Category Archives: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรและอาจารย์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรและอาจารย์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี สำนักในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ สร้างความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นที่ยอมรับยกย่องจากบุคคลทั่วไป ประกอบด้วย

หมวดที่ 1 จรรยาบรรณและการรักษาจรรยาบรรณ ครอบคลุม ส่วนที่ 1 จรรยาบรรณาต่อตนเอง และวิชาชีพ ส่วนที่ 2 จรรยาบรรณต่อการปฏิบัติงานและหน่วยงาน ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ส่วนที่ 4 จรรยาบรรณต่อนักศึกษา ผู้ร้บบริการ ประชาชน และสังคม ส่วนที่ 5 จรรยาบรรณของอาจารย์ ส่วนที่ 6 การกระทำความผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง

หมวด 2 การดำเนินการทางจรรยาบรรณ

หมวด 3 การส่งเสริมจรรยาบรรณ

หมวด 4 หลักเกณฑ์และวิธีการลงโทษทางจรรยาบรรณ

หมวด 5 การอุทธรณ์

หมวด 6 บทเฉพาะกาล

ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อ่านรายละเอียดได้ที่ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรและอาจารย์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

Proud to Be TU : โชคทวี พรหมรัตน์

55991

 

โชคทวี พรหมรัตน์ หรือ “โค้ชโชค”  ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสมาเยือน มธ. อีกครั้ง เพื่อเป็นหนึ่งบุคคลในนิทรรศการที่สำนักหอสมุดกำลังจัดทำ และจะแสดง ณ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มธ.ศูนย์รังสิต ในเร็วๆ นี้ Continue reading Proud to Be TU : โชคทวี พรหมรัตน์

ศูนย์ทดสอบสมรรถนะ (Thammasat Competency Test Center – TCTC)

ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ปรับหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไปใหม่ เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะมีรูปแบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะด้านการสื่อสารและการคิด อ่าน เขียน และสมรรถนะอีก 6 ด้าน – GREATS คือ GlobL Mindset-ทันโลกทันสังคม, Responsibily-สำนึกรับผิดชอบอย่างยั่งยืน, Eloquence-สื่อสารอย่างสร้างสรรค์และทรงพลัง, Aesthetic appreciation-มีสุนทรียในหัวใจ, Team leader-เป็นผู้นำทำงานเป็นทีม, Spirit of Thammasat-มีจิตวิญญาณธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์ทดสอบสมรรถนะ โดยความร่วมมือของ กองบริการวิชาการ สำนักทะเบียนและประมวลผล สถาบันประมวลผลข้อมูลเพื่อการศึกษาและการพัฒนา และสำนักหอสมุด ตั้งอยู่ที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 4 เพื่อให้บริการด้านการทดสอบสมรรถนะและทักษะของนักศึกษาทั้งก่อนเข้าศึกษาและก่อนสำเร็จการศึกษา รองรับจำนวนผู้เข้าสอบได้ 180 คน

TCTC_1               TCTC_2

ศูนย์ทดสอบสมรรถนะ จะเริ่มดำเนินการให้นักศึกษาใหม่ ได้เข้าทดสอบสมรรถนะด้านการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและภาษาไทย ในปีการศึกษา 2558 นี้

ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บุคลากรส่วนใหญ่จะทราบถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง แต่อาจจะไม่ทราบว่ามีสวัสดิการอะไรบ้างที่จะได้รับจากการปฏิบัติงานในระบบราชการ

สวัสดิการ คือค่าตอบแทนที่บุคลากรได้รับจากทางราชการนอกเหนือจากเงินเดือน เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดสวัสดิเป็นแบบตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้

สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน

  1. สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
    • เงินสมทบค่ารักษายาบาล
    • การตรวจสุขภาพประจำปี
    • จัดกระเช้าเยี่ยมผู้ป่วยซึ่งเป็นคนไข้ในโรงพยาบาล
  2. สวัสดิการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ช่วยเหลือค่าดอกเบี้ย)
  3. สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือการศึกษาบุตร
  4. สวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ
    • การประกันชีวิต อุบัติเหตุ
    • การประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพ ของพนักงานมหาวิทยาลัย และบุคคลในครอบครัว
  5. สวัสดิการช่วยเหลือค่าทำศพ
  6. เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
  7. เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย)
  8. เงินช่วยเหลือค่าหน่วยกิตในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท
  9. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  10. กองทุนประกันสังคม
  11. เงินช่วยเหลือค่าเครื่องแบบลูกจ้าง
  12. ของที่ระลึกเนื่องในวันเกิด
  13. เงินช่วยเหลือค่าแว่นตา (สำนักหอสมุดเป็นผู้ดำเนินการ)
  14. การรับบำเหน็จบำนาญ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/web-new/record/htm/super.htm  http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/web-new/record/htm/gratu.htm

Continue reading ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ ที่ใช้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน  บุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานมหาวิทยาลัย จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของงานบุคลากร รับผิดชอบเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา โดยในส่วนงานที่ผู้เขียนรับผิดชอบนั้น ต้องตรวจสอบรายชื่อบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยทำบัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการซึ่งเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งต้องตรวจสอบและบันทึกประวัติการได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นแรกจนถึงชั้นปัจจุบันที่เสนอขอในแต่ละปี และเสนอไปทางมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการต่อไป Continue reading เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ

วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตาจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้แถลงต่อประชาคมธรรมศาสตร์ เรื่อง ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ในเวลา 12.30 – 16.00 น. ณ ห้อง SC 1002 อาคารเรียนรวมกลุ่มสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในการพูดเพื่อทำความเข้าใจ เรื่องการออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง โค้งสุดท้าย : ก่อนธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการ” ซึ่งก่อนหน้าที่ท่านอธิการบดีจะขึ้นพูดนั้น ได้มีการเชิญกรมบัญชีกลาง และ กบข. มาชี้แจงสิทธิผลประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้รับ

ท่านอธิการบดีกล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ โดยเรียกกันทั่วไปว่ากฎหมายออกนอกระบบราชการหรือถ้าเรียกเป็นทางการคือมหาวิทยาลัยในกำกับ และขอแจ้งว่าการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการไม่ได้หมายถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ต่อไป Continue reading ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ

115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์

115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์
115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์

สืบเนื่องจากวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดงานเพื่อระลึกถึงและแสดงกตเวทิตาต่อศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ในวันดังกล่าวนอกเหนือจากพิธีการทางสงฆ์ การวางพานพุ่ม และการเสวนา แล้ว ยังมีการเผยแพร่หนังสือ “115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์” และเข็มกลัดที่ระลึก แก่ผู้ที่มาร่วมงานในวันนั้นด้วย ซึ่งวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นวันครบรอบ 115 ปี ของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการประกาศเกียรติคุณจากยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2542

ในหนังสือ 115 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ มีเนื้อหา อาทิเช่น ร้าน Café de la Paix ร้านกาแฟในกรุงปารีส กับนายปรีดี พนมยงค์ (โดย ดุษฎี พนมยงค์) ปาฐกถา เรื่อง ตำรวจชาวนา ของ นักศึกษาปรีดี พนมยงค์ การเสวนาในงานวันปรีดี พนมยงค์ (ประจำปี) 2557 ในหัวข้อ “ปรีดี พนมยงค์ กับ 80 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2557 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำนักหอสมุด มธ. ร่วมงานวันปรีดี ประจำปี 2558

นิทรรศการ “ปรีดี พนมยงค์”

ทุนการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

4-22-2015 10-18-06 AM

เนื่องในวันที่  6  พฤษภาคม  ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนจะขอเล่าถึงพระกรุณาธิคุณในด้านหนึ่งซึ่งมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการในปัจจุบัน  นั่นคือทุนการศึกษาที่ทรงประทานให้กับนักศึกษา

ทุนการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

4-22-2015 10-22-32 AM

ในปีพ.ศ.2517   ขณะที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  ทรงเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาฝรั่งเศสที่คณะศิลปศาสตร์  ได้ทรงประทานเงินให้มหาวิทยาลัยจัดทำเป็นกองทุน นำผลประโยชน์มาเป็นทุนการศึกษา   โดยที่พระองค์ท่านทรงเห็นความสำคัญของการอ่านและหนังสือที่มีต่อการศึกษา  จึงมีพระดำริให้เป็นทุนสำหรับการซื้อหนังสือหรือตำราที่จะใช้ในการศึกษา  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้นำพระดำริดังกล่าวมากำหนดไว้ในระเบียบของทุนซึ่งมีการสืบสานจนถึงปัจจุบัน    ทำให้ทุนการศึกษานี้มีความพิเศษแตกต่างจากทุนทั่วไปที่เป็นการมอบเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาแก่นักศึกษา  ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ได้รับทุนว่าจะนำไปใช้อย่างไร   และผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งอาจารย์สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และข้าราชการสำนักหอสมุดเป็นคณะกรรมการพิจารณาและดูแลการใช้ทุนของนักศึกษา  กรรมการชุดแรกมีศ.จารุวรรณ  สินธุโสภณ เป็นประธาน ผศ.ทองหยด  ประทุมวงศ์ เป็นกรรมการ  และนายชลัช ลียวณิชย์ เลขานุการสำนักหอสมุด เป็นกรรมการและเลขานุการ

4-22-2015 10-19-20 AM

(พระรูปสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ  ทรงลงพระนามในสมุดเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี  พนมยงค์  เมื่อวันที่ 26  พฤษภาคม พ.ศ.2542   ซึ่งเสด็จมาเป็นประธานในงานแสดงปาฐกถาเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542  ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์  ผู้อยู่ซ้ายมือในภาพ คือผู้อำนวยการสำนักหอสมุดในขณะนั้น  ถัดไป คือประธานคณะกรรมการพิจารณาทุนการศึกษาฯในปัจจุบัน)

สำหรับคณะกรรมการพิจารณาทุนการศึกษาฯชุดปัจจุบันมี  7 คน  โดยรศ.คุณหญิงวงจันทร์  พินัยนิติศาสตร์  อดีตอาจารย์สาขาวิชาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์  เป็นประธาน ผู้เขียนเป็นกรรมการ  ร่วมกับกรรมการท่านอื่นๆอีก 4 ท่าน  และนางสุพรรณี  อยู่เจริญ  ผู้ดูแลการใช้ทุนของนักศึกษา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ  ในเวลา 40 ปีที่ผ่านมาจนถึงปีการศึกษา 2557 มีการจัดสรรทุนการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ให้กับนักศึกษารวมทั้งสิ้น   803  ทุน    เป็นจำนวนเงิน   832,984.05   บาท (ยอดเงินถึงปีการศึกษา2556 เนื่องจากในปีการศึกษา2557นี้   ยังไม่สิ้นสุดการจัดซื้อหนังสือของนักศึกษา)   นักศึกษาผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับการประทับข้อความที่หนังสือทุกเล่ม   ว่า  “  หนังสือนี้จัดซื้อด้วยเงินทุนสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  เพื่อใช้ในการศึกษา  และให้เป็นสมบัติของ…………………………………………………………… ปีการศึกษา …………………”

“ถึงแม้นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ได้รับทุนจะสำเร็จการศึกษาไปแล้วก็ตาม  หนังสือเหล่านี้คงเป็นเครื่องเตือนใจให้เขาระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ   และคงเป็นเครื่องประกาศความสำคัญและประโยชน์ของหนังสือแก่บุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็น”  (ศาสตราจารย์จารุวรรณ  สินธุโสภณ   หน้า 11)

เอกสารอ้างอิง  : ศาสตราจารย์จารุวรรณ  สินธุโสภณ   “ทุนการศึกษาที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เพื่อจัดซื้อตำราแก่นักศึกษมหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์”   จุลสารธรรมศาสตร์  ปีที่41 ฉบับที่1  มกราคม  2551  หน้า 9-11

Thammasat University Goals 2020 (TU’s Goals 2020) คืออะไร

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดทิศทางยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 ด้วยตัวย่อว่า TU’s GOALS 2020  

GOALS

ทุกตัวอักษรมีความหมายและสะท้อนถึงค่านิยมของการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่ปีการศึกษา  2557 Continue reading Thammasat University Goals 2020 (TU’s Goals 2020) คืออะไร

ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสีเขียว

TU-GREEN-HOME1_01

ในปี 2014 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก UI GreenMetric World University Ranking ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวในอันดับที่ 91 ของโลก จากกว่า 360 ประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับ

ซึ่งการจัดอันดับนี้ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งอินโดนีเซีย (University of Indonesia, UI) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2010 เป็นการจัดอันดับที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ว่าเป็นเกณฑ์ชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน ประกอบด้วย

Continue reading ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสีเขียว