Tag Archives: ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)) ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523  (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการพัฒนาหัองสมุดสถาบันอุดมศึกษา)  มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด กิจกรรมอย่างหนึ่งของคณะอนุกรรมการฯ ที่จัดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ การประชุมสัมมนาประจำปี เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ รายงานความก้าวหน้าในงานอาชีพบรรณารักษ์และสารนิเทศ ตลอดจนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ และเพื่อเปิดโอกาสให้บรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการนำวิธีการต่างๆ มาใช้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างกว้างขวางและใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมทั้งพิจารณา ทบทวนความร่วมมือที่ได้กระทำอยู่ อภิปรายถึงปัญหา อุปสรรคและข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางแก้ไข (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2528  ; นวนิตย์ อินทรามะ, 2529) การจัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2522 โดยมีห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพในการจัดงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งขอรวบรวมการจัดงานแต่ละครั้ง ดังนี้ Continue reading การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 6

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 6  ภายใต้หัวข้อ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2531  โดยมีเนื้อหาของการสัมมนา ดังนี้ Continue reading การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 6

KYOTO UNIVERSITY : Main Library

DSC_0222มหาวิทยาลัยเกียวโต เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 2 และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในแถบคันไซด้วย ประกอบด้วย 3 วิทยาเขตด้วยกัน คือ Yoshida Campus, Uji และ Katsura

Continue reading KYOTO UNIVERSITY : Main Library

รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZproxy

การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย บอกรับเป็นสมาชิก จะมีวิธีการให้ผู้ใช้ ซึ่งต้องการรีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการใช้ Proxy และ VPN ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นการให้ผู้ใช้ต้อง set proxy ผู้ใช้ที่ไม่คล่องหรือไม่ชอบเทคโนโลยีด้วยแล้ว อยากจะบอกศาลาในการรีโมทเข้ามาใช้ด้วย Proxy เลยทีเดียว แต่การใช้ VPN มหาวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กร ต้องใช้ Resources เยอะ แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ของห้องสมุด หน่วยงาน หรือ องค์กรไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และการดูแลรักษาระบบ ดังนั้น ความสะดวก และความง่ายในการรีโมทเข้ามาใช้สำหรับผู้ใช้แล้ว ขอบอกว่า VPN สะดวกกว่าแน่นอน เพราะผู้ใช้ไม่ต้อง set อะไร เพียงแต่ใช้ url ที่องค์กรให้มา และใส่ username กับ password เพียงเท่านี้ ก็เสมือนอยู่ในเครือข่ายขององค์กรแล้ว

สำหรับห้องสมุดหรือองค์กรที่ไม่สามารถใช้หรือมี VPN ในการให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้นั้น ตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ของ OCLC ที่ชื่อว่า EZproxy ออกมาทำให้การรีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ง่ายขึ้นมาอีกเยอะ สมชื่อ EZproxy เป็นการพัฒนาของ OCLC โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นครั้งแรกโดย Chris Zagar ในปี ค.ศ. 1999 และมีการประกาศใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2008

EZproxy เป็น web proxy server ที่ห้องสมุดจัดหามาเพื่อให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้เครือข่ายของห้องสมุดผ่านเข้ามาใช้ฐานข้อมูลได้ ผู้ใช้ใส่ชื่อ และรหัสผ่านเข้าระบบ และมีการตรวจสอบผู้ใช้ด้วย IP address ที่ฐานข้อมูลที่บอกรับเป็นสมาชิกอนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานอื่นๆ ที่ต้องรีโมทจากทางบ้านหรือที่ไหนก็ได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน แต่เบื้องหลังการ set ค่าต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลออนไลน์เป็นหน้าที่ของห้องสมุด หรือองค์กร (รายละเอียดทางเทคนิค) ซึ่งน่าจะทำให้สะดวกกว่าเดิมในการไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการ set proxy ของผู้ใช้ และทางห้องสมุดหรือองค์กร ก็สามารถเก็บสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้โดยตรงอีกด้วย

รายการอ้างอิง

OCLC.OCLC EZproxy: An Overview (Tutorial overview). Retreived 2015, 4 May from http://www5.oclc.org/downloads/tutorials/ezproxy/default.htm

OCLC. Connect your users to e-content with a single sign-on. Retreived 2015, 4 May from https://www.oclc.org/ezproxy.en.html

Learning in the Digital Environment and the Roles of Libraries and Academic Librarians: Changes and Challenges

ก้าวต่อไปของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล

ต้อง… ก้าวไปข้างหน้า กล้าที่จะข้ามผ่านกำแพงขนบธรรมเนียมเดิม

ต้อง… สร้างเครือข่ายพันธมิตรใหม่ให้กว้างขวาง

ต้อง… พัฒนาทักษะและทัศนคติที่ถูกต้อง

ต้อง… มุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง

และ   ต้อง… เป็นตัวแทนความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย Continue reading Learning in the Digital Environment and the Roles of Libraries and Academic Librarians: Changes and Challenges

วัฒนธรรมองค์กรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย

เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาองค์การในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมองค์กรเป็นศัพท์ที่ต้องกล่าวถึง เพราะว่ามีบทบาทสำคัญทางการบริหาร เป็นกรอบวิธีการปฏิบัติสำหรับบุคคลากรในองค์การ ที่นอกเหนือจาก กฎ ระเบียบที่บังคับใช้ในองค์การ วัฒนธรรมองค์กรจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนในองค์การ ที่สะท้อนภาพ กระบวนการทางความคิด การวางแผนยุทธศาสตร์การตัดสินใจขององค์การว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และองค์การที่ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วนั้น ต้องใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นตัวกำหนดทิศทางของการพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในสังคมโลกห้องสมุดมหาวิทยาลัย ควรกำหนดวัฒนธรรมตนเองอย่างไรในภาวะปัจจุบัน  ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

รายการอ้างอิง:
สุกัญญา มกุฏอรฤดี  เรื่อง วัฒนธรรมองค์กรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. โดมทัศน์ 32,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2554)