Category Archives: Training the trainers CoP

กิจกรรม CoP Training the Trainers ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ชุมชนนักปฏิบัติ CoP Training the Trainers ได้จัดกิจกรรมครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมกลุ่มย่อย  (Study Room 7) อาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีกิจกรรมในช่วงแรกเป็นการให้มาพูดนำเสนอ โดยคุณจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ แล้วมีการอัดวีดิทัศน์ เพื่อมาฉายให้ทั้งผู้พูดดู และให้สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติได้ช่วยกันให้ความเห็น ตลอดจนคุณสุภาพร ประธานกลุ่มได้ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงบทบาทในการเป็นวิทยากรที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเป็นวิทยากรมากๆ

 

IMG_138860907346655

นอกจากนี้มีกิจกรรมให้ทุกคนได้พูด รวมทั้งมีการให้ออกมาแสดงบทในหลายสถานการณ์ เช่น การพูดชักจูงให้ออกกำลังกาย โดยคุณปทุมทิพย์ และคุณวันเพ็ญ ตุ้มเขียว

20141126_113108       20141126_112953

20141126_112903       20141126_112737

20141126_112720

การเป็นพิธีกรสัมภาษณ์บุคลากรดีเด่น โดยคุณเจนจิรา อาบสีนาค  และคุณพรพิมล  ช่างไม้

Continue reading กิจกรรม CoP Training the Trainers ครั้งที่ 2

พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)

พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)

 Stand and deliver
โดย Mark Barnes และ Mary-Jane Barnes เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอที่ดี เหมาะสำหรับใช้เป็นคู่มือและแนวทางสำหรับผู้ฝึกสอนและผู้ที่ต้องนำเสนอผลงาน เนื้อหาในเล่มแบ่งหัวข้อออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

ส่วนแรก  ผู้เขียนได้กล่าวถึง กระบวนการและเครื่องมือที่จำเป็น ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ กลุ่มผู้ฟัง เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และสื่อหรือวิธีการ

ส่วนที่ 2 อธิบายถึงอำนาจของภาษากายที่เราแสดงออกมาขณะนำเสนอ การใช้เสียงพูดที่เสียงดังฟังชัด มีจังหวะจะโคน รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมเป็นการสร้างภาพพจน์เชิงบวก และเป็นภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเป็นมืออาชีพ

ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มความสำคัญและทำให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น

ส่วนที่ 4 ในส่วนสุดท้ายเป็นการจัดการกับปัญหา ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าไม่ควรกังวลกับปัญหามากนักเพราะการตั้งคำถามของผู้ฟังทำให้เรามีโอกาสที่จะสร้างความชัดเจนในประเด็นหลักที่ได้นำเสนอไปแล้ว และผู้เขียนยังได้พูดถึงเคล็ดลับที่ควรรู้ในการนำเสนองานที่ดี และการสร้างความประทับใจ น่าจดจำหลังจากจบการนำเสนอ

Reference
บาร์เนส, มาร์ค, บาร์เนส แมรี่แอน เขียน ; เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์ . พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552. 216 หน้า. ภาพประกอบ.

 

คู่มือเอาชนะเวที พูดให้เป็น พูดให้เก่ง ในชั่วข้ามคืน

คู่มือเอาชนะเวที พูดให้เป็น พูดให้เก่ง ในชั่วข้ามคืน โดย เอด โวลมัธ ถอดความโดย แวนด้า เปิดบทแรก ด้วย การพูดยอดแย่สิบแบบ ได้แก่

  • มาแบบไม่พร้อม
  • ทำให้ทุกคนเสียเวลา
  • พูดให้ตัวเองฟัง
  • พูดเพื่อประจบเจ้านาย
  • ใช้ความเห็นส่วนตัวแทนความจริง
  • พูดวกวนออกนอกเรื่อง
  • ลืมวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะพูด พูดเรื่อยเปื่อยจนลืมหัวข้อสำคัญ
  • ละเลยผู้ฟัง ไม่สนใจผู้ฟังที่ตั้งใจจะมาฟัง พูดไม่ตรงประเด็น
  • ละเลยเรื่องเวลา
  • สรุปอย่างไม่แน่นอน

หนังสือเรื่องนี้ ยังมีเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย ต้องติดตามค่ะ

คัมภีร์นักพูดพูดแบบชนะใจคน

เทคนิคการเตรียมตัว หลังจากการรวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการพูดแล้ว ควรมีกระดาษจัดลำดับความคิดในลักษณะนี้

  • ข้อเท็จจริงที่จำเป็น ซึ่งผู้ฟังจะต้องรู้
  • ข้อมูล ที่ผู้ฟังควรรู้
  • สิ่งซึ่งจะเป็นการดีสำหรับผู้ฟัง แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
  • การเรียบเรียงเช่นนี้จะทำให้ความคิดของคุณชัดเจน

นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ตัดตอนมาจากหนังสือ คัมภีร์นักพูดพูดแบบชนะใจคน โดย ศมธรรม ไชยพรพรหม บรรณาธิการเรียบเรียง

นอกจากนี้ยังมีแนวทางหรือเทคนิคอื่นๆ อีก ได้แก่ การร่างคำพูด ทัศนอุปกรณ์  การฝึกซ้อม ก่อนที่คุณจะพูด การซักถาม การใช้วัตถุดิบ วัตถุดิบสำหรับคำพูด

พูดโดนใจใน 7 วัน

พูดโดนใจใน 7 วัน หรือ Presentation in a week โดย Malcolm Peel แปลและเรียบเรียงโดย จินดารัตน์ บวรบริหาร เป็นหนังสือฝึกการพูดต่อหน้าผู้อื่น หรือการพูดในที่ชุมชน โดยผู้เขียนแนะนำวิธีการฝึกพูดในแต่ละวัน

พูดโดนใจใน 7 วัน
พูดโดนใจใน 7 วัน

วันอาทิตย์: การเตรียมความพร้อมในการพูด

การเตรียมความพร้อมในการพูด  ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในเรื่อง การวิเคราะห์โอกาสในการพูด การทำความรู้จักผู้ฟัง การศึกษาสถานที่ในการพูด และการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของคุณ

ในเรื่องของการวิเคราะห์โอกาสในการพูด นั้นผู้เขียนได้จัดทำรายการสำหรับการวิเคราะห์โอกาสในการพูดไว้ เช่น องค์กรใดที่จัดงาน วัตถุประสงค์ในการจัดงาน ลักษณะของงาน เวลาในการพูด การแต่งกาย เป็นต้น

การทำความรู้จักผู้ฟัง โดยประเมินจากรายการ เช่น จำนวนของผู้ฟัง เหตุผลในการเข้าฟัง เป็นต้น

ศึกษาสถานที่ในการพูด ควรได้มีการศึกษาสถานที่ที่จะไปพูด เพื่อจะได้มีการเตรียมอุปกรณ์ หรือเจ้าของงานได้เตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และเมื่อไปถึง ควรได้มีการทดลองอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย โดยมีรายการที่ควรตรวจสอบ ได้แก่ วิธีการเดินทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ต้องพูดบนเวที หรือมีโพเดียม ระบบเสียง ตำแหน่งของการจัดอุปกรณ์การแสดงภาพ เป็นต้น

กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน ผู้พูดต้องทำการบ้าน โดยกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการพูดอย่างแม่นยำและตรงกับหน่วยงานที่เชิญไปพูด Continue reading พูดโดนใจใน 7 วัน

พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก ( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

หนังสือเรื่อง พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก

( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

เขียน โดย ทวีวรรณ กมลบุตร

book

เป็นหนังสือที่อ่านสบายๆ ได้แนวทางในการพูด โดยการแนะนำการใช้  keyword ให้สื่อถึงเรื่องที่พูด  เข้าใจ และจดจำง่าย อาทิ เช่น พูดเรื่องเกี่ยวกับการบริการ จะมีส่วนของ Intro, Body และ Conclusion ดังนี้

Intro     ตั้งหัวข้อก่อน เช่น “สร้างรอยยิ้ม เพิ่มเสน่ห์บริการ”
Body    คิดคำ Keyword ก่อน แล้วค่อยขยาย เช่น
ยิ้มแย้ม           == ยิ้มต้อนรับ ทักทาย ยินดีที่ได้พบลูกค้า
ยืดหยุ่น          == ยืดหยุ่นการทำงาน บริการได้ทุกสถานการณ์
ยอดเยี่ยม      == ยอดเยี่ยมด้วยการพูด ดูแล เอาใจใส่ สร้าง                                                                      ความประทับใจทุกจุดสัมผัสบริการ                          Conclusion   การสรุป   เช่น “สร้างความประทับใจ ทุกจุดสัมผัสบริการ”

นอกจากนี้ผู้เขียนยังแนะนำการลดการตื่นเต้น สั่น และอื่นๆอีก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของครั้งแรกในการพูด   รวมทั้งการใช้น้ำเสียง การใช้ภาษาตา การใช้ภาษามือ การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้คำถาม การเตรียมตัวก่อนพูด
การเตรียมพร้อมข้อมูลสำหรับคำถาม ฯลฯ ติดตามอ่านได้จากห้องสมุดนะคะ Call no. LANG&LIT PN 2013 632792

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ  (Presentation Techniques)
เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques) โดย ณัฐพงศ์ เกศมาริษ ได้รวบรวม เรียบเรียง เทคนิคการใช้เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ ประกอบการนำเสนอ รวมทั้งเทคนิคการใช้สื่อประเภทต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และความประทับใจ รวมไปทั้งเทคนิคการใช้กิริยาท่าทาง หรือภาษากายที่สุภาพและน่าเชื่อถือ โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน

ตอนแรกในส่วนก่อนเข้าสู่รูปแบบการนำเสนอ โดยในการนำเสนอประกอบด้วย องค์ประกอบหลักได้แก่ ผู้นำเสนอ กลุ่มผู้ชม-ผู้ฟัง และสื่อหรือข้อมูล ต่อจากนั้น เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ การรู้ข้อมูลผู้ชม-ผู้ฟัง การเตรียมประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน และเพียงพอ และการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ส่วนเทคนิคที่จะสามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ ได้แก่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การจัดหมวดหมู่ ปัญหา-สาเหตุ-ทางแก้ เทคนิค “ชักแม่น้ำทั้งห้า” เทคนิคการเปรียบเทียบข้อแตกต่าง เทคนิคการใช้ตัวเลข และ เทคนิคการใช้ตัวอักษร

ตอนที่ 2 เป็นเรื่องของการเตรียมตัว มีการเปิดการนำเสนออย่างไร เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยอะไรบ้าง และการกล่าวสรุป และเทคนิคการยกตัวอย่างประกอบ รวมทั้งการใช้สื่อช่วยในการนำเสนอ

ตอนที่ 3 เป็นการเตรียมตัว การพิมพ์หรือเขียนบท การพูด การใช้มือและท่ายืน การแสดงออกทางสีหน้า การแต่งกาย

เก่ง Presentation อย่าง สตีฟ จ๊อบส์ : The presentation secrets of Steve Jobs

เก่ง Presentation อย่าง สตีฟ จ๊อบส์ : The presentation secrets of Steve Jobs
ผู้แต่ง : Carmine Gallo
ผู้แปลและเรียบเรียง : ศรชัย  จาติกวณิช, ประสิทธิ์ชัย  วีระยุทธวิไล

สตีฟ  จ๊อบส์ (Steve Jobs) : ซีอีโอของแอปเปิ้ลผู้โด่งดัง  นอกจากจะมีความเก่งทางด้านบริหารแล้ว  เขายังเป็นนักสื่อสารบนเวทีโลกสามารถสะกดผู้ฟังให้หลงไหลได้ยอดเยี่ยมมากที่สุดคนหนึ่ง  ไม่ว่าเขาจะขึ้นพูดที่ใดก็ตามก็จะมีผู้ฟังเป็นจำนวนมากที่สนใจและฟังเขาจำนวนมากเสมอ และเพราะความนิยมชมชอบในการนำเสนอของเขานั้นเอง  จึงทำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา  ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะเปรียบเสมือนคู่มือที่แนะนำขั้นตอนและวิธีการนำเสนอตลอดจนเทคนิคต่างๆที่สตีฟ จ๊อบส์ใช้ในการนำเสนอ เมื่ออ่านแล้วก็สามารถนำสิ่งเหล่านั้นไปปรับใช้กับการนำเสนอของเราได้  และสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่หัดนำเสนอหรือผู้ที่ไม่มั่นใจในการนำเสนอเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นด้วยการมีหนังสือเล่มนี้คอยเป็นเพื่อนเดินทาง  ที่นำคุณไปสู่การเป็นเลิศในเรื่องของการนำสนอที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไม่ยากเลย
สามารถหาอ่านได้ง่ายๆและฟรีๆได้ที่
Call No : COMM  HF 2014 625678 (หอสมุดป๋วย  อึ๊งภากรณ์  ศูนย์รังสิต)
HF5718.22 .ก84 2554 (ห้องสมุดบุญชู  ตรีทอง  ศูนย์ลำปาง)
HF5718.22 .ก84 2553  (ห้องสมุดสังเวียน  อินทรวิชัย
คณะพาณิชย์  )

 

เก่ง presentationอย่างสตีฟ จ๊อบส์
เก่ง presentationอย่างสตีฟ จ๊อบส์

Reference
ศรชัย  จาติกวณิชและประสิทธิ์ชัย  วีระยุทธวิไล.กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล, 2014 . 274 หน้า. ภาพประกอบ : 230 บาท

วิทยากร ไม่ว่าใครก็เป็นได้

สืบเนื่องจากดิฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Training the trainer ซึ่งจะต้องมีการฝึกการเป็น trainer ที่ไม่ใช่แค่พูดได้ แต่ต้องเป็นคนพูดเป็น สื่อสารรู้เรื่องอีกด้วย นั่นจึงเป็นที่มาของการเขียน Blog ที่ทุกคนแชร์ความรู้เกี่ยวกับการเป็นวิทยากร
และถ้าพูดถึงการเป็นวิทยากร หลายคนคงคิดว่า “ยาก แบบว่ายากแสนเข็ญ” แต่ก็มีอีกหลายคนบอกว่า “ง่ายเหมือนปลอกกล้วย” แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเป็นวิทยากรนั้นมันยากหรือง่าย จากความรู้ที่มีมาการเป็นวิทยากรนั้นจะต้องมีเทคนิค กลยุทธ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งกว่าจะได้มานั้นตัวเราเองจะต้องสร้างองค์ความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดที่มีคุณภาพเสียก่อน ถึงจะนำไปสู่การเป็นวิทยากรที่ดีได้ วันนี้เรามาลองเช็คว่า เราสามารถเป็นวิทยากรมืออาชีพ ได้หรือไม่

9

ขอบคุณ ข้อมูลและภาพจาก:
http://www.oknation.net/blog

รายละเอียดที่ต้องใส่ใจ

เมื่อต้องออกไปพูดหน้าเวที หรือต่อหน้าชุมชน ขอให้ใส่ใจกับรายละเอียดเหล่านี้ ได้แก่

  • ไมโครโฟน ก่อนพูดควรมีการทดสอบไมค์เสียก่อน ไมค์ที่ถูกจัดมาให้นั้น บางทีไม่ใช่ไมค์ลอย ซึ่งจะเป็นตัวจำกัดการเคลื่อนไหวของผู้พูด เพราะอาจจะต้องนั่งอยู่กับโต๊ะบรรยาย อย่างเดียว หรือยืนพูดอยู่กับที่ ควรต้องมีการพูดกับเจ้าภาพหริอเจ้าของสถานที่ เพื่อให้มีไมค์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการพูด ควรเหน็บไมค์ไร้สายให้เรียบร้อย
  • เวที บางงานจัดโต๊ะสำหรับบรรยายไว้กลางเวที ทำให้บังจอที่อยู่หลังผู้พูด การวางโต๊ะหรือวางแท่นพูดควรไว้ทางซ้ายมือของเวที ให้เวทีสำหรับการเดิน และขึ้นอยู่กับว่าจะบริหารเวทีได้เก่งแค่ไหน เหมือนสตีฟ จอบ์ส หรือไม่ ถ้าไม่เก่งจริง อาจเป็นการฆ่าตัวตายได้
  • ที่นั่ง การจัดที่นั่ง บางครั้งก็เป็นปัญหาในการมองเห็นผู้พูด หรือจอ มีการบังกัน การจัดที่นั่งที่ดีควรจัดเป็นรูปพัด จะทำให้ไม่บังกัน