือเป็นราชวงศ์ ที่มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มากที่สุดพระองค์หนึ่ง ท่านเคยเป็นพระอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส แล้วท่านยังสอนให้นักศึกษารู้จักวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในสมัยนั้นท่านจะให้นักศึกษาในชั้นเรียนเลือกอ่านหนังสือ 1 เล่มพร้อมกับมานำเสนอให้ฟัง แล้วท่านจะให้แนะนำเพิ่มเติมให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาในหนังสือมากขึ้น ซึ่งถือเป็นต้นแบบและช่วยปลูกฝังให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งให้นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ศึกษา ค้นคว้า และรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง Continue reading ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉากสะท้อนเสรีภาพแห่งการเรียนรู้

ธรรมศาสตร์ ผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

บทสัมภาษณ์: ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อธิการบดี สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดี สมคิด เลิศไพฑูรย์

แนวคิดการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2554 มาแล้วเสร็จในปี 2557 โดยแนวคิดหลักในการก่อสร้างอาคารแห่งนี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะที่ท่านเคยเป็นพระอาจารย์ และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของนักศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาธรรมศาสตร์ เป็นสถานที่ให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน เพราะในโลกวิชาการที่แท้จริง ยังมีสิ่งต่างๆ มากมายให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกเหนือจากวิชาเรียนในห้องเรียน โดยเฉพาะในศูนย์การเรียนรู้ฯ และห้องสมุด ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ไว้ให้แก่นักศึกษาได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือ การทำการบ้าน การพบปะพูดคุยกัน ดังคำขวัญที่ติดไว้ด้านหน้าหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ ว่า Knowledge is power หรือ ความรู้ คือ พลัง คือ อำนาจ Continue reading ธรรมศาสตร์ ผู้นำแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่

ก่อร่างสร้างศูนย์การเรียนรู้ Learning Centre

บทสัมภาษณ์ : ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศ. ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
ศ. ดร.สุรพล นิติไกรพจน์

จุดเริ่มต้นศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

จุดเริ่มต้นศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เกิดจากแนวคิดเมื่อ 4-5 ปีก่อน ว่าธรรมศาสตร์ควรทำอะไรเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มิใช่การก่อสร้างเพียงอนุสาวรีย์ แต่ควรจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ท่านได้ให้ไว้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่ท่านให้กับนักศึกษาธรรมศาสตร์ตลอดช่วงระยะเวลาที่ท่านได้เป็นพระอาจารย์ ถือเป็นสิ่งใหม่ที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 สำนักหอสมุดและคณะศิลปศาสตร์จึงได้นำเสนอโครงการก่อสร้างห้องสมุดใหม่ แต่คำว่าห้องสมุดใหม่ที่นำเสนอนั้น เป็นห้องสมุดที่ต่างไปจากเดิม เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือ ไม่มีผนัง ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่เข้มงวดเหมือนห้องสมุดทั่วไป เป็นห้องสมุดที่เปิดโล่ง เหมาะสำหรับการค้นคว้าในศตวรรษที่ 21 มีที่อ่านหนังสือ มีที่นอน มีที่นั่งเล่น ให้บรรยากาศสบายๆ ซึ่งอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์แห่งนี้ได้สะท้อนแนวคิดเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี Continue reading ก่อร่างสร้างศูนย์การเรียนรู้ Learning Centre