Tag Archives: หนังสือ

หมอเปรม ปะทะ น้องบุคส์ กลางห้องสมุด มธ.

สวัสดีครับ     ผมชื่อหมอเปรม แต่ไม่ใช่เป็นหมอรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลทั่วไปนะครับ  ผมเป็นหมอประจำห้องสมุด  คลีนิกของผมชื่อว่า  “ห้องคลังหนังสือกลางน้ำ”     ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์  (ศูนย์รังสิต)  ข้างๆสหกรณ์ออมทรัพย์เยื้องกับศูนย์การเรียนรู้หอสมุดป๋วย  อึ๊งภากรณ์    ไปมาหาสะดวกนั่งมอเตอร์ไซด์วินแวะชมได้ในเวลาราชการ (08.00-16.00น.)    คลีนิกของเราจะรับซ่อมเฉพาะหนังสือของสมาชิก และ ห้องสมุดสาขาที่สังกัดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น    เราไม่ได้รับแบบ  EVENT ทั่วไป        และท่านที่สนใจเกี่ยวกับการรักษาหนังสือ  ซ่อมหนังสือ ที่เราบริการแนะนำหรือปรึกษาได้นะครับ   อย่างเช่นวันนี้เราก็ได้แนะนำเกี่ยวกับการทำหนังสือที่เป็นคลื่นเกิดจากการเปียกน้ำของน้อง  บุคส์

Continue reading หมอเปรม ปะทะ น้องบุคส์ กลางห้องสมุด มธ.

รู้มากไปทำไม…รู้ ใจ ก่อนดีกว่า

rumak
ในอดีต หากเราจะต้องการอ่านหนังสือเพื่อจรรโลงจิตใจ  ต้องอ่านหนังสือ
ธรรมมะ เช่น หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ เรื่องธรรมปาฏิโมกข์ แต่งโดยท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นต้น

แต่ปัจจุบันนั้น มีหนังสือประเภทนึงที่ให้ข้อคิดที่ดี สามารถพัฒนาคุณภาพจิตใจ  ไม่แพ้หนังสือธรรมมะ นั้นก็คือ หนังสือแนวจิตวิทยา  โดยในวันนี้ผมจะขอแนะนำหนังสือแนวจิตวิทยาเรื่อง “รู้มากไปทำไม…รู้ ใจ ก่อนดีกว่า” โดยหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึง การทำความเข้าใจในตนเองให้มากขึ้น เพื่อที่ทำให้ตนเองมีความทุกข์น้อยลง
Continue reading รู้มากไปทำไม…รู้ ใจ ก่อนดีกว่า

ไม่กี่คลิก ก็สามารถตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมมากที่สุดได้ (Most popular)

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณก็สามารถตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมมากที่สุด ได้ง่ายๆ รู้ผลได้ไม่กี่คลิก

เรามารู้ขั้นตอนตรวจสอบรายชื่อเหล่านี้กันเถอะ

most popular searching

  1. จากหน้าจอสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ให้คลิกที่ปุ่ม Most popular
  2. ด้านซ้ายมือของหน้าจอ จะเจอคำว่า ปรับปรุงการค้นหาของคุณ (Refine your search) ภายใต้คำนี้ จะมีปุ่ม drop down list ให้ปรับปรุงการค้นหา 4 ทางเลือกด้วยกัน

Continue reading ไม่กี่คลิก ก็สามารถตรวจสอบรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกยืมมากที่สุดได้ (Most popular)

แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มีหนังสือให้บริการอย่างมากมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และขนาดของหนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน เล่มเล็ก เล่มใหญ่บ้าง ปกแข็ง ปกอ่อนบ้าง และผู้รับบริการของหอสมุดฯ ก็มีหลากหลายประเภทเช่นกัน ถ้าผู้อ่านใช้หนังสือไม่ถูกวิธีอาจทำให้หนังสือเกิดการชำรุดเสียหาย จึงมีวิธีแนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้องสำหรับผู้รับบริการของหอสมุดปรีดีฯ มีดังนี้

1. ไม่ขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือ
2.  ไม่ฉีก หรือตัดหน้าหนังสือ จะทำให้ข้อความบางตอนไม่สมบูรณ์ ผู้ที่มาอ่านภายหลังไม่ได้ข้อมูลในส่วนที่ขาดหายไป
3.  ต้องดูแลหนังสือไม่ให้เปียกน้ำ เพราะจะทำให้หนังสือชื้น ขึ้นราได้ Continue reading แนะนำการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง

คลีนิคหนังสือ ( ๑ )

เครื่องหมาย สัญลักษณ์ มีความสำคัญต่อมนุษยชาติมาทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มาจนถึงยุคปัจจุบัน   เริ่มแรกมนุษย์รู้จักการใช้ เครื่องหมาย และ สัญลักษณ์ เป็นสื่อแทนอักษรพยัญชนะ  ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับจาก เครื่องหมาย และ สัญล้กษณ์ เป็น ลายลักษณ์ อักขร  พยัญชนะ ตามลำดับ

เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาในการใช้สื่อมากขึ้นและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้สื่อ ก็ต้องมีวัสดุเครื่องไม้เครื่องมือในการลงสื่อ เช่น ทำเป็นอักษรลิ่มลงไว้ในดินเผา (วัสดุ คือดิน)   ลงไว้ในหนังคน หนังสัตว์ (วัสดุ คือ หนัง)   ใบลาน (จารไว้ในใบลาน; ไทยโบราณ) และใบข่อย (กระดาษที่ทำจากเปลือกข่อย)  จนกระทั้งตามถ้ำ ตามกำแพง สิ่งเหล่านี้คือวัสดุรองรับสื่อทั้งหลาย  จนทุกวันนี้ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วแทบจะตามไม่ทัน  ไม่ว่าจะอยู่ในวัสดุที่เป็นกระดาษ ที่ทำมาจากต้นไม้ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุคส์ หรือแม้กระทั้งมือถือ วัสดุที่ทำการลงบันทึกสื่อที่เป็น สัญลักษณ์ ลายลักษณ์ อักษร เมื่อถูกใช้งานนานๆไปก็จะเกิดการชำรุด เมื่อเกิดการชำรุดก็ต้องมีการรักษาซ่อมแซม   การรักษาซ่อมแซมก็จะแตกต่างกันไปตามวัสดุนั้นๆ  เช่น  การรักษาซ่อมแซม   หนังสือ  วัสดุที่เป็นหนังสืออัตลักษณ์ของมันก็จะแตกต่างกันไป  วิธีการซ่อมก็จะแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ควรพึงระวังให้มากที่สุดก็คือ ตัว พยัญชนะอักษร   อย่าให้ขาดหาย ถ้าตัว พยัญชนะอักษรขาดหายไปการสื่อสารก็จะไม่มีความหมาย ตัวกระดาษหนังสือก็ไม่เหมือนกัน บางเล่มกระดาษบางๆ บางเล่มกระดาษหนา บางเล่มกระดาษสีเหลือง บางเล่มกระดาษสีน้ำตาล บางเล่มกระดาษสีขาว บางเล่มกระดาษกรอบแค่จับนิดหน่อยก็หักหลุด บางเล่มติดสกอตเทป บางเล่มเย็บด้วยลวด (มีมากในวิทยานิพนธ์) สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการซ่อมมากที่เดียว จะเห็นได้ว่าการชำรุดของหนังสือนั้นมีหลายอาการดังจะเห็นในภาพต่อไปนี้

P2130100

เมื่อเรารู้แล้วว่าอาการป่วยของหนังสือเป็นยังไง    ขั้นตอนต่อไปก็ขึ้นเตียงวางยาสลบผ่าตัดรักษาตามอาการต่อไป (พบกันใหม่ในคลีนิคหนังสือ ๒ )