Tag Archives: หอสมุดปรีดี พนมยงค์

การบริการบทคัดย่อ

หอสมุดปรีดี พนมยงค์   จัดหาบทคัดย่อของงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการ   โดยรวบรวมจากบคัดย่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่ส่งตัวเล่มวิทยานิพนธ์มาให้กับสำนักหอสมุด ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ   วิเคราะห์เนื้อหาของวิทยานิพนธ์เพื่อลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด  และส่งบทคัดย่อให้หอสมุดปรีดีฯ

เจ้าหน้าที่ หอสมุดปรีดีฯ จะนำบทคัดย่อเหล่านั้นมาแยกและจัดเข้าแฟ้มตามชื่อคณะ โดยเก็บใส่ในแฟ้มเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา

1

การบริการบทคัดย่อเหล่านี้ บริการแก่นักศึกษา บุคคลภายนอกที่จะทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ เพื่อใช้เป็นแนวทาง แนวคิดในการจัดทำวิจัย และวิทยานิพนธ์ต่อไป

การ Recall หนังสือ

การ Recall หนังสือ เป็นการให้บริการอีกบริการหนึ่ง ที่ทางหอสมุดปรีดี พนมยงค์ จัดให้แก่สมาชิก เมื่อสมาชิกต้องการหนังสือที่มีผู้อื่นยืมไป

แนวทางการติดตามหนังสือที่มีผู้อื่นยืมไป

  • ให้สมาชิกจองหนังสือที่ต้องการในหน้าเว็บของระบบห้องสมุด โดยกรอกชื่อ-นามสกุล  อีเมล/เบอร์โทร. เพื่อทางห้องสมุดจะได้ติดต่อกลับ (ข้อมูลของผู้ยืมจะเป็นข้อมูลปกปิด)
  • เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะตรวจสอบข้อมูล และติดต่อขอความอนุเคราะห์ ให้ส่งหนังสือคืน ทาง  อีเมลหรือโทรศัพท์ ถ้าผู้ยืมต้องการใช้ต่อ ให้ทำ Note ไว้ที่หนังสือ เมื่อหนังสือส่งกลับมาจะทำให้เจ้าหน้าที่ทราบว่า ผู้ยืมไปคนแรกยังต้องการใช้หนังสือเล่มนั้นอยู่
  • เมื่อผู้ยืมนำหนังสือมาคืน ให้ อีเมล/โทรแจ้งผู้ที่ต้องการยืม ให้มายืม หรือถ่ายเอกสาร
  • กรณีที่หนังสือมี Note เจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะแจ้งให้ผู้ยืมคนเดิมมารับหนังสือ หรือกรณีเป็นอาจารย์ ให้ส่งที่คณะ ที่อาจารย์สังกัดอยู่

การให้บริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ภายนอก

ห้องสมุดเป็นแหล่งให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายสาขาวิชาและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ  แก่กลุ่มผู้ใช้หลักของแต่ละห้องสมุด นอกจากกลุ่มผู้ใช้หลักแล้ว ห้องสมุดบางแห่ง ยังให้บริการแก่บุคคลภายนอกอีด้วย

หอสมุดปรีดี พนมยงค์  จัดว่าเป็นห้องสมุดภายใต้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหลัก  นอกจากการให้บริการเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัยแล้ว หอสมุดปรีดีฯ ยังให้บริการแก่ผู้ใช้บริการภายนอกอีกด้วย

ห้องสมุดได้เปิดเวลาการให้บริการดังนี้

เปิดเวลาการให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์     เวลา 8.00  น. – 21.30  น. ส่วนวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา9.00 น.–21.30  น. Continue reading การให้บริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ภายนอก

แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหนังสือให้บริการอย่างมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และขนาดของหนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน เล่มเล็ก เล่มใหญ่บ้าง ปกแข็ง ปกอ่อนบ้าง และผู้รับบริการของหอสมุดฯ ก็มีหลากหลายประเภทเช่นกัน ถ้าผู้อ่านใช้หนังสือไม่ถูกวิธีอาจทำให้หนังสือเกิดการชำรุดเสียหาย จึงมีวิธีแนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้องสำหรับผู้รับบริการของหอสมุดปรีดีฯ มีดังนี้

1. ไม่ขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ
2.  ไม่ฉีก หรือตัดหน้าหนังสือ จะทำให้ข้อความบางตอนไม่สมบูรณ์ ผู้ที่มาอ่านภายหลังไม่ได้ข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป
3.  ต้องดูแลหนังสือไม่ให้เปียกน้ำ เพราะจะทำให้หนังสือชื้น ขึ้นราได้ Continue reading แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

คณะบรรณารักษ์ และนักจดหมายเหตุ จากหอสมุดแห่งชาติ ศึกษาดูงานหอสมุดปรีดี พนมยงค์

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 คณะบรรณารักษ์ นักจดหมายเหตุ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จาก 5 หน่วยงานได้แก่
– หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี
– หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
– หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
– หอจดหมายเหตุรัชมัลคาภิเษก กาญจนบุรี
– หอสมุดแห่งชาติ สุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ได้เข้าศึกษาดูงานหอสมุดปรีดี พนมยงค์ โดยมีคุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การบริหารจัดการห้องสมุดดิจิทัล” ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์

20150220_093650 Continue reading คณะบรรณารักษ์ และนักจดหมายเหตุ จากหอสมุดแห่งชาติ ศึกษาดูงานหอสมุดปรีดี พนมยงค์

การขยายชั้นหนังสือ/การอ่านชั้นหนังสือให้ถูกต้อง

ห้องสมุดทุกแห่งจะพบกับสภาพการที่มีหนังสือเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนต้องมีการขยายชั้นหนังสือ ซึ่งการขยายชั้นหนังสือต้องมีการบริหารจัดการที่ดี

หอสมุดปรีดี พนมยงค์  เช่นเดียวกัน มีการขยายชั้นเพื่อปรับปรุงชั้นหนังสืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรองรับหนังสือที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การขยายชั้นหนังสือต้องมีการวางแผนและจัดการที่เหมาะสมเพื่อที่จะไม่กระทบต่อการใช้หอสมุดของผู้รับบริการ

การขยายชั้นของหอสมุดฯ จะทำในช่วงปิดภาคการศึกษาซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้รับบริการเข้าใช้หอสมุดฯ น้อย    สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ การคำนวณชั้นหรือการใช้พื้นที่ในการวางหนังสือบนชั้นเพราะพื้นที่บนชั้นมีผลต่อระยะเวลาในการขยายชั้นหนังสือ   ถ้ามีหนังสือจำนวนมากแต่พื้นที่น้อยก็ใส่หนังสือไม่หมดหรือต้องขยายชั้นกันบ่อยๆ จึงต้องมีการคำนวณชั้นก่อนลงมือทำเพื่อที่จะได้ไม่ผิดพลาด การขยายชั้นหนังสือให้พอดีแต่ละช่วงชั้นหนังสือโดยขยายหนังสือจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวาจนครบทุกชั้น  ต้องเหลือเนื้อที่สำหรับจัดเก็บหนังสือใหม่ที่หอสมุดได้รับในแต่ละปีด้วย   เมื่อขยายชั้นเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือ การอ่านชั้นหนังสือ (หรือเรียกว่าการตรวจการเรียงหนังสือก็ได้) ให้ถูกต้อง และจัดทำป้ายแจ้งหมวดหมู่หนังสือ

10172717_741718979212415_6307222642555483878_n

10430911_1325175857522627_5322599767482069721_n

Continue reading การขยายชั้นหนังสือ/การอ่านชั้นหนังสือให้ถูกต้อง

หาเพื่อนศิษย์เก่าธรรมศาสตร์

ความสัมพันธ์ของบุคคลนั้น  เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยเรียนก็ศึกษาเล่าเรียนในสถาบันต่างๆ  มีมิตรสหายมากมาย สนุกสนานตามประสาวัยรุ่น จวบจนสำเร็จการศึกษาต่างก็แยกย้ายไปประกอบอาชีพ  ทำมาหากินกัน บางคนก็ยังติดต่อเพื่อนอยู่  แต่จะมีบางคนที่ห่างหายไปนาน บุคคลใดที่คิดถึงก็จะติดตามข่าวสารจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ในปัจจุบันนี้ทันสมัยใช้วิธี Search หาจาก Google,  Facebook  และ  Youtube สะดวกขึ้นมาก

การบริการในหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ที่ช่วยคุณสืบค้นได้ คือหนังสืออนุสรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีให้บริการตามปีการศึกษาดังนี้

  • พ.ศ. 2477-80
  • พ.ศ. 2489
  • พ.ศ. 2501 – 2510
  • พ.ศ.2513 –2514
  • พ.ศ.2517 -2524
  • พ.ศ.2526- 2547
  • พ.ศ.2550 พ.ศ. 2556

    และบางคณะส่งมาเก็บไว้ที่หอสมุดปรีดีฯ บ้างบางฉบับ  เช่นคณะรัฐศาสตร์  คณะนิติศาสตร์  คณะศิลปะศาสตร์  คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี  หนังสืออนุสรณ์นี้ให้บริการมีไม่มากนักในห้องวัสดุลักษณะพิเศษ 2  เพียงผู้รับบริการแจ้งชื่อ นามสกุล คณะที่ศึกษา  ปีที่จบการศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ที่ให้บริการก็จะไปนำเล่มมาให้กับผู้รับบริการ  ซึ่งบางปีการศึกษาไม่มีต้องค้นจากหนังสือพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษานั้น

1

การเตรียมหนังสือใหม่ / Check in

หนังสือใหม่ก่อนออกให้บริการจะต้องมีการเปลี่ยนสถานะในการให้บริการนั่นคือการทำ Check in เพื่อเปลี่ยนสถานะของหนังสือในฐานข้อมูลจาก Cataloging Division เป็น Shelving Cart  โดย

1.  นำหนังสือใหม่ที่ได้ตรวจรับจากฝ่ายบริหารจัดการฯ

2.  เปิดหน้าจอ Circulation ของโปรแกรม Koha

12

3.  คลิกเลือก Check in

13

4.  อ่าน Barcode ตัวเล่มหนังสือใหม่ลงในช่องอ่านBarcode

14

5.  หน้าจอจะปรากฎหน้า  Check in

พร้อมกันนี้สถานะของหนังสือจะเปลี่ยนจาก Cataloging Division เป็น Shelving Cart โดยอัตโนมัติ เมื่อทำรายการ Check in เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Continue reading การเตรียมหนังสือใหม่ / Check in

หอสมุดปรีดี พนมยงค์กับความภาคภูมิใจกับบัณฑิต

ในเดือนสิงหาคมของทุกปี หอสมุดปรีดี พนมยงค์ จะได้พบกับรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจของน้องๆ นักศึกษาธรรมศาสตร์ทุกท่านที่จบการศึกษา  หอสมุดปรีดีได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบรรดาบัณฑิต เพราะหอสมุดปรีดีได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีความหลากหลายและมากด้วยเนื้อหาสาระความรู้ให้บริการแก่นักศึกษา

หอสมุดปรีดีฯ ได้ใช้งบประมาณปีละ สี่ล้านบาทในการจัดหาทรัพยากรทั้งที่เป็นรูปเล่ม และอยู่ในรูปแแบบดิจิทัล อีกทั้งยังจัดหาวารสารหนังสือพิมพ์ รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ อีกประมาณสี่ล้านบาทเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา

นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่างๆ ไว้บริการนักศึกษาร่วมด้วย หอสมุดปรีดีฯ จึงเปรียบเหมือนแหล่งทรัพยากรสารสนเทศด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาของเราออกไปรับใช้สังคมได้อย่างสง่างาม

สำนักหอสมุด ปรีดี พนมยงค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีความภูมิใจอย่างยิ่งในความสำเร็จของบรรดาบัณฑิตทุกท่าน

บริการรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ (ห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน)

การให้บริการรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ  โดยผู้รับบริการต้องนำทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปส่งคืนห้องสมุด ตามวันกำหนดส่ง

การคืนทรัพยากรสารสนเทศมี 2 ช่องทาง คือ

  1. คืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยตัวเอง
  2. คืนทรัพยากรสารสนเทศโดยผ่านตู้รับคืนนอกเวลา

การคืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยตัวเอง

ผู้รับบริการสามารถนำหนังสือมาคืนกับเจ้าหน้าที่บริการยืม-คืน และสารมรถตรวจสอบความถูกต้อง ในกรณีมีค่าปรับ สามารถชำระค่าปรับกับเจ้าหน้าที่ทันทีและรับใบเสร็จค่าปรับ

การทรัพยากรสารสนเทศโดยผ่านตู้รับคืนหนังสือนอกเวลา

ปัจจุบันห้องสมุด มีตู้รับคืนหนังสือนอกเวลา หรือ  เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ ที่ไม่สามารถนำหนังสือมาคืนในเวลาทำการของห้องสมุดได้ ซึ่งจะตั้งไว้หน้าห้องสมุด เจ้าหน้ที่ห้องสมุดจะเก็บหนังสือจากตู้ ภายในเวลา 8.30 น. ของทุกวัน ซึ่งผู้รับบริการสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองจาก (Web OPAC) หรือจากเจ้าหน้าที่บริการยืม-คืน