Continue reading Limited Time Only! Special Offer for TU Community to Download Essential Books
Tag Archives: Online databases
NEW BOOKS AVAILABLE FOR FREE DOWNLOAD TO TU STUDENTS: CAMBRIDGE HANDBOOKS
Business Database : BMIResearch
บรรณารักษ์บริการอาจคุ้นกับชื่อ Business Monitor Online หรือ BMO แต่ไม่นานมานี้ฐานข้อมูล BMO เปลี่ยนชื่อเป็น BMIResearch มาดูกันว่าฐานข้อมูลนี้มีเนื้อหาอะไร ใช้งานยากไหม
Content
Daily News รายงานข่าวประจำวัน มุมมองและบทวิเคราะห์เชิงลึก โดยอ่านบน platform ของฐานหรือผ่าน email alerts ที่สมัครไว้ก็ได้ ครอบคลุมภาคการตลาด ภาคการผลิต ทั่วโลก
Reports & Statistic Content ข้อมูลในการตัดสินใจด้านการลงทุนและการวางแผนกลยุทธ์ และรายงานการศึกษาเฉพาะเรื่องของประเทศต่างๆ ให้ข้อมูลคาดการณ์ 5 และ 10 ปีข้างหน้า วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการตลาดของภาคอุตสาหกรรมสำคัญทั่วโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต
Data & Forecasting ข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์ที่เข้าถึงได้เร็วและง่าย สามารถปรับแต่งแผนภูมิด้วยข้อมูลล่าสุดได้เองก่อนที่จะดาวน์โหลดมาใช้งาน Continue reading Business Database : BMIResearch
ฐานข้อมูล กับ สถิติการใช้
สำหรับการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ เมื่อใช้งานมาระยะหนึ่งควรจะสังเกตสถิติการใช้งาน เมื่อพบว่าฐานข้อมูลใดมีสถิติการใช้ที่ค่อนข้างน้อย ฝ่ายบริหารจัดการฯ จะทำการแจ้งไปยังห้องสมุดคณะที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการใช้งานให้มากขึ้น
หรือการใช้งานน้อยนั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากผู้ใช้ยังไม่ทราบว่าห้องสมุดบอกรับฐานข้อมูลนี้อยู่ ทางฝ่ายจะได้ติดต่อบริษัทให้มาทำการอบรมการใช้ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทราบมากขึ้น
แล้วสถิติการใช้จะมาจากไหนล่ะ ?
ผู้เขียนได้จัดทำคู่มือการดึงสถิติฐานข้อมูลออนไลน์ไว้ สามารถ download ขั้นตอนการดึงสถิติได้ ที่นี่ ค่ะ
นอกจากนี้การพิจารณาสถิติการใช้ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจต่ออายุฐานข้อมูลในปีต่อมาอีกด้วยค่ะ
Business Database : Passport
พวกเราอาจไม่คุ้นกับฐานข้อมูลเฉพาะสาขาของคณะพาณิชย์ฯมากนัก เพราะส่วนใหญ่ไม่มีตัวแทนในประเทศ การอบรมจะมี Client Relationship หรือ Client Services บินตรงจากต่างประเทศมาอธิบายประมาณ 30-45 นาที แล้วบอกให้ดูรายละเอียดใน Help Menu เอาเอง บางทีไม่มาแต่ใช้การสอนทางออนไลน์ นัดเวลาก่อนเมื่อถึงเวลาให้คลิกลิงค์ที่ให้พร้อมฟังบรรยายและสอบถามทางโทรศัพท์ ถ้ามีตัวแทนก็มักมาอบรมให้ช่วง 6 โมงถึง 3 ทุ่มเพราะนักศึกษาทำงานมาตอนกลางวันไม่ได้ นี่คือที่มาของการเขียน Blog ในชุด Business Databases ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวเองเวลาทำเอกสารข้อมูลประกอบการขออนุมัติบอกรับจากผู้บริหารคณะ หรือใช้ประกอบการสอน หรือตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆในกลุ่ม IL กับผู้ที่มาช่วยอยู่เวรที่ห้องสมุด หรือผู้สนใจอื่นๆด้วย
Passport เป็นฐานข้อมูลการวิจัยทางการตลาด ให้ข้อมูลเชิงสถิติ รายงานการวิเคราะห์ การสำรวจคู่แข่งทางการตลาด แนวโน้มในอนาคตที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ข่าวสารด้านอุตสาหกรรมและการบริโภค เนื้อหาครอบคลุมมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย Industry Research Data ; Country Reports/Countries and Consumers Research ; Global Perspective Report ; Company Profile เป็นต้น
รายละเอียดการใช้ดูที่ลิงค์ด้านล่าง
https://docs.google.com/document/d/1K2woPidNCRxC1fFH3PqL2SSXAiuxnrH_XtiYoxcTBac/edit?usp=sharing
Full Text Finder ตอน หลังบ้าน
หลังจากที่ทำความรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน ไปแล้ว บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับตอน หลังบ้าน หรือเบื้องหลังการให้บริการกันต่อนะคะ
เมื่อดำเนินการบอกรับวารสารเรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์หรือบริษัทตัวแทนจะทำการเปิด access การเข้าใช้ และแจ้งมายังฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และจะนำไปสู่ขั้นตอน การอัพเดตข้อมูลใน Full Text Finder ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. เข้าสู่ระบบ EBSCO Admin
2. ค้นหาวารสารจากชื่อ หรือ ISSN ของวารสาร
Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน
Full Text Finder เป็นฟังก์ชั่นที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นวารสาร โดยมี EBSCO Discovery Service หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า EDS เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังวารสารจากสำนักพิมพ์ หรือวารสารในฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุดบอกรับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นบทความภายในวารสารได้อย่างรวดเร็ว
บทความนี้ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกับตอน หน้าบ้าน หรือ ในส่วนการให้บริการ กันก่อนนะคะ
หลายๆท่านอาจจะเคยใช้งานฟังก์ชั่น Full Text Finder ในการสืบค้นกันมาบ้างแล้ว เมื่อพิมพ์ชื่อวารสารลงในกล่อง One Search ระบบจะแสดง Full Text Finder ขึ้นมา ซึ่งหน้าตาของ Full Text Finder ที่รู้จักกันทั่วไป จะเป็นกล่องสืบค้นที่มาพร้อมกับชื่อวารสาร แบบในรูปนี้ค่ะ
เมื่อพิมพ์ชื่อบทความลงในกล่องสืบค้น จะสามารถเชื่อมโยงลิงก์ไปยังบทความนั้นได้
และผลการค้นที่ได้จะเป็นบทความเดียวกับ การสืบค้นจากฐานข้อมูลโดยตรง
ข้อดีของ Full Text Finder ก็คือ สามารถค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพราะไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้การสืบค้นจากฐานข้อมูลทีละฐาน ซึ่งมีการทำงานร่วมกับ One Search ตามคำกล่าวที่ว่า สามารถสืบค้นได้ในครั้งเดียว
เมื่อรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้านกันแล้ว ไปทำความรู้จักกับ
ตอน หลังบ้าน กันต่อเลยค่ะ
รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZproxy
การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย บอกรับเป็นสมาชิก จะมีวิธีการให้ผู้ใช้ ซึ่งต้องการรีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการใช้ Proxy และ VPN ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นการให้ผู้ใช้ต้อง set proxy ผู้ใช้ที่ไม่คล่องหรือไม่ชอบเทคโนโลยีด้วยแล้ว อยากจะบอกศาลาในการรีโมทเข้ามาใช้ด้วย Proxy เลยทีเดียว แต่การใช้ VPN มหาวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กร ต้องใช้ Resources เยอะ แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ของห้องสมุด หน่วยงาน หรือ องค์กรไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และการดูแลรักษาระบบ ดังนั้น ความสะดวก และความง่ายในการรีโมทเข้ามาใช้สำหรับผู้ใช้แล้ว ขอบอกว่า VPN สะดวกกว่าแน่นอน เพราะผู้ใช้ไม่ต้อง set อะไร เพียงแต่ใช้ url ที่องค์กรให้มา และใส่ username กับ password เพียงเท่านี้ ก็เสมือนอยู่ในเครือข่ายขององค์กรแล้ว
สำหรับห้องสมุดหรือองค์กรที่ไม่สามารถใช้หรือมี VPN ในการให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้นั้น ตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ของ OCLC ที่ชื่อว่า EZproxy ออกมาทำให้การรีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ง่ายขึ้นมาอีกเยอะ สมชื่อ EZproxy เป็นการพัฒนาของ OCLC โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นครั้งแรกโดย Chris Zagar ในปี ค.ศ. 1999 และมีการประกาศใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2008
EZproxy เป็น web proxy server ที่ห้องสมุดจัดหามาเพื่อให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้เครือข่ายของห้องสมุดผ่านเข้ามาใช้ฐานข้อมูลได้ ผู้ใช้ใส่ชื่อ และรหัสผ่านเข้าระบบ และมีการตรวจสอบผู้ใช้ด้วย IP address ที่ฐานข้อมูลที่บอกรับเป็นสมาชิกอนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานอื่นๆ ที่ต้องรีโมทจากทางบ้านหรือที่ไหนก็ได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน แต่เบื้องหลังการ set ค่าต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลออนไลน์เป็นหน้าที่ของห้องสมุด หรือองค์กร (รายละเอียดทางเทคนิค) ซึ่งน่าจะทำให้สะดวกกว่าเดิมในการไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการ set proxy ของผู้ใช้ และทางห้องสมุดหรือองค์กร ก็สามารถเก็บสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้โดยตรงอีกด้วย
รายการอ้างอิง
OCLC.OCLC EZproxy: An Overview (Tutorial overview). Retreived 2015, 4 May from http://www5.oclc.org/downloads/tutorials/ezproxy/default.htm
OCLC. Connect your users to e-content with a single sign-on. Retreived 2015, 4 May from https://www.oclc.org/ezproxy.en.html