นายกรัฐมนตรี กล่าวนำถวายพระพร
บรรยากาศงานพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นายกรัฐมนตรี กล่าวนำถวายพระพร
บรรยากาศงานพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำหนังสือ “สมเด็จพระเทพฯ เจ้าฟ้านักพัฒนา” ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่ให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และดำเนินตามรอยพระยุคลบาท ตลอดจนน าไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศและตนเองต่อไป
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : 2558) ประกอบด้วยแนวพระราชดำริและพระราชกรณียกิจในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แบ่งออกเป็น 6 ส่วนได้แก่ Continue reading สมเด็จพระเทพฯ เจ้าฟ้านักพัฒนา (หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558)
วันที่ 2 เมษายน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระมิ่งขวัญอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน เป็น วันอนุรักษ์มรดกไทย วันรักการอ่าน วันหนังสือเด็กแห่งขาติ วันสายใจไทย ซึ่งล้วนเนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี นับแต่ปี 2548 เป็นต้นไป เป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงส่งเสริมการอ่าน Continue reading วันที่ 2 เมษายน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงรับรางวัลเกียรติยศ หรือตำแหน่งเกียรติยศ อาทิ เช่น
พ.ศ. 2531 ทรงรับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ (พระเกี้ยวทองคำ ให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ที่ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้สนใจศึกษาภาษาไทย นำภาษาไทยไปใช้ได้ถูกต้อง และผลิตงานเขียนซึ่งมีคุณค่าแก่การศึกษาภาษาไทย รวมทั้งเป็นตัวอย่างอันดีในการใช้ภาษาไทยในวิชาการและงานสร้างสรรค์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมรางวัลพระเกี้ยวทองคำ)
พ.ศ. 2534 เสด็จ ฯ ไปทรงรับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ทรงบันทึกในพระราชนิพนธ์ เรื่อง ขอให้เจ้าภาพจงเจริญ) Continue reading สมเด็จพระเทพฯ ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ
จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 นั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดหลายแห่ง เช่น National Museum of American History, National Air and Space Museum, National Museum of Natural History ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ทรงบันทึกและมีพระราชดำริเกี่ยวกับการทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ ความว่า
“Ms. Francine Berkowitz, Director of the Smithsonian’s International Center และคนอื่นๆ มาอธิบายให้ฟังว่าการทำพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ไม่ใช่การสร้างโกดังเก็บของเก่า แต่ต้องมีแนวคิดมาก่อน แนวคิดนี้มักมีเรื่องสังคม เรื่องปรัชญา และวางของให้เล่าเรื่องที่เราอยากให้คนดูเข้าใจ Continue reading พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง
ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 เริ่มต้นจากวอชิงตัน ดี.ซี. และสิ้นสุดที่ฮาวาย ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เสด็จฯ Perkins School for the Blind ทรงบันทึกมีใจความว่า
“ไป Perkins School for the Blind … ข้าพเจ้าสนใจเรื่อง การศึกษาและการทำงานของคนตาบอดมาก เห็นจะเป็นเพราะตั้งแต่เด็กๆ ในช่วงปีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชิญคนพิการจากโรงเรียนสอนคนพิการประเภทต่างๆ มารับพระราชทานเลี้ยง ฟังดนตรี พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่ที่เขามีประสบการณ์ไม่เหมือนเรา แต่ก็เรียนหนังสือได้ทั้งๆ ที่เขาลำบากกว่าเรา ในวันนั้นเราก็มีโอกาสช่วยให้เขามีความสุขมากด้วย ต่อมาตอนเรียนที่จุฬาก็มีเพื่อนตาบอดที่เรียนเก่งและน่ารัก และภายหลังได้ไปเยี่ยมโรงเรียนตาบอดอยู่เป็นประจำ สังเกตว่าอุปกรณ์การศึกษาหลายอย่างของคนตาบอด ต้องซื้อที่โรงเรียนเพอร์กินส์แห่งนี้”
รายการอ้างอิง
เยือนถิ่นอินเดียแดง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ธนาคารไทยพาณิชย์, 2537.
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 77)
จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เบอร์ลินสิ้นกำแพง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ในครั้งนั้น ได้เสด็จฯ Kongresszentrum เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการแผนที่เยอรมัน ได้ทรงบันทึกไว้พระราชนิพนธ์นี้ว่า
“ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แผนที่เสมอในการเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่างๆ ในประเทศ ทรงใช้แผนที่ดูเรื่องเส้นทางและการพัฒนาทำโครงการต่างๆ และทรงแก้ไขแผนที่ให้ถูกต้องตามภูมิประเทศจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ทรงชี้ให้ข้าพเจ้าเห็นประโยชน์ของการใช้แผนที่ในการเรียนรู้ภูมิประเทศ เพื่อให้รู้จักดินแดนของเราเอง ในโรงเรียนข้าพเจ้าได้ใช้แผนที่ในการเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับต่างประเทศ …”
รายการอ้างอิง
เบอร์ลินสิ้นกำแพง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ธนาคารไทยพาณิชย์, 2539.
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 76)
เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์ เป็นหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558 จากหน้าคำนำ โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้กล่าวถึง การจัดทำหนังสือเล่มนี้ ว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอถวายราชสักการะแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อมหาวิทยาลัย ด้วยการมอบหมายให้สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวบรวมและเรียบเรียงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งเรื่องราวเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในกิจการมหาวิทยาลัย และหรือกิจการที่มหาวิทยาลัยดำเนินงานถวายพระองค์ท่านรวม 15 กิจการ พร้อมทั้งปฏิทินธรรมศาสตร์เนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” Continue reading เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์ (หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558)
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญชมนิทรรศการ
เทพรัตน์ ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์
ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ท่าพระจันทร์
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า
คณะผู้บริหารและบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความที่เกี่ยวข้อง เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 74)
คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” ด้วยตระหนักในพระ ปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุเคราะห์สนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติเสมอมา
จากเว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวถึง วันอนุรักษ์มรดกไทย ไว้ดังนี้ “วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ คือ พุทธศาสนา ภาษาไทยและ วรรณกรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และธำรงมรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทยสืบไป” และ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้รับการทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญาเมื่อ พ . ศ . 2531 ว่า “ เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ” และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 วันศิลปินแห่งชาติ คณะกรรม การ วัฒนธรรมแห่งชาติก็ได้ทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญา “ วิศิษฏศิลปิน ” ( อ่านว่า วิ – สิด – สิน – ละ – ปิน ) แด่พระองค์ท่าน ซึ่ง มีความหมายว่าทรงมีพระอัจฉริยะภาพและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยังทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม คือทรงเป็นปราชญ์ที่ มีความรอบรู้ในวัฒนธรรมด้านต่างๆ”
รายการอ้างอิง
วันอนุรักษ์มรดกไทย สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 จาก http://www.culture.go.th/cday/index.php?option=com_content&view=article&id=684:2011-03-28-15-10-02&catid=41:0402&Itemid=76
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 73)