Tag Archives: Process improvement

การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)

การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)  เป็นการบรรยายในวันที่ 2 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นวันแรกหรือ Pre-Conference ของการประชุมวิชาการประจำปี 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่”  สรุปความสำคัญได้ดังนี้

การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)  โดย คุณพัชรียา กุลานุช ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์บุคคลและพัฒนาองค์กร และ คุณกุศล ทองวัน ผู้จัดการ งานพัฒนาองค์กร ฝ่ายกลยุทธ์บุคคลและพัฒนาองค์กร

การบรรยายในภาคเช้าประกอบด้วย ประเด็นหัวข้อ

  • วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงกระบวนการ
  • ความหมายของ “กระบวนการ (Process)”
  • เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ
  • Process Improvement Tools  ได้แก่ QCC Story และ 7 QC Tools

เริ่มต้นการบรรยายด้วยคุณพัชรียา บรรยายในภาพรวมเพื่อให้เข้าใจถึงการปรับปรุงกระบวนการก่อนด้วยการแนะนำ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมทั้ง ค่านิยมขององค์กร ซึ่งรวมกันเรียกตามชื่อย่อภาษาอังกฤษของ สวทช. คือ NSTDA  (National Science and Technology Development Agency) กล่าวคือ N หมายถึง Nation First, S หมายถึง S&T Excellence, T หมายถึงTeamwork, D หมายถึง Deliverability และ A หมายถึง Accountability & Integrity วิทยากรได้เน้นคำว่า Deliverability นั้น เป็นการส่งมอบงานให้กับลูกค้าจะต้องมีคุณภาพและตรงต่อเวลา ดังนั้น การส่งมอบงานที่มีคุณภาพ ย่อมต้องมีคุณภาพในการทำงาน การที่จะดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงกระบวนงาน ต้องเปลี่ยน mind set ของบุคลากรก่อน เนื่องจากบุคลากรย่อมจะคุ้นกับสภาพที่เป็น Comfort Zone ไม่จำเป็นต้องทำหรือปร้บปรุง Continue reading การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (ด้วยกิจกรรม QCC)

คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมวิชาการประจำปี 2558 ครั้งที่ 8 เรื่อง คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation) ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ

เนื่องจากในปัจจุบันพัฒนาการของห้องสมุดมีความเจริญรุดหน้าไปมาก นอกเหนือจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนางานเพื่อให้บุคลากรห้องสมุดสามารถปฏิบัติงานและให้บริการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีการสร้างงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดไปใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยได้ตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ก็มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดต้องพยายามติดตามและพัฒนาให้ทันกันกับแนวโน้มที่จะเกิดในปัจจุบัน และต้องพยายามคาดการณ์ถึงอนาคตเพื่อให้ทันกับผู้ใช้และการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายของอนาคตที่ห้องสมุดจะต้องทำให้ได้และไปให้ถึง สำนักหอสมุดฯ จึงได้จัดการประชุมวิชาการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้พัฒนาทักษะการทำงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุดหรือการจัดการความรู้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เครื่องมือที่ทันสมัยในการพัฒนากิจกรรมหรือการบริหารจัดการห้องสมุด
  3. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เรียนรู้แนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาตนเองและการทำงาน
  4. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนากิจกรรมและเครื่องมือต่างๆ ของห้องสมุด

การประชุมวิชาการในครั้งนี้ จึงประกอบด้วยหลักสูตรวิชาเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

  1. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) วิทยากรโดย อาจารย์พัชรียา กุลนุช และ อาจารย์กุศล ทองวัน    เอกสารประกอบการบรรยาย
  2. Activities for Brain Training วิทยากรโดย อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์
  3. Memory Power Enhancement วิทยากรโดย อาจารย์ลัดดาวัลย์ ชูช่วย เอกสารประกอบการอบรม
  4. Service Design Essential วิทยากรโดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
  5. Applied Mind Map for KM วิทยากรโดย อาจารย์ดำเกิง ไรวา

Process Improvement หนังสือที่ยังไม่เข้าระบบ ให้ค้นหาตัวเล่มและให้บริการได้

สืบเนื่องจากห้องสมุดศูนย์รังสิต ทำหน้าที่เป็นคลังเก็บหนังสือ จะมีหนังสือที่ส่งมาจากห้องสมุดสาขา และฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ณ ขณะนี้ มีจำนวนประมาณ 43,500 เล่ม ที่ยังไม่สามารถหยิบตัวเล่มให้บริการได้ทันที (ถ้ามีผู้ต้องการใช้) เนื่องจากขั้นตอนการรับหนังสือที่ผ่านมาไม่ได้มีการจัดเรียงอย่างเป็นระบบ และหนังสือเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมกับความเร่งรีบที่ต้องการนำหนังสือขึ้นชั้นให้เร็วที่สุด และด้วยบุคลากรมีไม่เพียงพอ พื้นที่มีจำกัด และการรอการแก้ไขรายการในฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุดจะใช้เวลานานเกินไป จึงได้มีการวิเคราะห์และพิจารณาถึงการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้ใช้บริการ และบุคลากรภายในสำนักหอสมุดที่้ร้องขอหนังสือที่ยังไม่ได้จัดทำระบบเข้าคลังได้รับหนังสือตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการแก้ปัญหา

  1. จัดเก็บข้อมูลหนังสือไว้ในโปรแกรม Excel คือ เลขบาร์โคดและเลขเรียกหนังสือ (ระบบคลัง) โดยการนำหนังสือมาอ่านบาร์โคด และตรวจสอบความถูกต้องของเลขเรียกหนังสือ (ระบบคลัง) ทีละเล่ม
  2. เมื่อมีผู้ต้องการใช้หนังสือก็สามารถนำบาร์โคดไปตรวจสอบในไฟล์ Excel ที่จัดเก็บไว้ ซึ่งในไฟล์ Excel จะมีข้อมูลบาร์โคดของหนังสือ และข้อมูลเลขเรียกหนังสือระบบคลังไว้แล้ว ก็สามารถหยิบตัวเล่มให้ได้

ระบบการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

ระบบการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย  เป็นกระบวนการปรับปรุงการทำงานของฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด เนื่องจากผู้ปฏิบัติได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น กล่าวคือ

ปัญหาผู้ใช้บริการไม่พอใจ เนื่องจาก ผู้ให้บริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายได้ครบ ขาดการติดตามการแก้ไขปัญหา เนื่องจากไม่มีบุคลากรหรือระบบในการรับแจ้งปัญหา บุคลากรในฝ่ายเทคโนโลยีห้องสมุด ต้องทำหน้าที่ทั้งรับแจ้งปัญหา แก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด

  • ปัญหาที่แจ้งมาตกหล่น ไม่ได้ดำเนินการแก้ไข
  • รับแจ้งปัญหาแล้วไม่ได้ดำเนินการแก้ไข และไม่ได้ติดตามการแก้ไขปัญหา
  • ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทัน เนื่องจากไม่มีระบบหรือบุคลากรในการรับเรื่อง
  • การส่งต่องานไม่คล่องตัว เนื่องจากปัญหาบางรายการต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลอื่น ทำให้การติดตามงานไม่มีความต่อเนื่อง

Continue reading ระบบการรับแจ้งปัญหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

ความรู้ในการปฏิบัติงานไม่เท่าเทียมกัน จะทำอย่างไรดี

การปฏิบัติงานต่างๆ ในหน้าที่หรือการบริการเดียวกัน แต่หากการปฏิบัติหน้าที่ หรือการให้บริการ ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ บุคลากรของหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ จึงได้รวบรวมสมาชิกกลุ่มเพื่อจัดทำการปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างสูงสุด

การวิเคราะห์สาเหตุของความรู้ในการปฏิบัติงานไม่เท่าเทียมกัน เกิดจาก

สาเหตุของการให้บริการไม่เท่าเทียมกัน
สาเหตุของการให้บริการไม่เท่าเทียมกัน

เมื่อได้วิเคราะห์จนพบสาเหตุดังกล่าวแล้ว สมาชิกกลุ่ม จึงได้หาวิธีการแก้ปัญหา โดยดำเนินการดังนี้ Continue reading ความรู้ในการปฏิบัติงานไม่เท่าเทียมกัน จะทำอย่างไรดี

Process Improvement การบันทึกชั่วโมงอบรมบุคลากร

ภารกิจการเก็บข้อมูลจำนวนชั่วโมงอบรมของบุคลากร สำนักหอสมุด เป็นหน้าที่ของฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา ที่ผ่านมาพบปัญหา คือ

  1. กรอกข้อมูลไม่ตรงกันระหว่างฝ่ายส่งเสริมกับหน่วยงานอื่นๆ
  2. ไม่มีหลักฐานประกอบหรือดูอ้างอิงสำหรับจัดเก็บข้อมูล

ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนา จึงได้วิเคราะห์หาสาเหตุและหาแนวทางแก้ไข ด้วยการ

ปรับปรุงกระบวนการบันทึกชั่วโมงอบรม
ปรับปรุงกระบวนการบันทึกชั่วโมงอบรม

ผลที่ได้รับคือ

  1. ข้อมูลถูกต้อง
  2. ลดเวลาในการทำงาน
  3. ลดการทำงานซ้ำซ้อน

Process Improvement การลงทะเบียนการอบรม

ภารกิจประการหนึ่งของฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ซึ่งประสบกับปัญหา คือ การแจ้งลงทะเบียนผ่าน e-mail กล่าวคือ ไม่มีระบบการรับลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศทำให้เสียเวลาในการบริหารจัดการก่อนวันจัดอบรม ทำให้ผู้สนใจเข้าร่วมอบรมไม่สามารถลงทะเบียนได้ทัน

ฝ่ายส่งเสริมฯ จึงได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุและหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้บุคลากรสามารถติดตามผลการลงทะเบียน และสามารถมีหลักฐานในการเข้าอบรมแต่ละหลักสูตรได้ โดยดำเนินการ ดังนี้

กระบวนการ Process Improvement ของฝ่ายส่งเสริมฯ
กระบวนการ Process Improvement ของฝ่ายส่งเสริมฯ

เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว เกิดผลดังนี้

  1.  มีระบบการลงทะเบียนออนไลน์ทำให้สามารถกำหนดวันเริ่มต้น – สิ้นสุด การลงทะเบียนได้อย่างชัดเจน
  2. ผู้เข้าอบรมได้รับความสะดวกในการลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์
  3. ลดเวลาการรวบรวมชื่อ และการทำใบลงชื่อผู้เข้าร่วมอบรมได้อย่างชัดเจน

Process Improvement -สร้างนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน

TULIBs กับความสำเร็จของกิจกรรม Process Improvement
TULIBs กับความสำเร็จของกิจกรรม Process Improvement

สำนักหอสมุดจัดกิจกรรมนำเสนอโครงการ Process improvement เพื่อการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหาในการทำงาน ของหน่วยงานต่างๆ ภายในสำนักหอสมุด เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ณ ห้อง IL 1 ชั้น U 1  หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มธ.ท่าพระจันทร์ นำทีมโดยนางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักหอสมุด สายบริหารและพัฒนา พร้อมด้วยตัวแทนบุคลากรสำนักหอสมุดที่นำเสนอโครงการ Continue reading Process Improvement -สร้างนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน

กิจกรรม Process Improvement

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 9.00-12.00 น. บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรอีกจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกิจกรรม Process Improvement โดยวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คุณกุศล ทองวัน (หรือคุณต้อ) หัวหน้างาน งานพัฒนาองค์การ ฝ่ายกลยุทธ์บุคคลและพัฒนาองค์กร  และทีมงาน ได้ให้ความรู้ แนวทางและสร้างความเข้าใจถึงการทำ Process Improvement เพื่อเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงาน

คุณโกศล ทองวัน วิทยากรจาก สวทช.
คุณกุศล ทองวัน วิทยากรจาก สวทช.
ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักหอสมุด เข้าร่วมกิจกรรม
ผู้บริหารและบุคลากรของสำนักหอสมุด เข้าร่วมกิจกรรม

สำนักหอสมุดฯ จึงตั้งเป้าหมายว่า หลังจากการอบรมในครั้งนี้ บุคลากรในแต่ละฝ่ายจะได้มีส่วนร่วมในปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกว่าจะปรับปรุงกระบวนการทำงาน คาดหวังว่าบุคลากรต้องมีการวิเคราะห์ ศึกษา จนมาถึงการสรุปออกมาเป็นกระบวนการที่ปรับปรุงแล้ว เหมือนกับเป็น R2R หรือ Routine to Research ได้งานที่มีการพัฒนา ปรับปรุง ได้ความรู้ เป็นการพัฒนางาน (งานมีคุณภาพ (Quality) ลดค่าใช้จ่าย (Cost) ในการทำงาน รวมทั้งมีความรวดเร็วในการส่งมอบงาน (Delivery) ) และเป็นการพัฒนาคน Continue reading กิจกรรม Process Improvement

การพัฒนาคุณภาพด้วย Quality Control Circle (QCC)

เมื่อวันที่ 28 มกรามคม 2558 บุคลากรของสำนักหอสมุดมีโอกาสในการเข้าอบรม Process Improvement โดยวิทยากรจาก สวทช. ณ True Lab มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในกระบวนการทำงาน โดยวิทยากรได้นำเสนอเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการคุณภาพ Quality Control Circle (QCC)

IMG_7381
บรรยากาศในการอบรม Process Improvement โดย คณะวิทยากรจาก สวทช.

Continue reading การพัฒนาคุณภาพด้วย Quality Control Circle (QCC)