การเก็บสถิติการใช้บริการการจองทรัพยากรสารสนเทศ ใน Circulation Module ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่
ยุ่งยาก ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติการจองหนังสือในระบบ KOHA
Tag Archives: ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
การเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA
การเก็บสถิติการใช้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ใน Circulation Module ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA สามารถเก็บสถิติได้ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี มีขั้นตอนที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก ดังนี้
ขั้นตอนการเก็บสถิติยืม–คืนหนังสือในระบบ KOHA
ขั้นตอนการทำบริการ email alert ใน Circulation Module
ขั้นตอนการทำบริการ Email Alert ใน Circulation Module
- ไปที่ http://staff.koha.library.tu.ac.th/
- Log In เพื่อเข้าสู่ระบบ
Continue reading ขั้นตอนการทำบริการ email alert ใน Circulation Module
คณะบรรณารักษ์จากประเทศกัมพูชา เยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์
วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 นางสาวจุฑาทิพย์ โอสนานนท์ รองผู้อำนวยการสายบริการและส่งเสริมการเรียนรู้และบรรณารักษ์ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด ให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แก่ Ms. Mao Kolap Vice President Cambodian Librarians and Documentalists Association (CLDA) และ Library Director Pannasastra University of Cambodia และคณะ รวมทั้งให้การบรรยายการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha โดย ดร.พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย และนางสาวนีลวัสน์ อินทรักษา จากบริษัทปันสารเอเชีย นอกจากนี้นางสาวกนกวรรณ บัวงามให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ และอาคารศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในวันเดียวกันด้วย
เปิดตัวบริการ Book Suggestion โฉมใหม่
จะบอกกล่าวว่า เร็วๆ นี้สำนักหอสมุดจะเปิดตัวบริการ Book Suggestion ใหม่ แทนหน้าจอ Book Suggestion เดิม ผู้ที่จะแนะนำได้จะต้อง login เข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ด้วย Library Card Number และ Password ที่ใช้ในการดูข้อมูลหนังสือที่ยืม
ขั้นตอนการแนะนำหนังสือ มี ดังนี้
- เข้าไปที่ URL http://koha.library.tu.ac.th จะปรากฏหน้าจอ ให้กรอกข้อมูลในช่อง Library Card Number และ Password
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Koha!
งานจัดการข้อมูล ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมใช้ระบบฐานข้อมูล Koha โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cataloging Module ซึ่งต้องมีการใช้ข้อมูลร่วมกันกับงานบริการ ระหว่างที่มีการใช้งานโปรแกรมมักได้รับคำถามบางประการจากผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับข้อสงสัยในบางเรื่อง จึงรวบรวมบางคำถามมาตอบและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ
Question: ทำไมในระบบ Koha พบว่า หนังสือบางเล่ม มีภาพปกหนังสือ บางเล่มไม่มี?
Answer: เหตุที่หนังสือบางเล่มไม่มีภาพปกหนังสือ เนื่องจากว่าระบบ Koha นั้นได้ตั้งค่าอัตโนมัติให้ดึงข้อมูลรูปภาพปกหนังสือมาจากเว็บไซต์ Amazon.com เป็นหลัก โดยการใช้หมายเลข ISBN link ภาพมาให้ หาก Amazon ไม่มีภาพปกหนังสือเล่มนั้น Koha ก็จะไม่มีภาพปกหนังสือเช่นเดียวกัน สำหรับหนังสือที่ยังไม่มีภาพหน้าปก ในอนาคตอาจมีโครงการสแกนภาพหน้าปกหนังสือเข้าในฐานข้อมูล Koha ค่ะ
Question: ในระบบ Koha ยังมีการพิมพ์สารบัญอยู่หรือไม่?
Answer: ปัจจุบัน ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศใช้วิธีสแกนหน้าสารบัญของหนังสือ จัดเก็บไว้ในระบบ เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดจากการพิมพ์ นอกจากนี้เหตุที่ต้องสแกนหน้าสารบัญ โดยเฉพาะหนังสือภาษาไทยที่มีสารบัญจำนวนหลายหน้า เมื่อพิมพ์เข้าระบบ Koha พบว่ามีจำนวนอักขระมากเกินกว่าที่ระบบกำหนดไว้ ทำให้เป็นปัญหาต่อการสืบค้นรายการบรรณานุกรมค่ะ
ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ค. 2558
Shelving Location ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
หลังจากที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปลี่ยนระบบฐานข้อมูลมาเป็น Koha โดยเริ่มใช้งานจริงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 มาจนถึงปัจจุบันนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะพบว่ามีข้อมูลบางส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมที่เคยใช้มาอย่าง Horizon อาทิเช่น Shelving Location นอกจากนี้ห้องสมุดบางแห่งมีการเปิด Collection พิเศษ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนั้นจึงขอรวบรวมและสรุป Shelving Location ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ เพื่อทบทวนการใช้งานอีกครั้ง
Shelving Location คือ ชั้นวางหนังสือแต่ละประเภทในห้องสมุดแต่ละแห่ง โดยปกติแล้ว สามารถแบ่ง Shelving Location ได้อย่างกว้างๆ ดังนี้ Continue reading Shelving Location ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
ปันสารกับ Koha
ปันสารกับ Koha โดย ดร. พงศ์ธวัช ชีพพิมลชัย ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2557 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประสบการณ์ในการพัฒนา Koha ซึ่งเป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส โดยมีการพัฒนาโปรแกรมและนำไปใช้ เช่น สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การติดตั้งโปรแกรม และการปรับแต่งระบบอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับทีมงานของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในการใช้โอเพนซอร์ส แทนที่โปรแกรมหรือระบบเชิงพาณิชย์ต้องมีการวางแผนเปลี่ยนผ่านให้ชัดเจน กำหนดนโยบายและระยะเวลาที่แน่นอน สื่อสารและทำความเข้าใจกับบุคลากรให้ดี มีการอบรมและทดลองใช้งานระบบอย่างจริงจัง มีการทำงานคู่ขนานกับการทำงานจริงบนระบบใหม่ และต้องยอมเสียสละในบางเรื่อง คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด
การอบรมการใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าข้อมูลสำหรับการทำรายงานการวิจัย
วันที่ 13 มกราคม 2558 นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ โครงการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) ชั้นปีที่ 1 จำนวน 29 คน ได้เข้าเยี่ยมชมหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศูนย์รังสิต และเรียนรู้การใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าข้อมูลสำหรับการทำรายงานการวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชา TU 116 Man and Arts : Visual Art, Music and Performing Arts โดยมีอาจารย์ ดร. ต่อพงศ์ แจ่มทวี เป็นอาจารย์ประจำวิชา และคุณปทุมทิพย์ ลิ้มพงศานุรักษ์ บรรณารักษ์ประจำหอสมุดป๋วยฯ เป็นวิทยากรในการบรรยายในครั้งนี้
นักศึกษาได้ฟังบรรยายเรื่องเทคนิคการสืบค้นข้อมูลในห้องสมุดทั้งในฐานข้อมูลออนไลน์ KOHA และ One Search รวมทั้งวิธีการอ้างอิงในการทำรายงาน หลังจบการบรรยาย วิทยากรได้พานักศึกษาเยี่ยมชมห้องสมุด วิธีการหาหนังสือบนชั้น และแนะนำแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาจะมาหาข้อมูลเพื่อทำรายงาน
คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานระบบห้องสมุดดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของแต่ละโมดูล ดังนี้
- การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloging Module) ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha (รายละเอียดของคู่มือ)
- การสืบค้นข้อมูล OPAC (รายละเอียดของคู่มือ)
- การให้บริการยืม-คืน (Circulation Module) (รายละเอียดของคู่มือ)