Tag Archives: บรรณารักษ์

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 2)

ในบทความตอนที่ 1 ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้สนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้อง:

  1. การศึกษาวรรณกรรม บรรณารักษ์ควรทำความรู้จักกับ altmetrics ด้วย วรรณกรรมต่างๆ  เช่น- SPARC report เช่น Article-level metrics primer ซึ่งเป็น การวัดในระดับบทความ (article-level metrics)
    – Altmetrics: Rethinking the Way We Measure
    – Introduction Altmetrics: What, Why and Where?
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง How libraries can empower scholars (and scholarly communication) through altemetrics โดย Heather Piwowar
    – สื่อนำเสนอ เรื่อง Altmetrics are here: are you ready to help your faculty? โดย Stacy Konkiel
    17 More Essential Altmetrics Resources (the Library Version)
    –  Altmetrics in the wild: Using social media to explore scholarly impact
    Can Tweets Predict Citations? Metrics of Social Impact Based on Twitter and Correlation with Traditional Metrics of Scientific Impact
    Prevalence and use of Twitter among scholars
    Clickstream Data Yields High-Resolution Maps of Science
    Altmetrics Collection (PLOS Collections)
    – เข้าไป join กับ Altmetrics Mendeley groupฯลฯรายการอ้างอิง:

    Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 fromhttp://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

มาทำความรู้จักกับ Altmetrics (ตอนที่ 1)

เนื่องจากไม่มีใครที่จะอ่านได้หมดทุกสิ่งอย่าง จึงทำให้เรายอมรับหรือมีความเชื่อมั่นกับการกรองผลงานทางวิชาการ ด้วยค่าการวัดคุณภาพ เช่น Impact factor, h-index, ค่า Citation ฯลฯ แต่ด้วยการเติบโตของเครื่องมือใหม่ๆ ทางออนไลน์ ทำให้มีตัวกรองใหม่ๆ เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกรองหรือการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เป็นทางเลือก (Alternative metrics) หรือ Altmetrics เพราะ Altmetrics เป็นการวัดจำนวนที่ได้รับจากผู้อ่านด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จำนวนการดูบทความ, จำนวนดาวน์โหลด, การ Tweet, การ post ขึ้น blog, การกด Likes, การกด Shares, การ Discussed, การ Cited เป็นต้น Altmetrics น่าจะเป็นตัววัดความนิยมของผลงานทางวิชาการ วิจัย ที่เสริมกับการวัดผลงานทางวิชาการ วิจัยแบบเดิม

Altmetrics เป็นการวัดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียงข้อมูลปราฎในวันเดียวหรือสัปดาห์ แทนที่จะเป็นปีกว่าจะมีการอ้างอิงถึงผลงาน อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และสำนักพิมพ์ จึงเริ่มที่จะคุยกันถึงการใช้ประโยชน์ altmetrics และใช้อย่างไรกับการประเมินการมีส่วนร่วมทางวิชาการของนักวิจัย ห้องสมุดจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกหรือช่วยสื่อสารไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนักวิจัย (นักศึกษา และคณาจารย์) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย

บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องสนับสนุนใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแจ้งงานวิจัยล่าสุด การสนับสนุนการทดลองด้วยการวัดแบบ altmetrics และการให้ความรู้เกี่ยวกับ altmetrics

รายการอ้างอิง:

Lapinski, Scott, Piwowar, Heather and Priem, Jason. How librarians can help prepare faculty for the next generation of research impact metrics. College & Research Libraries News vol. 74 no. 6 292-300. Retrieved 14112014 from http://crln.acrl.org/content/74/6/292.long

Priem J., Taraborelli D., Groth P., Neylon C., “Alt-metrics: A manifesto,”  Retrieved 14112014 from http://altmetrics.org/manifesto/

บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์

ผู้เขียน (กนกวรรณ บัวงาม) ได้กล่าวถึงโอกาสที่ Mr. Larry Ashmun มาเยือนเมืองไทยโดยได้ทุน Fulbright และได้ร่วมงานกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแนะนำการ Romanization ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย จึงได้มีโอกาสพูดคุยเล่าถึงการทำงานของ Mr. Larry โดยเฉพาะงานทำงาน ในหน้าที่ Subject Liaison ณ Memorial Library University of Wisconsin-Madison Mr. Larry Ashmun ในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์มืออาชีพ ได้ให้หลักในการทำงานแก่บรรณารักษ์รุ่นใหม่ที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “เป็นบรรณารักษ์ต้องรักบริการ ถ้าไม่รักบริการแล้วจะมาเป็นบรรณารักษ์ทำไม”ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
กนกวรรณ บัวงาม. บทบาท Subject Liaison บทเส้นทางอาชีพบรรณารักษ์. โดมทัศน์ 33,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555) : 61-72.

Reordering Ranganathan: Shifting User Behaviors, Shifting Priorities

กฎของ รังกานาธาน หรือ Shiyali Ramamrita Ranganathan’s Five Laws of Library Science ซึ่งประกอบด้วย

  1. Books are for use.
  2. Every person his or her book.
  3. Every book its reader.
  4. Save the time of the reader.
  5. A Library is a growing organism.

จากกฎ 5 ข้อ ข้างต้น ของรังกานาธาน ที่นักศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการบรรณารักษ์ จะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่หนังสือ Reordering Ranganathan: Shifting User Behaviors, Shifting Priorities โดย Lynn Silipigni Connaway และ Ixchel Faniel ซึ่งเป็น OCLC Research Report นี้ได้เสนอแนะว่า กฎดังกล่าวควรได้รับการจัดเรียงลำดับใหม่ และมีการตีความใหม่ เพื่อสะท้อนทรัพยากรสารสนเทศและบริการของห้องสมุดในปัจจุบัน รวมทั้งพฤติกรรมของคนที่แสดงออกเพื่อต้องเข้าไปใช้

ตารางเปรียบเทียบแนวคิดเก่าและแนวคิดใหม่
ตารางเปรียบเทียบแนวคิดเก่าและแนวคิดใหม่

 

ติดตามอ่านฉบับเต็ม

Reordering Ranganathan: Shifting User Behaviors, Shifting Priorities
Reordering Ranganathan: Shifting User Behaviors, Shifting Priorities

สุขภาพที่ดีของบรรณารักษ์

ในสภาวะปัจจุบันของการที่งานของบรรณารักษ์อย่างเราๆนั้น  ทุกๆวันก็จะเจอแต่ห้อง 4 เหลี่ยม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง  ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป  และโดยส่วนใหญ่จะต้องนั่งทำงานและให้บริการกันตั้งแต่ 08.00-16.00 น. เป็นอย่างต่ำ  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่อยข้างนาน
และการปฏิบัติกันแบบเดิมๆซ้ำๆ ในเวลานานๆ นั้น  จะส่งผลต่อสุขภาพของบรรณารักษ์อย่างเราๆในทางที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
เช่น  อาการปวดเมื่อย  ล้า  ป่วยบ่อย  สมองไม่ปลอดโปร่ง เป็นต้น
ดังนั้น  การที่จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่ดีนั้นสามารถทำได้ง่ายๆเลย  ดังนี้
1.พักผ่อนให้เพียงพอ
2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ครบทั้ง 5 หมู่  
(ในปริมาณที่เหมาะสม)
3. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ทำจิตใจให้ผ่องใส  มองโลกในแง่ดีเสมอ
5. มีการจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของพวกเราเลยสามารถทำได้ด้วยตนเองได้แบบง่ายๆ  หรือถ้าไม่แน่ใจที่เราทำๆกันอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่นั้น  ก็สามารถหาข้อมูลได้จากในห้องสมุดของพวกเรานั่นเองที่มีสารสนเทศที่หลากหลายให้พวกเราได้เลือกมาศึกษาและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมากมายกันเลยทีเดียว  ^_^

อ้างอิงจาก https://uteeslplace.wikispaces.com/Health

คำคม ในแวดวงห้องสมุด บรรณารักษ์ และความรู้

ค้นพบคำคมที่มีผู้พูดถึงห้องสมุด บรรณารักษ์ และเรื่องความรู้ ไว้หลายเว็บไซต์ทีเดียว เช่น

  • Quotations about libraries ใน Welcome to the Quotes Garden ! เข้าถึงได้ที่ http://www.quotegarden.com/libraries.html ตัวอย่างเช่น
    – When I got my library card, that’s when my life began. ~Rita Mae Brown
    – If you have a garden and a library, you have everything you need. ~Cicero
  • Chicago Public Library Foundation เข้าถึงได้ที่ http://www.cplfoundation.org/site/DocServer/quotes.pdf?docID=221 ตัวอย่างเช่น
    – I’d be happy if I could think t hat the role of the library was sustained and even enhanced in the age of the computer.”—Bill Gates
  • IFLA จาก Quotations bout Libraries and Librarians: Subject List เข้าถึงได้ที่ http://archive.ifla.org/I/humour/subj.htm ตัวอย่างเช่น
    – A university is just a group of buildings gathered around a library
    — Shelby Foote
  • Top Ten Quotations about Libraries, Books and Knowledge เข้าถึงได้ที่ http://www.love-funny-quotes.com/2010/12/top-ten-quotations-about-libraries.html ตัวอย่างเช่น
    – “When I read about the way in which library funds are being cut and cut, I can only think that … society has found one more way to destroy itself.” Isaac Asimov
  • Council for Library and Information Development Nepal รวบรวม Famous Library Quotes เข้าถึงได้ที่ http://clidnepal.org.np/content/famous-library-quotes.html ตัวอย่างเช่น
    – The true university these days is a collection of books.- Thomas Carlyle
  • Library quotes จาก http://thinkexist.com/quotes/with/keyword/library/ ตัวอย่างเช่น
    – “Knowing I loved my books, he furnished me,
    From mine own library with volumes that
    I prize above my dukedom.” – William Shakespeare
  • จาก http://marylaine.com/exlibris/cool.html ตัวอย่างเช่น
    – Google doesn’t try to force things to happen their way. They try to figure out what’s going to happen, and arrange to be standing there when it does. That’s the way to approach technology– and as business includes an ever larger technological component, the right way to do business. — Paul Graham. “Web 2.0.” November, 2005. http://www.paulgraham.com/web20.html
  • จาก http://www.goodreads.com มีการรวบรวมคำคมทั้งบรรณารักษ์ และห้องสมุด แยก page ออกจาก คำคมเกี่ยวกับห้องสมุดอยู่ที่ http://www.goodreads.com/quotes/tag/libraries?page=1 ส่วนคำคมเกี่ยวกับบรรณารักษ์อยู่ที่ https://www.goodreads.com/quotes/tag/librarians เว็บไซต์มีรูปภาพของคนพูดประกอบไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
    – “In a good bookroom you feel in some mysterious way that you are absorbing the wisdom contained in all the books through your skin, without even opening them.” ― Mark Twain
  • Library Quotes จาก http://www.ilovelibraries.org/libraryquotes/libraryquotes เว็บนี้เป็นฐานข้อมูลเลยทีเดียวสนใจติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

    ท่านใดพบคำคมใด มาแบ่งปันกันนะคะ

 

 

บรรณารักษ์อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 200 อาชีพที่น่าทำ

จากเว็บไซต์ http://www.careercast.com ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากอาชีพต่างๆ จากการจัดอันดับ 200 อันดับ (http://www.careercast.com/jobs-rated/jobs-rated-2014-ranking-200-jobs-best-worst) โดยใช้เกณฑ์ 4 ประการในการวัด คือ สภาพแวดล้อม รายได้ ความก้าวหน้า และความกดดัน (http://www.careercast.com/jobs-rated/2014-jobs-rated-methodology) พบว่า บรรณารักษ์อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 200 ค่ะ

ส่วนอาชีพที่น่าทำ ลำดับที่ 1-10 ได้แก่

งานที่น่าทำที่สุด (Best jobs) 10 อันดับแรก ได้แก่
1. นักคณิตศาสตร์ (Mathematician)
2. อาจารย์มหาวิทยาลัย (University professor)
3. นักสถิติ (Statistician)
4. นักวิเคราะห์ข้อมูลประกันภัย (Actuary)
5. นักโสตบำบัด (Audiologist)
6. ผู้ชำนาญการทันตกรรม (Dentist hygienist)
7. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software engineer)
8. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer systems analyst)
9. นักกายภาพบำบัด (Occupational therapist)
10. นักบำบัดการพูด (Speech pathologist)

เป็นการอ้างอิงจากการจัดลำดับของต่างประเทศ แต่เมืองไทยต้องสืบค้นดูว่ามีการลำดับแบบนี้บ้างหรือไม่ อย่างไร และอาชีพบรรณารักษ์ จะอยู่ในลำดับที่เท่าไร
รายการอ้างอิง:

The Top 200 Jobs of 2014. Retrieve 2014-06-04 from http://www.careercast.com/content/top-200-jobs-2014-21-40