Tag Archives: บรรณารักษ์

การชดใช้หนังสือหาย

book-809887_1280

การชดใช้หนังสือหายมี 2 วิธี คือ การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน และการชดใช้ด้วยการซื้อมาชดใช้

1.การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน

การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน ผู้รับบริการจะต้องชำระเงินเป็นจำนวน 2 เท่า ของราคาหนังสือ ตัวอย่างเช่น หนังสือราคาเล่มละ 1,000 บาท ผู้รับบริการจะต้องชำระเงินเป็นจำนวน 2,000 บาท และค่าดำเนินการทางเทคนิค 100 บาท รวมทั้งสิ้น 2,100 บาท เป็นต้น

แต่ถ้าหากไม่ปรากฎราคาของหนังสือเช่น หนังสือบริจาค วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ปรับขั้นต่ำเล่มละ 300 บาท และค่าดำเนินการทางเทคนิค 100 บาท รวมทั้งสิ้น 400 บาท

การชดใช้หนังสือหายด้วยการชำระเงิน มีขั้นตอน ดังนี้

Continue reading การชดใช้หนังสือหาย

หลักคิดของผู้เกษียณ : การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง ทำงานอย่างมีความสุข

ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง และทำงานอย่างมีความสุข

เยาวเรศ อุดมอานุภาพสุข
เยาวเรศ อุดมอานุภาพสุข

คุณเยาวเรศ อุดมอานุภาพสุข หรือ “พี่ต้อย” เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ สังกัดงานทำรายการวัสดุสารนิเทศ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 คร่ำหวอดอยู่ในงานเทคนิค และเห็นการเปลี่ยนของงานเทคนิคห้องสมุด Continue reading หลักคิดของผู้เกษียณ : การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง ทำงานอย่างมีความสุข

ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)

วันนี้ (15 กันยายน 2558)  เป็นวันสุดท้ายของหลักสูตร โดยสมาชิกของ Digital Literacy และ Training the Trainers แต่ละคนได้จัดทำสไลด์หรือ
นำอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน มีการแจ้งหัวข้อ พร้อมสาระสังเขป ก่อนที่จะนำเสนอ โดยก่อนที่จะถึงวันนำเสนอจริง วิทยากรได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สมาชิกมีการเตรียมตัวอย่างเต็มที่

Following are the web resources that can help you achieve an effective presentation.

1.  Stress   Unlike Thai language which is mono syllabic, meaning that all syllables are stressed,  English has stress patterns and intonation which you need to follow  https://www.youtube.com/watch?v=bX-_YSDM7ic

Assignment 1. After your view the video, go back to the article, the Characteristics of the librarian and information Professionals in the web 2.0 era, identify the words used frequently in your profession.  Then learn to stress them properly Continue reading ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต
คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นจะไม่ต่างไปจากไดโนเสาร์ยุคดิจิทัล ที่สักวันหนึ่งย่อมถึงเวลาสิ้นสูญ

คิดทันโลกฯ เล่มนี้ จัดทำโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ส่วนแรกเป็นการนำบทความของวิทยากรจาก งาน TK Forum 2015 การประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 ได้แก่

  • อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail Inayatullah)
  • ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (Jens Thorhauge)
  • แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)
  • หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

ส่วนที่สอง จะเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฏการณ์ เป็นเรื่องของการทำพื้นที่การอ่าน พื้นที่สร้างความรู้ 3 บทความ คือ

  • Explore / Extend / Exchange พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
  • C.A.M.P สร้างสรรค์พื้นที่การอ่านให้เป็นแหล่งพบปะสร้างสรรค์หาความรู้
  • Maker Space พื้นที่สร้างความรู้ ด้วยวัฒนธรรม ทำ แบ่งปัน และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

ส่วนที่สาม ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา มีด้วยกัน 5 เรื่อง

  • ห้องสมุดแนวใหม่ ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ
  • Renaissance of Space อนาคตของห้องสมุด: โจทย์ใหม่ว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้
  • เก็บตกแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตสไตล์ดัตช์ จุดนัดพบของผู้คนและความสัมพันธ์ สะพานเชื่อมความทรงจำและความรู้
  • ห้องสมุดสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
  • 10 เคล็ดลับจัดพื้นที่ห้องสมุดให้ “ว้าว!” ประสบการณ์จากเยอรมนี

สนใจอ่านดาวน์โหลดได้ที่เว็บ TK Park

รายการอ้างอิง
วัฒนชัย วินิจจะกูล บรรณาธิการ. คิดทันโลก ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและห้องสมุดในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, 2558.

ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล

ชื่อเรื่องดังกล่าว มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 1:28 น. เป็นการสรุปเนื้อหาจากการประชุมวิชาการในหัวข้อ “อนาคตห้องสมุด: สิ่งท้าทายและแนวโน้ม” (Library Futures: Challenges and Trends) ในงาน TK Forum 2015 วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2558 จัดโดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ถกถึงวิถีและการปรับตัวของห้องสมุดทั่วโลก ห้องสมุดที่เน้นหน้งสือเป็นหลักจะยังคงมีแต่จะลดความสำคัญลง ห้องสมุดจะมีบทบาทที่เปลี่ยนไปอย่างสอดคล้องกับสังคม และเพิ่มพื้นที่ให้กับการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้ใช้บริการ 3 ประการ คือ การเรียนรู้ที่นอกเหนือจาก พื้นที่การอ่าน (Learnig Space) เช่น พื้นที่การเล่นดนตรี การเล่นละคร เล่นเกม การเต้นรำ พื้นที่ของการพบปะ แลกเปลี่ยน การวิจารณ์การวิเคราะห์ (Community Space) พื้นที่ในการปฏิบัติการทดลองสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Maker Space)

นอกจากคำกล่าว ของ ดร. คณิศ แสงสุพรรณ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แล้ว ยังมี ความคิดเห็นของศาสตราจารย์ โซเฮล อินอยาตอลเลาะห์ นักรัฐศาสตร์และนักอนาคตศึกษา จากประเทศออสเตรเลีย,  เยนส์ ธอร์โฮก์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องสมุด จากประเทศเดนมาร์ก ที่เห็นว่า เงื่อนไขการเข้าถึงสารสนเทศ เป็นผลจากอินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดและสื่ออย่างสิ้นเชิง ด้านนีล แมคอินเนส หัวหน้าส่วนงานจดหมายเหตุ สารสนเทศและห้องสมุดเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เราต้องทำให้ห้องสมุดเป็นเสมือนพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมที่หลากหลายในทุกเพศ วัย อาชีพ มีส่วนของห้องสื่อ (Media Lounge) ที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างดนตรี ออกแบบอาร์ตเวิร์ก หรือใช้บริการเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

นอกจากนี้ เว็บไซต์ของ TK Park ได้เสนอเอกสารประกอบการสัมมนา เผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดเพื่อศึกษาอีกด้วย ได้แก่

อนาคตของห้องสมุดและบรรณารักษ์ จากภัณฑารักษ์สู่ผู้รังสรรค์อุทยาน (Sohail  Inayatullah)

ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กร เน้นคลังหนังสือและข้อมูล ไปสู่องค์กรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  (Jens Thorhauge)

แผนงานการปรับปรุงและชุบชีวิตห้องสมุดในแมนเชสเตอร์ (Neil MacInnes)

หอสมุดสารสนเทศและบริการจดหมายเหตุแห่งแมนเชสเตอร์ สภาเมืองแมนเชสเตอร์

รวมทั้งสไลด์นำเสนอของวิทยากรแต่ละท่านด้วย ติดตามอ่านได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

แถมด้วยด้วยวิดีโอ

Manchester Library reopen

A tour of Manchester Library

Manchester Library live event

รายการอ้างอิง
ทีมเดลินิวส์38. ชี้ห้องสมุดไทยต้องปรับตัว ก่อนเป็นไดโนเสาร์ยุคดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/article/339597

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. TK Forum 2015 Library Futures: Challenges and Trends. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 จาก http://tkforum.tkpark.or.th/download_th.html

English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 5)

ครั้งหน้าจะเป็นครั้งสุดท้ายของการเรียน ทุกคนมีการบ้านในการนำเสนอคนละ 1 เรื่อง โดยการคิดหัวข้อ และใช้ความรู้ เทคนิคต่างๆ ที่วิทยากรให้มา ตอนนี้ ผู้เรียนได้คิดและส่งหัวข้อที่จะนำเสนอไปยังวิทยากรแล้ว เหลือช่วงเวลาของการเตรียมตัวในการนำเสนอ เช่นเคย วิทยากรได้ส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์เพื่อ Self Study ดังนี้

Following are the web resources that can help you achieve an effective presentation Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 5)

English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 4)

สำหรับการเรียนในครั้งที่ 2 นี้ วิทยากรได้แนะนำวิธีการนำเสนอในแต่ละส่วน กล่าวคือ

เนื้อหาหลักของการนำเสนอ (The main part of the presentation)
เป็นส่วนที่ผู้พูดต้องการบอกอะไรกับผู้ฟัง ในส่วนนี้ ต้องมีการจัดระบบความคิดในการนำเสนอ โดยเนื้อหาอาจจะมาจากเพื่อนๆ เพื่อนร่วมงาน หรือ การค้นหา เสาะหาความคิดใหม่ๆ จากบทความหลายๆ แหล่ง และใช้ graphic organizers หรือ mind map เข้ามาช่วย การใช้ graphic organizers มาใช้นั้น สามารถศึกษาได้จาก
http://education.wm.edu/centers/ttac/documents/articles/graphic_organizers.pdf

เมื่อได้ความคิดหรือข้อมูลแล้ว ต้องมีการเชื่อมโยงความคิดหรือข้อมูลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อจะได้ทำให้การนำเสนอนั้นง่ายต่อการติดตาม อาจจะทำเป็น 2 แบบ กล่าวคือ Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 4)

English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 3)

ตอนที่ 2 จบท้ายไว้ว่า ผู้เรียนได้รับแบบฝึกหัดให้เตรียมเนื้อหาเพื่อสำหรับการนำเสนอในชั้นเรียนโดยใช้บทความจากเรื่อง Becoming “Librarian 2.0”: The Skills, Knowledge, and Attributes Required by Library and Information Science Professionals in a Web 2.0 World (and Beyond)

ก่อนจะถึงวันเรียน วิทยากร ได้ส่ง Self study มาให้ผู้เรียนเช่นเคย ดังนี้

Self Study Two: Organizing  the Body of Your Presentation

After completing the reading and discussion about the characteristics of librarians and information personnel (LIP) from Self Study One, you have made your choices about  the content or the key message that you want to deliver in your presentation.

For instance,  if your group chose 3 key characteristics:  User focus, technology and learning, you would enter those in the body of your presentation. Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 3)

English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 1)

จากการเรียนวิชา English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) จำนวน 12 ชั่วโมงนั้น เพื่อให้สมาชิกทั้ง Digital Literacy CoP และ Training the Trainers CoP ได้เรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในวิชาชีพของตนเอง โดยวิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ สุชาดา นิมมานต์นิตย์ ได้ออกแบบหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่มีความเฉพาะสำหรับบรรณารักษ์ อาจารย์ได้จัดเตรียมเนื้อหา เพื่อให้ผู้เข้าเรียนศึกษาและฝึกฝนด้วยตนเองก่อนเข้าชั้นเรียน มีทฤษฎี มีการฝึกฝน และหัดพูดในชั้นเรียน และสุดท้ายรวมเอาทฤษฎีทุกอย่างที่เรียนและที่มอบหมาย มานำเสนอในชั้นเรียน

แบบฝึกหัดแรกที่วิทยากรได้มอบหมายให้ ก็คือ การอ่าน (เป็น Self-study ก่อนถึงวันเรียนจริง)

Read the follow except from the article below and identify skills you have and skills you need to develop. Complete the following table with the ideas you have from the reading.

Partridge, H. and Lee, J. and Munro, C.(2010). Becoming “Librarian 2.0”: The Skills, Knowledge, and Attributes Required by Library and Information Science Professionals in a Web 2.0 World (and Beyond)
Retrieved from https://www.ideals.illinois.edu/bitstream/handle/2142/18735/59.1-2.partridge.pdf Continue reading English Communication for Librarians and Information Professionals (EC-LIP) (ตอนที่ 1)

การให้บริการผู้ใช้: แบบไหนดี

วิดีโอ การอบรมการให้บริการผู้ใช้ ของ North Hall Library, Mansfield University น่าสนใจดีค่ะ มีให้ดูเปรียบเทียบการให้บริการที่ไม่ให้ความสนใจกับผู้ใช้บริการ กับการเต็มใจให้บริการ เป็นอย่างไร ดูจากพฤติกรรมของบุคลากรในห้องสมุด วิธีการปฏิบัติ การใช้คำพูด และในทางตรงข้ามให้สังเกตสีหน้า และอาการของผู้ใช้บริการ นะคะ นอกจากนี้ ได้ฝึกภาษาอังกฤษอีกด้วยค่ะ ติดตามได้จาก  https://youtu.be/X9zFoD8v4LQ

รายการอ้างอิง

Mansfield University. North Hall Library. (Sep 26, 2011). Customer Service Training@North Hall Library, Mansfield University.[Video file]. Retrieved from https://youtu.be/X9zFoD8v4LQ