Tag Archives: งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญ

วันที่ 2 เมษายน

วันที่ 2 เมษายน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พระมิ่งขวัญอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน เป็น วันอนุรักษ์มรดกไทย วันรักการอ่าน วันหนังสือเด็กแห่งขาติ วันสายใจไทย ซึ่งล้วนเนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี นับแต่ปี 2548 เป็นต้นไป เป็นวันหนังสือเด็กแห่งชาติ เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงส่งเสริมการอ่าน Continue reading วันที่ 2 เมษายน

สมเด็จพระเทพฯ ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงรับรางวัลเกียรติยศ หรือตำแหน่งเกียรติยศ อาทิ เช่น

พ.ศ. 2531 ทรงรับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ (พระเกี้ยวทองคำ ให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ที่ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้สนใจศึกษาภาษาไทย นำภาษาไทยไปใช้ได้ถูกต้อง และผลิตงานเขียนซึ่งมีคุณค่าแก่การศึกษาภาษาไทย รวมทั้งเป็นตัวอย่างอันดีในการใช้ภาษาไทยในวิชาการและงานสร้างสรรค์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมรางวัลพระเกี้ยวทองคำ)

พ.ศ. 2534 เสด็จ ฯ ไปทรงรับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน จากมูลนิธิรามอน แมกไซไซ ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ทรงบันทึกในพระราชนิพนธ์ เรื่อง ขอให้เจ้าภาพจงเจริญ) Continue reading สมเด็จพระเทพฯ ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ

พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 นั้น ได้เสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดหลายแห่ง เช่น National Museum of American History, National Air and Space Museum, National Museum of Natural History ในเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ทรงบันทึกและมีพระราชดำริเกี่ยวกับการทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ ความว่า

“Ms. Francine Berkowitz, Director of the Smithsonian’s International Center และคนอื่นๆ มาอธิบายให้ฟังว่าการทำพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ไม่ใช่การสร้างโกดังเก็บของเก่า แต่ต้องมีแนวคิดมาก่อน แนวคิดนี้มักมีเรื่องสังคม เรื่องปรัชญา และวางของให้เล่าเรื่องที่เราอยากให้คนดูเข้าใจ Continue reading พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดในเยือนถิ่นอินเดียนแดง

พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่

เยือนถิ่นอินเดียนแดง
เยือนถิ่นอินเดียนแดง

ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เยือนถิ่นอินเดียนแดง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 6 -19 พฤศจิกายน 2535 เริ่มต้นจากวอชิงตัน ดี.ซี. และสิ้นสุดที่ฮาวาย ในวันที่ 14 พฤศจิกายน เสด็จฯ Perkins School for the Blind ทรงบันทึกมีใจความว่า

“ไป Perkins School for the Blind … ข้าพเจ้าสนใจเรื่อง การศึกษาและการทำงานของคนตาบอดมาก เห็นจะเป็นเพราะตั้งแต่เด็กๆ ในช่วงปีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเชิญคนพิการจากโรงเรียนสอนคนพิการประเภทต่างๆ มารับพระราชทานเลี้ยง ฟังดนตรี พวกเรามีหน้าที่เป็นผู้บริการ ซึ่งข้าพเจ้าชอบมากเพราะได้เพื่อนใหม่ที่เขามีประสบการณ์ไม่เหมือนเรา แต่ก็เรียนหนังสือได้ทั้งๆ ที่เขาลำบากกว่าเรา ในวันนั้นเราก็มีโอกาสช่วยให้เขามีความสุขมากด้วย ต่อมาตอนเรียนที่จุฬาก็มีเพื่อนตาบอดที่เรียนเก่งและน่ารัก และภายหลังได้ไปเยี่ยมโรงเรียนตาบอดอยู่เป็นประจำ สังเกตว่าอุปกรณ์การศึกษาหลายอย่างของคนตาบอด ต้องซื้อที่โรงเรียนเพอร์กินส์แห่งนี้”

รายการอ้างอิง

เยือนถิ่นอินเดียแดง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ธนาคารไทยพาณิชย์, 2537.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 77)

ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

จากพระราชนิพนธ์ เรื่อง เบอร์ลินสิ้นกำแพง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2538

เบอร์ลินสิ้นกำแพง
เบอร์ลินสิ้นกำแพง

ในครั้งนั้น ได้เสด็จฯ Kongresszentrum  เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการแผนที่เยอรมัน ได้ทรงบันทึกไว้พระราชนิพนธ์นี้ว่า

“ข้าพเจ้าสนใจเรื่องวิชาการแผนที่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้แผนที่เสมอในการเสด็จพระราชดำเนินไปในที่ต่างๆ ในประเทศ ทรงใช้แผนที่ดูเรื่องเส้นทางและการพัฒนาทำโครงการต่างๆ และทรงแก้ไขแผนที่ให้ถูกต้องตามภูมิประเทศจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ทรงชี้ให้ข้าพเจ้าเห็นประโยชน์ของการใช้แผนที่ในการเรียนรู้ภูมิประเทศ เพื่อให้รู้จักดินแดนของเราเอง ในโรงเรียนข้าพเจ้าได้ใช้แผนที่ในการเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับต่างประเทศ …”

รายการอ้างอิง

เบอร์ลินสิ้นกำแพง.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ธนาคารไทยพาณิชย์, 2539.

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่ 76)

เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์ (หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558)

เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์
เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์

เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์ เป็นหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558 จากหน้าคำนำ โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้กล่าวถึง การจัดทำหนังสือเล่มนี้ ว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอถวายราชสักการะแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อมหาวิทยาลัย ด้วยการมอบหมายให้สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวบรวมและเรียบเรียงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งเรื่องราวเสด็จพระราชดำเนินเนื่องในกิจการมหาวิทยาลัย และหรือกิจการที่มหาวิทยาลัยดำเนินงานถวายพระองค์ท่านรวม 15 กิจการ พร้อมทั้งปฏิทินธรรมศาสตร์เนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” Continue reading เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์ (หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558)

นิทรรศการ เทพรัตน์ ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญชมนิทรรศการ

เทพรัตน์ ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์

ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ท่าพระจันทร์
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า
คณะผู้บริหารและบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความที่เกี่ยวข้อง เทพรัตน ธ ก่อเกื้อหนุนนำธรรมศาสตร์

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  74)

วันอนุรักษ์มรดกไทย

คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” ด้วยตระหนักในพระ ปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุเคราะห์สนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติเสมอมา

จากเว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวถึง วันอนุรักษ์มรดกไทย ไว้ดังนี้  “วันอนุรักษ์มรดกไทย หมายถึง  วันเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ คือ พุทธศาสนา ภาษาไทยและ วรรณกรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย รวมทั้งได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท ในการสร้างสรรค์และธำรงมรดกของชาติให้ยั่งยืนตกทอดถึงลูกหลานไทยสืบไป” และ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้รับการทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญาเมื่อ พ . ศ . 2531 ว่า “ เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ” และเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 วันศิลปินแห่งชาติ คณะกรรม การ วัฒนธรรมแห่งชาติก็ได้ทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญา “ วิศิษฏศิลปิน ” ( อ่านว่า วิ – สิด – สิน – ละ – ปิน ) แด่พระองค์ท่าน ซึ่ง มีความหมายว่าทรงมีพระอัจฉริยะภาพและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยังทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม คือทรงเป็นปราชญ์ที่ มีความรอบรู้ในวัฒนธรรมด้านต่างๆ”

รายการอ้างอิง

วันอนุรักษ์มรดกไทย สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 จาก http://www.culture.go.th/cday/index.php?option=com_content&view=article&id=684:2011-03-28-15-10-02&catid=41:0402&Itemid=76

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  73)

ความหมายของคำว่า “วิศิษฏศิลปิน”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ วันศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญา “ วิศิษฏศิลปิน ” ( อ่านว่า วิ – สิด – สิน – ละ – ปิน ) แด่พระองค์ท่าน ซึ่ง มีความหมายว่าทรงมีพระอัจฉริยะภาพและทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ และยังทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม คือทรงเป็นปราชญ์ที่ มีความรอบรู้ในวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ

visitsilapin23

visitsilapin22

รายการอ้างอิง:
วิศิษฏศิลปิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 จาก http://www.baanmaha.com/community/thread29644.html

วิศิษฏศิลปินสรรพศิลป์โมสร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558. จาก https://www.facebook.com/visitsilapin

หออัครศิลปิน. ความหมายของคำว่า “วิศิษฏศิลปิน” กรมสงเสริมวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 จาก http://www.culture.go.th/subculture8/index.php?option=com_content&view=article&id=128:2011-08-15-04-20-47&catid=10:2011-08-15-03-25-28&Itemid=3

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  72)

พระนามแฝง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตอนที่รวบรวมพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พบว่า มีหนังสือ ชื่อ กำเนิดอนาคต แปลโดย บันดาล นั้น เป็นพระนามแฝง ดังรายการทางบรรณานุกรม ข้างล่างนี้

เอ็ม โบว์, อะมาดู มาห์ตาร์. กำเนิดอนาคต. แปลจาก Where the future begins โดย บันดาล. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ, 2528.

ตอนแรกไม่แน่ใจ ได้ค้นๆ แล้วจึงทราบว่าเป็นพระนามแฝงของพระองค์ท่าน ซึ่งทรงใช้พระนามแฝงอื่นๆ อีกได้แก่

ก้อนหินก้อนกรวด ปรากฏอยู่ในเรื่อง เรื่องจากเมืองอิสราเอล

แว่นแก้ว ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์สำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น ขบวนการนกกางเขน

หนูน้อย ปรากฏอยู่ในบทความเรื่อง ป๋องที่รัก ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา

รายการอ้างอิง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2558 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ_สยามบรมราชกุมารี

เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ ในวันที่ 2 เมษายน 2558 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นการร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมรวมรวบความรู้จากเว็บไซต์และอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ตอนที่  71)