Tag Archives: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ยังคงยึดหลักตามแนวทางที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้มอบไว้ให้ ในการผลิตตำรา คือ การผลิตเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิชาการและเพื่อให้มีหนังสือดีๆ ให้แก่เยาวชนได้ใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนและศึกษาค้นคว้าในระดับอุดมศึกษา มิใช่การผลิตเพื่อหวังผลกำไร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้เปิดตัวเว็บไซต์มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่รวบรวมหนังสือ และตำราที่ผลิตทั้งหมดในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ http://textbooksproject.com/HOME.html ซึ่งในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นี้ ประกอบด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 12 ชุด ได้แก่ ชุดสรุปการสัมมนาประจำปี ชุดเพื่อนบ้านของไทยในอุษาคเนย์ ชุดประวัติศาสตร์ ชุดประวัติการเมืองไทย ชุดสิทธิมนุษยชน ชุดการศึกษา ชุดไทย-จีน ชุดไทย-ญี่ปุ่น ชุดสาละวิน-แม่น้ำโขง ชุดอยุธยา ภาษาต่างประเทศ และชุดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่่งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้แนะนำเป็นลำดับต่อไป

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี (600 years of Thai-Japanese Relationships)

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี
                ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี (600 Years of the Thai-Japanese Relationships)  เป็นหนังสือในชุดไทย-ญี่ปุ่น ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เขียนโดย อิชิอิ โยเนโอะ และ โยชิกาวะ โทชิฮาระ (Yoneo Ishii, Toshiharu Yoshikawa) แปลโดย พลับพลึง คงชนะ, มารศรี มียาโมโต และ อาทร ฟุ้งธรรมสาร เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ที่ยาวนานถึง 600 ปี  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่

ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

ควันหลงจากกิจกรรม รำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ณ โถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้น U 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา จะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์  ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้ริเริ่มขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้มีการผลิตตำราทางวิชาการภาษาไทยมีคุณภาพ โดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ Continue reading ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

llll สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน วันนี้บรรณารักษ์ตัวจิ๋วมีข่าวมาบอก……..
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาได้มีการประชุม แถลงข่าว “ผลวิจัย การอ่าน คนไทยอ่านอะไร” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ดำเนินการวิจัยโดย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและธุรกิจ ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) 

โดยผลสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทยภายใต้งานวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมการอ่านและซื้อหนังสือของคนไทย” โดยได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายอายุ 15-69 ปี รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,432 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ในประเทศไทย

พบว่า พฤติกรรมการอ่านโดยทั่วๆ ไป ของคนไทย ซึ่งรวมไปถึงตำราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นเช่นเว็บไซต์ ฯลฯ  ส่วนใหญ่ 88% ระบุว่า อ่าน อีก 12% ระบุ ไม่อ่านเลย โดยให้เหตุผลในเรื่องของการไม่มีเวลาอ่าน สายตาไม่ดี และไม่ชอบอ่านหนังสือ

150223102006yRhT

Continue reading รู้ทัน!!!! พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย (2557-2558)

แนะนำการอ่าน e-book ของ Ebscohost ผ่าน application Bulefire Reader

สำนักหอสมุดมีบริการ e-book ผ่านทางหน้าเว็บของ EBSCOhost  ซึ่งการที่ผู้ใช้จะโหลด e-book ไปอ่านได้นั้น นอกจากการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้แล้ว ผู้ใช้จะต้องมีเครื่องมือในการอ่านคือ

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ notebook จะต้องติดตั้งโปรแกรม Adobe Digital Editions 1.7.1 หรือสูงกว่า
  2. โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ smart phone, ipad, tablet ที่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Apple และ Android จะต้องติดตั้ง application สำหรับอ่าน e-book ที่ชื่อว่า Bluefire Reader
  3. เครื่องอ่าน Kindle

blog

ในบล็อกนี้ จะแนะนำการโหลดหนังสือผ่านทาง Bluefire Reader

IMGP2725
Continue reading แนะนำการอ่าน e-book ของ Ebscohost ผ่าน application Bulefire Reader

กฎการซื้อหนังสือ 3 ข้อ เพื่อกระชับพื้นที่ (บ้าน)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้ส่ง line มาแชร์ประสบการณ์เรื่องการซื้อหนังสือของอาจารย์ให้ฟัง เลยขออนุญาตอาจารย์เอามาแชร์กันต่อค่ะ

ด้วยความที่อาจารย์เป็นนักอ่านหรือนักอ่านโดยทั่วไป ก็อาจจะประสบปัญหาเดียวกับอาจารย์ คือ มีหนังสือเต็มบ้านจนไม่มีพื้นที่ อาจารย์จึงแจกหนังสือที่ไม่ค่อยได้อ่านหรือไม่เคยอ่านเลย ให้ลูกศิษย์หรือบริจาคให้ห้องสมุดหลายร้อยเล่ม เพื่อกระชับพื้นที่

อาจารย์ได้ตั้งกฎสามข้อในการซื้อหนังสือ ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว ค่ะ

  1. ถ้ามีเล่มจริงกับ E-book อาจารย์จะซื้อ E-book เท่านั้น โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ จะซื้อ Kindle เท่านั้น เพราะ E-book ไม่ใช้พื้นที่ ยกเว้นว่าหนังสือจริงมีสีหรือดีกว่า E-book มาก
  2. อ่านหนังสือเล่มละสองเที่ยว จากนั้นตัดสินว่า จะเก็บเล่มนั้นต่อไปหรือมอบให้คนอื่น ถ้าซื้อเล่มใดมาแล้ว ไม่เคยอ่านเกิน 1 ปีขึ้นไป ต้องมอบให้คนอื่นทันที
  3. ทุกครั้งที่ซื้อหนังสือใหม่มา 1 เล่ม ต้องบริจาคหรือมอบเล่มเก่าให้คนอื่น 1 เล่ม เพื่อให้มีพื้นที่ว่างเสมอ

 

เป็นอย่างไรบ้างค่ะ กฎสามข้อของอาจารย์เข้าท่าทีเดียวค่ะ สำหรับผู้หญิงก็อาจจะนำไปใช้ร่วมกับการซื้อเสื้อผ้าก็ได้นะคะ เพราะมันก็ทำนองเดียวกันค่ะ เต็มตู้

ขอบคุณ อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาลมากค่ะ ที่ช่วยแชร์ประสบการณ์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 9 นิทรรศการที่นำเสนอในการเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 12 มกราคม 2558

ปัจจุบันการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ (e-book) ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น นอกเหนือจากหนังสืออ่านทั่วไปแล้ว ขณะนี้หนังสือประกอบตำราเรียนและหนังสือวิชาการก็มีความต้องการใช้ในรูปแบบของ e-book มากขึ้นเช่นเดียวกัน ผู้ผลิตหรือสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือประเภทนี้ก็ได้เริ่มหันมาผลิต e-book หนังสือวิชาการเพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว
นอกเหนือจากการจัดพิมพ์หนังสือเล่มตามปกติแล้ว สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้เริ่มผลิต e-book ควบคู่กันไปด้วยตามความพร้อมและความสนใจของผู้เรียน โดยเริ่มจัดทำและจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 เป็นต้นมา สำหรับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ใช้หนังสือของสำนักพิมพ์ฯ ที่สำคัญมี 2 กลุ่มคือ 1) ผู้ใช้ตามสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานทางด้านการให้บริการทางการศึกษาและอบรม 2) ผู้ใช้ทั่วไป (individual) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ร่วมมือกับบริษัท iGroup จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีศักยภาพและประสบการณ์การขาย e-book ประเภทวิชาการ ทำการผลิตและจำหน่าย e-book ของสำนักพิมพ์ฯ ซึ่งขณะนี้มี e-book จำหน่ายแล้ว 33 ชื่อเรื่อง และกำลังทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนรายละเอียด e-book ของสำนักพิมพ์ฯ มีดังนี้

  1. ช่องทางการจำหน่าย
    จำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท iGroup คือ www.igpublish.com/tupress (ไม่ได้ผ่านทาง Application)
  2. กลุ่มเป้าหมาย
    – กลุ่มลูกค้าตามสถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เป็นการจำหน่ายแบบขายส่ง (แบบ batch) ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิดอ่านออนไลน์ได้ในหอสมุดของสถาบัน หรืออ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่สถาบันหรือหน่วยงานนั้นๆ เปิด IP Address หรือ User/Password ให้เข้าใช้
    – ลำดับต่อไปคือกลุ่มผู้อ่านทั่วไป (individual) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ซื้อใช้งานได้ 3 อุปกรณ์ (devices)
  3. รูปแบบของ e-book
    – เป็นไฟล์แบบ PDF (ขณะนี้ยังเป็น PDF แบบธรรมดา แต่สำนักพิมพ์ฯ และบริษัท iGroup กำลังจะพัฒนาให้มีการใส่ clip เสียง และเชื่อมโยงข้อมูลภายในที่เรียกส่า hyperlink เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานให้มากขึ้น ภายในกลางปี 2558 นี้)
    – ไฟล์งานได้รับการครอบลิขสิทธิ์ดิจิทัล (DRM) ที่ได้มาตรฐาน
    – ผู้ซื้อสามารถเปิดอ่านบน App Reader บนอุปกรณ์ของตนเอง หรืออ่านผ่าน iViewer ซึ่งเป็นเครื่องมืออ่านของบริษัท iGroup ก็ได้
  4. ราคาของ e-book
    – ราคาขายจะต่ำกว่าหนังสือเล่มประมาณร้อยละ 10-15

๑๐๐ ชื่อเรื่อง หนังสือคำสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

รายชื่อหนังสือคำสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑๐๐  ชื่อเรื่องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุดรวมรวบขึ้นมานี้เพื่อทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๘ โดยหนังสือคำสอนทั้ง  ๑๐๐ ชื่อเรื่องนี้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://beyond.library.tu.ac.th  ได้แก่  Continue reading ๑๐๐ ชื่อเรื่อง หนังสือคำสอนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

มหาวิทยาลัยในสมาร์ทโฟน

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้แนะนำแหล่งเรียนรู้ของอาจารย์ 2 แหล่งด้วยกันค่ะ อาจารย์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จาก Kindle เพราะข้อดี สามารถดาวน์โหลดหนังสือมาอ่านได้ฟรีก่อน เพื่อตัดสินใจว่า จะซื้อทั้งเล่มหรือไม่ และได้แนะนำการซื้ออีบุ๊กหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในราคาถูกให้อีกด้วยค่ะ คือ อาจารย์ให้ใช้คำว่า “Kindle Daily Deals”, “Kindle Countdown Deals”, “Kindle Monthly Deals” ค้นใน Google ดูจะได้รายชื่ออีบุ๊กที่ลดราคาเป็นพิเศษค่ะ อีกแหล่งหนึ่ง ที่อาจารย์ธงชัย แนะนำก็คือ การเรียนทางออนไลน์จากเว็บ www.Udemy.com เว็บ Udemy นี้สอนเนื้อหาต่างๆ ที่เน้นทักษะในการทำงาน เช่น ไอที การเขียนโปรแกรม เว็บไซต์ การเขียนแอพ การออกแบบ งานฝีมือ เป็นต้น หลักสูตรของ Udemy เสียค่าเรียนตั้งแต่ไม่กี่ดอลลาร์จนถึงหลายร้อยดอลลาร์ แต่ก็มีหลักสูตรที่เรียนฟรี ได้ความรู้โดยไม่ต้องเสียเงิน ข้อดีของการเรียน Udemy คือสมัครครั้งเดียวเรียนได้ตลอดชีวิต ไม่มีวันหมดอายุ และบางหลักสูตรก็มีเนื้อหาใหม่เพิ่มเติมเรื่อยๆ

รายการอ้างอิง

ธงชัย โรจน์กังสดาล. มหาวิทยาลัยในสมาร์ทโฟน. เดลินิวส์. วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2557 : หน้า 10.

แหล่งอีบุ๊กหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ราคาถูก

ถ้าต้องการอีบุ๊กราคาพิเศษ  ค้นใน Google โดยใช้คำว่า Kindle Daily Deals หรือ Kindle Countdown Deals หรือ คำว่า Kindle Monthly Deals ดูนะคะ จะได้รายชื่ออีบุ๊กต่างๆ ที่ลดราคาเป็นพิเศษค่ะ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ราคาถูก
                                  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ราคาถูก