Tag Archives: digital content

การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล

การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล

ข้อมูลงานวิจัย (Research Data) ถ้าอธิบายตามความเข้าใจของตนเอง คือ ข้อมูลที่นักวิจัยใช้ในการทำรายงานวิจัยตามที่ตนเองสนใจ นับตั้งแต่เริ่มเกิดคำถามหรือปัญหาการวิจัย จนถึงได้ผลงานวิจัยออกมาเป็นฉบับสมบูรณ์ ข้อมูลการทำงานทั้งหมดของนักวิจัยถือว่ามีความสำคัญ และเป็นเสมือนรอยเท้า หรือ ทางเดิน ให้แก่นักวิจัยที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันได้เดิมตาม มีประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยชิ้นต่อไป ที่จะช่วยหย่อนระยะเวลาในการทำงาน ทำให้เกิดการพัฒนางานวิจัยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น Continue reading การจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล

การใช้คอนเทนต์ในแต่ละ GEN

BuzzStream และ Fractl ได้สำรวจคนมากกว่า 1,200 คนจาก 3 generation คือ กลุ่ม Millennials (คนที่เกิดในช่วงปี 1981-1997) Gen X (คนที่เกิดในช่วงปี 1965-1980) และ Baby Boomers (คนที่เกิดช่วงปี 1946-1964) ผลบางส่วนเป็นดังนี้ค่ะ

1. ไม่น่าเชื่อเลยว่า คนยุค Baby Boomers ให้เวลาในการใช้คอนเทนต์ออนไลน์มากกว่า คนกลุ่ม Gen X และ Gen Y ซะอีก ร่วมๆ 25 ชั่วโมง

2. กลุ่ม Gen Y จะใช้คอนเทนต์ผ่าน mobile มากถึง 52 เปอร์เซ็นต์

3. เนื้อหาที่อ่านทุกกลุ่มอ่านมาก คือ บทความจากบล็อก รูปภาพ และคอมเมนต์

4. Platform ที่ใช้ในการแชร์มากที่สุด คือ Facebook และ YouTube

ติดตามผลการสำรวจในหัวข้ออื่น ได้ที่ http://www.socialmediatoday.com/marketing/2015-05-11/generational-content-gap-how-different-generations-consume-content-online

รายการอ้างอิง
Irfan Ahmad. The Generational Content Gap: How Different Generations Consume Content Online [INFOGRAPHIC]. Retrieved 10 June 2015 from http://www.socialmediatoday.com/marketing/2015-05-11/generational-content-gap-how-different-generations-consume-content-online

LIBLICENSE

สารสนเทศดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทำให้ห้องสมุดและผู้จำหน่ายสารสนเทศต้องพบกับเรื่องท้าทายของสื่อประเภทนี้ ที่โดดเด่นมากคือการทำข้อตกลงกับเจ้าของสารสนเทศ สารสนเทศดิจิทัลต่างจากสารสนเทศในรูปสิ่งตีพิมพ์ ตรงที่ห้องสมุดไม่สามารถซื้อขาด แต่เป็นการอนุญาตให้ใช้ หรือเป็นการให้สิทธิ์การใช้แก่ห้องสมุด (licensed) การอนุญาตลักษณะนี้ปกติใช้รูปแบบการเขียนข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างห้องสมุดกับเจ้าของสิทธิ์

บรรณารักษ์หลายต่อหลายคนที่รับผิดชอบงานสารสนเทศดิจิทัลต่างรู้ดีว่าเอกสารการอนุญาตให้ใช้ หรือการให้สิทธิ์การใช้สารสนเทศดิจิทัลเป็นเอกสารที่มีความยุ่งยาก ยืดยาว เข้าใจยาก มีแต่ศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย อย่างคำว่า indemnity, severability, force majeure เพื่อช่วยบรรณารักษ์ ซึ่งอาจรวมทั้งผู้จำหน่ายสารสนเทศด้วย ให้เข้าใจในประเด็นที่กล่าวถึงในเอกสารประเภทนี้เป็นที่มาของ โครงการวิเคราะห์การทำเอกสารการให้สิทธิ์การใช้สารสนเทศดิจิทัล มีการรวบรวมคำศัพท์ที่พบเห็นทั่วไปในเอกสาร มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็น ทั้งเห็นด้วยและคัดค้านในประเด็นของภาษาเฉพาะที่ใช้ในเอกสาร โดยพยายามนำเสนอด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งห้องสมุดและผู้จำหน่าย มีตัวอย่างของข้อกำหนดต่างๆที่คิดว่าจะเป็นภาระมากเกินไปสำหรับห้องสมุด หรือยังไม่สะท้อนความต้องการของห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้

โครงการที่ว่านี้มีชื่อว่า LIBLICENSE ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 1997 โดย Ann Shumelda Okerson ตอนที่เธอเป็น Associate University Librarian ที่ Yale University โครงการได้รับเงินทุนจาก The Commission on Preservation and Access, the Council on Library Resources และ The Digital Library Federation ในเดือนพฤศจิกายน 2011 Center for Research Libraries  รับเป็นเจ้าภาพให้ โครงการ LIBLICENSE (ใครอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ Center for Research Libraries ดูได้ที่  http://www.crl.edu/ ) Continue reading LIBLICENSE

Changes and Challenges of Academic Libraries.

Source: http://www.somertoncomputing.co.uk/images/portfolio/branding_challenge_and_change.jpg
Source:  www.somertoncomputing.co.uk/images/portfolio/branding_challenge_and_change.jpg

ความท้าทายแบบไหนที่เรากำลังเผชิญอยู่? และโอกาสที่เราต้องคว้าไว้คืออะไร? คำถามเรียบง่ายแต่ทว่าสำคัญยิ่งต่อการทำงานห้องสมุดในยุคที่โทรศัพท์มือถือแทบจะทำงานได้ไม่ต่างกับคอมพิวเตอร์พกพา คำค้นนับล้านถูกป้อนใส่ไว้ในอินเทอร์เน็ต และแนวโน้มการใช้ Digital Contents ทีjเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วห้องสมุดยังเป็นทางเลือกอันดับแรกของการศึกษาอยู่หรือไม่ ขอบฟ้าของงานบริการได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งจากผลกระทบของเทคโนโลยีไร้สายที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่ ณ วันนี้

Continue reading Changes and Challenges of Academic Libraries.