Tag Archives: EZproxy

การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย

banner-50_3

การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ กว่า 100 ฐานข้อมูล ที่หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีให้บริการอยู่นั้น นอกจากการใช้งานในเครือข่ายมหาวิทยาลัย เช่น ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ที่คณะ สถาบัน หรือ ผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัย ผู้ใช้บริการที่เป็นนักศึกษา และบุคลากรยังสามารถใชงานฐานข้อมูลเหล่านั้นได้จากที่บ้าน หรือนอกมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

ปัจจุบันการเข้าใช้งานไม่ได้ยุ่งยาก หรือ ซับซ้อนเหมือนเมื่อก่อน ที่ผู้ใช้บริการต้องตั้งค่า Proxy มากมายกว่าจะใช้งานได้แต่ละครั้ง เนื่องจากหอสมุดได้นำ EZproxy มาให้บริการ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการใช้งานได้มาก

Continue reading การใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัย

สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. อมร  เพชรสม ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศ จำนวน 13 คน เข้าศึกษาดูงานการดำเนินงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การให้บริการ ประกอบด้วย WorldCat Local, WorldShare ILL, ContentDM และ Connexion Service ทั้งนี้ ทีมสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นำโดย ผอ. ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ และคณะให้การต้อนรับ พร้อมแลกเปลี่ยนและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้บริการต่างๆ ของ OCLC

สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC
สำนักงานวิทยทรัพยากร จฬ. ดูงานการเข้าร่วมเป็นสมาชิก OCLC
ผู้อำนวยการ ของทั้งสองแห่ง
ผู้อำนวยการ ของทั้งสองแห่ง

สาระความรู้เกี่ยวกับ OCLC

– ทำความรู้จัก WORLDCAT KNOWLEDGE BASE
– การจัดทำ CONTENTDM : วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
– ดิจิทัลคอลเล็คชั่นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZPROXY
– KARAOKE ก็ไม่ใช่ 

– WORLDSHARE INTERLIBRARY LOAN (WORLDSHARE ILL)
– โปรแกรมแปลงสาส์น (THAI ROMANIZATION)
– WORDSHARE ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC
– OCLC MEMBERSHIP AND BENEFITS FOR ASIA PACIFIC : การเป็นสมาชิก และประโยชน์ที่ได้
– OCLC GLOBAL COUNCIL MEETING
–  OCLC Conference 2014 : Interview with FM88 MHz

รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZproxy

การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย บอกรับเป็นสมาชิก จะมีวิธีการให้ผู้ใช้ ซึ่งต้องการรีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการใช้ Proxy และ VPN ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นการให้ผู้ใช้ต้อง set proxy ผู้ใช้ที่ไม่คล่องหรือไม่ชอบเทคโนโลยีด้วยแล้ว อยากจะบอกศาลาในการรีโมทเข้ามาใช้ด้วย Proxy เลยทีเดียว แต่การใช้ VPN มหาวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กร ต้องใช้ Resources เยอะ แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ของห้องสมุด หน่วยงาน หรือ องค์กรไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และการดูแลรักษาระบบ ดังนั้น ความสะดวก และความง่ายในการรีโมทเข้ามาใช้สำหรับผู้ใช้แล้ว ขอบอกว่า VPN สะดวกกว่าแน่นอน เพราะผู้ใช้ไม่ต้อง set อะไร เพียงแต่ใช้ url ที่องค์กรให้มา และใส่ username กับ password เพียงเท่านี้ ก็เสมือนอยู่ในเครือข่ายขององค์กรแล้ว

สำหรับห้องสมุดหรือองค์กรที่ไม่สามารถใช้หรือมี VPN ในการให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้นั้น ตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ของ OCLC ที่ชื่อว่า EZproxy ออกมาทำให้การรีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ง่ายขึ้นมาอีกเยอะ สมชื่อ EZproxy เป็นการพัฒนาของ OCLC โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นครั้งแรกโดย Chris Zagar ในปี ค.ศ. 1999 และมีการประกาศใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2008

EZproxy เป็น web proxy server ที่ห้องสมุดจัดหามาเพื่อให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้เครือข่ายของห้องสมุดผ่านเข้ามาใช้ฐานข้อมูลได้ ผู้ใช้ใส่ชื่อ และรหัสผ่านเข้าระบบ และมีการตรวจสอบผู้ใช้ด้วย IP address ที่ฐานข้อมูลที่บอกรับเป็นสมาชิกอนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานอื่นๆ ที่ต้องรีโมทจากทางบ้านหรือที่ไหนก็ได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน แต่เบื้องหลังการ set ค่าต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลออนไลน์เป็นหน้าที่ของห้องสมุด หรือองค์กร (รายละเอียดทางเทคนิค) ซึ่งน่าจะทำให้สะดวกกว่าเดิมในการไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการ set proxy ของผู้ใช้ และทางห้องสมุดหรือองค์กร ก็สามารถเก็บสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้โดยตรงอีกด้วย

รายการอ้างอิง

OCLC.OCLC EZproxy: An Overview (Tutorial overview). Retreived 2015, 4 May from http://www5.oclc.org/downloads/tutorials/ezproxy/default.htm

OCLC. Connect your users to e-content with a single sign-on. Retreived 2015, 4 May from https://www.oclc.org/ezproxy.en.html