Tag Archives: EndNote

EndNote การดาวน์โหลดและติดตั้ง Output styles

endnote_logo

ในการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารต่างประเทศนั้น บางวารสารจะมีรูปแบบการอ้างอิง (Styles) เฉพาะของตัวเอง ทำให้ยากต่อการอ้างอิง และการจัดทำรายการทางบรรณานุกรม อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ใช้โปรแกรม EndNote สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิงที่วารสารบางชื่อทำเตรียมไว้ให้ได้ โดยมีขั้นตอนในการดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิง ดังนี้ Continue reading EndNote การดาวน์โหลดและติดตั้ง Output styles

ปฐมนิเทศนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ

เมื่อวันเสาร์ที่  8 สิงหาคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยสำนักหอสมุดได้รับเชิญไปอบรมเรื่อง “ระบบบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ MyCat การทำวิทยานิพนธ์ การใช้โปรแกรม EndNote และการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์”  โดยมีวิทยากร คือ คุณปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ และคุณกรวรรณ ดีวาจา

IMG_2346

ในหัวข้อการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้โปรแกรมสำหรับการจัดทำรายการบรรณานุกรม วิทยากรได้อธิบายเทคนิคต่างๆในการสืบค้น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาและสามารถนำไปอ้างอิงในงานวิจัยของตนเองได้ และในตอนท้ายได้อธิบายการทำงานของระบบ MyCat เพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพคร่าวๆ ก่อนที่จะใช้งานจริง ซึ่งนักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

IMG_2344

Perfect Match

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558 เข้าฟังการบรรยายเรื่องฐานข้อมูล Web of Science, Journal Citation Reports, ResearcherID, EndNote web โดย Dr.Ning Ning ซึ่งนอกจากนำเสนอประเด็นเรื่องการเชื่อมโยงงานวิจัย และกระบวนการวิจัยที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังเล่าถึง feature ใหม่ของ EndNote web ที่เรียกว่า Manuscript matcher ซึ่งผู้เขียนจำได้ว่าเคยผ่านตา feature ใหม่นี้จาก EndNote Newsletter ที่ได้รับทาง Email คิดว่าน่าสนใจจึงเข้าไปอ่านรายละเอียดแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง น้องๆ IL น่าจะนำไปประชาสัมพันธ์ตอนเป็นวิทยากรอบรม EndNote

หลายปีมาแล้วที่ EndNote ช่วยนักวิจัยจัดการงานวิจัยและรายการอ้างอิง แต่ ณ วันนี้ EndNote ยังสามารถช่วยนักวิจัยในขั้นตอนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานได้อีกด้วย feature ใหม่ล่าสุดของโปรแกรมเป็นการผสานนวัตกรรมการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กับข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมไว้อย่างมากมายใน Web of Science Core Collection ในการช่วยจับคู่เอกสารกับวารสารเป้าหมาย

ผู้ใช้โปรแกรม EndNote เข้าถึง Manuscript matcher ได้ทันทีเมื่อใช้งาน EndNote online เพียงแค่ใส่ชื่องานวิจัย บทคัดย่องานวิจัย และเลือก EndNote reference group ที่เหมาะสม โปรแกรมจะใช้ข้อมูลดังกล่าว พร้อมกับข้อมูลของวารสารในฐาน Web of Science เพื่อแนะนำว่าบทความวิจัยนี้เหมาะที่จะส่งไปเผยแพร่ในวารสารใดมากที่สุด นอกจากนี้มี feedback loop ที่ถามผู้ใช้งานว่าวารสารที่แนะนำให้เป็นประโยชน์หรือไม่ เป็นการใช้ practical และ human metric เพื่อพัฒนาความถูกต้องของการแนะนำในอนาคต

ขั้นตอนการใช้งานง่ายๆคือ ใส่ชื่อบทความวิจัย บทคัดย่อ ถ้ามี reference group ใน EndNote online library  ควรเลือก group จาก drop down list เพื่อใส่ข้อมูลด้วยเพื่อเพิ่มความถูกต้องของการแนะนำ แล้วคลิก Find Journals ผลลัพธ์ที่แสดงได้แก่

  1. ข้อมูลวารสาร 2-10 รายการ ระบุชื่อวารสาร สำนักพิมพ์ ISSN
  2. Match score
  3. Top Keyword Rankings
  4. Thomson Reuters Journal Citation Report (JCR) Impact Factor 1 ปี 5 ปี
  5. JCR Category ; Rank in Category ; Quartile in Category
  6. Journal Information ซึ่งลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของวารสาร

เมื่อคลิกปุ่ม Submit จะนำไปสู่หน้าที่ใช้เริ่มต้นกระบวนการส่งบทความไปยังวารสารที่เลือก ปุ่มให้แสดง feedback เพื่อนำไปใช้ปรับปรุง version ต่อไป

ใครที่ใช้ Manuscript matcher ต้องเข้าใจด้วยว่า feature นี้ใช้เทคโนโลยีการพยากรณ์ช่วยให้มีทางเลือกพร้อมข้อมูลสำหรับการส่งบทความ แต่ไม่ได้รับประกันว่าบทความที่ส่งไปจะได้รับการยอมรับจากวารสารที่ท่านเลือกส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EndNote’s Manuscript matcher ดูได้ที่ : http://bit.ly/1CcsYB8

Tanksalvala, S. (2015, March 13). Perfect Match: EndNote’s latest feature matches article drafts with publications [Web blog message]. Retrieved from http://endnote.com/blog/perfect-match-endnotes-latest-feature-matches-article-drafts-publications?utm_source=elq&utm_medium=edm&utm_campaign=newsletter&utm_term=mar&utm_content=en-all

ระบบบริหารจัดการบรรณานุกรม Endnote (Basic)

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 09.00-11.00 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมอบรม ระบบบริหารจัดการบรรณานุกรม Endnote (ฺBasic) ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้แก่ นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และบุคลากรสำนักหอสมุด

บรรยากาศการอบรม
บรรยากาศการอบรม

วิทยากรในครั้งนี้คือ คุณกฤตนันท์ ดุษฎีเมธานนท์ โดยมีเนื้อหาในการอบรมครอบคุม แหล่งดาวน์โหลด วิธี Export จากฐานข้อมูลต่าง และวิธี Import เข้า Microsoft Word ซึ่งนักศึกษาให้ความสนใจกับโปรแกรม Endnote เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำไปใช้ประกอบการทำวิทยานิพนธ์ได้จริง ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการทำบรรณานุกรมอีกด้วย

การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์

ด้วยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่และนักวิจัย ของคณะรัฐศาสตร์ เรื่อง การสืบค้นและการอ้างอิงข้อมูลด้านการวิจัย ในวันที่ 23 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ และการใช้โปรแกรม EndNote ในการเขียนรายการบรรณานุกรม วิทยากรนำทีมโดย คุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ และมีผู้ช่วย 2 คนได้แก่ คุณเจนจิรา อาบสีนาค และคุณบุษยา เฟื่องประเสริฐ

S__3997703                                  S__3997704        
Continue reading การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การสืบค้นข้อมูลออนไลน์

กิจกรรมการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่นักศึกษาด้วย ENDNOTE

P_20150212_114632

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10.00-12.00 น.
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีโอกาสจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ด้วยโปรแกรม EndNote ให้แก่นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาตรี ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์ ศูนย์รังสิต ณ ห้องคอมพิวเตอร์ (S101) อาคารบรรยายรวม 5 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีคุณจุฑาทิพย์
โอสนานนท์ เป็นวิทยากร ซึ่งมีเนื้อหาโดยรวมได้แก่ 
การเพิ่มรายการอ้างอิงโดยการถ่ายโอนข้อมูลจาก One Search การจัดกลุ่มข้อมูล การเลือกรูปแบบบรรณานุกรม การทำรายการบรรณานุกรมด้วยตนเอง และการนำรายการบรรณานุกรมจากโปรแกรมไปยัง MS Word เป็นต้น

การแก้ปัญหาเครื่องมือ EndNote X7 ไม่ปรากฏในแถบเมนู MS Word

ในการลงโปรแกรม EndNote ซึ่งจะต้องใช้งานร่วมกับ Microsoft Word  มีผู้ใช้บางท่านอาจจะมีปัญหาคือ เมื่อเปิด Microsoft Word แล้ว ไม่พบแถบเครื่องมือ EndNote ดังภาพด้านล่าง 12-2-2558 16-54-56ผู้เขียนจึงได้รวบรวบวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น ซึ่งมีวิธีการ 2 รูปแบบดังนี้

  • แก้ไขที่ตัวโปรแกรม EndNote 
  • แก้ไขที่โปรแกรม MS Word

Continue reading การแก้ปัญหาเครื่องมือ EndNote X7 ไม่ปรากฏในแถบเมนู MS Word

การอบรมการใช้โปรแกรม ENDNOTE

1421999126217[1]

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้แก่ บุคลากร และนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 เรื่อง “การบริหารจัดการรายการอ้างอิงด้วย Endnote (Basic)” โดยมีคุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ เป็นวิทยากร ซึ่งมีเนื้อหาโดยรวมได้แก่ การติดตั้งโปรแกรม การเพิ่มรายการอ้างอิงโดยการถ่ายโอนข้อมูลจาก One Search การจัดกลุ่มข้อมูล การเลือกรูปแบบบรรณานุกรม การทำรายการบรรณานุกรมด้วยตนเอง เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรทราบหลักการ
ใช้งานเบื้องต้น และนักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำบรรณานุกรมของรายงานหรือวิทยานิพนธ์ได้ต่อไป

Tip โปรแกรม EndNote: วิธีการคัดลอกรูปแบบการอ้างอิง (styles) ที่ใช้ในการอ้างอิง

จากการที่ได้ลองใช้โปรแกรม EndNote มาสักพัก ผมได้พบข้อจำกัดอย่างหนึ่งของโปรแกรม นั่นก็คือการคัดลอก style ของการอ้างอิง

ทำไมเราจึงต้องคัดลอก style ของ EndNote?

endnote
รูปจาก http://www.uib.no/ub/81071/endnote-kurs-p%C3%A5-bibliotek-humaniora

ในบางครั้งผู้ใช้ก็ต้องการ style การอ้างอิงที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน เพื่อให้ตรงกับข้อกำหนดของหน่วยงาน/องค์กรของตน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้การอ้างอิงแบบ APA แต่ในขณะเดียวกัน APA ตามข้อกำหนดของธรรมศาสตร์ก็แตกต่างไปจาก APA มาตรฐาน อย่างชื่อผู้แต่งชาวไทย จะไม่กลับเอานามสกุลขึ้นก่อน และยังมีข้อแตกต่างอื่นๆอีก ถึงแม้ว่าโปรแกรม EndNote จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขดัดแปลง (edit) style ของการอ้างอิงได้ หรือแม้กระทั่งสร้าง style ใหม่ได้ แต่การแก้ไขดัดแปลงจะทำให้เสีย style การอ้างอิงเดิมไป จึงเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม ส่วนการสร้างใหม่แต่ต้นนั้น ก็เป็นวิธีที่ยุ่งยากเกินไป ดังนั้นในทิปนี้ ผมจะเสนอวิธีการคัดลอก style ใน EndNote โดยการคัดลอกจากข้อมูลของ style โดยตรง โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

Continue reading Tip โปรแกรม EndNote: วิธีการคัดลอกรูปแบบการอ้างอิง (styles) ที่ใช้ในการอ้างอิง