Tag Archives: ธงชัย โรจน์กังสดาล

ปูพื้นความรู้เรื่อง Service Design

จากการประชุมวิชาการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่” ซึ่งจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ที่ผ่านมานั้น  อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ซึ่งเป็นวิทยากรในหัวข้อ Service Design Essential นั้น ได้พูดถึงความรู้เบื้องต้นของ Service Design จึงขอนำเสนอ วิดีโอจาก YouTube จำนวน 4 ตอน ผลิตโดย TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) คลิกดูที่ https://www.youtube.com/watch?v=PZwwQgb47Ug

ตอนที่ 1 What is Service Design?
ตอนที่ 2 Exploration Phase การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เพื่อหาปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
ตอนที่ 3 Creation Phase การนำปัญหามาเป็นโจทย์ในการออกแบบแนวคิ­ดที่จะนำมาใช้ปรับปรุงรูปแบบการบริการให้ดีขึ้นและตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของล­ูกค้า
ตอนที่ 4 Implementation Phase เป็นการนำแนวคิดที่ได้จากขั้นตอน Creation มาทดสอบและปรับปรุงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริง

สามารถติดตามอ่าน คู่มือการออกแบบบริการได้ที่นี่

รายการอ้างอิง
ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ.  What is Service Design? สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558 จาก http://m_youtube.com/watch?v=PZwwQgb47Ug

คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดประชุมวิชาการประจำปี 2558 ครั้งที่ 8 เรื่อง คิดใหม่ ทำใหม่ บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Librarianship: the Next Generation) ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายน 2558 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ

เนื่องจากในปัจจุบันพัฒนาการของห้องสมุดมีความเจริญรุดหน้าไปมาก นอกเหนือจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนางานเพื่อให้บุคลากรห้องสมุดสามารถปฏิบัติงานและให้บริการผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีการสร้างงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดไปใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยได้ตรงตามความต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ก็มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งห้องสมุดต้องพยายามติดตามและพัฒนาให้ทันกันกับแนวโน้มที่จะเกิดในปัจจุบัน และต้องพยายามคาดการณ์ถึงอนาคตเพื่อให้ทันกับผู้ใช้และการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความท้าทายของอนาคตที่ห้องสมุดจะต้องทำให้ได้และไปให้ถึง สำนักหอสมุดฯ จึงได้จัดการประชุมวิชาการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้พัฒนาทักษะการทำงานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุดหรือการจัดการความรู้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เครื่องมือที่ทันสมัยในการพัฒนากิจกรรมหรือการบริหารจัดการห้องสมุด
  3. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้เรียนรู้แนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาตนเองและการทำงาน
  4. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ในการพัฒนากิจกรรมและเครื่องมือต่างๆ ของห้องสมุด

การประชุมวิชาการในครั้งนี้ จึงประกอบด้วยหลักสูตรวิชาเชิงปฏิบัติการ ดังนี้

  1. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) วิทยากรโดย อาจารย์พัชรียา กุลนุช และ อาจารย์กุศล ทองวัน    เอกสารประกอบการบรรยาย
  2. Activities for Brain Training วิทยากรโดย อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์
  3. Memory Power Enhancement วิทยากรโดย อาจารย์ลัดดาวัลย์ ชูช่วย เอกสารประกอบการอบรม
  4. Service Design Essential วิทยากรโดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล
  5. Applied Mind Map for KM วิทยากรโดย อาจารย์ดำเกิง ไรวา

จุดประกายความคิดสร้างสรรค์

จุดประกายความคิดสร้างสรรค์  โดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล  ได้เล่าถึง 6 เทคนิคในการพัฒนาหรือจุดประกายความคิดสร้างสรรค์  ได้แก่

  1. การฟัง การพูด และการดู
    ตัวเราต้องไม่ทำเป็น “น้ำชาล้นถ้วย” ถ้าไม่ยอมเปิดรับความคิดใหม่ ก็ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ ดังนั้น การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ การออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น การเข้าร่วมฟังบรรยาย และพูดในงานสัมมนาต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ หรือดูย้อนหลังจากบรรยาย สัมมนาที่มีการบันทึกเป็นวิดีโอ ได้

    การชมภาพยนตร์ที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์หรือสร้างแรงบันดาลใจ เช่น Dead Poets Society, October Sky, Lorenzo’s Oil, Patch Adams และ Bean เวลาชมภาพยนตร์ลองมีมุมมองใหม่ว่า มีฉากไหนที่เราได้ข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือการทำงานได้ ไม่ได้ชมเพื่อความบันเทิงแต่เพียงอย่างเดียว

  2. การเขียนและจดบันทึก
    ความคิดสร้างสรรค์ของเราเกิดได้ตลอดเวลา ได้ทุกที่ ทุกเวลา ใน 3B คือ Bath (ห้องน้ำ) Bed (ห้องนอน) และ Bus (การเดินทาง) จึงต้องรีบจดไอเดียที่เกิดขึ้น

  3. การออกกำลังกายและการทำสมาธิ
    การออกกำลังกาย เช่น การเดินจงกรม โยคะ ไท้เก็ก ชี่กง สามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ได้ เพราะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ มีใจจดจ่อเป็นสมาธิ การทำสมาธิทำให้จิตใจสงบ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีสติปัญญา

  4. ใช้พลังจิตใจใต้สำนึกให้เป็นประโยชน์
    ถ้าเราพยายามแก้ปัญหา เราอาจจะคิดหาทางแก้ปัญหาไม่ออก แต่พอเมื่อเราผ่อนคลายหรือทำอย่างอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น จิตใต้สำนึกของเรากำลังทำงานอยู่ ดังนั้น เมื่อจิตใต้สำนึกแก้ปัญหาให้เราได้แล้ว จะมีอาการที่เรียกว่า ปิ้งแว้บ ขึ้นมา

  5. ฝึกฝนกิจกรรมที่ใช้มือ
    การใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วมีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาสมอง จึงควรหากิจกรรมหรือสันทนาการที่ต้องใช้มืออย่างคล่องแคล่ว เช่น การเล่นรูบิค การถักนิตติ้ง การจัดดอกไม้ การวาดรูป การแกะสลัก เป็นต้น

  6. การสร้างความเชื่อมั่น
    ขอให้มีความเชื่อมั่นตัวเองเสมอว่า เรามีความคิดสร้างสรรค์ชั้นเยี่ยม แม้ว่าเราจะขาดแคลนต้นทุนภายนอกก็ตาม แต่ถ้าเรามีความเชื่อมั่นในความสามารถและศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่แล้ว ก็นับว่ามีต้นทุนภายใน จะมีหนทางเสมอในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม และวิดีทัศน์การบรรยายได้ค่ะ

รายการอ้างอิง
ธงชัย โรจน์กังสดาล.  จุดประกายความคิดสร้างสรรค์. การประชุมการสำนักงานวิทยทรัพยากร ประจำปี 2558 ก้าวไปด้วยกัน (Library 2015 : Together We Go) วันที่ 28 พฤษภาคม 2558. สืบค้นจาก http://www.car.chula.ac.th/con2015/brain/files/resources/10-innovation.pdf

อลัน ทัวริง (Alan Turing) บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้เขียนบทความเรื่อง มรดก อลัน ทัวริง ซึ่่งเมื่อไม่นานมานี้ มีหนังเรื่อง The Imitation Game ได้กล่าวถึง อลัน ทัวริง ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์ อลัน ทัวริง มีผลงานเด่นๆ ได้แก่

  1. เครื่องจักรทัวริง (TuringMachine) มีรูปร่างคล้ายเครื่องอ่านเทปยาวๆและอ่าน หรือเขียนตัวอักษรที่อยู่บนเทปทีละตัวไปเรื่อยๆ  (ลองดูหน้าตาและเรื่องราวของเครื่องจักรทัวริง ได้ที่ http://aturingmachine.com/)
  2. การทดสอบของทัวริง (Turing Test) เป็นการทดสอบว่าคอมพิวเตอร์บีมีสติปัญญาชาญฉลาดใกล้เคียงมนุษย์หรือไม่

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/327527

รายการอ้างอิง

ธงชัย โรจน์กังสดาล. มรดอของทัวริง. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/it/327527

การทำงานแบบมะเขือเทศ (โพโมโดโระ)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ได้ส่งบทความ เรื่อง  การใช้มะเขือเทศช่วยทำงานในยุคไอที เป็นเทคนิค Pomodoro คือ ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่เป็นเวลา 25 นาที และหยุดพัก 5 นาที ดังนั้น ในเวลา 1 ชั่วโมง เราจะทำงานสองช่วงเวลา และหยุดพักสองครั้ง การตั้งใจจดจ่อทำงานอย่างเต็มที่สลับการหยุดพัก ทำให้สมองได้พักผ่อน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติ

P.I.C (เป้าหมาย, นวัตกรรม, การสื่อสาร)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล  จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แชร์บทความที่เก็บมาจากวิทยากรซึ่งเป็นศิษย์เก่ามาเล่าสู่กันฟัง โดยสรุปว่า วิทยากรศิษย์เก่าที่จบออกไป พูดถึง 3 สิ่งนี้ คือ

P (Purpose-เป้าหมาย) ทุกคนควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการทำอะไร

I (Innovation-นวัตกรรม) มีนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ใช้

C (Communication-การสื่อสาร) ต้องทำงานกับคนในศาสตร์อื่น การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก นำเสนอเนื้อหาให้เข้าใจ การโน้มน้าวใจ การทำงานเป็นทีม การทีทักษะในการเข้าสังคม

ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่  http://www.dailynews.co.th/it/317999

รายการอ้างอิง
ธงชัย โรจน์กังสดาล. ข้อคิดจากงานปัจฉิมนิเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2558 จาก http://www.dailynews.co.th/it/317999

อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ

อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ   โดย อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เช่นเคยค่ะ อ. ธงชัย ฝากบทความมาลงใน Blog KM ของสำนักหอสมุด มธ. ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)

หลายสิบปีก่อน มีเพลงดังเพลงหนึ่งของวงฮอทเปปเปอร์ชื่อ “อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ” ซึ่งผมคิดว่า ผู้อ่านหลายคนเคยได้ยินเพลงนี้ และเห็นด้วยกับชื่อเพลงว่า เวลาที่เราต้องการจำ ก็มักลืม แต่เรื่องที่เราอยากลืม กลับจำได้ ในบทความนี้ เราจะวิเคราะห์ว่า ความเชื่อเรื่องนี้จริงหรือไม่ ถ้าเราต้องการจำและลืมเรื่องที่ต้องการ เราจะทำได้อย่างไรครับ

อยากจำกลับลืม

ตัวอย่างของเรื่อง “อยากจำกลับลืม” เช่น นักเรียนอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบ เมื่อเข้าห้องสอบแล้ว ปรากฎว่า ข้อสอบออกตรงกับเนื้อหาที่อ่าน แต่จำไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่า บุญมีแต่กรรมบัง หรือผู้ใหญ่ที่ต้องการจำว่าจะนำสิ่งของอะไรบ้างติดตัวเวลาที่เดินทาง แต่ก็ลืม ไม่ได้หยิบไป หรือวางกุญแจรถ กระเป๋าเงิน แล้วลืมไปว่า วางที่ไหน

วิธีการแก้ไขเรื่องนี้คือ ถ้าเราต้องการจำสิ่งใดก็ตาม เราจะต้องมีสมาธิหรือความตั้งใจในการจำครับ การมีสมาธิหรือจิตใจจดจ่อจะช่วยให้เราจำได้มากขึ้น ซึ่งผมขอยกตัวอย่างสถานการณ์ต่อไปนี้เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนครับ Continue reading อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ

Innovative Thinking (Single, Simple และ Small)

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ส่งเรื่องมาเล่าสู่กันฟังใน KM สำนักหอสมุด มธ. ด้วยเรื่อง Innovative Thinking …

ในงาน Give & Take เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมเล่าว่า วิชา Innovative Thinking ที่ผมสอนมีการบ้านให้นิสิตสร้างนิสัย 1 อย่างติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน แล้วให้นิสิตบันทึกผลว่า สามารถทำได้ครบทุกวันหรือไม่ครับ การบ้านนี้เพิ่งมีในปีนี้เป็นครั้งแรก เรียกว่า Innovative Habits

จากผลลัพธ์ของการบ้านทั้งสองเทอม ทำให้ผมได้ข้อสรุปจากนิสิตที่ทำได้ครบทุกวัน ซึ่งขอเรียกโก้ๆ ว่า กฎสามข้อในการสร้างนิสัยใหม่อย่างต่อเนื่อง หรือกฎ 3S มีดังนี้ครับ

1. Single: เราควรสร้างนิสัยทีละอย่าง อย่าสร้างนิสัยหลายอย่างพร้อมๆ กันครับ ควรทำนิสัย 1 อย่างให้ต่อเนื่องจนเป็นอัตโนมัติ แล้วจึงเริ่มสร้างนิสัยใหม่ และควรมีแรงจูงใจมากพอในการสร้างนิสัย ไม่ใช่ทำเพราะถูกบังคับให้ทำ

2. Simple: นิสัยที่ทำการบ้านได้ครบทุกวันจะเลือกนิสัยที่ทำได้ง่าย เช่น นั่งสมาธิดูลมหายใจ ซึ่งทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ถ่ายรูปหรือถ่ายวิดีโอจากสมาร์ตโฟนซึ่งพกติดตัวตลอดเวลา บอกรักคนใกล้ตัวที่บ้าน ดื่มน้ำ ออกกำลังกายที่ทำได้สะดวก อ่านหนังสือ ทำโจทย์เลขในเว็บไซต์ เขียนคำขอบคุณในแอพ เป็นต้น

3. Small: นี่คือสาเหตุใหญ่ที่ทำให้นิสัยส่วนใหญ่สร้างนิสัยได้ไม่ต่อเนื่องทุกวัน เพราะเลือกเป้าหมายใหญ่เกินไปแทนที่จะทำเล็กๆ ตัวอย่างเช่น การออมเงินวันละ 50 บาททุกวัน จะยากกว่าออมเงินวันละ 5 บาท การทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อจะยากกว่าการทานอาหารให้ตรงเวลามื้อเดีย การเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวันจะยากกว่าการนอนให้เร็วขึ้น 10 นาที หรือดื่มน้ำเพิ่มขึ้นวันละ 1 แก้วก็พอ ไม่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มมากๆ ในตอนแรก

ดังนั้น กฎสามข้อในการสร้างนิสัยใหม่ให้ต่อเนื่องจากการบ้านวิชา Innovative Thinking คือ Single, Simple และ Small ครับ ถ้าใช้หลักการสามข้อนี้ จะมีโอการสร้างนิสัยใหม่ได้ต่อเนื่องมากขึ้นครับ

ข้อคิดสำหรับคนทำงานจากฤทธิ์มีดสั้น

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณาส่งบทความมาลงเพื่อแบ่งปันข้อคิด  เรื่องแรกที่อาจารย์ส่งมา คือ ข้อคิดสำหรับคนทำงานจากฤทธิ์มีดสั้น ไม่แน่ใจว่า สมัยนี้จะรู้จักนวนิยายจีน เรื่อง ฤทธิ์มีดสั้น หรือเปล่า แต่เป็นนวนิยายจีนที่ดังมาก  อาจารย์ธงชัย ได้สะท้อนข้อคิดจากตัวละครเรื่องนี้ในมุมมองของการทำงาน ออกมาได้ 3 ประเด็น คือ อาวุธภายนอกไม่สำคัญเท่าผู้ใช้อาวุธ   สร้างแบนด์ประจำตัวและเก่งด้านนั้น และฝึกทักษะสำคัญอยู่เสมอ อ่านเลยค่ะ  ฤทธิ์มีดสั้นยุคไอที อาจารย์ธงชัยเขียนได้สนุกและสาระด้วย

การนำเสนออย่างทรงพลัง (2)

บรรยากาศในชั้้นเรียน
บรรยากาศในชั้้นเรียน

 

บรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียน

ในตอนที่ 1 ได้สรุปจากเอกสารประกอบการสอนของ อาจารย์ธงชัย บทความนี้ (ตอนที่ 2) ขอสรุปจากการฟังและร่วมปฏิบัติการในระหว่างการอบรม ดังนี้ Continue reading การนำเสนออย่างทรงพลัง (2)