Tag Archives: การเกษียณอายุราชการ

28 ปีกับความทรงจำที่ดีกับเพื่อนๆ…..และพี่อัชนา

ก้าวแรกที่ดิฉันเข้ามาทำงานที่ธรรมศาสตร์หลังจากสอบบรรจุได้ตั้งแต่  18 พ.ค. 2530 ได้รู้จักพี่พวงทองเป็นคนแรก ในวันที่มาสอบสัมภาษณ์มายืนอยู่หน้าห้องสมุดตั้งแต่อยู่ตึกเก่า มองเข้าไปเห็นพี่พวงทองยืนอยู่ที่เคาน์เตอร์มองมาทางเราลอดแว่นดูท่าทางดุมาก  แต่พอได้บรรจุเข้าทำงานได้อยู่งานบริการยืม-คืนมาตลอด 28 ปี ได้ทำงานร่วมกับพี่ๆ หลายคน มีพี่บุหงา พี่พวงทอง พี่ณัฐพร พี่กรศิริ และน้องๆ อีกหลายคน และมีพี่อัชนาเป็นหัวหน้าดูแลงานบริการยืม-คืน ดิฉันรู้สึกมีความสุขกับการทำงานและมีใจรักในงานที่ทำอยู่ มีผู้บริหารและมีเพื่อนร่วมงานที่ดีกับเราทุกคนโดยเฉพาะพี่อัชนา
IMG_16092015_090209พี่อัชนาเป็นคนมีอัธยาศัยดี สุขุม เรียบร้อย ชอบทำบุญ รักลูกน้องทุกคน เป็นคนรักสุขภาพจะเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ใจดีกับทุกคนมาทำงานแต่เช้า และไปเดินออกกำลังรอบสนามบอลทุกวันถ้าฝนไม่ตก จะซื้อขนมมาฝากน้องๆทุกคนเป็นประจำ พี่อัชนาเป็นหัวหน้าดูแลงานบริการยืม-คืนมาตลอดชีวิตการทำงานจะมีความชำนาญงานมากสอนงานน้องๆ อย่างเต็มที่ตามหน้าที่ของแต่ละคน เวลาพี่อัชนานั่งบริการตอบคำถามช่วยค้นคว้าก็จะช่วยผู้ใช้อย่างเต็มความสามารถจนผู้ใช้พอใจประทับใจในการบริการกลับไปทุกคน

30 กันยายน 2558 ใกล้เข้ามาทุกวัน พี่อัชนาจะเกษียณอายุราชการในปีนี้ น้องๆ ทุกคนคงคิดถึงพี่ขอให้พี่มีความสุขมากๆ ในบั้นปลายของชีวิต ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยตลอดไป ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางมาผจญกับรถติดอีกต่อไป ถ้าพี่มาธรรมศาสตร์ก็อย่าลืมแวะมาเยี่ยมบ้างนะคะน้องๆรักและคิดถึงพี่ทุกคน
IMG_16092015_085621         IMG_16092015_085447

IMG_16092015_085252         IMG_16092015_085314

“ใกล้ถึงวัน…ฉันเกษียณ ของ….ณัฐพร หรดี (ป้าอ๋อย)”


 จากวันนั้น

จากวันนั้น

สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ร่วมงานอยากมอบแทนใจให้ป้าอ๋อย คือบทความเรื่องเล่าดีๆ ที่ผ่านมาในช่วงเวลา 14 ปีที่ได้อยู่ร่วมกันมา มันคือความรัก ความผูกพัน ความสนุก ความรู้และตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานที่ป้าอ๋อยได้ฝากไว้ให้จดจำ จะมีงอนกันบ้างในยามที่ไม่เข้าใจกัน ป้าอ๋อยเป็นข้าราชการรับราชการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ทำงานอยู่ในส่วนของงานบริการห้องสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ (ห้องหนังสือหายาก) ของหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ……. หายากจริงๆๆๆๆนะ จะบอกให้

ถึงวันนี้
ถึงวันนี้

ป้าอ๋อยเป็นคนขยัน ทำงานเก่งแต่ไม่ค่อยพูดจากับใครเท่าไหร่  เข้ามาทำงานที่นี่ใหม่ๆ ยังคิดว่าป้าอ๋อยพูดได้หรือไม่นะ ทำไมนั่งหน้าตึงเปะ
เลยไม่กล้าคุยด้วย หน้าป้าแกดุ  แต่พอได้พูดคุยถึงรู้ว่าป้าอ๋อยเป็นคนคุยเก่งแถมยังมีความรู้มากมาย ในเรื่องประวัติศาสตร์และบทกลอน เราอ่านแล้วไม่เข้าใจถามป้าอ๋อยได้เลย ป้าจะตอบได้เกือบทุกเรื่อง ป้าอ๋อยมีความชำนาญในการให้บริการหนังสือหายากเป็นอย่างมาก  มีข้อมูลพร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว  ถามปุ๊บ  ได้คำตอบทันใจและตรงตามความต้องการแป๊ะ Continue reading “ใกล้ถึงวัน…ฉันเกษียณ ของ….ณัฐพร หรดี (ป้าอ๋อย)”

วันวาน…สู่วันนี้ ของปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

20150808-Preedarat
คุณปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ  บรรณารักษ์ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็น 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตอนเรียนมัธยม เริ่มเรียนทางสายวิทยาศาสตร์ ปริญญาตรี ก็สายวิทยาศาสตร์  โอนไปเรียนมหาวิทยาลัยเปิด เพราะต้องดูแลที่บ้าน จบบรรณารักษ์ประมาณปี 2520 ตอนนั้นไปรับจ้างทำงานที่สภาสตรีแห่งชาติฯ ได้ค่าแรงวันละ 50 บาท  ที่นี่เองทำให้ได้รู้จักกลุ่มคนในแวดวงคนดัง ได้เรียนรู้บุคลิกของแต่ละคน เป็นช่องทางให้รู้จักคนมากมาย ทำให้ซึมซับความเป็นผู้ใหญ่มาโดยไม่รู้ตัว   ตอนหลังไปสอบที่ท้บแก้ว (มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์) ทำงานที่ทับแก้ว 1 ปีหรือประมาณนี้ กลับมากรุงเทพฯ มาทำงานเป็น cataloger ภาษาอังกฤษ เพราะเก่งภาษา ทำภาษาอังกฤษมาเรื่อย ห้องสมุด ป๋วยฯ ห้องสมุดรังสิตแห่งแรก และห้องสมุดศูนย์ญี่ปุ่น แม่บ้านยามากูจิเขียนมา ก็มาแกะเป็นตัวภาษาอังกฤษ แล้วมาทำบัตร manual  ตัวเล่มอ่านไม่ออก ทำเสร็จส่งตัวเล่มส่งมาให้ทางโน้นให้บริการ เป็นการเริ่มในการตั้งห้องสมุดใหม่ทางรังสิต Continue reading วันวาน…สู่วันนี้ ของปรีดารัตน์ อินทสุวรรณ

จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ ณัฐพร หรดี

Guru 5

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณณัฐพร หรดี  พนักงานห้องสมุดชำนาญงาน  สังกัดหอสมุดปรีดี พนมยงค์ เป็น 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2518-2522 ทำงานที่กองพัสดุและจัดซื้อ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2522-2527 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ทำงานที่ฝ่ายวิเคราะห์บัตรรายการภาษาไทย (ห้องซ่อม)สำนักหอสมุด มธ.
พ.ศ. 2527-2540 ทำงานที่ฝ่ายพัฒนาวัสดุสารนิเทศ สำนักหอสมุด มธ.
พ.ศ. 2541-2543 ทำงานฝ่ายบริการ หอสมุดปรีดี พนมยงค์
พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน ตำแหน่งพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน ประจำที่งานบริการช่วยค้นคว้า  (ห้องสิ่งพิมพ์วัสดุลักษณะพิเศษ 2) หอสมุดปรีดี พนมยงค์ Continue reading จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ ณัฐพร หรดี

จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

Guru (1)

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณโสรัตน์ กาลออง  เจ้าหน้าที่ห้องสมุด สังกัดฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

คุณโสรัตน์ กาลออง เล่าถึงการทำงานที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เริ่มต้นทำงานที่สำนักหอสมุด มธ.ตั้งแต่ปี 2528 ถือเป็นที่ทำงานแห่งแรกและแห่งเดียวหลังจากที่เปลี่ยนชีวิตมาเป็นฆราวาส เพราะก่อนหน้านี้บวชเป็นพระภิกษุมาตลอด Continue reading จากวันวาน …สู่วันนี้ ของโสรัตน์ กาลออง

จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ วรรณา โตพิบูลย์พงศ์

คุณวรรณา โตพิบูลย์พงศ์
คุณวรรณา โตพิบูลย์พงศ์

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา  คุณวรรณา โตพิบูลย์พงศ์  1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ความภาคภูมิใจในการทำงาน และเทคนิคการทำงานต่างๆ รวมทั้งข้อคิดที่ฝากให้กับน้องๆ

จากวันวาน…สู่วันนี้ (เส้นทางตั้งแต่เริ่มทำงาน ทำงานอะไรบ้าง จนถึงปัจจุบัน)

ดิฉันเริ่มต้นทำงานที่สมาคมฝรั่งเศส ในตำแหน่งบรรณารักษ์หัวหน้าห้องสมุด เนื่องจากดิฉันจบปริญญาตรี วิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ วิชาโทภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่ดิฉันทำงานที่ห้องสมุดสมาคมฝรั่งเศสได้ 1 ปี ก็มาสอบเข้ารับราชการที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 โดยได้รับบรรจุในตำแหน่งบรรณารักษ์ ปฏิบัติงานวารสาร และ งานขอบริจาคและแลกเปลี่ยนทรัพยากรฯ กับต่างประเทศ ที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ หลังจากที่ทำงานได้ประมาณ 3 ปี ดิฉันก็ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วยังปฏิบัติงานที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ต่อ จนกระทั่งผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ได้ให้บรรณารักษ์ Continue reading จากวันวาน … สู่วันนี้ ของ วรรณา โตพิบูลย์พงศ์

38 ปี กับการทำงานในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณอัชนา แสงกระจ่าง
คุณอัชนา แสงกระจ่าง

สืบเนื่องจาก กิจกรรม เรื่องเล่าจาก … Guru สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา คุณอัชนา แสงกระจ่าง 1 ใน Guru ที่มาเล่าเรื่องชีวิตการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทำงานในหน้าที่บรรณารักษ์บริการยืม-คืน ของหอสมุดกลางหรือหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ตั้งแต่เริ่มต้น-เกษียณ รวมเวลา 38 ปี มีหัวหน้างานรวม 5 คน หัวหน้าที่ประทับใจ คือ คุณราตรี ชื่นประทีป และ คุณสมลักษณ์ สุวรรณพานิช คุณอัชนาได้เล่าเรื่องราวผ่านสไลด์และรำลึกถึงผู้มีบุญคุณต่อห้องสมุด เช่น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมทั้งผู้บริหารสำนักหอสมุด อาจารย์ผกายวรรณ เจียมเจริญ รวมทั้งอาจารย์ทองหยด ประทุมวงศ์ อาจารย์สอนวิชาบรรณารักษ์ให้กับคุณอัชนา นอกจากนี้ คุณอัชนา ยังได้ฝากหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงานมาด้วยค่ะ Continue reading 38 ปี กับการทำงานในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่องเล่าจาก…GURU สำนักหอสมุด มธ.

เรื่องเล่าจาก ... GURU
เรื่องเล่าจาก … GURU

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา สำนักหอสมุด โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง  “เรื่องเล่าจาก … GURU” ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ Continue reading เรื่องเล่าจาก…GURU สำนักหอสมุด มธ.

ชีวิตหลังวัยเกษียณอายุราชการ

การเกษียณอายุราชการ หมายถึง การออกจากตำแหน่ง หรือพ้นจากราชการ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หลังเกษียณอายุราชการเราก็อยากใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่เป็นภาระของใคร ควรต้องมีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ รัดกุมและเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว วางแผนการใช้เงิน เพราะหลังเกษียณเราจะไม่ได้รับเงินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนกับยังทำงานอยู่ สังขารก็ร่วงโรยไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน ถ้าอายุยิ่งยืน การใช้จ่ายก็ต้องมาก ควรจะต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ

  • มีการออมโดยอาจจะฝากธนาคารซึ่งมีความเสี่ยงน้อยที่สุด หรือไม่ก็ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
  • การประกันชีวิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งถือเป็นการออมเงินและได้รับความคุ้มครองด้วย เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายและใจ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่เราไม่รู้ล่วงหน้าไม่สามารถประมาณการได้ ถ้าไม่เจ็บป่วยก็ถือว่าโชคดี แต่ถ้าเป็นโรคที่ร้ายแรงหรือเรื้อรังต้องใช้เงินมากก็คงต้องเตรียมเงินไว้ให้พร้อม
  • การประกันสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่พอจะช่วยได้ ด้านสุขภาพใจต้องรู้จักปล่อยวางอย่ายึดติดกับเรื่องเก่าๆ มองโลกในแง่ดี
  • ควรเช็คสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  • ท่องเที่ยวหาความสุข เพราะตอนที่ทำงานอยู่อาจจะไม่มีเวลาว่างที่จะไป

ในขณะที่ยังมีแรงอยู่ก็อย่าลืมเก็บออมไว้รับมือกับชีวิตหลังวัยเกษียณให้ดี จะได้ใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณอย่างมีความสุข