Tag Archives: การซ่อมหนังสือ

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา Preservation CoP  ร่วมกับห้องสมุดศูนย์รังสิต ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่ ให้แก่บุคลากรของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่สนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับการซ่อมหนังสือ การอบรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 10 คน โดยมาจาก ห้องสมุดสาขาทั้งท่าพระจันทร์และรังสิต 6 คน จากงานพัฒนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2 คน และจาก หอจดหมายเหตุ มธ.1 คน นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 คน ส่วนวิทยากรที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การซ่อมหนังสือ คือ นายธีวัฒ อมาตยสุนทร บุคลากรของห้องสมุดศูนย์รังสิต Continue reading ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการซ่อมและเย็บเล่มหนังสือขนาดใหญ่

การซ่อมสันหนังสือด้านนอกหลุด

มารู้จักวิธีการและขั้นตอนวีธีการซ่อมหนังสือแบบสันหนังสือด้านนอกหลุดกันดีกว่า

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้

1. กระดาษสา 2. พู่กัน 3. กาวเมทิลเซลลูโลส (Methyl cellulose) 4. แปรง 5. น้ำเปล่า

ขั้นตอนในการซ่อม

1. นำหนังสือที่สันปกหลุดมาทาด้วยน้ำเปล่าเพื่อให้กระดาษอ่อนตัวลง

2. นำกาวเมทิลเซลลูโลส ทาบริเรณที่มีรอยซีกขาด

3. นำกระดาษสามาติดตามรอยสันหนังสือตามรอยที่ฉีกขาด

4. นำสันปกที่เราติดด้วยกระดาษสามาตากลมให้แห้ง

5. หลังจากที่สันปกที่ติดด้วยกระดาษสาแห้งแล้วนำไปเข้าเล่มโดยใช้กาวทาที่สันปกดังเดิม

นี่เป็นวิธีการเบื้องต้นของการซ่อมหนังสือที่สันปกด้านนอกหลุด เพื่อช่วยซ่อมแซมหนังสือให้ใช้งานและพร้อมให้บริการแก่ผู้อ่านได้

การซ่อมหนังสือที่หน้าหลุดออกจากตัวเล่มบางหน้า

มีอุปกรณืในการซ่อมมีดังนี้                                                                                                                       1.สว่าน                                                                                                                                         2.เข็ม                                                                                                                                            3.ด้ายไนล่อน                                                                                                                             4.กาวลาเทกซ                                                                                                                                                                                                                                                                                  ขั้นตอนการซ่อม                                                                                                                   1. นำหนังสือ ที่หน้าหลุดออกจากตัวเล่ม และ เลาะสั้นปกออก                     2.นำหันงสือมาจัด หน้าเรียงให้เรียบร้อย มาทำการเจาะรู  เรียง      กัน3 รู                                                                                                                                                   3.ใช้ด้ายไนล่อนมาเย็บที่สั้น ที่เจาะไว้                                                                      4.ใช้ ค้อนตอก ตรงบริเวณรูที่เจาะ ทั้งสามรู  เพื่อให้ตัวเล่มหนังสือเข้าสนิทกัน แล้วดึงให้ตรึง อีกครั้งแล้ว ผูกให้แน่น                                                   5.ใช้กาวทาบริเวณที่ด้ายผูก เพื่อให้ด้ายติดกับ                                                   6เสร็จขั้ตอนการซ่อมหนังสือหน้าหลุดออกตัวเล่ม                                                                                                                                                                                                                                  

Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

ฟังบรรยายเรื่อง Historical Material Preservation โดย คุณ Kojima Hiroyuki, the Resources and Historical Collections Office, The University of Tokyo เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science

03

เนื่องจากห้องสมุดมีเอกสารเก่าและหนังสือเยอะมากจึงต้องแยกเอกสารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกมาเก็บต่างหาก เพราะถ้าเก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้จากการหักงอ หรือถูกวางทับกัน  จึงเป็นภารกิจสำคัญของห้องสมุดที่จะทำหน้าที่ในการเก็บรักษาสมบัติของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ
หนังสือและเอกสารเก่าขึ้นชั้นรอกำจัดแมลงก่อนจัดเก็บ

IFLA มีมาตรฐานในการเก็บรักษาหนังสือเริ่มจากปี 1979 ระเบียบการเก็บรักษาหนังสือเก่าจะระบุคำว่า Conservationกับ Restoration

ปี 1986ระเบียบจะเปลี่ยนไปใช้คำว่า Principles for the Preservation and Conservation of library materials

ปี 1998 เป็นต้นไป ระเบียบจะเปลี่ยนจาก เสียก็ซ่อม เป็น ทำยังไงไม่ให้มันเสีย คนที่ทำหน้าที่นี้คือ Conservator ทำหน้าที่ Conservation Continue reading Historical Material Preservation Kojima Hall, Library of Economics, University of Tokyo

หมอเปรม ปะทะ น้องบุคส์ กลางห้องสมุด มธ.

สวัสดีครับ     ผมชื่อหมอเปรม แต่ไม่ใช่เป็นหมอรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลทั่วไปนะครับ  ผมเป็นหมอประจำห้องสมุด  คลีนิกของผมชื่อว่า  “ห้องคลังหนังสือกลางน้ำ”     ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์  (ศูนย์รังสิต)  ข้างๆสหกรณ์ออมทรัพย์เยื้องกับศูนย์การเรียนรู้หอสมุดป๋วย  อึ๊งภากรณ์    ไปมาหาสะดวกนั่งมอเตอร์ไซด์วินแวะชมได้ในเวลาราชการ (08.00-16.00น.)    คลีนิกของเราจะรับซ่อมเฉพาะหนังสือของสมาชิก และ ห้องสมุดสาขาที่สังกัดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น    เราไม่ได้รับแบบ  EVENT ทั่วไป        และท่านที่สนใจเกี่ยวกับการรักษาหนังสือ  ซ่อมหนังสือ ที่เราบริการแนะนำหรือปรึกษาได้นะครับ   อย่างเช่นวันนี้เราก็ได้แนะนำเกี่ยวกับการทำหนังสือที่เป็นคลื่นเกิดจากการเปียกน้ำของน้อง  บุคส์

Continue reading หมอเปรม ปะทะ น้องบุคส์ กลางห้องสมุด มธ.

คลีนิคหนังสือ (๒) เรื่อง สันหลังเหวอะ

 bookbad

book

ภาพที่เราเห็นนี้ ก็จะทราบได้ทันทีว่ามันเป็นหนังสือสันโค้งเย็บกี่และปกก็หลุดออกจากตัวเล่ม  การซ่อมก็ต้องดูภายในเล่มก่อนว่าตัวกระดาษภายในมีการหลุดออกจากกันหรือไม่  ถ้ามีการหลุดออกก็ต้องทำการติดกาวให้กระดาษในตัวเล่มหนังสืออยู่ในลักษณะที่มั่นคง

Continue reading คลีนิคหนังสือ (๒) เรื่อง สันหลังเหวอะ

เล่าอดีตคนเรียงพิมพ์ปกหนังสือ

สมัยก่อนหนังสือรูปเล่มหน้าปกมีภาพประกอบที่สวยงาม ชวนสนใจน่าอ่าน เมื่อใช้บ่อยครั้งก็ชำรุด ฉีกขาดต้องนำมาซ่อมใส่ปกแข็งเพื่อให้คงทน และเขียนชื่อเรื่องที่หน้าปกใหม่โดยใช้ปากกาคอแร้ง ต่อมาก็เป็นปากกาไฟฟ้า ประมาณปีพ.ศ.2524  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีเครื่องเรียงพิมพ์ไฟฟ้า สำหรับพิมพ์ชื่อเรื่องบนหน้าปกหนังสือ  ซึ่งใช้ประจำที่ห้องซ่อม  ได้พัฒนาเป็นเครื่องพิมพ์อักษรไฟฟ้า

กล่าวถึงอุปกรณ์เครื่องพิมพ์อักษรไฟฟ้าประกอบด้วย

1.  ตู้เก็บอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามขนาดแบ่งเป็นตามช่องใส่ตัวอักษร

2.  ตัวอักษรทำด้วยตะกั่วตามขนาดที่ต้องการ

3.   บล็อกสำหรับเรียงตัวอักษร

4.  เครื่องปั้มแบบใช้มือโยก

5.  เทปกระดาษพิมพ์สีขาว สีทอง แต่ทางหอสมุดใช้สีขาวส่วนใหญ่

6.  คีมปากแหลมสำหรับคีบตัวอักษร Continue reading เล่าอดีตคนเรียงพิมพ์ปกหนังสือ

คลีนิคหนังสือ ( ๑ )

เครื่องหมาย สัญลักษณ์ มีความสำคัญต่อมนุษยชาติมาทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์มาจนถึงยุคปัจจุบัน   เริ่มแรกมนุษย์รู้จักการใช้ เครื่องหมาย และ สัญลักษณ์ เป็นสื่อแทนอักษรพยัญชนะ  ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับจาก เครื่องหมาย และ สัญล้กษณ์ เป็น ลายลักษณ์ อักขร  พยัญชนะ ตามลำดับ

เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาในการใช้สื่อมากขึ้นและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้สื่อ ก็ต้องมีวัสดุเครื่องไม้เครื่องมือในการลงสื่อ เช่น ทำเป็นอักษรลิ่มลงไว้ในดินเผา (วัสดุ คือดิน)   ลงไว้ในหนังคน หนังสัตว์ (วัสดุ คือ หนัง)   ใบลาน (จารไว้ในใบลาน; ไทยโบราณ) และใบข่อย (กระดาษที่ทำจากเปลือกข่อย)  จนกระทั้งตามถ้ำ ตามกำแพง สิ่งเหล่านี้คือวัสดุรองรับสื่อทั้งหลาย  จนทุกวันนี้ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วแทบจะตามไม่ทัน  ไม่ว่าจะอยู่ในวัสดุที่เป็นกระดาษ ที่ทำมาจากต้นไม้ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุคส์ หรือแม้กระทั้งมือถือ วัสดุที่ทำการลงบันทึกสื่อที่เป็น สัญลักษณ์ ลายลักษณ์ อักษร เมื่อถูกใช้งานนานๆไปก็จะเกิดการชำรุด เมื่อเกิดการชำรุดก็ต้องมีการรักษาซ่อมแซม   การรักษาซ่อมแซมก็จะแตกต่างกันไปตามวัสดุนั้นๆ  เช่น  การรักษาซ่อมแซม   หนังสือ  วัสดุที่เป็นหนังสืออัตลักษณ์ของมันก็จะแตกต่างกันไป  วิธีการซ่อมก็จะแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ควรพึงระวังให้มากที่สุดก็คือ ตัว พยัญชนะอักษร   อย่าให้ขาดหาย ถ้าตัว พยัญชนะอักษรขาดหายไปการสื่อสารก็จะไม่มีความหมาย ตัวกระดาษหนังสือก็ไม่เหมือนกัน บางเล่มกระดาษบางๆ บางเล่มกระดาษหนา บางเล่มกระดาษสีเหลือง บางเล่มกระดาษสีน้ำตาล บางเล่มกระดาษสีขาว บางเล่มกระดาษกรอบแค่จับนิดหน่อยก็หักหลุด บางเล่มติดสกอตเทป บางเล่มเย็บด้วยลวด (มีมากในวิทยานิพนธ์) สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการซ่อมมากที่เดียว จะเห็นได้ว่าการชำรุดของหนังสือนั้นมีหลายอาการดังจะเห็นในภาพต่อไปนี้

P2130100

เมื่อเรารู้แล้วว่าอาการป่วยของหนังสือเป็นยังไง    ขั้นตอนต่อไปก็ขึ้นเตียงวางยาสลบผ่าตัดรักษาตามอาการต่อไป (พบกันใหม่ในคลีนิคหนังสือ ๒ )