Category Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์

โครงการ “เติมหัวใจใส่ห้องสมุด”

 เนื่องจากปัจจุบันหนังสือมีราคาสูงมากขึ้น ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดหาสำหรับห้องสมุดบางแห่ง โดยเฉพาะในห้องสมุดที่อยู่ชนบท หรือห่างไกลความเจริญ ส่วนหนังสือที่ได้รับจากการบริจาคนั้นนอกจากจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว บางส่วนยังเป็นหนังสือที่ชำรุดอีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้ความรู้ต่างๆสามารถกระจายไปทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึง จึงได้เกิดโครงการ “เติมหัวใจใส่ห้องสมุด” ขึ้น

lib Continue reading โครงการ “เติมหัวใจใส่ห้องสมุด”

ศูนย์การเรียนรู้ฯเปิดบริการ 24 ชั่วโมง

ช่วงสอบกลางภาค  4-14 ตุลาคม 2557 นี้ ศุนย์การเรียนรู้ฯ เปิดพื้นที่ให้นักศึกษามานั่งอา่นหนังสือ ทบทวนวิชากับเพื่อนๆ ได้เต็มที่ ด้วยการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ขอพักเบรคช่วง 7.00-9.00 น. เพื่อทำความสะอาดอาคารและจัดสถานที่ให้เรียบร้อย ขอเชิญนักศึกษามาใช้บริการได้ค่ะ

เปิดบริการ 24 ชม.
เปิดบริการ 24 ชม.
บรรยากาศหลังเที่ยงคืน
บรรยากาศหลังเที่ยงคืน

 

8 สิ่งจำเป็นที่ควรพกมาห้องสมุด

เคยสงสัยไหมว่านักศึกษามาใช้บริการห้องสมุดแล้ว เขาเอาอะไรใส่กระเป๋ามาห้องสมุดบ้าง …. แล้วถ้าจะมาห้องสมุดควรจะเตรียมตัวอย่างไร จึงขอแนะนำ 8 สิ่งจำเป็นที่ควรพกมาห้องสมุด

1-2
นักศึกษาใช้บริการห้องสมุด

Continue reading 8 สิ่งจำเป็นที่ควรพกมาห้องสมุด

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – จุดเริ่มต้นของ DOI

ระบบ DOI มีต้นกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มร่วมกันระหว่างสมาคมการค้าสามกลุ่มในอุตสาหกรรมการพิมพ์ (สมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ; ผู้จัดพิมพ์ทางด้านเทคนิคและการแพทย์, สมาคมวิทยาศาสตร์นานาชาติ; สมาคมผู้จัดพิมพ์อเมริกัน)

แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ระบบ DOI นั้นถูกสร้างมาโดยกำหนดให้เป็นเค้าโครงในการจัดการด้านการจำแนกแยกแยะเนื้อหาบนเครือข่ายดิจิทัลโดยตระหนักถึงเรื่องดิจิทัลคอนเวอร์เจน (Digital convergence หมายถึง การรวมกลุ่มกันของอุตสาหกรรม 4 อย่าง ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ, โทรคมนาคม, เครื่องใช้ไฟฟ้า และความบันเทิง ตัวอย่างเช่น Xbox หรือ iPhone) และความพร้อมในการใช้สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งระบบ DOI นั้นถูกประกาศในงานนิทรรศการหนังสือแฟรงค์เฟิร์ต ปี ค.ศ. 1997 จากนั้นมูลนิธิดีโอไอนานาชาติ (International DOI Foundation–IDF) ก็ถูกตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและจัดการกับระบบ DOI ในปี ค.ศ. 1997 เช่นกัน

banner-513

จากจุดเริ่มต้น IDF ร่วมงานกับ CNRI ( Corporation for National Research Initiatives) เพื่อจะนำ Handle System ซึ่ง CNRI เป็นผู้พัฒนามาใช้เป็นองค์ประกอบของระบบ DOI และในปัจจุบัน CNRI ยังคงเป็นพันธมิตรกับ IDF

HSystem

ในที่สุดแอปพลิเคชั่นแรกของระบบ DOI อย่าง การอ้างอิงที่เชื่อมโยงไปยังบทความอิเล็กทรอนิกส์โดย CrossRef Registration Agency (หน่วยงานในการลงทะเบียนชื่อ CrossRef) ก็ถูกใช้ในปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่นั้นมา Registration Agency รายอื่นก็ได้รับมอบหมายงานในด้านต่างๆ เช่น ในการบริหารจัดการกับสินทรัพย์ธุรกิจความบันเทิง ในด้านข้อมูล และในด้านภาษาต่างๆ

ในปี ค.ศ. 2000 องค์กร NISO ได้กำหนดซินเท็กซ์ (syntax) ของ DOI ให้เป็นมาตรฐาน ระบบ DOI ได้รับการอนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO ในปี ค.ศ. 2010 โดยดูรายละเอียดของ ISO 26324:2012 Information and documentation — Digital object identifier system ได้ที่
http://www.iso.org/iso/catalogue_detail?csnumber=43506

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html #1.2

คำคม ในแวดวงห้องสมุด บรรณารักษ์ และความรู้

ค้นพบคำคมที่มีผู้พูดถึงห้องสมุด บรรณารักษ์ และเรื่องความรู้ ไว้หลายเว็บไซต์ทีเดียว เช่น

  • Quotations about libraries ใน Welcome to the Quotes Garden ! เข้าถึงได้ที่ http://www.quotegarden.com/libraries.html ตัวอย่างเช่น
    – When I got my library card, that’s when my life began. ~Rita Mae Brown
    – If you have a garden and a library, you have everything you need. ~Cicero
  • Chicago Public Library Foundation เข้าถึงได้ที่ http://www.cplfoundation.org/site/DocServer/quotes.pdf?docID=221 ตัวอย่างเช่น
    – I’d be happy if I could think t hat the role of the library was sustained and even enhanced in the age of the computer.”—Bill Gates
  • IFLA จาก Quotations bout Libraries and Librarians: Subject List เข้าถึงได้ที่ http://archive.ifla.org/I/humour/subj.htm ตัวอย่างเช่น
    – A university is just a group of buildings gathered around a library
    — Shelby Foote
  • Top Ten Quotations about Libraries, Books and Knowledge เข้าถึงได้ที่ http://www.love-funny-quotes.com/2010/12/top-ten-quotations-about-libraries.html ตัวอย่างเช่น
    – “When I read about the way in which library funds are being cut and cut, I can only think that … society has found one more way to destroy itself.” Isaac Asimov
  • Council for Library and Information Development Nepal รวบรวม Famous Library Quotes เข้าถึงได้ที่ http://clidnepal.org.np/content/famous-library-quotes.html ตัวอย่างเช่น
    – The true university these days is a collection of books.- Thomas Carlyle
  • Library quotes จาก http://thinkexist.com/quotes/with/keyword/library/ ตัวอย่างเช่น
    – “Knowing I loved my books, he furnished me,
    From mine own library with volumes that
    I prize above my dukedom.” – William Shakespeare
  • จาก http://marylaine.com/exlibris/cool.html ตัวอย่างเช่น
    – Google doesn’t try to force things to happen their way. They try to figure out what’s going to happen, and arrange to be standing there when it does. That’s the way to approach technology– and as business includes an ever larger technological component, the right way to do business. — Paul Graham. “Web 2.0.” November, 2005. http://www.paulgraham.com/web20.html
  • จาก http://www.goodreads.com มีการรวบรวมคำคมทั้งบรรณารักษ์ และห้องสมุด แยก page ออกจาก คำคมเกี่ยวกับห้องสมุดอยู่ที่ http://www.goodreads.com/quotes/tag/libraries?page=1 ส่วนคำคมเกี่ยวกับบรรณารักษ์อยู่ที่ https://www.goodreads.com/quotes/tag/librarians เว็บไซต์มีรูปภาพของคนพูดประกอบไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
    – “In a good bookroom you feel in some mysterious way that you are absorbing the wisdom contained in all the books through your skin, without even opening them.” ― Mark Twain
  • Library Quotes จาก http://www.ilovelibraries.org/libraryquotes/libraryquotes เว็บนี้เป็นฐานข้อมูลเลยทีเดียวสนใจติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

    ท่านใดพบคำคมใด มาแบ่งปันกันนะคะ

 

 

บรรณารักษ์อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 200 อาชีพที่น่าทำ

จากเว็บไซต์ http://www.careercast.com ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากอาชีพต่างๆ จากการจัดอันดับ 200 อันดับ (http://www.careercast.com/jobs-rated/jobs-rated-2014-ranking-200-jobs-best-worst) โดยใช้เกณฑ์ 4 ประการในการวัด คือ สภาพแวดล้อม รายได้ ความก้าวหน้า และความกดดัน (http://www.careercast.com/jobs-rated/2014-jobs-rated-methodology) พบว่า บรรณารักษ์อยู่ในลำดับที่ 38 จาก 200 ค่ะ

ส่วนอาชีพที่น่าทำ ลำดับที่ 1-10 ได้แก่

งานที่น่าทำที่สุด (Best jobs) 10 อันดับแรก ได้แก่
1. นักคณิตศาสตร์ (Mathematician)
2. อาจารย์มหาวิทยาลัย (University professor)
3. นักสถิติ (Statistician)
4. นักวิเคราะห์ข้อมูลประกันภัย (Actuary)
5. นักโสตบำบัด (Audiologist)
6. ผู้ชำนาญการทันตกรรม (Dentist hygienist)
7. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software engineer)
8. นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer systems analyst)
9. นักกายภาพบำบัด (Occupational therapist)
10. นักบำบัดการพูด (Speech pathologist)

เป็นการอ้างอิงจากการจัดลำดับของต่างประเทศ แต่เมืองไทยต้องสืบค้นดูว่ามีการลำดับแบบนี้บ้างหรือไม่ อย่างไร และอาชีพบรรณารักษ์ จะอยู่ในลำดับที่เท่าไร
รายการอ้างอิง:

The Top 200 Jobs of 2014. Retrieve 2014-06-04 from http://www.careercast.com/content/top-200-jobs-2014-21-40

ว่าด้วยเรื่องของ DOI – ตัวระบุวัตถุดิจิทัล

ถ้าหากจะให้อธิบายอย่างรวบรัดที่สุดแล้ว DOI นั้นก็คือตัวระบุหนึ่งเช่นเดียวกับเลข ISSN และเลข ISBN ที่เราท่านน่าจะรู้จักกัน คือถูกใช้เพื่อจำแนกวัตถุหนึ่งออกมาจากกลุ่มของวัตถุ หรือก็คือเพื่อจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆออกจากกัน และยังสามารถใช้ DOI ร่วมกับตัวระบุเดิมอย่าง ISBN และ ISSN ได้อีกด้วย

banner-413

ระบบของตัวระบุวัตถุดิจิทัล หรือ (The digital object identifier – DOI®) นั้นเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจำแนกแยกแยะวัตถุต่างๆให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยคำว่า digital object identifier นั้น มีความหมายไปในเชิงที่ว่าเป็น “ตัวระบุดิจิทัลของวัตถุ (digital identifier of an object)” มากกว่าที่จะเป็น “ตัวระบุของวัตถุดิจิทัล (identifier of a digital object)”

ระบบ DOI นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยกำหนดเลข DOI หนึ่งหมายเลขให้แก่วัตถุหนึ่งรายชื่อโดยถาวร เพื่อใช้เลข DOI นี้ในการเชื่อมโยงจากลิงค์ไปยังข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของวัตถุนั้น ซึ่งรวมไปถึงจุดที่วัตถุชิ้นนั้นอยู่, ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนั้น หรือแม้กระทั่งว่าวัตถุนั้นยังพบบนอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

ในขณะที่ข้อมูลของวัตถุเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เลข DOI นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามเลข DOI จะถูกแก้ไขโดยระบบในกรณีที่ต้องกำหนดค่าให้แก่ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่ถูกระบุโดยเลข DOI นั้น เช่น URL, อีเมล์, ตัวระบุอื่นๆ และคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล (metadata)

โดยขอบเขตของระบบ DOI นั้นจะอิงกับฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดและบริบทของการใช้งาน ซึ่งก็คือการทำงานกับแอปพลิเคชั่นของเครือข่าย DOI เพื่อการระบุวัตถุอย่างชัดเจน เที่ยงตรง และละเอียด เพื่อคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูล และเพื่อการทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

 

รายการอ้างอิง

International DOI Foundation. (2013, November 13). DOI Handbook Introduction. Retrieved
September 26, 2014, from http://www.doi.org/doi_handbook/1_Introduction.html

แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์

การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก

เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์

อีกแหล่งคือ Thai Digital Collection (TDC) ของ สกอ. หรือจะใช้ UC (Union Catalog) ของประเทศไทยคู่กับ OAIster ซึ่งเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog) เช่นกัน ด้วยจำนวนระเบียนที่มากกว่า 30 ล้านระเบียน

ในส่วนของ IR ควรจะได้สืบค้นจาก IR ของประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพราะ IR จะเป็นแหล่งที่รวบรวมคลังความรู้ ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งมักจะรวมวิทยานิพนธ์ด้วย เช่น

Continue reading แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์

Koha in Thailand

จาก Koha Newsletter 5,7 (July 2014) ลงข่าวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนการใช้ระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์มาเป็น Koha โดยถือโอกาสการเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 80 ปี เปิดตัวการใช้ระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการให้บริการใน 4 วิทยาเขต ความสำเร็จในการย้ายระบบไป Koha ดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การจัดอบรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน) บริษัท ปันสาร เอเซีย จำกัด (ในการติดตั้งและพัฒนาระบบ) และบริษัท Wiserf Technologies (ในการถ่ายโอนข้อมูล)

 

บรรณานุกรม:

Pongtawat Chippimolchai. Koha in Thailand! Koha Community Newsletter: July 2014. Retreived 8 July, 2104 from http://koha-community.org/koha-community-newsletter-july-2014/

วันพิพิธภัณฑ์ไทย (วันที่ 19 กันยายน)

ในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ โดยนับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมิวเซียมหลวงขึ้นที่หอคองคอเดีย หรือศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2417 จึงถือเป็นวันกำเนิดกิจการพิพิธภัณฑ์สถาน สำหรับประชาชนในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
Continue reading วันพิพิธภัณฑ์ไทย (วันที่ 19 กันยายน)