Tag Archives: สหรัฐอเมริกา

อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

20150521_09460820150521_094807

การสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 10 เรื่อง   “อาเซียน  ไทย และ มหาอำนาจ  ในยุคแห่งการปฏิรูป” วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเชิดเกียรติ  อัตถากร รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย อาเซียน และมหาอำนาจ ใน 3 ประเด็น ได้แก่

  1. ความท้าทายในภูมิภาค ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความซับซ้อน เศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า ขณะที่ความขัดแย้งในภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้น มีการเผชิญหน้าระหว่างประเทศกันมากขึ้น เกิดการผงาดขึ้นของจีน (The Rise of China) จีนจัดตั้ง Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) มีประเทศที่เข้าร่วมถึง 51 ประเทศ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งของ International Monetary Fund (IMF) และ World Bank ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ และ Asian Development Bank (ADB) ที่มีญี่ปุ่นเป็นหัวโจก    ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็ปรับยุทธศาสตร์เพิ่มงบประมาณทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ ทางสหรัฐอเมริกาก็แสดงบทบาทด้านความมั่นคงและทางทหารมากขึ้นในภูมิภาค
  2. ความท้าทายของอาเซียนในปัจจุบัน การรวมตัวของอาเซียนได้รับการยอมรับและมีจุดแข็งที่สามารถเข้ากับมหาอำนาจได้ อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดหลัก “ฉันทามติ”  มีบรรทัดฐานร่วมกัน และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน” เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคสงบสุข และแข็งแกร่ง ตลอดจนมีพลวัตและมองไปยังโลกภายนอก นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นกลไกความร่วมมือของภูมิภาค รักษาความเป็นกลางในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างๆ กับต่างประเทศที่เป็นคู่เจรจา สำหรับบทบาทของอาเซียนกับมหาอำนาจ หลังปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะเน้นย้ำเรื่องความมั่นคง การใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยชน
  3. ไทยจะดำเนินทิศทางอย่างไรในกรอบอาเซียนและกรอบมหาอำนาจ ไทยมีจุดแข็งในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการขยายการลงทุนของอาเซียน ขณะที่อาเซียนมีการเชื่อมโยงกับมหาอำนาจภายนอก มีการจัดทำการค้าเสรีกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โดยสรุป ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในศตวรรษที่ 21  ต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและค่านิยมในความร่วมมือระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต้องรักษาสมดุลของประเทศสมาชิกและมหาอำนาจ ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวม เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืน

Continue reading อาเซียน ไทย และ มหาอำนาจ ในยุคแห่งการปฏิรูป

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 นั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดหลายแห่ง เช่น National Museum of American History, National Air and Space Museum, National Museum of Natural History ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ทรงบันทึกและมีพระราชดำริเกี่ยวกับการทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ ความว่า

“Ms. Francine Berkowitz, Director of the Smithsonian’s International Center และคนอื่นๆ มาอธิบายให้ฟังว่าการทำพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ไม่ใช่การสร้างโกดังเก็บของเก่า แต่ต้องมีแนวคิดมาก่อน แนวคิดนี้มักมีเรื่องสังคม เรื่องปรัชญา และวางของให้เล่าเรื่องที่เราอยากให้คนดูเข้าใจ Continue reading พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่

เยือนถิ่นอินเดียนแดง
เยือนถิ่นอินเดียนแดง

ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 เริ่มต้นจากวอชิงตัน ดี.ซี. และสิ้นสุดที่ฮาวาย ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เสด็จฯ Perkins School for the Blind ทรงบันทึกมีใจความว่า

“ไป Perkins School for the Blind … ข้าพเจ้าสนใจเรื่อง การศึกษาและการทำงานของคนตาบอดมาก เห็นจะเป็นเพราะตั้งแต่เด็กๆ ในช่วงปีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชิญคนพิการจากโรงเรียนสอนคนพิการประเภทต่างๆ มารับพระราชทานเลี้ยง ฟังดนตรี พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่ที่เขามีประสบการณ์ไม่เหมือนเรา แต่ก็เรียนหนังสือได้ทั้งๆ ที่เขาลำบากกว่าเรา ในวันนั้นเราก็มีโอกาสช่วยให้เขามีความสุขมากด้วย ต่อมาตอนเรียนที่จุฬาก็มีเพื่อนตาบอดที่เรียนเก่งและน่ารัก และภายหลังได้ไปเยี่ยมโรงเรียนตาบอดอยู่เป็นประจำ สังเกตว่าอุปกรณ์การศึกษาหลายอย่างของคนตาบอด ต้องซื้อที่โรงเรียนเพอร์กินส์แห่งนี้”

รายการอ้างอิง

เยือนถิ่นอินเดียแดง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ธนาคารไทยพาณิชย์, 2537.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 77)

ศัพท์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา

การค้นข้อมูลกฎหมายของอเมริกา ในฐานข้อมูล Westlaw หรือฐานข้อมูล HeinOnline  เรามักจะสับสนกับคำศัพท์ต่างๆว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนจึงไปค้นคว้าหาความรู้ จากหนังสือชื่อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสหรัฐอเมริกา ของ  รศ. มานิตย์ จุมปา  ซึ่งพอจะสรุปให้หายงงได้ดังนี้

  •  BILL     คือ       ร่างกฎหมายที่มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องนั้นๆพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน    
  •  STATUTE     คือ       กฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ จากรัฐสภา และประธานาธิบดีลงนาม เพื่อประกาศใช้ ซึ่งจะประกาศให้ทราบในเอกสารที่เรียกว่า Slip law  ต่อจากนั้นก็นำเอกสารจาก slip law ไปประกาศไว้ในเอกสารที่ชื่อว่า The United  states Code  ซึ่งจะมีการจัดเนื้อหาใหม่แยกไปตาม subject

United  states Code นี้ ค้นได้จาก “Westlaw และ HeinOnline แต่ถ้าห้องสมุดใดยังไม่มีงบประมาณบอกรับสมาชิก ก็ค้นได้จากเว็บไซต์ ของ US Government  Publishing Office Continue reading ศัพท์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา