Tag Archives: การส่งเสริมการอ่าน

อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน

การอ่าน มีความสำคัญมากสำหรับทุกคน  เริ่มเรียนรู้หัดอ่านตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ ต้องฝึกทักษะในการอ่านผ่านเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจ แม้ว่าเราจะเข้าสู่วัยชรา การอ่านก็ยังมีความสำคัญ   การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ ทำให้ผู้อ่านมีความสุขในการอ่าน

ดิฉันก็เป็นอีกคนที่ต้องสอนลูกอ่านหนังสือทุกวัน อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน เพื่อที่จะให้ลูกอ่านหนังสือให้ได้ ต้องฝึกทักษะในการอ่านทุกวัน เช่น การที่ให้ลูก อ่านภาพจากหนังสือนิทาน ลูกสามารถอธิบายจากภาพนั้นได้
อ่านเครื่องหมายและอ่านสัญลักษณ์ ลูกสามารถเข้าใจความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์นั้น  แล้วเริ่มให้อ่านสะกดคำจากหนังสือที่ลูกสนใจหรือหนังสือจากโรงเรียนให้มา เช่น กา นา ตา หู ขา อา ปู มา    ก่อนจะอ่านหนังสือ  ดิฉันจะตกลงกับลูกก่อนวันนี้จะอ่านบทไหนดีมีเรื่องไหนที่ลูกอยากอ่าน  ถ้าลูกอยากอ่านเรื่องนี้เขาจะมีความสุขในการอ่านมาก  เวลาหัดให้ลูกอ่านหนังสือคุณแม่ต้องใจเย็นๆ แม้ว่าลูกจะอ่านผิดอ่านถูกต้องค่อยๆ สอนเขาและให้กำลังใจลูกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเขา  ถ้าลูกอ่านได้เราต้องชมเขาหน่อยเขาจะได้ดีใจและตั้งใจอ่านหนังสือ และควรปลูกฝังและส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและเคยชินกับการอ่าน

1

2

3

ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย

ปาฐกถาพิเศษเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 “ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมทางวิชาการสำนักงานวิทยทรัพยากร ประจำปี 2558 เรื่อง ก้าวไปด้วยกัน (Library 2015 : Together We Go) วันที่ 28 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมอโนมา ถอดความโดยสรุปได้ ดังนี้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สิ่งที่พระองค์ท่าน ทอดพระเนตร คือ เรื่อง ห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นมุมที่ไว้หนังสือ หรือจะเป็นห้องสมุดจริงๆ ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ และสถานที่เสด็จฯ ไป shopping จริงๆ คือ ร้านหนังสือ  พระองค์ท่านไม่เพียงแต่อ่านหนังสือ จะเห็นว่าทรงพระราชนิพนธ์ ทรงทำหนังสือ ถ่ายหนังสือ เผยแพร่หนังสือ อ่านหนังสือ ตรวจหนังสือ จัดหนังสือ และทำให้คนอื่นอ่านหนังสือ มาโดยตลอด  พระองค์ท่านรับสั่งว่า ใครทิ้งหนังสือแสดงว่าไม่เคยทำหนังสือ ไม่เคยรู้ว่าหนังสือแต่ละเล่มกว่าจะเสร็จ ยากแค่ไหน พระองค์ท่าน ทรงเป็น genius คือ อ่านแล้วสังเกตออกมาได้   พระหัตถ์ของพระองค์ท่าน จะไม่ห่างจากหนังสือ นอกจากจะมีสมุดเล่มเล็กๆ ก็จะมีหนังสืออยู่เสมอ Continue reading ชั่วชีวัน ฉันอ่านได้ ไม่เบื่อเลย

มธ. สานสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว เชิญร่วมบริจาคหนังสือ/ตำราทางการแพทย์ส่งตรงถึงมหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว

นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติ สปป.ลาว และขยายความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความเป็นเลิศด้านวิชาการร่วมกัน โดยเบื้องต้นได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการจัดกิจกรรมงานสัปดาห์หนังสือ Book Fair (วางแสดงปื้ม) เป็นประจำทุกปีเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตำราวิชาการ

สำหรับแผนในการจัดกิจกรรมงานสัปดาห์หนังสือ ประจำปี 2558 นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของ สปป.ลาว จึงได้เตรียมจัดกิจกรรมพิเศษด้วยการระดมหนังสือ ตำรา ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ นำไปมอบให้แก่มหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาวในช่วงเดือนธันวาคม 2558 เพื่อใช้เป็นตำราประกอบเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา อาจารย์อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของ สปป.ลาวในอนาคต

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกันบริจาคหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ งานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นประโยชน์ โดยสามารถติดต่อเพื่อบริจาคหนังสือ ตำรา เอกสารวิชาการ หรืองานวิจัยได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทร. 02-613-3544 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ โทร. 02-564-4440 ต่อ 1305 และห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี โทร. 02-926-9999 ต่อ 7502-7504

บทความที่เกี่ยวข้อง:

วางแสดงปึ้ม ครั้งที่ 4

ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

พระราชนิพนธ์ เรื่อง โรมัญสัญจร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 3-16 เมษายน พ.ศ. 2531 เพื่อทรงร่วมเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กของ International Board on Books for Young People (IBBY) ณ เมืองโบโลญญา ด้วยความสนพระทัยในการส่งเสริมการอ่านและห้องสมุดเด็ก พระองค์ได้มีพระราชดำรัสถามคุณเพลลูสกี้ (Ms. Anne Pellewski) ผู้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินฯ ชาวอเมริกัน ให้อธิบายเรื่อง Home library หรือห้องสมุดตามบ้าน ซึ่งคุณเพลลูสกี้ไปจัด workshop ที่ไนจีเรีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระองค์ทรงบันทึก ดังนี้ [1]

“ระบบห้องสมุดแบบนี้ คือ การหัดให้ชาวบ้าน (ส่วนใหญ่เป็นพวกแม่บ้าน) ให้รู้จักเล่านิทาน เขาจัดเป็น workshop ประมาณ 5-7 วัน บรรยากาศไม่ให้เคร่งเครียดนักเป็นการคุยกันเล่น ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร เขามีวิธีการ คือ ชาวบ้านจะรวบรวมหนังสือส่วนตัวหรือหนังสือที่มีผู้บริจาค หรืออาจจะยืมจากห้องสมุด แล้วป่าวประกาศให้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ มาอ่านหนังสือกัน ผู้ที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์จะต้องมีเทคนิคในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เล่าเรื่องให้เด็กสนใจอยากฟังและอยากอ่านต่อเอง เขาแนะนำให้ทำหนังสือขึ้นมาเอง โดยการนำเรื่องที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาเขียนบันทึกไว้” Continue reading ห้องสมุดตามบ้าน (Home library)

ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน

ประชาคมอาเซียนกับการส่งเสริมการอ่าน โดย ดร.สุรพิชย์  พรหมสิทธิ์ ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยกล่าวถึงประเทศในอาเซียนในภาพรวม เปรียบเทียบแต่ละประเทศในเรื่องของการอ่าน เช่น

  • อินโดนีเซีย มีการส่งเสริมให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ต้องมีโอกาส การเข้าถึงหนังสือ โดยเฉพาะห้องสมุด ร้านหนังสือ
  • สิงคโปร์ ห้องสมุดมีส่วนเชื่อมโยงประชาชนเข้าร่วมเป็นชุมชน ส่งผลให้ประเทศมีความเข้มแข็ง มีห้องสมุดมาก ใช้ห้องสมุดทุกกลุ่ม ทุกวัย
  • เวียดนาม มีนโยบายในการพัฒนาประเทศเชิงรุก สร้างวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมผ่านกิจกรรมการอ่านของประชาชนเวียดนาม
  • ฟิลิปปินส์ มีวาระ 10 ประการ ในการปฏิรูปการศึกษาของฟิลิปปินส์ เด็กทุกคนจะต้องเป็นนักอ่านตั้งแต่เรียนเกรด 1 มีการจัดโครงสร้างพื้นฐาน ห้องสมุด หนังสือเรียนให้ครบ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียน อ่านหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือเรียนอย่างน้อย 2 เล่มใน 1 ปี (ภาษาอังกฤษ และภาษาฟิลิปปินส์)
  • มาเลเซีย ยกให้การอ่านและการรู้หนังสือเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนความพยายามและเสริมสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ  มีการกำหนดนโยบายส่งเสริมการอ่าน พัฒนาโครงการวิจัย แผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กับคนในชุมชน คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

งานวันมิตรห้องสมุด ณ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จัดกิจกรรม “วันมิตรห้องสมุด” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้ห้องสมุดสําหรับศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง  เพื่อให้แก่นักศึกษา  อาจารย์   บุคลากร มธ.  ประชาชนทั่วไปและชุมชนใกล้เคียง  ได้มีการออกร้านหนังสือเพื่อให้ได้เลือกซื้อหนังสือได้หลากหลายประเภท

19        17

ร่วมทั้งร้านอาหารอีกมากมายค่ะ  3    5

และมีกิจกรรมในงานแต่ละวันอีกด้วย สำนักหอสมุดจัดงานขึ้นปีละ 2 ครั้ง ของแต่ละภาคการศึกษา  ณ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9-13 กุมภาพันธ์ 2558 ก็ได้เสร็จสิ้นไปแล้วนะค่ะ ส่วนพี่ๆท่านใดที่พลาดมาเที่ยวงานวันมิตรห้องสมุดครั้งนี้ เดี๋ยวมีช่วงปลายปีนี้ เราจะจัดขึ้นอีกครั้งค่ะ  เลยเก็บภาพบรรยากาศที่งานมาให้ดูกันค่ะ Continue reading งานวันมิตรห้องสมุด ณ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์

การจัดบูธหนังสืองานวันมิตรห้องสมุด

1719

การจัดบูธงานวันมิตรห้องสมุด ณ หอสมุดป๋วย อี๊งภากรณ์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 9-13 กุมภาพันธ์ 2558  โดยการประสานกับร้านหนังสือและสำนักพิมพ์มาออกร้านวันมิตรห้องสมุด งานวันมิตรฯ จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะมีร้านหมุนเวียนมาออกร้าน  ให้นักศึกษาและผู้สนใจได้มาเลือกหนังสือตามความชอบจะมีทั้งหนังสือเก่าที่มาลดราคา และหนังสือใหม่หลากหลายสำนักพิมพ์  ราคาของหนังสือก็ไม่แพงมากนัก ส่วนมากร้านค้าจะลดราคาของหนังสือค่อนข้างมากให้กับนักศึกษาเป็นกรณีพิเศษ Continue reading การจัดบูธหนังสืองานวันมิตรห้องสมุด

“การอ่าน” เหมือนการมีลิ้นชักส่วนตัว … วรฎล อุทะกะ

“การอ่านก็เหมือนเรามีลิ้นชักเก็บของ สิ่งที่เราอ่านมันจะสะสมไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว   และเราก็ไม่รู้หรอกว่าเราจะใช้มันเมื่อไร  มารู้อีกทีเราอาจจะเปิดลิ้นชักหยิบของมาใช้โดยไม่รู้ตัวก็ได้  อย่างวันนี้ อยากตัดเล็บ เปิดลิ้นชักเจอกรรไกรตัดเล็บก็หยิบขึ้นมาใช้ ทั้งที่เราก็ไม่รู้หรอกเราเก็บมันไว้ในลิ้นชักเมื่อไร ก็เหมือนกับการอ่านเราอ่านโดยไม่รู้ว่าหนังสือเล่มนั้น เล่มนี้จะเป็นเล่มโปรดของเรา แต่ถ้าในช่วงจังหวะนั้น เราได้อ่านหนังสือแล้วได้ใช้ประโยชน์จากมัน เล่มนั้นก็จะกลายเป็นหนังสือในดวงใจ ผมว่าการอ่านอาจจะไม่ได้เปลี่ยนชีวิตเรา แต่ผมเชื่อว่าการอ่านทำให้ชีวิตเราดีขึ้น”

วรฎล อุทะกะ หรือ คุณวอ นักร้องนำจากวงตลาดพลูคูลเพลย์  ได้พูดถึงการอ่านหนังสือ ในเวทีเสวนา งานวันมิตรห้องสมุด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา พร้อมกับเล่าเรื่องราวเส้นทางสายดนตรีของวง “ตลาดพลู คลูเพลย์” เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ นักศึกษาที่มาร่วมเวทีเสวนาในวันนั้น

S__2203673
วอ – วรฎล อุทะกะ นักร้องนำ ตลาดพลู คลูเพลย์

Continue reading “การอ่าน” เหมือนการมีลิ้นชักส่วนตัว … วรฎล อุทะกะ

วางแสดงปึ้ม ครั้งที่ 4

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีความร่วมมือกันในกิจกรรมหลายด้านที่ส่งเสริมศักยภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการและหนึ่งในกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 4 แล้วคือ การจัด Book Fair (วางแสดงปึ้ม) ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว โดยศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและอำนวยความสะดวกในการจัดหาหนังสือแก่ประชาคมของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ตลอดจนหน่วยงานและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจอีกทั้งเป็นการเผยแพร่ผลงานต่างๆของประเทศไทยออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปีนี้งาน Book Fair จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม 57 และมีการสัมมนาวิชาการ ด้วยในวันที่ 8 ธันวาคม 57 ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวและในวันที่ 10 ธันวาคม 57 ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประเทศลาว

ในส่วนของการสัมมนาวิชาการ สำนักหอสมุด ได้เรียนเชิญ ดร. ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์ และทีมงานในการบรรยาย เรื่อง ระบบ MyCat และ CopyCat ในการบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ และการตรวจสอบการคัดลอก และเชิญ ดร. พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย ในการบรรยายระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

หมายเหตุ: วางแสดงปึ้ม แปลว่า หนังสือ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

มธ. สานสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว เชิญร่วมบริจาคหนังสือ/ตำราทางการแพทย์ส่งตรงถึงมหาวิทยาลัยสุขภาพ สปป.ลาว

สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ ม.กรุงเทพ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้และชวนคิดอย่างสร้างสรรค์

ในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ได้มีโอกาสพาน้องๆ นักศึกษาฝึกงาน จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ไปเยี่ยมชมสำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

Continue reading สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ ม.กรุงเทพ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้และชวนคิดอย่างสร้างสรรค์