Tag Archives: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)

วันนี้ (15 กันยายน 2558)  เป็นวันสุดท้ายของหลักสูตร โดยสมาชิกของ Digital Literacy และ Training the Trainers แต่ละคนได้จัดทำสไลด์หรือ
นำอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อมานำเสนอในชั้นเรียน มีการแจ้งหัวข้อ พร้อมสาระสังเขป ก่อนที่จะนำเสนอ โดยก่อนที่จะถึงวันนำเสนอจริง วิทยากรได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สมาชิกมีการเตรียมตัวอย่างเต็มที่

Following are the web resources that can help you achieve an effective presentation.

1.  Stress   Unlike Thai language which is mono syllabic, meaning that all syllables are stressed,  English has stress patterns and intonation which you need to follow  https://www.youtube.com/watch?v=bX-_YSDM7ic

Assignment 1. After your view the video, go back to the article, the Characteristics of the librarian and information Professionals in the web 2.0 era, identify the words used frequently in your profession.  Then learn to stress them properly Continue reading ENGLISH COMMUNICATION FOR LIBRARIANS AND INFORMATION PROFESSIONALS (EC-LIP) (ตอนที่ 6)

ทำไมนักศึกษายุคใหม่? ถึงชอบศูนย์การเรียนรู้

                  

421137152_1
ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์

จากการสุ่มสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาบางส่วนที่มาใช้บริการ ณ ศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในระหว่างวันที่  1 -30 กันยายน 2558 มีดังนี้

  • ดีเพราะเงียบดี  ดูใหม่  น่าใช้ คนน้อย แอร์เย็น วิวดี
  • ห้อง Tutoring Room ใหญ่  มีกระดานที่เขียนใหญ่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ปลั๊กไฟ  อินเทอร์เน็ตแรง และสภาพแวดล้อมมีความเป็นส่วนตัว
  • โซฟาใหญ่มากน่านอน         
  • พื้นที่สะอาด เสียงไม่ดัง มีคอมพิวเตอร์มาก และ iPad  และชอบเครื่อง MAC
  • สะดวก ใช้เป็นสถานที่นัดพบ
  • โรงหนังมีเบาะ  มีหนังให้ดู
  • ตึกสวย มีที่จอดจักยาน พร้อมร้านกาแฟ           
  • ดูสบายตาดี

    นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ศูนย์การเรียนรู้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักศึกษายุคใหม่  และบอกต่อๆ กันว่าที่ศูนย์การเรียนรู้ มีอะไรดีๆ นักศึกษาถึงชอบมาทำกิจกรรมรวมกัน และเชื่อว่าสิ่งดีๆ เหล่านี้จะมีการพัฒานาให้ดียิ่งๆขึ้น
    ผู้จัดทำขอขอบคุณนักศึกษาทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดีและหวังว่าในโอกาสหน้าจะได้รับความอนุเคราะห์ในครั้งต่อไป

การให้บริการนักศึกษาต่างชาติของหอสมุดปรีดี พนมยงค์

IMG_6646 (1)

นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แบ่งได้เป็น  3  ประเภท  คือ

1.  เรียนแบบรับปริญญา มีตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-เอก บริการที่ได้รับจะเหมือนกับนักศึกษาไทยในระดับเดียวกัน  รวมทั้งอายุสมาชิกกำหนดเป็นปีการศึกษา

2 .  เรียน 1หรือ2 ภาคการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนของโครงการในคณะ หรือวิทยาลัย   อายุสมาชิกกำหนดเป็นภาคการศึกษา เช่นนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) ของวิทยาลัยนานาชาติปรีดี  พนมยงค์   ซึ่งจะมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนทุกภาคการศึกษา

3.  เรียน 1 เดือน เป็นภาคฤดูร้อนของหลักสูตร Thai Studies (ไทยศึกษา) เรียนในช่วงเดือนกลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม  บัตรนักศึกษาใช้เข้าห้องสมุดได้อย่างเดียว  ยืมออกไม่ได้

บริการที่ได้รับจากห้องสมุดสำหรับผู้ที่เรียนตั้งแต่ 1ภาคการศึกษา  มีบริการยืม-คืน  ยืมต่อทางInternet  บริการจองหนังสือ บริการยืมระหว่างห้องสมุด    การสืบค้นข้อมูล (สำหรับผู้เรียนระยะสั้นและบุคคลทั่วไป)

IMG_05082015_135704    IMG_05082015_135823IMG_05082015_135334
การจัดทำข้อมูลนักศึกษาเพื่อให้บริการได้

1.  นักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา สำนักทะเบียนฯจะโอนข้อมูลของ                นักศึกษามาให้ห้องสมุดหลังจากการลงทะเบียน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเข้าฐานข้อมูลสมาชิกในโปรแกรมการยืมอัตโนมัติKOHA   นักศึกษาสามารถใช้บัตรประจำตัวนักศึกษายืมหนังสือ  ยืมต่อ/จองหนังสือได้ จนถึงวันที่หมดอายุสมาชิก

2.  นักศึกษาที่เรียนเป็นภาคการศึกษา เจ้าหน้าที่ของโครงการฯจะส่งรายชื่อนักศึกษา พร้อมเลขประจำตัวมาให้  ผู้ให้บริการจะต้องบันทึกข้อมูลของนักศึกษาเหล่านี้เข้าฐานข้อมูลสมาชิกเอง  ในส่วนของที่อยู่  หรือemail  จะบันทึกที่อยู่ และ emailของโครงการฯ  ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในโครงการฯ/หมายเลขโทรศัพท์  เพื่อใช้ในการติดต่อกรณีนักศึกษามีปัญหา   สำหรับวันหมดอายุสมาชิกจะกำหนดไว้เป็นวันสุดท้ายของการสอบ  คือภาคการศึกษาที่1 เป็นกลางเดือนพฤษภาคม  ภาคการศึกษาที่2 เป็นกลางเดือนธันวาคม

การตรวจสอบหนี้สินและการติดตามการค้างส่ง

1.   ตรวจสอบการค้างส่งหนังสือ ทำ15วัน/ครั้ง หากพบว่ามีการค้างส่งจะส่งemail ทวงถามไปที่นักศึกษา (ในกรณีเรียนแบบรับปริญญา)   หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ตามนักศึกษามาส่งหนังสือคืน

2.  หากทวงไปแล้วไม่มาติดต่อ ในกรณีนักศึกษาที่เรียนแบบรับปริญญา  จะทำการล็อคการขึ้นทะเบียนบัณฑิตในระบบของสำนักทะเบียน   ส่วนผู้ที่เรียนเป็นภาคการศึกษาจะติดต่อเจ้าหน้าที่ของโครงการฯให้ระงับการออกหนังสือสำคัญจนกว่านักศึกษาจะส่งคืนหนังสือ

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฯ

4
คณะรองอธิการบดีด้านการคลังและทรัพย์มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งประเทศไทยถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก

คณะรองอธิการบดีด้านการคลังและทรัพย์มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งประเทศไทย จำนวนกว่า 20 คนได้มาเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต ในฐานะแหล่งบริการสารสนเทศและสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของมหาวิทยาลัย โดยมี น.ส.แจ่มจันทร์ นพบุตรกานต์ หัวหน้าหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ คอยให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา Continue reading คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฯ

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรและอาจารย์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรและอาจารย์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 จัดทำขึ้นเพื่อให้บุคลากรและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี สำนักในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ สร้างความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นที่ยอมรับยกย่องจากบุคคลทั่วไป ประกอบด้วย

หมวดที่ 1 จรรยาบรรณและการรักษาจรรยาบรรณ ครอบคลุม ส่วนที่ 1 จรรยาบรรณาต่อตนเอง และวิชาชีพ ส่วนที่ 2 จรรยาบรรณต่อการปฏิบัติงานและหน่วยงาน ส่วนที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ส่วนที่ 4 จรรยาบรรณต่อนักศึกษา ผู้ร้บบริการ ประชาชน และสังคม ส่วนที่ 5 จรรยาบรรณของอาจารย์ ส่วนที่ 6 การกระทำความผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง

หมวด 2 การดำเนินการทางจรรยาบรรณ

หมวด 3 การส่งเสริมจรรยาบรรณ

หมวด 4 หลักเกณฑ์และวิธีการลงโทษทางจรรยาบรรณ

หมวด 5 การอุทธรณ์

หมวด 6 บทเฉพาะกาล

ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554 อ่านรายละเอียดได้ที่ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรและอาจารย์ พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

สำนักหอสมุด ร่วมงาน 81 ปี แห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันที่ 27 มิถุนายน 2558 บุคลากรสำนักหอสมุด ร่วมงาน วันสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 81 ปี ในโอกาสนีมหาวิทยาลัยได้กำหนดจัดงานที่ระลึก มีพิธีทำบุญ ตักบาตร พระสงฆ์ จำนวน 82 รูป  พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีการยกย่องเชิดชูเกียรติคุณให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยในคราวเดียวกัน ในการนี้ นางสาวศิริพร  อัญญณรงค์กุล กรรมการประจำสำนักหอสมุดฯ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติประเภทศิษย์เก่าดีเด่น

TU1

 

TU2

 

138878

138954

143480

มะหมา 4 ขาครับ

นี้ไม่ใช่ละคร ไม่ใช่หนัง ไม่ใช้สแตนอิน ไม่ใช้เอฟเฟค แต่เป็นเรื่องจริง ตัวจริง เสียงจริง โฮ่ง โฮ่ง แฮ่ กล่าวถึงเจ้า 4 ขา เพื่อนที่แสนดีของเรา ทุกที่มีเจ้าพวกนี้อยู่เต็มไปหมด ไม่เว้นแม้แต่ในที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีอยู่ 2 ตัว ที่ทุกคนในหมาวิทยาลัยรู้จักดี คือ แซม และแดง แซมเป็นหมาลายจุดดำ ขาว เจ้าแดงเป็นหมาขนสั้นสีน้ำตาลอมแดง จริงๆ แล้วข้าพเจ้าและเพื่อนเรียกเจ้าแดงว่าเขียว มิน่าล่ะเรียกเท่าไหร่ก็ไม่ยอมหันมาหาเรา เรียกชื่อเขาผิดนี้เอง แซมและแดงเป็นหมาแสนรู้ พวกเขาจะนอนที่ลานโพธิ์ท่าพระจันทร์ มีลุงยาม (รปภ.) เป็นคนดูแลพวกเขา เมื่อถึงเวลาที่ รปภ.ต้องเข้าแถวตอนเช้า แซมและแดงก็จะไปเป็นผู้ตรวจแถว รปภ. ใครยืนไม่ตรงเขาก็จะเดินไปเห่า พอถึง 08.00 น. และ 18.00 น. ได้ยินเสียงเพลงชาติพวกเขาก็จะหอนตามจนเพลงชาติจบ คนที่ไม่ยืนเคารพธงชาติ ขอถามว่าอายหมาไหม๊ รปภ.ทุกคนไม่มีใครที่ไม่รู้จักเจ้า 2 ตัวนี้ เมื่อลุงยามเดินไปซื้อของที่ 7eleven แซมก็ตามไปด้วยแถมได้ของกินติดปากมาด้วย แซมเข้า ออก แบบนี้บ่อยๆ จนพนักงาน 7eleven คุ้นเคย วันดีคืนดีก็ไปนอนหน้าเคาร์เตอร์ แล้วก็ได้ของกินติดปากออกมาอีกตามเคย มีอยู่ครั้งหนึ่งเพื่อนของข้าพเจ้าเรียกเจ้าแซมให้เดินตามไปที่ 7eleven ก็เดินตามไปแต่ไม่ได้ของกิน เป็นแบบนี้อยู่ครั้งถึงสองครั้ง คราวนี้เรียกอีกเจ้าแซมก็ไม่ตามไปแล้ว สรุปคือเพื่อนของข้าพเจ้าติดทาโร่เจ้าแซมอยู่หลายครั้งเลยที่เดียว มีอยู่วันหนึ่งตอนเลิกงาน 4 โมงเย็น ข้าพเจ้าและเพื่อนเดินออกประตูทางด้านหอประชุมเล็ก คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เห็นเจ้า 4 ขา ไปกันเป็นกลุ่ม หัวหน้าฝูงคืนเจ้าแซม พวกเขาคงจะเรียนแบบมนุษย์ พากันยืนเป็นแถวเรียง 1 แซมจะข้ามทางม้าลายนำหน้าไปก่อน แล้วให้เพื่อนๆ เดินตามไป รถทุกคันจอดมองพวกเขาเดินไปจนหมด เป็นภาพที่น่ารักมากเลย เจ้าแซมเองก็ตรวจเพื่อนจนครบ แล้วก็พากันไปวิ่งเล่นที่สนามหลวงกันอย่างสนุกสนานตามประสา มะหมา 4 ขาครับ  แต่มาตอนนี้เจ้า โฮ่งๆ ของเราไม่มีแล้วพวกเขาถูกนำไปเลี้ยงมีเจ้าของเป็นตัวเป็นตน ณ ตอนนี้ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีเจ้า 4 ขาเหมือนกันแต่เป็นเจ้าเหมียว เหมียว หง่าว  แทน กำลังรอดูอยู่ว่าสักวันหนึ่งจะเห็นเจ้า เหมียว เหมียว หง่าว ตรวจแถว รปภ. อีกครั้ง

ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บุคลากรส่วนใหญ่จะทราบถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง แต่อาจจะไม่ทราบว่ามีสวัสดิการอะไรบ้างที่จะได้รับจากการปฏิบัติงานในระบบราชการ

สวัสดิการ คือค่าตอบแทนที่บุคลากรได้รับจากทางราชการนอกเหนือจากเงินเดือน เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดสวัสดิเป็นแบบตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ดังนี้

สวัสดิการที่เป็นตัวเงิน

  1. สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
    • เงินสมทบค่ารักษายาบาล
    • การตรวจสุขภาพประจำปี
    • จัดกระเช้าเยี่ยมผู้ป่วยซึ่งเป็นคนไข้ในโรงพยาบาล
  2. สวัสดิการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ช่วยเหลือค่าดอกเบี้ย)
  3. สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือการศึกษาบุตร
  4. สวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ
    • การประกันชีวิต อุบัติเหตุ
    • การประกันชีวิต อุบัติเหตุ และสุขภาพ ของพนักงานมหาวิทยาลัย และบุคคลในครอบครัว
  5. สวัสดิการช่วยเหลือค่าทำศพ
  6. เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ
  7. เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย)
  8. เงินช่วยเหลือค่าหน่วยกิตในการศึกษาต่อระดับปริญญาโท
  9. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  10. กองทุนประกันสังคม
  11. เงินช่วยเหลือค่าเครื่องแบบลูกจ้าง
  12. ของที่ระลึกเนื่องในวันเกิด
  13. เงินช่วยเหลือค่าแว่นตา (สำนักหอสมุดเป็นผู้ดำเนินการ)
  14. การรับบำเหน็จบำนาญ ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/web-new/record/htm/super.htm  http://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/web-new/record/htm/gratu.htm

Continue reading ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ ที่ใช้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน  บุคลากรที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานมหาวิทยาลัย จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของงานบุคลากร รับผิดชอบเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา โดยในส่วนงานที่ผู้เขียนรับผิดชอบนั้น ต้องตรวจสอบรายชื่อบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยทำบัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการซึ่งเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งต้องตรวจสอบและบันทึกประวัติการได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นแรกจนถึงชั้นปัจจุบันที่เสนอขอในแต่ละปี และเสนอไปทางมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการต่อไป Continue reading เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ เหรียญจักรพรรดิมาลา

ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ

วันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาสตาจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้แถลงต่อประชาคมธรรมศาสตร์ เรื่อง ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ในเวลา 12.30 – 16.00 น. ณ ห้อง SC 1002 อาคารเรียนรวมกลุ่มสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในการพูดเพื่อทำความเข้าใจ เรื่องการออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง โค้งสุดท้าย : ก่อนธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการ” ซึ่งก่อนหน้าที่ท่านอธิการบดีจะขึ้นพูดนั้น ได้มีการเชิญกรมบัญชีกลาง และ กบข. มาชี้แจงสิทธิผลประโยชน์ที่ข้าราชการจะได้รับ

ท่านอธิการบดีกล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ โดยเรียกกันทั่วไปว่ากฎหมายออกนอกระบบราชการหรือถ้าเรียกเป็นทางการคือมหาวิทยาลัยในกำกับ และขอแจ้งว่าการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกนอกระบบราชการไม่ได้หมายถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ต่อไป Continue reading ก้าวต่อไป : เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ