เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการบอกรับสมาชิกฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นประจำปีงบประมาณ 2562 ณ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
Tag Archives: การยืมระหว่างห้องสมุด
การพัฒนาระบบ Book Delivery ใหม่ของหอสมุด มธ.
Book Delivery คืออะไร
Book Delivery คือ บริการที่รับจัดส่งหนังสือระหว่างห้องสมุดสาขา ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการไม่ต้องเดินทางไปยืมหนังสือด้วยตนเองระหว่างศูนย์การศึกษา ท่าพระจันทร์ รังสิต ลำปาง และพัทยา เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บริการของเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สนับสนุน การเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา ของประชาคมธรรมศาสตร์ทั้งในวันนี้ และอนาคต Continue reading การพัฒนาระบบ Book Delivery ใหม่ของหอสมุด มธ.
บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery)
บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery) ของห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
สมาชิกห้องสมุด ซึ่งใช้บริการห้อสมุด ณ.ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยา สามารถยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดสาขาต่างวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โดยใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Book Delivery) โดยมีข้อกำหนดดังนี้
- บริการนี้ สำหรับ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เท่านั้น
- หนังสืออ้างอิง วารสาร ไม่อนุญาตให้ใช้บริการ ยืมระหว่างห้องสมุด
- หนังสือที่มีในห้องสมุดของแต่ละศูนย์ ที่ขอรับตัวเล่ม สถานะ “On Shelf” มากกว่า 2 เล่ม จะไม่ดำเนินการให้ยืมระหว่างห้องสมุด
- กรณีที่กรอกแบบฟอร์ม ขอใช้บริการ ก่อน 10.00 น. จะได้รับตัวเล่มภายใน 13.30 น. ของวันเดียวกัน (เฉพาะท่าพระจันทร์ กับศูนย์รังสิต) หากเป็นหนังสือของศูนย์พัทยา จะส่งให้ภายใน 7 วัน และศูนย์ลำปางจะส่งให้ภายในเวลา 10 วัน
- ในกรณีที่ห้องสมุดที่เป็นเจ้าของหนังสือหาหนังสือไม่พบ ทางห้องสมุดจะแจ้งให้ผู้ขอใช้บริการทราบทาง e-mail และให้รอ เพื่อจะหาหนังสือตรวจสอบว่ายังมีหนังสือที่ห้องสมุดสาขาอื่นอีกหรือไม่ และจะะดำเนินการจัดส่งไปให้ตามที่ผู้ขอใช้บริการระบุขอรับตัวเล่ม
WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC
ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว
เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้
รายการอ้างอิง:
OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)