Tag Archives: EDS

TU-THAIPUL : บริการยืมระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน

      TU-THAIPUL เป็นบริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ EBSCO Discovery Service (EDS) ในการสืบค้นและแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน โดยในปี 2559 หอสมุดฯ ได้ขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเอกชน
4 แห่ง ได้แก่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต | สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย| สำนักหอสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  โดยต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 3 แห่ง คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเข้าเป็นสมาชิกเดือนเมษายน 2560 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุมและ
สำนักทรัพยากรสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม เข้าเป็นสมาชิกเดือนสิงหาคม 2560

TU-Thaipul Logo

Continue reading TU-THAIPUL : บริการยืมระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน

ห้องสมุด หาอะไรก็ไม่เจอ … จริงหรอ

Error

เคยมั้ยเข้าห้องสมุดมาหาอะไรก็ไม่เคยเจอ หรือค้นแล้วเจอมากมายจนไม่รู้จะเลือกใช้อะไรดี? วันนี้ผมจะมาคืนความสุขให้ทุกคนด้วยการแนะนำให้รู้จักการสืบค้นแบบง่ายๆ ตามสไตล์ของแอดกัน ด้วย Keywords & Limit search

เริ่มต้นเราจะกำหนด Keywords เพื่อใช้เป็นคำค้นก่อน เช่น Marketing strategy / Marine Law / การจัดการเชิงกลยุทธ์ / ศูนย์การค้า เป็นต้น จะเห็นว่า Keywords ที่ผมใช้มีลักษณะเป็นคำสั้นๆ ไม่ใช่ประโยคยาวๆ >> ถ้าค้นหาด้วยประโยคยาวๆ จะได้ผลการค้นหาน้อย หรืออาจจะไม่เจออะไรเลย <<

Continue reading ห้องสมุด หาอะไรก็ไม่เจอ … จริงหรอ

นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2559 เวลา 9.30 – 11.00 นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจำนวน 3 คน เข้าศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดีพนมยงค์

S__21659656

Continue reading นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศึกษาดูงานฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯและฝ่ายสงวนรักษาทรัพยากรฯ

Research Starters

ResearchStartersEducation_Masthead_Web

Research Starters คือ feature ภายในกล่องสืบค้น EDS ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่มีการอ้างอิง และสรุปเนื้อหาของบทความที่เป็นที่นิยม
โดย feature นี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนางานวิจัยในขั้นเริ่มต้น เหมาะสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

ข้อมูลของ Research Starters รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพและสารานุกรมต่างๆ ได้แก่ หนังสือจากสำนักพิมพ์ Salem Press, Encyclopedia Britannica และ American National Biography

เมื่อผู้ใช้สืบค้นจากกล่องสืบค้น EDS  Research Starters จะปรากฏขึ้นเป็นรายการแรกก่อนผลการสืบค้น และสามารถเชื่อมโยงไปยังบทความฉบับเต็มได้

1

ภายในบทความฉบับเต็ม ผู้ใช้สามารถเลือกการแปลเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 20 ภาษา และสามารถเลือกการอ่านออกเสียงได้ 3 สำเนียง ได้แก่ American Accent, Australian Accent และ British Accent  อีกทั้งยังสามารถดาวน์โหลดบทความเป็นไฟล์เสียงแบบ MP3 ได้ด้วย

2

ผู้เขียนได้ทดลองใช้ดูแล้ว Research Starters ไม่ได้มีสำหรับคำค้นทุกคำ แต่จะปรากฏขึ้นกับคำค้นบางคำค่ะ จากที่เคยสืบค้นแบบธรรมดา Research Starters ก็เป็นฟังก์ชั่นเสริมที่จะช่วยให้ประสบการณ์ใหม่ๆในการสืบค้นแก่ผู้ใช้ ลองไปใช้กันดูนะคะ

Full Text Finder ตอน หลังบ้าน

full_text_finder_logo

หลังจากที่ทำความรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน ไปแล้ว บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับตอน หลังบ้าน หรือเบื้องหลังการให้บริการกันต่อนะคะ

เมื่อดำเนินการบอกรับวารสารเรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์หรือบริษัทตัวแทนจะทำการเปิด access การเข้าใช้ และแจ้งมายังฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และจะนำไปสู่ขั้นตอน การอัพเดตข้อมูลใน Full Text Finder ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าสู่ระบบ EBSCO Admin

adminp

2. ค้นหาวารสารจากชื่อ หรือ ISSN ของวารสาร

admin

Continue reading Full Text Finder ตอน หลังบ้าน

Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน

full_text_finder_logo

Full Text Finder เป็นฟังก์ชั่นที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นวารสาร โดยมี EBSCO Discovery Service หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า EDS  เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังวารสารจากสำนักพิมพ์ หรือวารสารในฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุดบอกรับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นบทความภายในวารสารได้อย่างรวดเร็ว

บทความนี้ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกับตอน หน้าบ้าน หรือ ในส่วนการให้บริการ กันก่อนนะคะ

หลายๆท่านอาจจะเคยใช้งานฟังก์ชั่น Full Text Finder ในการสืบค้นกันมาบ้างแล้ว เมื่อพิมพ์ชื่อวารสารลงในกล่อง One Search ระบบจะแสดง Full Text Finder ขึ้นมา ซึ่งหน้าตาของ Full Text Finder ที่รู้จักกันทั่วไป จะเป็นกล่องสืบค้นที่มาพร้อมกับชื่อวารสาร แบบในรูปนี้ค่ะ

ftfbox

เมื่อพิมพ์ชื่อบทความลงในกล่องสืบค้น จะสามารถเชื่อมโยงลิงก์ไปยังบทความนั้นได้

search

และผลการค้นที่ได้จะเป็นบทความเดียวกับ การสืบค้นจากฐานข้อมูลโดยตรง

compare

ข้อดีของ Full Text Finder ก็คือ สามารถค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพราะไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้การสืบค้นจากฐานข้อมูลทีละฐาน ซึ่งมีการทำงานร่วมกับ One Search ตามคำกล่าวที่ว่า สามารถสืบค้นได้ในครั้งเดียว

เมื่อรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้านกันแล้ว ไปทำความรู้จักกับ
ตอน หลังบ้าน กันต่อเลยค่ะ

การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่บุคลากร และนักศึกษา เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 9.00 – 12.00 น. ในหัวข้อ “การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)” โดยมีวิทยากรคือ คุณกัญญากานต์ นนทิวัฒน์วณิช

การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)
การอบรมฐานข้อมูล EBSCOhost (ALL)

ในการอบรมนี้ได้เน้นในเรื่องของการใช้ระบบสืบค้น EDS (EBSCO discovery service) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ OneSearch

OneSearch ถูกใช้เพื่อสืบค้นทรัพยากรต่างๆ ที่หอสมุดมธ. มีให้บริการ รวมไปถึงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆที่อยู่ในฐานข้อมูลออนไลน์จำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ มีความสามารถในการสืบค้นที่ยืดหยุ่น โดยผู้ใช้สามารถใช้การค้นโดยตรรกะแบบบูล คู่กับเครื่องมือจำกัดการค้นต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง, การใช้ความสามารถที่เรียกว่า Full-text Finder และ A-to-Z Publications Locator เพื่อเจาะจงการค้นบทความวารสารจากฐานข้อมูลออนไลน์, การลงทะเบียนสมาชิก OneSearch เพื่อใช้บันทึกผลการค้น และการดาวน์โหลด eBooks ผ่าน Onesearch