Tag Archives: พัสดุ

เมื่อสัญญาไม่เป็นสัญญา

สำนักหอสมุดได้มีการทำสัญญาในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างไว้หลายฉบับ ซึ่งมีงานพัสดุเป็นผู้บริหารสัญญานั้น เมื่อมีการผิดสัญญาของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง สำนักหอสมุดจะสามารถบอกเลิกสัญญากับคู่สัญญาได้ ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ในกรณีที่มีเหตุเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะ เวลาที่กำหนด
2. การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ส่วนราชการพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อ ตกลงนั้นต่อไป
3. ในกรณีคู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้  และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือวงเงินค่าจ้าง  ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น
นี่ก็เป็นอีกเกร็ดความรู้หนึ่งทางการพัสดุที่ทุกคนควรทราบไว้ เพราะถ้าหากได้รับเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุแล้ว เกิดคู่สัญญาทำผิดสัญญาตามที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็สามารถมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้

ถ้าถูกแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ จะทำอย่างไร?

ถ้าคุณถูกแต่งตั้งเป็นกรรมการ หรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คุณจะได้รับทราบทาง E-mail เพราะระบบจัดซื้อจัดจ้าง e-GP จะแจ้งโดยอัตโนมัติ กรรมการหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ Continue reading ถ้าถูกแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ จะทำอย่างไร?

เขียนวัสดุที่สั่งซื้ออย่างไร ให้ได้รับวัสดุที่รวดเร็ว และทันต่อความต้องการ

เชื่อว่าทุกหน่วยงานต่าง ๆ ในสำนักหอสมุด ที่สั่งซื้อวัสดุฯ  เพื่อนำมาใช้ในราชการนั้น ย่อมต้องการที่จะได้รับวัสดุที่สั่งซื้อ ในระยะเวลาที่รวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อจะได้ทันต่อความต้องการ ซึ่งความต้องการดังกล่าว สามารถเป็นไปได้ โดยที่ทุกหน่วยงานที่สั่งซื้อ ตระหนักและให้ความสำคัญในการเขียนข้อมูลการสั่งซื้อในแบบฟอร์มการสั่งซื้อวัสดุฯ ให้มีรายละเอียดชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้อง  เช่น  รายการวัสดุฯที่สั่งซื้อต้องชัดเจน ถูกต้อง เหตุผลที่สั่งซื้อ เนื่องจากอะไร   ประวัติการสั่งซื้อครั้งหลังสุด เมื่อไร  รายละเอียดคุณลักษณะ (Spec)  ควรมีแนบด้วย เป็นต้น  รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ หากทุกหน่วยงาน ให้ข้อมูลที่ครบถ้วน  จะทำให้สำนักงานเลขานุการ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น ซึ่งหากไม่ถูกต้องจะถูกส่งเรื่องนำกลับไปแก้ไข หรือจัดทำมาใหม่ ทำให้เสียเวลา แต่หากข้อมูลถูกต้อง ก็สามารถนำเอกสารเรื่องการสั่งซื้อของหน่วยงานท่านไปเสนอต่อท่านรองผู้อำนวยการสายบริหารและพัฒนา เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติและให้งานพัสดุฯดำเนินการจัดซื้อต่อไป

อนึ่ง ขณะนี้แบบฟอร์มการสั่งซื้อวัสดุฯ ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อความ เพื่อให้เนื้อหารายละเอียดมีความสมบูรณ์ ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิม  ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ   ซึ่งแบบฟอร์มจะได้แจ้งให้ทราบต่อไปในเร็วนี้

กิจกรรม Knowledge sharing ของสำนักงานเลขานุการ

 

1433002083840-1เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558  สำนักงานเลขานุการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดกิจกรรม Knowledge sharing ของสำนักงานเลขานุการ ภายใต้โครงการ ”อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานภายในสำนักงานเลขนุการ” เกี่ยวกับเรื่องของงานพัสดุ งานการเงิน และงานบุคคล  ณ ห้องประชุม IL 1 ชั้น U1 เวลา 9.00-12.00 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้าห้องสมุด/หัวหน้างาน และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่/ติดต่อประสานงานกับงานภายในสำนักงานเลขานุการ รวมทั้งสิ้น 36 คน

วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ Continue reading กิจกรรม Knowledge sharing ของสำนักงานเลขานุการ

จะรับได้มั๊ย??? (ว่าด้วยการพัสดุ)

เราชาวสำนักหอสมุดหลายคนคงเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ในการจัดซื้อและการจัดจ้างทั่วไป ยกเว้นการจ้างก่อสร้าง แต่ท่านทราบกันหรือไม่ว่า หากท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุแล้ว ท่านจะต้องมีหน้าที่อย่างไรบ้าง บทความนี้ผู้เขียนจึงขอนำสาระสำคัญของการตรวจรับพัสดุมาชี้แจงให้ท่านทราบ เพื่อให้ท่านได้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ถูกต้องและสอดคล้องกับระเบียบ

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕) มี 7 ข้อ หลักๆ ดังนี้

  1. ตรวจ ณ ที่นั้น

การตรวจรับพัสดุจะต้องทำ ณ ที่ทำการของพัสดุนั้น หรือสถานที่ส่งมอบซึ่งกำหนดไว้ในข้อตกลง

  1. ตรวจให้ครบ

ต้องตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้

  1. ตรวจให้เร็วที่สุด

โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

  1. ตรวจรับไว้เฉพาะที่ถูกต้อง

กรณีส่งมอบถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ

  1. รับพัสดุไว้พร้อมทำใบตรวจรับ

เมื่อการตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุมามอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับใบตรวจรับ และถือว่าการส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่พัสดุนั้นมาส่ง

**แต่ถ้าไม่เป็นไปตามข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ

  1. พัสดุประกอบกันเป็นชุด ต้องส่งมอบให้ครบ

ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วทำให้ไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น

  1. กรรมการไม่ยอมรับพัสดุ

หากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วน

จะเห็นได้ว่าการเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขข้อตกลงให้ชัดเจน และต้องมีความมละเอียดรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อหน่วยงานได้ หากพี่ๆ น้องๆ ชาวสำนักฯ มีเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุอื่นๆ ที่ยังไม่เข้าใจ ก้อสามารถสอบถามมาได้ที่ airriz@tu.ac.th งานพัสดุจะพยายามหาคำตอบมาให้นะคะ