Tag Archives: ความเครียด

รู้จัก”เพื่อน”ฉันหรือยัง

เพื่อนของฉันคนนี้รู้จักกันมาประมาณ เกือบๆ ปี ตอนนี้เราสนิทสนมกันมาก  เเต่ถ้าได้รู้จักชื่อ หลายคนอาจจะอยากเบินหน้าหนีเลยก็เป็นได้ เพื่อนฉันชื่ออะไรนะหรอ  เขาชื่อว่า….

“เจ้าไมเกรน”

ในช่วงที่ผ่านมาดิฉันรู้สึกเริ่มสนิทสนมกับเจ้าไมเกรน อยู่ด้วยกันเเทบทุกวัน เช้า กลางวันเย็น ก่อนนอน ตอนนอนก็ยังจะมาอีก เมื่อมาผูกพันกันจนไม่มีทีท่าว่าว่าจะจากกันไปไหน  เมื่อเป็นดังนั้นเเล้วก็ต้องรู้จักกับมันให้มากขึ้น เพื่อจะได้เท่าทันมัน  เพื่อจะไม่ให้มันกำเริบ จนระรานการใช้ชีวิตประจำวัน

โดยเมื่อเข้าไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าไมเกรน ก็พบกับข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เลยขอนำข้อมูลจากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มาบอกต่อเพื่อจะรู้เท่าทันเเละเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้านี่ให้มากยิ่งขึ้้น

เจ้าไมเกรนจะมีลักษณะเด่นชัดที่สุดคือการปวดศีรษะ ว่าเเต่ปวดอย่างไรถึงจะเรียนว่าไมเกรน นั่นคืออาการเหล่านี้นี่เอง

  • ปวดศีรษะข้างเดียว
  • ปวดตุ้บๆ เป็นจังหวะ
  • ปวดมากขึ้นเมื่อขยับร่างกาย
  • ปวดมากจนไม่เป็นอันทำอะไร
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยเป็นบางครั้ง
  • ทนแสงแดดจ้าหรือเสียงดังไม่ค่อยได้

มายังไงกัน

นอกจากนั้นไมเกรนยังถือเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งซึ่งที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ อาจจะมาสาเหตุมาจาก

  • การทำงานที่ผิดปกติของก้านสมอง หรืออาจเกิดจากสารเคมีในสมองนั้นไม่สมดุล ซึ่งส่งผลทำให้ หลอดเลือดมีการหดเเละขยายตัวอย่างผิดปกติ เพราะมีความไวต่อการกระตุ้น มากยิ่งขึ้น โดยมีปัจจัยกระตุ้นหลายประการ อาทิ
  • ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ช่วงมีประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน หรือการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
  • อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ
  • การกระตุ้นทางประสาทสัมผัส อาทิ แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน กลิ่นบุหรี่
  • รูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนดึก นอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไปสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ฝุ่นควัน
  • รวมถึง ยาบางชนิด

ความเครียดกับไมเกรน  ไม่ได้มาด้วยกันนะรู้ยัง
ใช่เเล้วค่ะ  ความเครียดไม่ได้ทำให้เจ้าไมเกรนมาเยือนเลย เเต่เป็นเพราะพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นไมเกรนอยู่เเล้วนั่นเอง ซึ่งการปวดหัวเมื่อเกิดอาการเครียดนั้น จะปวดเเบบมึนๆ เหมือนมีอะไรมารัดที่ศีรษะเเบบเเน่นๆ ต่างจากไมเกรน

เป็นตอนไหน

ระยะเวลาในการปวดนั้นขึ้นอยู่กับเเต่ละบุคคล บางคนอาจจะนานถึง 72 ชั่วโมง โดยช่วงอายุที่เจ้าไมเกรนจะมาตีสนิทก็เริ่มตั้งเเต่ช่วงอายุประมาณ 25 – 45 ปี เเละจะเป็นผู้หญิง มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า

การรักษา
จุดมุ่งหมายในการรักษาจึงอยู่ที่การรับมือกับอาการปวด ทั้งการรักษาหรือป้องกัน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทรมานอาการปวดน้อยลง เเละสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติเป็นสำคัญ เพราะยังไม่สามารถมีการรักษาให้หายขาดได้  โดยการรักษานั้นแพทย์จะพิจารณาว่าผู้ป่วยมีอาการบ่อย และรุนแรงเพียงใด
– สำหรับผู้ป่วนที่มีอาการปวดศีรษะ 1 ถึง 2 ครั้งต่อเดือน การรักษาหลัก ๆ ได้แก่การให้ยา ซึ่งแบ่งเป็นยาสำหรับรักษาอาการและยาสำหรับป้องกันอาการ เเต่ยาอย่างพาราเซตามอลจะไม่ได้ผลสำหรับผู้ปวดไมเกรน ซึงยาสำหรับผู้ป่วยไมเกรนนั้นต้องใช้ยาที่เเรงขึ้น ซึ่งก็จะมีข้อเสียคือยาพวกนี้มักจะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ หรือไม่ก็เป็นยาจำพวกยาเสพติดเช่น ฝิ่นสังเคราะห์ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะติดได้
– ส่วนผู้ที่เป็นบ่อย ๆ เช่นเดือนหนึ่งเป็น 2 ครั้ง หรือมากกว่า แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาป้องกัน ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ต้องรับประทานทุกวัน ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มป้องกันมี 3 ถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ยาความดันโลหิตบางตัวในขนาดต่ำ ๆ กลุ่มที่สองได้แก่ ยากันชักบางตัวขนาดต่ำ ๆ กลุ่มที่สามได้แก่ยาต้านอาการซึมเศร้า และสี่ได้แก่ ยาต้านแคลเซียม

วิธีการอยู่ด้วยกันอย่างสงบ

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นไมเกรน ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่บางคนอาจมีปัจจัยกระตุ้นอื่นอีกได้ ทางที่ดี ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี รวมทั้งพิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้น ๆ
  • นอนหลับให้เพียงพอ แต่อย่าให้มากเกินไป ผู้ใหญ่โดยทั่วไปควรนอนให้ได้ประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน พยายามเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาทุกวัน
  • หยุดพักเมื่อมีอาการ ถ้าเป็นไปได้ควรพยายามพักผ่อนในห้องเงียบ ๆ มืด ๆ ร่วมกับการประคบเย็นบริเวณต้นคอ พร้อมกับนวดบริเวณที่ปวดก็จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายโดยรวมแข็งแรง และลดความเครียดซึ่งอาจจะช่วยลดความถี่ของการปวดได้
  • จดบันทึกอาการของคุณ บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับความปวด อาทิ วัน เวลา ระยะเวลา ลักษณะอาการปวด อาหารที่รับประทาน รวมถึงความผิดปกติต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับอาการของคุณเลย

“….แม้อาการปวดศีรษะแบบไมเกรนจะเป็นประสบการณ์ที่แสนทรมาน แต่หากรู้จักรับมืออย่างถูกวิธีแล้ว ไมเกรนก็อาจไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณจนเกินไปนัก…”

รายการอ้างอิง

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. อยู่อย่างไรเมื่อเป็นไมเกรน สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 2558 จาก https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2009/brain-healthy/LIVING-WITH-MIGRAINES

เบื่องาน เป็นเพราะ Burnout Syndrome หรือเปล่า?

หลายคนอาจจะคิดว่า ป็นเรื่องธรรมดา แต่จริงๆ แล้วเราอาจจะกำลังอาการที่เรียกว่า “Burnout Syndrome” อยู่ก็ได้ โดยอาการดังกล่าวนี้ สามารถพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว

โดย  Burnout Syndrome เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการทำงานหนักมากจนเกินไปและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ความสนใจในงานที่ทำรวมทั้งประสิทธิภาพในการทำงานลดลง นอกจากนี้ภาวะความเครียดเรื้อรังก็สามารถทำให้เป็นโรคดังกล่าวได้    โดยด็อกเตอร์ David Ballard นักจิตวิทยาแห่งสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยว่าสาเหตุของโรคนี้มาจากการที่ความสามารถในการรับมือกับความเครียดไม่ดีพอนั่นเอง ทั้งนี้โรคนี้ก็สามารถรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ การที่คุณปล่อยปละละเลยกับอาการจิตเวชนี้สามารถส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งในด้านสุขภาพ ความสุข ความสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการทำงาน และอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่มีความอันตรายมากกว่าอีกด้วย

วิธีสังเกตอาการ “Burnout Syndrome”  มีดังนี้ค่ะ

  1. อ่อนเพลีย
  2. ขาดแรงจูงใจ
  3. อารมณ์ร้าย มองโลกในแง่ลบ
  4. ไม่มีสมาธิ
  5. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  6. มีปัญหากับที่บ้านหรือที่ทำงาน
  7. ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
  8. หมกมุ่นอยู่กับการทำงานแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ที่ทำงานก็ตาม
  9. มีความสุขน้อยลง
  10. สุขภาพย่ำแย่

ส่วนวิธีการรักษาก็ง่ายมากๆ ค่ะ แค่พักผ่อนให้เพียงพอ จัดระเบียบชีวิตใหม่ หากิจกรรมคลายเครียด หรือลองระบายความเครียดกับเพื่อนหรือครอบครัว แค่นี้เราก็จะไม่ต้องทนกับอาการ “Burnout Syndrome”  อีกต่อไป ยังไงสังเกตตัวเองแล้วก็อย่าลืมสังเกตและเอาใจใส่เพื่อนร่วมงานด้วยนะคะ เพื่อสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานที่ดีค่ะ

ที่มา:

10 สัญญาณเงียบโรค Burnout Syndrome เบื่องาน หมดไฟ ใช่เลย !  จาก http://health.kapook.com/view115801.html

วิ่งหนีความเครียดกันดีกว่า

ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาก็มีความเครียดกันทุกคนแล้ว มีปัญหาเรื่องอะไรน่าเหรอ เรื่องแรกต้องคิดว่าวันนี้รถจะติดไหม จะใส่ชุดอะไร วันนี้จะทานอะไร คิดอีกหลายอย่างก็เรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเราทั้งนั้น ไม่ว่า เรื่องกิน เรื่องงาน เรื่องส่วนตัว สารพัดเรื่อง ก็เลยก่อให้เกิดความเครียดสะสมไว้ตลอดเวลาทั้งรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เราได้คำแนะนำจากคนใกล้ตัวและเพื่อนสนิท ทำอยู่แล้วรู้สึกดีขึ้น อยากบอกต่อให้เพื่อนๆรู้บ้าง มีประโยชน์นะ

ข้อแรก ระบายความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด กับคนสนิทหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้และเข้าใจปัญหาของเรา ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว เมื่อเราพูดออกไปแล้วมันทำให้เราดีขึ้น

ข้อสอง เราควรแก้ปัญหาทีละอย่างอย่าแก้ปัญหาหลายเรื่องพร้อมๆกัน ควรแก้ปัญหาที่ควรจะทำก่อน จำไว้ว่าทุกปัญหามีทางแก้เสมอ

ข้อสาม ก้าวหนีปัญหานั้นไปชั่วขณะ เพื่อเตรียมตัวตั้งหลัก และพร้อมกลับมาเผชิญปัญหานั้นใหม่ได้อย่างมีสติ ทำให้คิดและหาทางแก้ปัญหานั้นได้

ข้อสี่ ให้โอกาสกับตัวเองได้หยุดพักบ้าง คือหยุดการแข่งกับเวลา หยุดกับการเร่งรีบในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่าจะทำ จะนั่งเฉยๆ หรือนอนหลับซักงีบนึง ตื่นขึ้นมาแล้วทำให้สมองปลอดโปร่งและสดชื่น

ข้อห้า เป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุดเลย คือ การรู้จักให้รางวัลกับชีวิตตัวเอง ไปเที่ยวบ้าง เดินช้อปปิ้งซื้อของ ถ้าไม่ซื้อก็เดินดูของสวยๆงามๆ เพราะทำให้เราเพลิดเพลิน จนลืมความเครียดกันไปเลยล่ะ

ถ้าเราวิ่งหนีความเครียดในทุกปัญหาได้ ชีวิตเราก็มีความสุข และก็สามารถจะทำและแก้ปัญหาได้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี คราวนี้ล่ะความเครียดก็ไม่มารบกวนในใจของเราได้อีก

ความเครียดไม่เข้าใครออกใคร

ความเครียดเกิดได้ทุกเวลา และกับทุกคน หากใครมีอาการแบบนี้เช็คตัวเองด่วนค่ะ

อาการแบบนี้แสดงว่าคุณเครียดมากไปแล้ว

ถ้าพบว่าตรงกับตัวเองหลายข้อ ควรจะถึงเวลาที่ปรับสมดุลชีวิตแล้ว

  1. หายใจหอบ หรือรู้สึกเกร็ง ปวดหัวจี๊ด ท้องไส้ปั่นป่วนทันที เมื่อเจอเรื่องเครียด
  2. กินของจุ๊บจิ๊บไม่หยุด เครียดปุ๊บ คว้าของมากินปั๊บ
  3. ร้อนรน ลุกเดินงุ่นง่าน บางทีก็นอนไม่หลับ
  4. ระเบิดอารมณ์ เอะอะโวยวายใส่คนอื่น
  5. ยอมแพ้ดื้อๆ ไม่มีความมั่นใจจะจัดการกับปัญหา อยากหนีปัญหา หรือลาออก
  6. เสพติด เครียดทีไร ต้องพึ่งกาแฟ บุหรี่ หรือ ของมึนเมาเสมอ
  7. ร้องไห้บ่อยๆ เพื่อระบายออก
  8. ปลีกตัว ถอยห่างจากครอบครัว เพื่อนฝูง 

ที่มา:  ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ