All posts by kwancn

ฐานข้อมูล กับ สถิติการใช้

usage

สำหรับการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ เมื่อใช้งานมาระยะหนึ่งควรจะสังเกตสถิติการใช้งาน เมื่อพบว่าฐานข้อมูลใดมีสถิติการใช้ที่ค่อนข้างน้อย ฝ่ายบริหารจัดการฯ จะทำการแจ้งไปยังห้องสมุดคณะที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการใช้งานให้มากขึ้น

หรือการใช้งานน้อยนั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากผู้ใช้ยังไม่ทราบว่าห้องสมุดบอกรับฐานข้อมูลนี้อยู่ ทางฝ่ายจะได้ติดต่อบริษัทให้มาทำการอบรมการใช้ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทราบมากขึ้น

แล้วสถิติการใช้จะมาจากไหนล่ะ ?

ผู้เขียนได้จัดทำคู่มือการดึงสถิติฐานข้อมูลออนไลน์ไว้ สามารถ download ขั้นตอนการดึงสถิติได้ ที่นี่ ค่ะ

นอกจากนี้การพิจารณาสถิติการใช้ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจต่ออายุฐานข้อมูลในปีต่อมาอีกด้วยค่ะ

Full Text Finder ตอน หลังบ้าน

full_text_finder_logo

หลังจากที่ทำความรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน ไปแล้ว บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับตอน หลังบ้าน หรือเบื้องหลังการให้บริการกันต่อนะคะ

เมื่อดำเนินการบอกรับวารสารเรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์หรือบริษัทตัวแทนจะทำการเปิด access การเข้าใช้ และแจ้งมายังฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และจะนำไปสู่ขั้นตอน การอัพเดตข้อมูลใน Full Text Finder ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าสู่ระบบ EBSCO Admin

adminp

2. ค้นหาวารสารจากชื่อ หรือ ISSN ของวารสาร

admin

Continue reading Full Text Finder ตอน หลังบ้าน

Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน

full_text_finder_logo

Full Text Finder เป็นฟังก์ชั่นที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นวารสาร โดยมี EBSCO Discovery Service หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า EDS  เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังวารสารจากสำนักพิมพ์ หรือวารสารในฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุดบอกรับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นบทความภายในวารสารได้อย่างรวดเร็ว

บทความนี้ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกับตอน หน้าบ้าน หรือ ในส่วนการให้บริการ กันก่อนนะคะ

หลายๆท่านอาจจะเคยใช้งานฟังก์ชั่น Full Text Finder ในการสืบค้นกันมาบ้างแล้ว เมื่อพิมพ์ชื่อวารสารลงในกล่อง One Search ระบบจะแสดง Full Text Finder ขึ้นมา ซึ่งหน้าตาของ Full Text Finder ที่รู้จักกันทั่วไป จะเป็นกล่องสืบค้นที่มาพร้อมกับชื่อวารสาร แบบในรูปนี้ค่ะ

ftfbox

เมื่อพิมพ์ชื่อบทความลงในกล่องสืบค้น จะสามารถเชื่อมโยงลิงก์ไปยังบทความนั้นได้

search

และผลการค้นที่ได้จะเป็นบทความเดียวกับ การสืบค้นจากฐานข้อมูลโดยตรง

compare

ข้อดีของ Full Text Finder ก็คือ สามารถค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพราะไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้การสืบค้นจากฐานข้อมูลทีละฐาน ซึ่งมีการทำงานร่วมกับ One Search ตามคำกล่าวที่ว่า สามารถสืบค้นได้ในครั้งเดียว

เมื่อรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้านกันแล้ว ไปทำความรู้จักกับ
ตอน หลังบ้าน กันต่อเลยค่ะ

Agreement คืออะไร ?

ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ agreement ของฐานข้อมูลออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (e-reference) พบว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ จึงอยากนำประสบการณ์มาแชร์กันค่ะ

agreement คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสำนักหอสมุดและสำนักพิมพ์ หรือบริษัทผู้เป็นเจ้าของ content ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำการตกลงกันเกี่ยวกับข้ออนุญาต (permitted use) ข้อห้าม (not permitted use) ผู้มีสิทธิ์ใช้ (authorized users) แหล่งที่ได้รับการอนุญาตในการเข้าถึง (authorized sites) และเครือข่ายที่ปลอดภัย (secure network) เป็นต้น โดยสัญญานี้ต้องมีการลงนามโดยผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายจะเก็บ agreement ที่ลงนามเรียบร้อยแล้ว คนละหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานของการจัดหา/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ Continue reading Agreement คืออะไร ?

IET Inspec & Full text Link

InspecBlack_resized

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้บอกรับฐานข้อมูล IET Inspec ซึ่งเป็นฐานข้อมูลให้บริการ abstract สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันฐานข้อมูล IET Inspec มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารถเชื่อมโยง Link ไปยัง Full text ที่อยู่ในฐานข้อมูลอื่นๆที่สำนักหอสมุดบอกรับ และมีข้อมูลอยู่บน WorldCat Knowledge base ได้

ขณะนี้ทาง IET และ OCLC ได้ทำการเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกท่านสามารถใช้งานการ Link Full text ได้ที่นี่ค่ะ 

ในส่วนขั้นตอนการสืบค้นฐานข้อมูล IET INSPEC และการแสดงผล Full text Link ดูได้ที่นี่ค่ะ

ประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 1/2558

11082864_1020664_n

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2558 ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1/2558  ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เวลา 8.30 – 16.30 น.

ซึ่งคณะทำงานฯนี้ประกอบด้วยห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 31 แห่ง และมีการจัดประชุมปีละ 3 ครั้ง จากการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานผลความก้าวหน้าการจัดทำคู่มือการจัดทำทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการจัดทำเป็นรูปเล่มต่อไป

11091196_10206649409382091_1942027956_n

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เรื่อง การจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ โดย คุณนาถศจี พันธุ์ใย จากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การคำนวณงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยการใช้สูตรคำนวณที่มีความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนิสิตของคณะต่างๆ จำนวนรายวิชา จำนวนหน่วยกิต และการถ่วงค่าน้ำหนัก
การคำนวณจะเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณแต่ละคณะ
2. เพิ่มค่าอัตราส่วนในกลุ่มสาขา
3. หาค่าเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยงบประมาณ
4. คำนวณแบ่งเพื่อจัดสรรงบประมาณ
เมื่อคำนวณแล้วจะได้ผลดังภาพ 

123

จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ทำให้คณะทำงานได้เรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ๆและสามารถนำไปปรับใช้กับหน่วยงานของตนเองได้อีกด้วยค่ะ

Thammasat Diplomatic Forum : Colombia, Country of Opportunities

11082968_10206640325354996_513821058_n

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Colombia, Country of Opportunities” ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 10.00 – 11.30 น. โดย Mr. Andelfo Jose Garcia Gonzalez ทูตโคลัมเบียประจำประเทศไทย เป็นผู้บรรยาย

จากการฟังบรรยายทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลพื้นฐานของประเทศโคลัมเบีย อุตสาหกรรมที่สำคัญ ซึ่งประเทศโคลัมเบียมีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นที่ราบ และมีทรัพยากรบางอย่างที่คล้ายกับประเทศไทย ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ดอกไม้ กล้วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย การปรับตัวเข้ากับสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน และได้รับชมวิดิทัศน์เรื่อง THE ANSWER IS COLOMBIA ซึ่งมีเนื้อหาส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศโคลัมเบีย ดูได้ที่นี่ค่ะ

cats

ในช่วงท้ายของการบรรยาย ท่านทูตได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคคลผู้สนใจถาม-ตอบประเด็นเกี่ยวกับการบรรยาย ซึ่งประเด็นเกี่ยวกับความน่าสนใจในการร่วมลงทุนกับประเทศไทยในอนาคต และทุนการศึกษา เป็นประเด็นที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

วิ่ง 50 ก้าว หัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว

wang

ตอนสมัยเรียนปริญญาตรี ผู้เขียนเคยศึกษาเรื่องภาษาจีนคลาสสิค มีสุภาษิตที่ประทับใจอยู่บทหนึ่ง คือ วิ่ง 50 ก้าวหัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว

เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยสงครามระหว่างรัฐ เหลียงฮุ่ยอ๋องได้ถามนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง เมิ่งจื่อ ว่าการที่ตนเอาใจใส่ดูแลราษฎรเป็นอย่างดี ไม่เหมือนรัฐอื่นๆ แต่เพราะเหตุใดราษฎรในรัฐของตนกลับน้อยลง ในขณะที่ราษฎรของรัฐอื่นๆกลับเพิ่มขึ้น

ด้วยความที่เหลียงฮุ่ยอ๋องเป็นผู้โปรดปรานการทำสงคราม เมิ่งจื่อจึงได้ใช้เรื่องนี้เปรียบเทียบกับการทำสงคราม ได้ว่า

ในสงครามมีทหารดีเลวปะปนกันไป ย่อมมีทหารที่รักตัวกลัวตายวิ่งหนีข้าศึก ทหารบางนายวิ่งเร็ว วิ่งไปได้ 100 ก้าว และทหารบางนายวิ่งช้า วิ่งไปได้เพียง 50 ก้าว แต่คนที่วิ่งไปได้เพียง 50 ก้าวกลับหัวเราะเยาะคนที่วิ่งไปได้ 100 ก้าว ว่าเป็นคนขี้ขลาด มีความรักตัวกลัวตายมากกว่า

จากการเปรียบเทียบนี้ จุดประสงค์ของการวิ่งหนีก็คือหลบหนีข้าศึกเหมือนกัน เมิ่งจื่อจึงถามเหลียงฮุ่ยอ๋องว่า การหัวเราะเยาะเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่
เหลียงฮุ่ยอ๋องจึงตอบทันทีว่า ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะวิ่งหนีไปได้กี่ก้าวก็ถือว่ามีความขี้ขลาด ต้องการหลบหนีเช่นกัน ถือว่ามีความผิดทั้งคู่

เมื่อเมิ่งจื่อได้ยินคำตอบดังนั้นจึงกล่าวว่า ในเมื่อเหลียงฮุ่ยอ๋องเข้าใจถึงเหตุผลนี้ ก็ย่อมที่จะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดราษฎรของรัฐอื่นจึงมีมาก ในขณะที่ราษฎรของรัฐตนเองกลับมีจำนวนน้อยลง เป็นเพราะถึงแม้ว่าเหลียงฮุ่ยอ๋องจะเอาใจใส่ดูแลราษฎรเป็นอย่างดีมากกว่ารัฐอื่นๆ แต่การที่เหลียงฮุ่ยอ๋องโปรดปรานการทำสงครามเช่นเดียวกับอ๋องรัฐอื่นๆ การทำสงครามย่อมทำให้ผู้คนลำบากยากแค้น และล้มตายจำนวนมาก เพราะฉะนั้นราษฎรของเหลียงฮุ่ยอ๋องและราษฎรรัฐอื่นๆย่อมประสบชะตากรรมเดียวกัน เหลียงฮุ่ยอ๋องย่อมมีส่วนบกพร่องเช่นเดียวกับอ๋องรัฐอื่นๆ

หากมองย้อนกลับมาที่ตนเอง เมื่อเราได้ทำความผิดเช่นเดียวกันกับผู้อื่น ถึงแม้ว่าจะมีความผิดฐานเบากว่า ก็ไม่ควรหัวเราะเยาะ กล่าวโทษ หรือประณามผู้อื่น เพราะถึงอย่างไรก็ถือว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน

รายการอ้างอิง:
อู่สือปู้เสี้ยวไป่ปู้ (五十步笑百步) : วิ่ง 50 ก้าวหัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558, จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9510000017139

Social Jet lag

ทุกคนเคยเจอปัญหาแบบนี้มั้ยคะ เวลาทำงานจะรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนบ่อยๆ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำงานทำให้เราหันไปพึ่งกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งจะนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

อาการแบบนี้เรียกว่า “Social Jet lag” หมายถึง อาการเมาเวลาทางสังคม ซึ่งเกิดจากนาฬิกาชีวิตของเราทำงานผิดเวลา เหมือนกับคำว่า “Jet lag” ที่หมายถึง อาการเมาเวลาเหตุการบิน ที่เกิดจากการนั่งเครื่องบินข้ามโซนเวลาที่ต่างกัน

นักวิจัยด้านชีววิทยา Till Roenneberg กล่าวว่า นาฬิกาชีวิตของเราอาจกำหนดไว้ว่าเมื่อเราเข้านอนดึก เราควรพักผ่อนเพื่อให้มีพลังงานไปใช้ชีวิตในวันต่อไปอย่างเต็มที่ แต่ด้วยภาระหน้าที่ในปัจจุบัน เราต้องตื่นตี 4 ตี 5
เพื่อเดินทางไปทำงานแต่เช้า จึงทำให้ร่างกายเราตอบสนองต่ออาการผิดเวลา

ดังนั้นผู้เขียนจึงมีวิธีป้องกันอาการ Social Jet lag อย่างง่ายๆคือ แม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนเวลาการทำงานให้ตรงกับสภาพร่างกายได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการพักผ่อนของตัวเราเองได้ ด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ นอนเป็นเวลา หรือเมื่อรู้สึกง่วงก็ให้ลุกขึ้นเดิน เปลี่ยนอิริยาบถในระหว่างวัน เพราะเมื่อเรารู้สึกสดชื่นขึ้น อาการดังกล่าวก็จะคลายลง เราก็จะทำงานต่อได้ดีขึ้น และไม่เป็นการทำลายสุขภาพด้วย

รายการอ้างอิง:

– ง่วงเพลียตลอดเวลาขณะทำงาน นักวิจัยชี้ว่าอาจเป็นอาการ Social Jet lag.  สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558, จาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU5qSTBPVEF3TVE9PQ==&subcatid=

– ‘Social Jetlag’ อาการเพลียของวัยทำงาน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558, จาก http://life.voicetv.co.th/living/39379.html

 

แนะนำ Gale Virtual Reference ☺

gale

Gale Virtual Reference  คือ ฐานข้อมูลที่รวบรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาต่างๆที่สำนักหอสมุดและห้องสมุดสาขาจัดซื้อแบบถาวร ซึ่งมีหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ Business, Environment, History, Information and Publishing, Law, Medicine, Nation and World, Religion, Science, Social Science และ Technology

ในการเข้าดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็มีขั้นตอนที่ง่ายๆ เมื่อเลือกที่ปกหนังสือแล้ว จะปรากฏหน้า Table of Contents ของหนังสือเล่มนั้น ผู้ใช้สามารถเลือกหน้าที่ต้องการอ่านได้ตามความสนใจค่ะ

gale2

 

ภายในเนื้อหาจะมี function ที่หลากหลาย ดังนี้

gale3

 

1. Citation Tools     เครื่องมือสำหรับ export รายการอ้างอิง
2. Email                      ส่งอีเมล์แนะนำหนังสือ
3. Download            สามารถดาวน์โหลดบทความ เป็น PDF หรือ HTMLได้
4. Print                       สั่งพิมพ์
5. Translate Article     แปลบทความเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 20 ภาษา รวมถึงภาษาต่างๆในอาเซียน
6. Listen                      เมื่อ Highlight ข้อความ จะสามารถอ่านออกเสียงได้
7. Download MP3            สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็น MP3 ได้
8. Download PDF to eReader       สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็นไฟล์ PDF ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ eReader อื่นๆได้
9. Highlights and Notes  สามารถ Highlight ข้อความ และเพิ่มเติม Notes ต่างๆได้

สามารถใช้งานได้ที่ http://www.galesites.com/menu/tuth ค่ะ