Category Archives: Training the trainers CoP

วิทยากรแนะนำฐานข้อมูล : ประสบการณ์จากหอสมุดป๋วยฯ

ขอแชร์ประสบการณ์ของการเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และโปรแกรมช่วยการวิจัยของสำนักหอสมุด ในมุมของผู้เขียนเองที่ทำหน้าที่นี้มาประมาณ 7 ปีแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมตัวทุกครั้งก่อนจะออกไปสอน คือ

284817_10150262572679916_2542849_n

1) ต้องมีความรู้ในเรื่องที่เรากำลังจะถ่ายทอด จะต้องหมั่นศึกษาฐานข้อมูลและโปรแกรมช่วยการวิจัยต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ คอยตรวจสอบว่าฐานข้อมูลมีการอัพเดทหรือไม่ ถ้ามีการอัพเดทก็จะต้องเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อเรามีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างดีแล้ว ก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจในการแนะนำผู้ใช้ต่อไป

2) ต้องลำดับเนื้อหาในการฝึกอบรมให้มีความต่อเนื่อง ไม่กระโดดข้ามเนื้อหาไปมา เพราะจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสับสนในเนื้อหาได้

3) จะต้องเป็นคนถ่ายทอดเป็น อันนี้สำคัญที่สุดเนื่องจากการวัตถุประสงค์ของการสอนการใช้ฐานข้อมูล ก็เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมนั้น สามารถใช้ฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นข้อมูลได้ด้วยตนเองหลังจากจบการฝึกอบรมไปแล้ว หน้าที่ของวิทยากรคือการพูดเรื่องที่เข้าใจยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย ต้องพูดจาฉะฉาน จุดเน้นอยากจะเน้นเป็นพิเศษก็ใช้น้ำเสียงให้หนักเบาช่วยได้ ที่สำคัญอย่าพูดเร็ว เพราะผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะตามไม่ทัน

4) ในขณะที่สอนก็ต้องดูท่าทีของคนที่รับการอบรมว่ามีท่าทางอย่างไรบ้าง กำลังง่วงเหงาหาวนอนหรือสนใจฟังในสิ่งที่เรากำลังอธิบาย ถ้าหากว่ากำลังง่วง เราก็อาจจะต้องพักเบรกเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ผ่อนคลายอิริยาบถบ้าง ถ้าหากคลาสไหนเป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ อันนี้ต้องประสานกับผู้ช่วยวิทยากรให้ดีว่าผู้รับการฝึกอบรมตามทันหรือไม่

154547_469952459915_8301989_n

5) จะต้องมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ผู้เข้ารับการอบรมบางคนหัวไว เรียนรู้เร็ว แต่บางคนอาจจะไม่เข้าใจ ต้องมีการซักถาม หรือขอให้เราอธิบายอีกที ตรงนี้คนเป็นวิทยากรก็จะต้องเป็นคนที่ใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจเมตตา ไม่หงุดหงิดที่จะต้องอธิบายเนื้อหาซ้ำๆ

284198_10150262572644916_6577669_n

6) ยอมรับในความเป็นตัวเองและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเป็นวิทยากร กล่าวคือ ถ้าธรรมชาติของเราไม่ใช่คนตลก แต่เราอยากจะลองตลกดูบ้างเพื่อสร้างบรรยากาศของการฝึกอบรมให้มีความสนุกสนานและเป็นกันเอง ซึ่งตรงนี้ต้องระวังให้ดี ถ้าเราทำตลกได้ไม่แนบเนียน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจจะดูออกว่าเรากำลังฝืนทำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ดีเท่ากับการที่เราสอนในรูปแบบที่เป็นตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น บุคลิกภาพของเราเป็นคนจริงจัง มีมาดของนักวิชาการ เราก็สามารถเป็นวิทยากรในรูปแบบวิชาการได้ แต่ก็ต้องระวังอย่าให้เคร่งเครียดจนเกินไป มิฉะนั้นบรรยากาศของห้องเรียนจะดูเข้มข้นจริงจัง ชวนให้เบื่อหน่าย

เมื่อสอนเสร็จแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษก็คือ comment ของผู้รับการฝึกอบรมที่เราสามารถจะนำมาปรับปรุงเพื่อให้การเป็นวิทยากรในครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องบอกว่า comment นี้มีประโยชน์มากๆ
ผู้เขียนเองก็เคยได้นำ comment มาปรับใช้กับตัวเองอยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปีแรกๆ ของการฝึกเป็นวิทยากร comment ที่จะได้รับเสมอคือ พูดเร็วเกินไป ตามไม่ทันค่ะ เราก็จะรู้ว่าต่อไปเราจะต้องพูดช้าๆ ชัดๆ ซึ่งก็ได้ผลดี เพราะตอนนี้ไม่มี comment เรื่องพูดเร็วแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นคำชมมากกว่า เช่น วิทยากรน่ารักจังค่ะ อธิบายดีมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มากเลย ฯลฯ เชื่อว่าถ้าใครเป็นวิทยากรและได้รับ comment แบบนี้ก็คงจะทำให้กำลังใจและอยากทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

ส่วนตัวมองว่าการทำอะไรก็ตาม ถ้าหากเราหมั่นฝึกฝน เราจะเกิดความชำนาญในสิ่งนั้นเอง จากที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นวิทยากรไม่ได้ ทุกวันนี้ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่ง อาจจะยังไม่ดีที่สุด แต่ก็จะพยายามฝึกฝนต่อไป สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจเล็กๆ ให้กับทุกคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็นวิทยากรต่อไปนะคะ Fighting!!!

ตกม้าตาย เพราะทำการบ้านไม่ดีพอ

เป็นวิทยากรหรือผู้พูด ก็สามารถตกม้าตาย หรือไม่ประสบผลสำเร็จในการพุด (แต่ละครั้งหรือจะรู้สึกฝืด) เหมือนกัน ถ้ามีการเตรียมตัวไม่ดีพอ หรือพูดง่าย ไม่ทำการบ้านมาดีพอ เพราะกลุ่มผู้ฟัง มักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือผู้พูดเองก็ควรจะได้มีการทบทวนสไลด์ที่ใช้พูด มีการปรับแก้ไข โดยการเพิ่ม หรือลด ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมาย คุณเคยรู้สึกมั้ยว่า การพูดวันนี้ ยังไม่ดีพอ ถ้าเตรียมประเด็นนั้น โน่น นี่ มาก็จะทำให้สมบูรณ์ และน่าจะโดนใจ หรือจะทำให้การพูดในครั้งนี้ สนุกยิ่่งขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าประมาท พูดหัวข้อเก่า ยังไงก็ได้ ควรได้มีการเตรียมสไลด์หรือบทเรียนทุกครั้งก่อนจะขึ้น

คิดด้วยภาพ

การนำเสนอด้วยภาพ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะถ่ายทอดความคิดของผู้นำเสนอออกไปถึงผู้รับฟัง ผู้อ่าน เห็นและเข้าใจความคิดที่ผู้พูดหรือผู้นำเสนอต้องการสื่อสารออกไป แต่การนำเสนอด้วยภาพ จะต้องถูกกรองด้วยการคิดด้วยภาพ การคิดและนำเสนอด้วยรูปภาพ ทำให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเข้าใจง่าย

หนังสือ เรื่อง คิดด้วยภาพ หรือ Think in Pictures ให้แนวคิดพื้นฐานในการคิดด้วยภาพ รวมทั้งให้คำแนะนำว่า ควรจะใช้เครื่องหมายแต่ละชนิดแทนความสัมพันธ์แบบใด พร้อมนำเสนอและสื่อสารความคิดในการทำงานด้วยรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ

การนำเสนอด้วยภาพ
การคิดเสนอด้วยภาพ

 

คิดด้วยภาพ หรือ ชื่อในภาษาญี่ปุ่น ว่า Zukai Suru Shikoho เขียนโดย นิชิมูระ คัตสึมิ แปลและเรียบเรียงโดย ประวัติ เพียรเจริญ  น่าหามาอ่านเพื่อจะได้แนวทางในการนำเสนอที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การฆ่ากันกลางอากาศ

เมื่อยังเป็นผู้ช่วยวิทยากร ในชั้นเรียนที่เป็นการสอนการใช้โปรแกรมนั้น พวกเราได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยวิทยากร เริ่มต้นตั้งแต่การดูแลอุปกรณ์การสอนให้พร้อมใช้ การดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในสภาพที่จะเรียนได้ หรือแม้แต่ความพร้อมในการลงโปรแกรมบางอย่างเพื่อการเรียนการสอน ก็ต้องถุกเตรียมการไว้อย่างเนิ่นๆ ไม่เกิดความขลุกขลักเมื่อวิทยากรเริ่มสอน ดุแลแม้กระทั่งการลงชื่อ การรับประทานอาหารว่าง การควบคุมเวลา การเดินดูคนเรียนในชั้นเรียนเมื่อวิทยากรเริ่มสอน ว่าใช้โปรแกรมทันตามที่วิทยากรสอนหรือไม่ ถ้ายังตามทัน วิทยากรผู้ช่วยอย่างเรา ก็ขอพักขาบ้างเถอะ แต่วิทยากรรุ่นพี่ บางทีก็มองว่า เราไม่ยอมลุกเดินเพื่อดูแลชั้นเรียน ฆ่ากันกลางอากาศด้วยคำพูดทีว่า “วิทยากรผู้ช่วย ช่วยลุกเดินบ้าง” ผู้ช่วยตัวเล็กอย่างเรา รีบลุกแทบไม่ทัน เพิ่งได้นั่งนะเนี่ย

ความจริงการพูดแบบนั้น ทำให้ฟังแล้วรู้สึกว่า โดนตำหนิค่ะ แต่ด้วยความที่เราเป็นเด็ก ก็เลยต้องยอม หลังจากเสร็จอบรมแต่ละวัน ขาเดินแทบไม่ได้เลยค่ะ ใส่ส้นสูงอีกต่างหาก เป็นการฝึกความอดทน ได้ดีจริงๆ

การตอบคำถาม ที่ตอบไม่ได้

ตอนเริ่มเป็นวิทยากร ด้วยประสบการณ์ที่ยังน้อยนิด เคยโดนคำถามที่ตอบไม่ได้ ทำให้เสียความมั่นใจไปเลย ว่าทำไมตอบในเรื่องที่เราสอนไม่ได้ มาหารือกับวิทยากรรุ่นพี่ ได้รับความสบายใจกลับไปว่า เป็นเรื่องปรกติที่เราอาจจะตอบคำถามทุกคำถามไม่ได้หรอก โดยเฉพาะการสอนโปรแกรมบางโปรแกรมที่บางที เราเองก็ยังไม่เคยเจอกรณีหรือโจทย์ที่ผู้เข้าอบรม หรือผู้เรียนสอบถาม แต่เราจะมีวิธีการตอบอย่างไรกลับไปมากกว่า ที่เราเองก็ไม่เสียหน้า หรือเสียความมั่นใจและผู้เรียนหรือผู้อบรม เองก็ไม่รู้สึกว่า เรารู้ไม่จริงหรือเปล่า

การตอบคำถามในกรณีเช่นนี้ จะสามารถตอบได้ว่า ประเด็นนี้หรือโจทย์นี้ ยังไม่เคยพบเหมือนกัน จะขอรับไปศึกษา และขอเบอร์โทรศัพท์ หรือสถานที่ติดต่อกลับไป เพื่อได้รับคำตอบแล้ว คำตอบประมาณนี้ จะเป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง ลองดูค่ะ

เริ่มต้นการเป็นวิทยากร

ยังจำเหตุการณ์ตอนที่ผู้บริหาร มอบหมายให้ไปเป็นวิทยากรได้เป็นอย่างดี หลังจากที่เป็นวิทยากรผู้ช่วยมาได้ประมาณ ปีหรือสองปี แล้ว เพราะวิทยากรตัวหลักลาออก ก็เลยได้ร้บมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน คำพูดที่เป็นคำตอบให้กับผู้บริหาร ก็คือ ทำไม่ได้ค่ะ แต่ผู้บริหารท่านนั้น ก็ยืนยันว่า เราทำได้ เป็นอันว่า สุดท้ายก็ต้องเป็นวิทยากรตัวจริง และเป็นวิทยากรตัวเล็กที่สุดในกลุ่มวิทยากรรุ่นนั้น

วิทยากร ต้องออกไปอยู่หน้าชั้นเรียน พูด และสอน หรือสื่อสารเนื้อหาที่ผู้เข้าอบรมรอฟังจากวิทยากร ช่างน่ากลัว จริงๆ เราจะพูดได้หรือ แล้วถ้ามีคนถาม เราจะตอบได้หรือเปล่า ทำอย่างไร นอนไม่หลับไปหลายคืน กลัวสารพัด กลัวว่าจะรู้ไม่มากพอที่จะไปสอน กลัวว่าจะพูดไม่รู้เรื่อง กลัวว่าจะคุมชั้นเรียน หริอคุมห้องอบรมไม่ได้ เป็นต้น

ต้องแก้ปัญหาความกลัวทีละข้อ

  1. กลัวรู้ไม่มากพอที่จะไปสอน ผู้บริหารบอกว่า เรารู้มากกว่าคนที่มาเรียนอยู่แล้ว เพราะถ้าคนเรียนรู้มากกว่า คงไม่เสียเงินมาเรียน
  2. กลัวพูดไม่รู้เรื่อง ใช้วิธีคิดคำพูดหรือเนื้อหาที่จะพูด แล้วมายืนพูดหน้ากระจก หรือมาพูดให้คนอื่นฟัง และขอความคิดเห็น
  3. กลัวคุมชั้นเรียนไม่ได้ ให้สอนอย่างเดียวตามขั้นตอน และพยายามให้คนเรียนทำตามที่เราสอนหรือพูดทีละขั้นตอน (เผอิญวิชาที่ได้รับมอบหมายให้สอนเป็นโปรแกรมห้องสมุด การกลัวที่จะผู้เรียนตามไม่ทัน แล้วก็จะวุ่นวาย โต๊ะนั้นตามทัน โต๊ะอื่นๆ ตามไม่ทัน ความโกลาหล จะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ)

พอตั้งสติได้ ปัญญาก็เกิด เริ่มเตรียมตัวเราเองเป็นอย่างดี ชีวิตการเป็นวิทยากรก็เริ่มต้นต้้งแต่นั้นมา และสั่งสมประสบการณ์การสอนมากขึ้นตามลำดับ ชั่วโมงบินสูงขึ้นเรื่อยๆ ขอบคุณผู้บริหารที่ให้โอกาสที่ดี ขอบคุณพี่วิทยากรที่ลาออก ทำให้มีที่ว่างให้ตัวเองได้ค้นพบความสามารถอีกอย่างหนึ่งของตัวเอง และขอบคุณความพยายามของตัวเอง

กิจกรรมการเสริมความรู้ด้วย WordPress

วันที่ 7 ตุลาคม 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมเสริมความรู้  เรื่อง “การเสริมความรู้ด้วย WordPress” ให้กับสมาชิกของชุมชนนักปฏิบัติ 2 ขุมชน ได้แก่ Digital และ Training the trainers จำนวน 30 คน แต่ละท่านได้นำบทความที่เตรียมพร้อมมาแล้ว นำขึ้น เว็บไซต์ KM ของสำนักหอสมุด  ซึ่งล้วนแต่เป็นบทความที่น่าสนใจ  น่าติดตามอ่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวนทุกท่านแวะเข้ามาอ่านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเพิ่มเติมประสบการณ์กันนะคะ

สไลด์ประกอบการบรรยาย

 

 

 

 

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques)

เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques) โดย อาจารย์ จรีพร กิตติวิมล ได้เสนอแนะวิธีและเคล็ดลับต่างๆ ในการนำเสนออย่างมืออาชีพ ดังนี้

Continue reading เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques)

Presentation strategies

ขอนำแนวทางในการตรวจสอบตนเองในการพูดหรือนำเสนอ แม้ว่าจะได้แนวทางนี้จากการฝึกพูดภาษาอังกฤษก็ตาม แต่เทคนิคเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเตรียมการพูดหรือนำเสนอโดยทั่วไปได้ค่ะ (Guidelines for checking own progress in making presentation in English)

Part I: Write 3 (often), 2 (sometimes), 1 (never)

  1. I practice English almost everyday?
    – I listen to the news in English
    – I read aloud or speak English
    – I write something in English
  2. I check website or read books to find new ideas.
  3. I identify the audience before I prepare my presentation.
  4. I write and rewrite my presentation a couple of times.
  5. I rehearse before I give a presentation, trying to stress or pause before important issues.
  6. I check the venue and equipment before I give a talk.
  7. I take a deep breath before I walk to the podium.
  8. I visualize myself doing a good presentation.
  9. I tell myself that I can do it well as I am well prepared.
  10. I do a small talk with some of the audience to establish human touch.
  11. I make a good start by starting with a problem.
  12. I capture the audience’s interest by telling them our success story.
  13. I prepare the audience by outlining the key areas I will talk about.
  14. My presentation has clear introduction, body and ending.
  15. I sum up key areas I have covered and strongly propose a course of actions.
  16. I believe in my ideas and speak with enthusiasm.
  17.  I stress or pause before the important points.
  18.  My voice is loud and clear.
  19.  I use visuals to support my talk (ie;…………………)
  20.  I maintain eye contact with audience.
  21. The audience understand the points I want to make.

Part II:

  1. If I have to rate my presentation I will give it 1/2/3. 1 for needing improvement. 3 for very good.
  2. If you rate 1 or 2, please specify areas you need to develop; (prioritize 1,2,3)
    ______general English proficiency
    ______pronunciation
    ______presentation skill
    ______strategies for building up confidence
    ______other………………………………