Tag Archives: หอสมุดปรีดี พนมยงค์

การให้บริการนักศึกษาต่างชาติของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

IMG_6646 (1)

นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แบ่งได้เป็น  3  ประเภท  คือ

1.  เรียนแบบรับปริญญา มีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-เอก บริการที่ได้รับจะเหมือนกับนักศึกษาไทยในระดับเดียวกัน  รวมทั้งอายุสมาชิกกำหนดเป็นปีการศึกษา

2 .  เรียน 1หรือ2 ภาคการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนของโครงการในคณะ หรือวิทยาลัย   อายุสมาชิกกำหนดเป็นภาคการศึกษา เช่นนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) ของวิทยาลัยนานาชาติปรีดี  พนมยงค์   ซึ่งจะมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนทุกภาคการศึกษา

3.  เรียน 1 เดือน เป็นภาคฤดูร้อนของหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) เรียนในช่วงเดือนกลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม  บัตรนักศึกษาใช้เข้าห้องสมุดได้อย่างเดียว  ยืมออกไม่ได้

บริการที่ได้รับจากห้องสมุดสำหรับผู้ที่เรียนตั้งแต่ 1ภาคการศึกษา  มีบริการยืม-คืน  ยืมต่อทางInternet  บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุด    การสืบค้นข้อมูล (สำหรับผู้เรียนระยะสั้นและบุคคลทั่วไป)

IMG_05082015_135704    IMG_05082015_135823IMG_05082015_135334
การจัดทำข้อมูลนักศึกษาเพื่อให้บริการได้

1.  นักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา สำนักทะเบียนฯจะโอนข้อมูลของ                นักศึกษามาให้ห้องสมุดหลังจากการลงทะเบียน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเข้าฐานข้อมูลสมาชิกในโปรแกรมการยืมอัตโนมัติKOHA   นักศึกษาสามารถใช้บัตรประจำตัวนักศึกษายืมหนังสือ  ยืมต่อ/จองหนังสือได้ จนถึงวันที่หมดอายุสมาชิก

2.  นักศึกษาที่เรียนเป็นภาคการศึกษา เจ้าหน้าที่ของโครงการฯจะส่งรายชื่อนักศึกษา พร้อมเลขประจำตัวมาให้  ผู้ให้บริการจะต้องบันทึกข้อมูลของนักศึกษาเหล่านี้เข้าฐานข้อมูลสมาชิกเอง  ในส่วนของที่อยู่  หรือemail  จะบันทึกที่อยู่ และ emailของโครงการฯ  ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในโครงการฯ/หมายเลขโทรศัพท์  เพื่อใช้ในการติดต่อกรณีนักศึกษามีปัญหา   สำหรับวันหมดอายุสมาชิกจะกำหนดไว้เป็นวันสุดท้ายของการสอบ  คือภาคการศึกษาที่1 เป็นกลางเดือนพฤษภาคม  ภาคการศึกษาที่2 เป็นกลางเดือนธันวาคม

การตรวจสอบหนี้สินและการติดตามการค้างส่ง

1.   ตรวจสอบการค้างส่งหนังสือ ทำ15วัน/ครั้ง หากพบว่ามีการค้างส่งจะส่งemail ทวงถามไปที่นักศึกษา (ในกรณีเรียนแบบรับปริญญา)   หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ตามนักศึกษามาส่งหนังสือคืน

2.  หากทวงไปแล้วไม่มาติดต่อ ในกรณีนักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา  จะทำการล็อคการขึ้นทะเบียนบัณฑิตในระบบของสำนักทะเบียน   ส่วนผู้ที่เรียนเป็นภาคการศึกษาจะติดต่อเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ระงับการออกหนังสือสำคัญจนกว่านักศึกษาจะส่งคืนหนังสือ

คนชุดกาวน์ ณ ห้อง Study Room เบอร์ 9 ในหอสมุดปรีดีฯ

ฟื้นอิฐที่สร้างตามแนวกำแพงวังหน้าเก่า
ฟื้นอิฐที่สร้างตามแนวกำแพงวังหน้าเก่า ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์

เรื่องผีหรือสิ่งลี้ลับในห้องสมุดเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ สำหรับห้องสมุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้องสมุดที่มีการเล่าถึงเรื่องสิ่งลี้ลับมากที่สุด คือ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ เนื่องจากเป็นห้องสมุดที่สร้างอยู่ใต้ดิน ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเคยเป็นวังหน้าเก่า และในช่วงของการก่อสร้างยังพบแนวกำแพงวังเก่า ซึ่งห้องสมุดได้ปูพื้นโดยจัดทำเป็นแนวอิฐให้ผู้ใช้บริการได้เห็นอยู่ในปัจจุบัน Continue reading คนชุดกาวน์ ณ ห้อง Study Room เบอร์ 9 ในหอสมุดปรีดีฯ

ภาพวาด อ.ปรีดี โดย 3 ศิลปินร่วมสมัย

 

ในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีภาพวาดรูปเหมือน อ.ปรีดี พนมยงค์ อยู่ 3 รูป ที่ทรงคุณค่ามากในด้านงานศิลปะและเป็นผลงานมาสเตอร์จริงที่วาดโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของประเทศไทย ภาพวาดจะมีสไตล์แตกต่างกันและมีเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลที่สะท้อนมองแง่คิดที่มีต่อ อ.ปรีดี พนมยงค์

1
ภาพวาดโดย อุกฤษณ์ ทองระอา

 

อุกฤษณ์ ทองระอา ผู้เคยฝากผลงานการเขียนภาพปกและภาพประกอบไว้ในหนังสือและนิตยสารหลายเล่ม โดยเฉพาะภาพปกนิตยสาร WRITER ทำให้เขาโด่งดังในสไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเขียนภาพคนเหมือนเป็นที่รู้จัก

 

 

 

2
ภาพวาดโดย ลาวัณย์ อุปอินทร์ (ดาวราย)

ลาวัณย์ อุปอินทร์ (ดาวราย) อาจไม่เป็นที่คุ้นหูนัก สำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในแวดวงศิลปะ หากแต่ในวงการเดียวกัน ชื่อของเธอถูกจัดให้เป็นจิตรกรชื่อดัง เจ้าของผลงานภาพเหมือนพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตหลายพระองค์ 3และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ตามเสด็จเพื่อถวายงานจนเรียกได้ว่าเป็น ศิลปินในราชสำนัก” ยุคต้นๆ

 

 4

ภาพวาดโดย เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์

เพ็ญสิน นีลวัฒนานนท์ เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะในประเทศไทย ด้วยเหตุผลที่เธอได้แสดงผลงานเดี่ยวถึง 6 ครั้ง และแสดงร่วมกับ ศิลปินอื่นๆ อีกหลายครั้ง เธอใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศส โดยเฉพาะ กรุงปารีส เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะระดับสุดยอดของโลก และก่อนหน้านั้นเธอศึกษาศิลปะในเมืองไทยมาก่อนเป็นพื้นฐาน และได้ศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะในกรุงปารีสผล5งานจิตรกรรมของ เพ็ญสิน ส่วนใหญ่ ใช้รูปแบบของทิวทัศน์ในหลายประเทศที่เธอได้เดินทางไปเยี่ยมเยือน แต่มิได้ยึดถือความเหมือนจริง และความคมชัดของสิ่งที่เธอเห็น มันเป็นรูปแบบที่ถูกปรับปรุง เพื่อให้เกิดความประสานสัมพันธ์ระหว่างกันของสิ่งที่มีอยู่ในภาพ เพ็ญสินใช้สีอย่างอิสรเสรี ไม่มีขอบเขตจำกัด เป็นสีที่เกิดขึ้นจากจินตนาการที่เธอได้รับจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวและบรรยากาศ ในบางครั้งก็เกิดขึ้นจากส่วนลึกภายในจิตใจของเธอเอง เป็นสีสันที่แต่งแต้มขึ้นภายในขอบเขตที่ไร้ขอบเขต ภายใต้ทฤษฎีที่ไร้ทฤษฎี เพื่อก้าวเข้าสู่การสัมผัสด้วย ใจ เป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องการคำตอบ

7

***ผลงานเหล่าอยู่บริเวณชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานศิลป์ลายเส้นสวย

1ณ ห้องอนุสรณ์ 100 ปี ปรีดี พนมยงค์ อยู่ภายในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีงานศิลป์สวยงามน่าประทับใจ จนสามารถพาเราจินตนาการไป่สู่ ยุค 2475 จุดเริ่มต้นแห่งประชาธิปไตยในบ้านเรา ด้วยการถ่ายทอดงานศิลป์จากมุมมองของ อ.เทพศิริ สุขโสภา ซึ่งเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงและค่ำหวอดในวงการศิลปะมาอย่างยาวนาน2

งานศิลปะชุดนี้ อ.เทพศิริ สุขโสภา ได้แรงบันดาลใจจาก อ.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศไทยเรา โดยทำงานในหัวชื่อเรื่องว่า “เรือกับรั้ว” ในภาพแต่ละภาพ ในอณูเส้นสี แต่ละ เส้นสี ล้วนถ่ายทอดออกมาได้อย่างอิสระ สวยงาม น่าประทับใจ โดยมีนัยยะแฝงถึงความหมายบางอย่างในยุคนั้น

4 5

 หากมีเวลาลองไปสัมผัสกับจินตนาการและเส้นสีในงานศิลป์ของ อ.เทพศิริ สุขโสภา ได้ที่ ชั้นU1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ทุกวันตามเวลาที่ห้องสมุดเปิดบริการ

“ใกล้ถึงวัน…ฉันเกษียณ ของ….ณัฐพร หรดี (ป้าอ๋อย)”


 จากวันนั้น

จากวันนั้น

สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ร่วมงานอยากมอบแทนใจให้ป้าอ๋อย คือบทความเรื่องเล่าดีๆ ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 14 ปีที่ได้อยู่ร่วมกันมา มันคือความรัก ความผูกพัน ความสนุก ความรู้และตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานที่ป้าอ๋อยได้ฝากไว้ให้จดจำ จะมีงอนกันบ้างในยามที่ไม่เข้าใจกัน ป้าอ๋อยเป็นข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ทำงานอยู่ในส่วนของงานบริการห้องสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ (ห้องหนังสือหายาก) ของหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ……. หายากจริงๆๆๆๆนะ จะบอกให้

ถึงวันนี้
ถึงวันนี้

ป้าอ๋อยเป็นคนขยัน ทำงานเก่งแต่ไม่ค่อยพูดจากับใครเท่าไหร่  เข้ามาทำงานที่นี่ใหม่ๆ ยังคิดว่าป้าอ๋อยพูดได้หรือไม่นะ ทำไมนั่งหน้าตึงเปะ
เลยไม่กล้าคุยด้วย หน้าป้าแกดุ  แต่พอได้พูดคุยถึงรู้ว่าป้าอ๋อยเป็นคนคุยเก่งแถมยังมีความรู้มากมาย ในเรื่องประวัติศาสตร์และบทกลอน เราอ่านแล้วไม่เข้าใจถามป้าอ๋อยได้เลย ป้าจะตอบได้เกือบทุกเรื่อง ป้าอ๋อยมีความชำนาญในการให้บริการหนังสือหายากเป็นอย่างมาก  มีข้อมูลพร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว  ถามปุ๊บ  ได้คำตอบทันใจและตรงตามความต้องการแป๊ะ Continue reading “ใกล้ถึงวัน…ฉันเกษียณ ของ….ณัฐพร หรดี (ป้าอ๋อย)”

กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (21-27 กันยายน 2558)

24 กันยายน 2558

กิจกรรม “คุยกับหนัง” อ.ทรงยศ แววหงษ์

กิจกรรม “คุยกับหนัง” เป็นกิจกรรมฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษาทุกวันพฤหัสบดี เริ่มเวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันท์น ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (21-27 กันยายน 2558)

กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (7-13 กันยายน 2558)

10 กันยายน 2558

กิจกรรม “คุยกับหนัง” อ.ทรงยศ แววหงษ์

กิจกรรม “คุยกับหนัง” เป็นกิจกรรมฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษาทุกวันพฤหัสบดี เริ่มเวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันท์น ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (7-13 กันยายน 2558)

กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (1-6 กันยายน 2558)

3 กันยายน 2558

กิจกรรม “คุยกับหนัง” อ.ทรงยศ แววหงษ์

กิจกรรม “คุยกับหนัง” เป็นกิจกรรมฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษาทุกวันพฤหัสบดี เริ่มเวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันท์น ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (1-6 กันยายน 2558)

กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (24-31 สิงหาคม 2558)

27 สิงหาคม 2558

กิจกรรม “คุยกับหนัง” อ.ทรงยศ แววหงษ์

กิจกรรม “คุยกับหนัง”  เป็นกิจกรรมฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษาทุกวันพฤหัสบดี เริ่มเวลา 17.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันท์น ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading กิจกรรมฉายหนังในห้องสมุดรอบสัปดาห์ (24-31 สิงหาคม 2558)

ทางสงบ

หนังสือ เรื่องทางสงบ ทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นสำนวนของ พระพรหมมุนี (ธมฺมสาร) วัดราชผาติการาม ท่านให้ชื่อว่าทางสงบทุกตอน โดยความหมายว่า พระธรรมนำทางให้ผู้ปฏิบัติดำเนินไปถึงความสงบ  มักได้รับการจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์งานศพอยู่เสมอ ดังตัวอย่างหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ จัดพิมพ์ในปีต่างกัน กล่าวคือ

ทางสงบ 2513
                                                             ทางสงบ 2513

เล่มแรก เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก หลวงสรรค์สมบัติยุทธ (สรรค์ วินิจฉัยกุล) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 8 มิถุนายน 2513 เป็นธรรมเทศนาที่แสดงที่วัดราชผาติการามในวันธรรมสวนะ และวันอุโบสถ ในช่วงปี พ.ศ. 2509-2512 ประกอบด้วย พ้นกิเลสมาร หมดอยากดับร้อน ตั้งใจปฏิบัติธรรม ไหว้ครู หนีสงสาร ไม่เนิ่นช้า อาหารของนิวรน์ โทษของกาม จงละ รัก โลภ โกรธ หลง สันตบท บุคคลเทียบด้วยเมฆฝน 4 บุคคลเทียบด้วยอสรพิษ 4 ธรรมาวุธ อย่าจนใจ ทางพระนิพพาน กำแพง 7 ชั้น สงบได้เพราะไม่กังวล ความประณีต ความเป็นหนึ่ง Continue reading ทางสงบ