All posts by นางบังอร นพกูล

ดาวใน amazon

amazon-reviewsงานจัดหาหนังสือเป็นงานที่ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนทำการสั่งซื้อ เมื่อได้รายชื่อหนังสือจากอาจารย์ ถ้าได้ข้อมูลมาแค่ชื่อหนังสือชื่อผู้แต่ง เราต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนว่าหนังสือชื่อนั้นเป็นของสำนักพิมพ์ไหน ปีพิมพ์ล่าสุดปีใด edition ที่เท่าไร เพื่อเอาข้อมูลที่ถูกต้องไปตรวจสอบกับระบบสืบค้นของห้องสมุด  แหล่งข้อมูลเบื้องต้นที่ง่ายสุดสำหรับการค้นหาหนังสือภาษาต่างประเทศคือค้นหาจาก amazon.com ข้อมูลที่ได้จาก amazon บางเล่มจะพบว่ามีดาวแสดงด้วย  เป็นรูปสองดาว สามดาว สี่ดาว  ห้าดาว ก็ได้ ซึ่งดาวพวกนี้มาจาก customer reviews นั่นเอง เราเคยสงสัยกันไหมว่า comment มันเชื่อถือได้ไหม

มีบทความหนึ่งในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เขียนโดย ดร. จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ เรื่อง Amazon ฟ้อง”คอมเมนต์” ปลอม เรื่องมีอยู่วา เมื่อวันที่ 15 เมษายน amazon.com ฟ้องเว็บไซต์ BuyAzonReview.com, BuyAmazonReview.com, BayReview.net, และ BuyReviewsNow.com เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านี้รับจ้างผลิต comment ปลอมให้สินค้าที่ขายใน amazon.com

คำฟ้องสรุปได้ว่า amazon.com พัฒนาระบบการให้เขียนความเห็นและการให้ดาว เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่น่าเชื่อถือและช่วยให้ผู้ซื้อได้ข้อมูลสินค้าที่มีคุณภาพ จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องรักษาความน่าเชื่อถือของความเห็นเหล่านี้และต้องป้องกันไม่ให้ใช้เพื่อหลอกลวงลูกค้า การที่จำเลยตั้งเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อสร้างcomment ปลอมเอาไว้ขาย โดยโฆษณาว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการติชมของลูกค้าที่ซื้อสินค้าทุกชนิดใน amazon.com และในเว็บไซต์มี logo และเครื่องหมายการค้าของ amazon.com ประกอบอยู่ด้วยทำให้ผู้ใช้บริการเข้าใจผิดหรือเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ amazon.com  เว็บไซต์ของจำเลยทำความเห็นขึ้นมาโดยคนเขียนไม่เคยซื้อสินค้าหรือไม่เคยใช้สินค้าที่ comment คำติชมนี้อยู่ในเว็บไซต์ของจำเลยที่สร้างขึ้นมาเอง โดยจำเลยอ้างว่าเป็นคำติชมของคนที่ซื้อสินค้าและลองใช้แล้ว เป็นคำติชมที่ตรงไปตรงมาและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าความเห็นทั่วไป และยังมีการให้ดาวเหมือนระบบของ amazon.com ด้วย  นอกจากนี้ ยังโฆษณาว่าcomment ดังกล่าวผ่านระบบการคัดกรองคำติชมที่ดีกว่า มีการเสนอข้อมูลของกลุ่มห้าดาว สี่ดาวประจำสัปดาห์

amazon ยังพบว่าจำเลยสร้างระบบ verified reviews ขึ้นมาจำนวนหนึ่งเพื่อหลอกคนอ่านว่าคนที่ติชมเป็นผู้ซื้อสินค้าแล้วจริงๆโดยส่งกล่องสินค้าเปล่าเพื่อนำมาใช้อ้างในเว็บไซต์ว่ามีการซื้อขายสินค้า ทั้งที่ความจริงไม่มีการซื้อขาย  ในคำฟ้องของ amazon .com ขอให้ปิดเว็บไซต์จำเลย ให้จำเลยยุติการใช้เครื่องหมายต่างๆของ amazon .com พร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงินสามเท่าของรายได้ทั้งหมดที่เว็บไซต์ได้รับ จำเลยถูกฟ้องทั้งกฎหมายเครื่องหมายการค้า กฎหมายป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม กฎหมายการนำเครื่องหมายการค้ามาใช้เป็นโดเมนเนมโดยมิชอบและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ปัญหาการขาย comment ปลอมเป็นปัญหาสำคัญของ social media ในปัจจุบัน amazon.com เป็นรายแรกที่ฟ้องร้องต่อศาล คดีนี้จึงเป็นที่สนใจ มีผู้รอคอยคำตัดสินอยู่ นับเป็นคดีสำคัญในโลก social media ที่น่าติดตามต่อไป

รายการอ้างอิง
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์. (2558). Amazon ฟ้อง ‘คอมเมนต์’ ปลอม. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 62 (32), 26

งานบริการตอบคำถามยุคใหม่

การเป็นบรรณารักษ์บริการตอบคำถามในสาขาวิชากฎหมายที่เราไม่ได้เรียนมา นอกจากเราจะต้องหาหนังสือกฎหมายอ่านเพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นแล้ว ยังจะต้องหาเวลาท่องเว็บบ้าง โดยเฉพาะเว็บหน่วยราชการไทย หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย องค์กรต่างๆทั้งของไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เอาไว้เป็นตัวช่วยเวลาที่ค้นข้อมูลจากระบบสืบค้นของห้องสมุดแล้วมันไม่มี

ตัวอย่าง case หนึ่ง มีนักศึกษาต้องการด่วนจี๋มาก ต้องการค้นเรื่อง ร่างกฎหมายนิวเคลียร์ ที่กำลังจะเอาเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นักศึกษาจำชื่อร่างพระราชบัญญัติไม่ได้เลย แต่มั่นใจว่าน่าจะมีคำว่านิวเคลียร์ และต้องการอ่านร่าง พรบ.  นี้ เพราะจะเอาข้อมูลไปทำหัวข้อรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่งด่วนภายในสองวันนี้ นักศึกษาได้ค้นระบบห้องสมุดแล้ว ค้นอากู๋ (google) แล้วไม่เจอค่ะ

จากประสบการณ์เมื่อประมวลความคิดดูแล้วยังเป็นร่างอยู่เลย ฉบับพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่ โอกาสที่จะมาถึงห้องสมุดตอนนี้น่าจะมีน้อย แต่โดยปกติแล้วร่างกฎหมายก่อนเอาเข้าสู่สภาจะมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนนี่นา

จึงถามนักศึกษาว่าเป็นของหน่วยงานไหนที่ออกร่างกฎหมายนี้ นักศึกษาบอกว่า ปรมาณูอะไรสักอย่างนึงนี่แหละค่ะ จำชื่อจริงไม่ได้ค่ะ  จากประสบการณ์ที่เรานั่งดูข่าวโทรทัศน์ทุกวันก็เดาว่าน่าจะเป็นของหน่วยงาน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ  งานนี้เลยต้องพึ่งอากู๋ แล้วก็พบว่ามีร่างกฎหมายที่นักศึกษาต้องการอยู่ในเว็บของสำนักงานปรมาณูฯ เพื่อประชาพิจารณ์ก่อนเสนอ สนช.  แต่ว่าก็ต้องเดากันว่ามันควรอยู่เมนูไหน เพราะมันเลยช่วงเวลาประชาพิจารณ์มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็เลยเอาไปหลบไว้ในมุมหนึ่ง  ซึ่งผู้เขียนก็จำไม่ได้ว่าตรงไหนและจำชื่อร่าง พรบ. นี้ไม่ได้แล้วเพราะมันยาวมากๆ

ที่เขียนมานี้ก็เพื่อจะบอกว่าการดูข่าว การอ่านมากหน่อย หรือการท่องเว็บที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไปเรื่อยๆเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคนี้มากจริงๆ

รัฐธรรมนูญไทย ฉบับแปลภาษาอังกฤษ

 

images (1)

ผู้เขียนนึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้ เพราะมีประสบการณ์การให้บริการข้อมูลด้านกฎหมาย  ที่มีชาวต่างชาติ มาหาข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย ที่ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ ด้วยคิดว่าที่ห้องสมุดนี้คงมีบริการได้ครบถ้วน ตามที่เขาต้องการ ซึ่งการค้นคว้าของชาวต่างชาติจบลงตรงที่เอาที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น  พอค้นไปในระบบสืบค้นของห้องสมุดก็พบว่ามันมีแปลเป็นภาษาอังกฤษอยู่บ้าง แต่ไม่ครบทุกฉบับ  และที่เป็นปัญหาคือมันยังแยกย้ายกันไปเก็บอยู่หลายห้องสมุดใน ธรรมศาสตร์  ก็ต้องอธิบายกันไปว่าห้องสมุดที่ไหนอยู่ตรงไหนบ้าง

แต่เพื่อช่วยผุู้ใช้ในเบื้องต้นก่อน ไม่ต้องเดินไปโน่นนี่ ลองเข้าค้นจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องดูก่อนไหม  เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ  รัฐสภา ซึ่งก็มีรายการชื่อรัฐธรรมนูญเผยแพร่ครบหมดเลยทุกฉบับ  แต่หาฉบับภาษาอังกฤษได้น้อยมาก

ต่อนี้ไปพวกเราไม่ต้องไปหาข้อมูลที่ไหนแล้ว เข้าฐานข้อมูล HeinOnlineที่ห้องสมุดสัญญาฯ  บอกรับ ซึ่งเป็น package ใหม่สำหรับปี 2015  ซึ่งบริษัทผู้ผลิตบังคับเราให้บอกรับเป็นสมาชิกแบบ package เพราะถ้าไม่รับก็ไม่มีแบบเดิมขายแล้ว Continue reading รัฐธรรมนูญไทย ฉบับแปลภาษาอังกฤษ

มองสิเออร์ คุสตาฟ โรแลง ยัคแมนส์ (Monsieur Gustave Rolin-Jaequemyns) บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

 

pic1

มองสิเออร์ คุสตาฟ โรแลง  ยัคแมนส์    (Monsieur Gustave Rolin-Jaequemyns )  บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

รูปปั้นสีทองครึ่งตัวของบุคคลสำคัญ ในห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์  มีผู้สอบถามหลายคนว่าท่านผู้นี้เป็นใคร สำคัญอย่างไร   แม้แต่ญาติชาวต่างชาติของท่านยังได้แวะเวียนมาดูถึงห้องสมุดและบอกว่ายังเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ท่านได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 อยู่ ซึ่งผู้เขียนได้เห็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ญาติท่านถ่ายมาให้ดูด้วย และญาติท่านได้บอกว่าจะส่งรูปถ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มาให้ห้องสมุดใหม่ตามที่ผู้เขียนขอไว้ แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้เลยค่ะ คงต้องรอให้ญาติท่านแวะมาใหม่อีกรอบนึง  เพื่อความกระจ่างแจ้งว่าท่านสำคัญอย่างไรมากน้อยแค่ไหน ผู้เขียนจึงไปศึกษาค้นคว้าเพื่อนำมาเผยแพร่ให้ทราบดังนี้ Continue reading มองสิเออร์ คุสตาฟ โรแลง ยัคแมนส์ (Monsieur Gustave Rolin-Jaequemyns) บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

ศัพท์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา

การค้นข้อมูลกฎหมายของอเมริกา ในฐานข้อมูล Westlaw หรือฐานข้อมูล HeinOnline  เรามักจะสับสนกับคำศัพท์ต่างๆว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนจึงไปค้นคว้าหาความรู้ จากหนังสือชื่อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสหรัฐอเมริกา ของ  รศ. มานิตย์ จุมปา  ซึ่งพอจะสรุปให้หายงงได้ดังนี้

  •  BILL     คือ       ร่างกฎหมายที่มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องนั้นๆพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน    
  •  STATUTE     คือ       กฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ จากรัฐสภา และประธานาธิบดีลงนาม เพื่อประกาศใช้ ซึ่งจะประกาศให้ทราบในเอกสารที่เรียกว่า Slip law  ต่อจากนั้นก็นำเอกสารจาก slip law ไปประกาศไว้ในเอกสารที่ชื่อว่า The United  states Code  ซึ่งจะมีการจัดเนื้อหาใหม่แยกไปตาม subject

United  states Code นี้ ค้นได้จาก “Westlaw และ HeinOnline แต่ถ้าห้องสมุดใดยังไม่มีงบประมาณบอกรับสมาชิก ก็ค้นได้จากเว็บไซต์ ของ US Government  Publishing Office Continue reading ศัพท์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา