Tag Archives: การใช้ห้องสมุด

แนวทางในการดำเนินการรับแจ้งสิ่งของที่สูญหาย

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นหนึ่งในห้องสมุดสาขาที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายสาขาวิชาและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ  ให้บริการแก่  นักศึกษา  อาจารย์  บุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อีกทั้งให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปด้วย

ในแต่ละวันจะมีผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดเป็นจำนวนมาก  บางครั้งด้วยความรีบร้อนที่จะไปเรียน ไปสอบ  หรือมีธุระสำคัญที่ได้นัดหมายไว้ จนลืมสิ่งของมีค่าไว้ที่ห้องสมุด  อาทิ  กระเป๋าสตางค์  สายชาร์ต โทรศัพท์มือถือแบตเตอรรี่สำรอง บัตรนักศึกษา เป็นต้น Continue reading แนวทางในการดำเนินการรับแจ้งสิ่งของที่สูญหาย

“บัตรนักศึกษา…ใครว่า…ไม่สำคัญ”

ในช่วงเปิดเทอมใหม่  นักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของการใช้บัตรนักศึกษามากเท่าที่ควร เหตุเพราะว่าน้องๆ ยังไม่ทราบว่าบัตรนักศึกษานั้นใช้ประโยช์อะไรได้บ้าง Continue reading “บัตรนักศึกษา…ใครว่า…ไม่สำคัญ”

การทำบัตรและต่ออายุบัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับอาจารย์และนักศึกษา มธ.

บุคลากรของธรรมศาสตร์และนักศึกษาทุกคนมีสิทธิ์ยืมหนังสือห้องสมุดเพื่อศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนการสอนได้โดยการสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุด ถ้าเป็นอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง สามารถนำบัตรประจำตัวที่กองการเจ้าหน้าที่ออกให้มาติดต่อขอทำบัตรยืมหนังสือได้ที่ห้องสมุด Continue reading การทำบัตรและต่ออายุบัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับอาจารย์และนักศึกษา มธ.

การให้บริการนักศึกษาต่างชาติของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

IMG_6646 (1)

นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แบ่งได้เป็น  3  ประเภท  คือ

1.  เรียนแบบรับปริญญา มีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-เอก บริการที่ได้รับจะเหมือนกับนักศึกษาไทยในระดับเดียวกัน  รวมทั้งอายุสมาชิกกำหนดเป็นปีการศึกษา

2 .  เรียน 1หรือ2 ภาคการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนของโครงการในคณะ หรือวิทยาลัย   อายุสมาชิกกำหนดเป็นภาคการศึกษา เช่นนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) ของวิทยาลัยนานาชาติปรีดี  พนมยงค์   ซึ่งจะมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนทุกภาคการศึกษา

3.  เรียน 1 เดือน เป็นภาคฤดูร้อนของหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) เรียนในช่วงเดือนกลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม  บัตรนักศึกษาใช้เข้าห้องสมุดได้อย่างเดียว  ยืมออกไม่ได้

บริการที่ได้รับจากห้องสมุดสำหรับผู้ที่เรียนตั้งแต่ 1ภาคการศึกษา  มีบริการยืม-คืน  ยืมต่อทางInternet  บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุด    การสืบค้นข้อมูล (สำหรับผู้เรียนระยะสั้นและบุคคลทั่วไป)

IMG_05082015_135704    IMG_05082015_135823IMG_05082015_135334
การจัดทำข้อมูลนักศึกษาเพื่อให้บริการได้

1.  นักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา สำนักทะเบียนฯจะโอนข้อมูลของ                นักศึกษามาให้ห้องสมุดหลังจากการลงทะเบียน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเข้าฐานข้อมูลสมาชิกในโปรแกรมการยืมอัตโนมัติKOHA   นักศึกษาสามารถใช้บัตรประจำตัวนักศึกษายืมหนังสือ  ยืมต่อ/จองหนังสือได้ จนถึงวันที่หมดอายุสมาชิก

2.  นักศึกษาที่เรียนเป็นภาคการศึกษา เจ้าหน้าที่ของโครงการฯจะส่งรายชื่อนักศึกษา พร้อมเลขประจำตัวมาให้  ผู้ให้บริการจะต้องบันทึกข้อมูลของนักศึกษาเหล่านี้เข้าฐานข้อมูลสมาชิกเอง  ในส่วนของที่อยู่  หรือemail  จะบันทึกที่อยู่ และ emailของโครงการฯ  ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในโครงการฯ/หมายเลขโทรศัพท์  เพื่อใช้ในการติดต่อกรณีนักศึกษามีปัญหา   สำหรับวันหมดอายุสมาชิกจะกำหนดไว้เป็นวันสุดท้ายของการสอบ  คือภาคการศึกษาที่1 เป็นกลางเดือนพฤษภาคม  ภาคการศึกษาที่2 เป็นกลางเดือนธันวาคม

การตรวจสอบหนี้สินและการติดตามการค้างส่ง

1.   ตรวจสอบการค้างส่งหนังสือ ทำ15วัน/ครั้ง หากพบว่ามีการค้างส่งจะส่งemail ทวงถามไปที่นักศึกษา (ในกรณีเรียนแบบรับปริญญา)   หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ตามนักศึกษามาส่งหนังสือคืน

2.  หากทวงไปแล้วไม่มาติดต่อ ในกรณีนักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา  จะทำการล็อคการขึ้นทะเบียนบัณฑิตในระบบของสำนักทะเบียน   ส่วนผู้ที่เรียนเป็นภาคการศึกษาจะติดต่อเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ระงับการออกหนังสือสำคัญจนกว่านักศึกษาจะส่งคืนหนังสือ

เรื่องเล่าจากห้องสมุด: ขีดหนังสือเจ็บ ฉันก็เจ็บ

“หนังสือ” ที่มีให้บริการภายในห้องสมุด เป็นหนังสือที่ทุกคนเป็นเจ้าของแต่บางครั้งก็อาจจะมีผู้ใช้บางคนหลงลืมไปว่าหนังสือที่ยืมมา หรือ หยิบมาอ่านจากชั้นหนังสือในห้องสมุดเป็นของส่วนตัวไป

บางคนอาจขีดฆ่าข้อความด้วยปากกา ดินสอ  ไลน์เตอร์  บางคนอ่านแล้วก็จดโน้ตลงไปในหนังสือบ้าง … เขาจะรู้หรือไม่ว่า … หนังสือเล่มนั้นที่เขาขีดฆ่า หรือ จดโน้ตลงไป ยังมีผู้ใช้ต่อ และมีผู้ต้องการยืมไปอ่าน  ซึ่งการขีด หรือ จดโน้ตลงไปในหนังสือของห้องสมุดอาจจะทำให้ผู้อ่านคนต่อไปอ่านหนังสือไม่สนุกเสียแล้ว Continue reading เรื่องเล่าจากห้องสมุด: ขีดหนังสือเจ็บ ฉันก็เจ็บ

“ห้องสมุดที่รัก” ซีรี่ย์ละครดังในวันแห่งการเรียนรู้ ปี 58

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม-ต้นเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมามีสีสันอีกครั้ง เนื่องจากน้องๆ หลายคณะเริ่มกลับมาทำกิจกรรมเพื่อรับเพื่อนใหม่ เฟรชชี่ !!! Continue reading “ห้องสมุดที่รัก” ซีรี่ย์ละครดังในวันแห่งการเรียนรู้ ปี 58

แนะนำเพื่อนใหม่: จะใช้บริการห้องสมุด (มธ.) ต้องทำอย่างไร

การศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ น้องๆ ต้องรู้จักเครื่องมือเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รู้จักวิธีการค้นหาข้อมูล รู้จักแหล่งที่รวบรวมหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนหรือทำรายงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีบริการ “ห้องสมุด” ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับการเรียนในทุกสาขาวิชา บริหารงานโดยหน่วยงานที่ชื่อว่า “สำนักหอสมุด”

ห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพื้นที่ให้บริการนั่งอ่านหนังสือ มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้สำหรับพิมพ์งานและเล่นอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ยังมีบรรณารักษ์ที่พร้อมเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำการค้นหาข้อมูล และสอนการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้น้องๆ ประสบความสำเร็จในการเรียน

น้องๆ จะใช้บริการเหล่านี้ ได้อย่างไร Continue reading แนะนำเพื่อนใหม่: จะใช้บริการห้องสมุด (มธ.) ต้องทำอย่างไร

สอนการใช้ห้องสมุดและวิธีสืบค้นข้อมูล

บรรณารักษ์สอนการใช้ห้องสมุด
บร.ปทุมทิพย์  ลิ้มพงศานุรักษ์ สอนการใช้ห้องสมุดให้แก่นักศึกษา

วันนี้ (2 ก.พ.) เริ่มสัปดาห์แห่งการสอนการใช้ห้องสมุดและวิธีสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่นักศึกษา ที่ลงเรียนในรายวิชา การเขียนรายงานวิชาการ (ท.162) ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ ณ ห้องนิเทศการศึกษา ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต ซึ่งจะมีไปจนถึงเดือนมีนาคม เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำนักหอสมุดมุ่งหวังให้นักศึกษา มธ.ได้รู้จักการใช้ห้องสมุดและรู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้ จะมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุดคอยสับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้และแนะนำเทคนิคดีๆ เพื่อการใช้ห้องสมุดอย่างมีความสุข การใช้ TULIBs App. ช่วยให้การใช้บริการและสืบค้นข้อมูลห้องสมุดใน smart phone ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการทำรายงาน ได้แก่  Endnote (โปรแกรมการจัดการรายการบรรณานุกรม) เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นอย่างดี

โครงงาน “How to use library like a boss” จุดประกายนักศึกษารักหนังสือและห้องสมุด

หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  นอกจากจะเป็นห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตแล้ว ยังเป็นพื้นที่ให้น้องๆ ได้เรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย รวมทั้งการเป็นสถานที่ให้น้องๆ ได้คิดและสร้างสรรค์โครงงานใน TU 100  วิชาพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม  Continue reading โครงงาน “How to use library like a boss” จุดประกายนักศึกษารักหนังสือและห้องสมุด

8 สิ่งจำเป็นที่ควรพกมาห้องสมุด

เคยสงสัยไหมว่านักศึกษามาใช้บริการห้องสมุดแล้ว เขาเอาอะไรใส่กระเป๋ามาห้องสมุดบ้าง …. แล้วถ้าจะมาห้องสมุดควรจะเตรียมตัวอย่างไร จึงขอแนะนำ 8 สิ่งจำเป็นที่ควรพกมาห้องสมุด

1-2
นักศึกษาใช้บริการห้องสมุด

Continue reading 8 สิ่งจำเป็นที่ควรพกมาห้องสมุด