Tag Archives: Presentation strategies

Three Minute Thesis – Next in Thailand?

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/59/We_have_no_time_to_lose%5E_%22Keep_%60em_rolling.%22_The_railroads_are_the_backbone_of_offense._-_NARA_-_535163.tif/lossy-page1-415px-We_have_no_time_to_lose%5E_%22Keep_%60em_rolling.%22_The_railroads_are_the_backbone_of_offense._-_NARA_-_535163.tif.jpg

For graduate students who think their thesis may never be done, encouragement may be found in a worldwide competition that may arrive one day in Thailand.

Continue reading Three Minute Thesis – Next in Thailand?

Guide to Writing Academic Articles: Part XXVII

Designing academic posters, part A.

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/59/Posters_and_art_processes_LCCN98507145.jpg

There are two forms of academic posters which students and ajarns may be asked to help design: announcements for lectures or public presentations and conference posters placed in scholarly gatherings, to highlight and draw attention to their work.

Continue reading Guide to Writing Academic Articles: Part XXVII

พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)

พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver)

 Stand and deliver
โดย Mark Barnes และ Mary-Jane Barnes เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอที่ดี เหมาะสำหรับใช้เป็นคู่มือและแนวทางสำหรับผู้ฝึกสอนและผู้ที่ต้องนำเสนอผลงาน เนื้อหาในเล่มแบ่งหัวข้อออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

ส่วนแรก  ผู้เขียนได้กล่าวถึง กระบวนการและเครื่องมือที่จำเป็น ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ กลุ่มผู้ฟัง เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และสื่อหรือวิธีการ

ส่วนที่ 2 อธิบายถึงอำนาจของภาษากายที่เราแสดงออกมาขณะนำเสนอ การใช้เสียงพูดที่เสียงดังฟังชัด มีจังหวะจะโคน รวมถึงการแต่งกายที่เหมาะสมเป็นการสร้างภาพพจน์เชิงบวก และเป็นภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเป็นมืออาชีพ

ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มความสำคัญและทำให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น

ส่วนที่ 4 ในส่วนสุดท้ายเป็นการจัดการกับปัญหา ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าไม่ควรกังวลกับปัญหามากนักเพราะการตั้งคำถามของผู้ฟังทำให้เรามีโอกาสที่จะสร้างความชัดเจนในประเด็นหลักที่ได้นำเสนอไปแล้ว และผู้เขียนยังได้พูดถึงเคล็ดลับที่ควรรู้ในการนำเสนองานที่ดี และการสร้างความประทับใจ น่าจดจำหลังจากจบการนำเสนอ

Reference
บาร์เนส, มาร์ค, บาร์เนส แมรี่แอน เขียน ; เรียบเรียงโดย ภิเษก ชัยนิรันดร์ . พรีเซนต์งานให้เป็นเลิศ (Stand & deliver). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2552. 216 หน้า. ภาพประกอบ.

 

คู่มือเอาชนะเวที พูดให้เป็น พูดให้เก่ง ในชั่วข้ามคืน

คู่มือเอาชนะเวที พูดให้เป็น พูดให้เก่ง ในชั่วข้ามคืน โดย เอด โวลมัธ ถอดความโดย แวนด้า เปิดบทแรก ด้วย การพูดยอดแย่สิบแบบ ได้แก่

  • มาแบบไม่พร้อม
  • ทำให้ทุกคนเสียเวลา
  • พูดให้ตัวเองฟัง
  • พูดเพื่อประจบเจ้านาย
  • ใช้ความเห็นส่วนตัวแทนความจริง
  • พูดวกวนออกนอกเรื่อง
  • ลืมวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะพูด พูดเรื่อยเปื่อยจนลืมหัวข้อสำคัญ
  • ละเลยผู้ฟัง ไม่สนใจผู้ฟังที่ตั้งใจจะมาฟัง พูดไม่ตรงประเด็น
  • ละเลยเรื่องเวลา
  • สรุปอย่างไม่แน่นอน

หนังสือเรื่องนี้ ยังมีเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย ต้องติดตามค่ะ

คัมภีร์นักพูดพูดแบบชนะใจคน

เทคนิคการเตรียมตัว หลังจากการรวบรวมข้อมูลที่จะใช้ในการพูดแล้ว ควรมีกระดาษจัดลำดับความคิดในลักษณะนี้

  • ข้อเท็จจริงที่จำเป็น ซึ่งผู้ฟังจะต้องรู้
  • ข้อมูล ที่ผู้ฟังควรรู้
  • สิ่งซึ่งจะเป็นการดีสำหรับผู้ฟัง แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
  • การเรียบเรียงเช่นนี้จะทำให้ความคิดของคุณชัดเจน

นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ตัดตอนมาจากหนังสือ คัมภีร์นักพูดพูดแบบชนะใจคน โดย ศมธรรม ไชยพรพรหม บรรณาธิการเรียบเรียง

นอกจากนี้ยังมีแนวทางหรือเทคนิคอื่นๆ อีก ได้แก่ การร่างคำพูด ทัศนอุปกรณ์  การฝึกซ้อม ก่อนที่คุณจะพูด การซักถาม การใช้วัตถุดิบ วัตถุดิบสำหรับคำพูด

พูดโดนใจใน 7 วัน

พูดโดนใจใน 7 วัน หรือ Presentation in a week โดย Malcolm Peel แปลและเรียบเรียงโดย จินดารัตน์ บวรบริหาร เป็นหนังสือฝึกการพูดต่อหน้าผู้อื่น หรือการพูดในที่ชุมชน โดยผู้เขียนแนะนำวิธีการฝึกพูดในแต่ละวัน

พูดโดนใจใน 7 วัน
พูดโดนใจใน 7 วัน

วันอาทิตย์: การเตรียมความพร้อมในการพูด

การเตรียมความพร้อมในการพูด  ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในเรื่อง การวิเคราะห์โอกาสในการพูด การทำความรู้จักผู้ฟัง การศึกษาสถานที่ในการพูด และการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของคุณ

ในเรื่องของการวิเคราะห์โอกาสในการพูด นั้นผู้เขียนได้จัดทำรายการสำหรับการวิเคราะห์โอกาสในการพูดไว้ เช่น องค์กรใดที่จัดงาน วัตถุประสงค์ในการจัดงาน ลักษณะของงาน เวลาในการพูด การแต่งกาย เป็นต้น

การทำความรู้จักผู้ฟัง โดยประเมินจากรายการ เช่น จำนวนของผู้ฟัง เหตุผลในการเข้าฟัง เป็นต้น

ศึกษาสถานที่ในการพูด ควรได้มีการศึกษาสถานที่ที่จะไปพูด เพื่อจะได้มีการเตรียมอุปกรณ์ หรือเจ้าของงานได้เตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และเมื่อไปถึง ควรได้มีการทดลองอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย โดยมีรายการที่ควรตรวจสอบ ได้แก่ วิธีการเดินทาง เวลาที่ใช้ในการเดินทาง ต้องพูดบนเวที หรือมีโพเดียม ระบบเสียง ตำแหน่งของการจัดอุปกรณ์การแสดงภาพ เป็นต้น

กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน ผู้พูดต้องทำการบ้าน โดยกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการพูดอย่างแม่นยำและตรงกับหน่วยงานที่เชิญไปพูด Continue reading พูดโดนใจใน 7 วัน

พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก ( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

หนังสือเรื่อง พูดอย่างมั่นใจ ต้องใช้ Keyword ไม่ยาก

( Easy guide : speak like professional by keyword technique)

เขียน โดย ทวีวรรณ กมลบุตร

book

เป็นหนังสือที่อ่านสบายๆ ได้แนวทางในการพูด โดยการแนะนำการใช้  keyword ให้สื่อถึงเรื่องที่พูด  เข้าใจ และจดจำง่าย อาทิ เช่น พูดเรื่องเกี่ยวกับการบริการ จะมีส่วนของ Intro, Body และ Conclusion ดังนี้

Intro     ตั้งหัวข้อก่อน เช่น “สร้างรอยยิ้ม เพิ่มเสน่ห์บริการ”
Body    คิดคำ Keyword ก่อน แล้วค่อยขยาย เช่น
ยิ้มแย้ม           == ยิ้มต้อนรับ ทักทาย ยินดีที่ได้พบลูกค้า
ยืดหยุ่น          == ยืดหยุ่นการทำงาน บริการได้ทุกสถานการณ์
ยอดเยี่ยม      == ยอดเยี่ยมด้วยการพูด ดูแล เอาใจใส่ สร้าง                                                                      ความประทับใจทุกจุดสัมผัสบริการ                          Conclusion   การสรุป   เช่น “สร้างความประทับใจ ทุกจุดสัมผัสบริการ”

นอกจากนี้ผู้เขียนยังแนะนำการลดการตื่นเต้น สั่น และอื่นๆอีก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของครั้งแรกในการพูด   รวมทั้งการใช้น้ำเสียง การใช้ภาษาตา การใช้ภาษามือ การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้คำถาม การเตรียมตัวก่อนพูด
การเตรียมพร้อมข้อมูลสำหรับคำถาม ฯลฯ ติดตามอ่านได้จากห้องสมุดนะคะ Call no. LANG&LIT PN 2013 632792

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ  (Presentation Techniques)
เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Presentation Techniques) โดย ณัฐพงศ์ เกศมาริษ ได้รวบรวม เรียบเรียง เทคนิคการใช้เครื่องมือ เครื่องอุปกรณ์ ประกอบการนำเสนอ รวมทั้งเทคนิคการใช้สื่อประเภทต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ และความประทับใจ รวมไปทั้งเทคนิคการใช้กิริยาท่าทาง หรือภาษากายที่สุภาพและน่าเชื่อถือ โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน

ตอนแรกในส่วนก่อนเข้าสู่รูปแบบการนำเสนอ โดยในการนำเสนอประกอบด้วย องค์ประกอบหลักได้แก่ ผู้นำเสนอ กลุ่มผู้ชม-ผู้ฟัง และสื่อหรือข้อมูล ต่อจากนั้น เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ การรู้ข้อมูลผู้ชม-ผู้ฟัง การเตรียมประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน และเพียงพอ และการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง ส่วนเทคนิคที่จะสามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ ได้แก่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ การจัดหมวดหมู่ ปัญหา-สาเหตุ-ทางแก้ เทคนิค “ชักแม่น้ำทั้งห้า” เทคนิคการเปรียบเทียบข้อแตกต่าง เทคนิคการใช้ตัวเลข และ เทคนิคการใช้ตัวอักษร

ตอนที่ 2 เป็นเรื่องของการเตรียมตัว มีการเปิดการนำเสนออย่างไร เนื้อหาหลักควรประกอบด้วยอะไรบ้าง และการกล่าวสรุป และเทคนิคการยกตัวอย่างประกอบ รวมทั้งการใช้สื่อช่วยในการนำเสนอ

ตอนที่ 3 เป็นการเตรียมตัว การพิมพ์หรือเขียนบท การพูด การใช้มือและท่ายืน การแสดงออกทางสีหน้า การแต่งกาย

Infographic- ทางเลือกใหม่ในการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุด

Infographic คืออะไร?

ภาพประกอบจาก Infograpghicthailand.com
ภาพประกอบจาก Infograpghicthailand.com

Infographic หรือ Data / Information + Graphic คือ การสื่อสารโดยใช้ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ข่าวสาร หรือความรู้ โดยมีหลักการคือ ข้อมูลที่เรามีอยู่มหาศาลจะทำอย่างไรให้เข้าใจง่ายในเวลาอันจำกัดและเห็นภาพอย่างชัดเจน

การใช้ Infographic กับห้องสมุด 

TU Library

ในปัจจุบันการใช้ Infographic เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นองค์กรรัฐหรือเอกชน ในการนำเสนอข้อมูลหรือองค์ความรู้ขององค์กร และการประชาสัมพันธ์ต่างๆ เนื่องจากผู้บริโภคมักจดจำสื่อรูปภาพได้ง่ายกว่าสื่อที่เป็นข้อความเพียงอย่างเดียว ห้องสมุดก็สามารถใช้ Infographic ในการสื่อสารกับผู้ใช้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวันนี้ผู้เขียนจะแนะนำวิธีการสร้าง Infographic แบบง่ายๆ สำหรับห้องสมุดกันค่ะ

Continue reading Infographic- ทางเลือกใหม่ในการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุด