Category Archives: ห้องสมุด/พิพิธภัณฑ์

BIBFRAME

จากบทความของ Marshall Breeding ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุด และพูดถึง Linked data กับโครงการ BIBFRAME ของ Library of Congress (LC) จึงขอแนะนำแหล่งสารสนเทศเกี่ยวกับ BIBFRAME เพื่อเป็นการศึกษาในเบื้องต้นว่า คืออะไร และจะมาเกี่ยวข้องกับ MARC ที่ใช้ทำงานกันอยู่ในทุกวันนี้อย่างไร

แนะนำเว็บไซต์ของ Library of Congress เป็นอันดับแรกเลย เพราะเป็นเจ้าของโครงการ  http://www.loc.gov/bibframe/  มีข้อมูลให้ศึกษาที่มาของโครงการ และพัฒนาการของโครงการ ข้อมูลมากมายทีเดียว สามารถติดตามได้

อีกเรื่องหนี่งที่น่าสนใจ คือ The Relationship between BIBFRAME and OCLC’s Linked-Data Model of Bibliographic Description: A Working Paper โดย Carol Jean Godby

เทคโนโลยีห้องสมุดในปี 2015

Marshall Breeding  ได้คาดการณ์เทคโนโลยีในห้องสมุดไว้ในบทความ เรื่อง Library Technology Forecast for 2015 and Beyond   พอหยิบยกมาโดยสังเขป ดังนี้

  • Linked data
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจกันมากในปีที่ผ่านมา มีหลายโครงการที่เกิดขึ้น อย่างเช่น Library of Congress (LC) ที่มีโครงการ BIBFRAME เกิดขึ้น BIBFRAME จึงน่าจะเป็นโครงการที่น่าจับตามองในเรื่องของการเชื่อมโยงข้อมูลจาก MARC
  • การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile)
    ในปีหน้า การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อรองรับการใช้บริการจากห้องสมุดยังเป็นเรื่องที่จะมีมากขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเว็บเพื่อให้สนับสนุนการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้มากขึ้นและใช้งานง่ายมากกว่าเดิม
  • 3D Printing
    การให้บริการ 3D Printer เป็นบริการทางนวัตกรรมอย่างหนึ่งของห้องสมุด
  • เทคโนโลยีอื่นๆ
    NFC (Near Field Communication)  เทคโนโลยี NFC เป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือระบบจ่ายเงินต่างๆ เช่น iPhone 6 ถูกออกแบบให้รองรับการใช้ NFC เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสำหรับสร้าง application ต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับ Samsung และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ

ติดตามอ่านโดยละเอียดได้ที่  http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

ายการอ้างอิง:

Marshall Breeding. “Library Technology Forecast for 2015 and Beyond” Computers in Libraries, December 2014,  Retrieved : 24 Jan, 2015 from http://www.infotoday.com/cilmag/dec14/Breeding–Library-Technology-Forecast-for-2015-and-Beyond.shtml

ดิวอี้ เหมียวสมุด

คุณชูมานได้เล่าถึง ดิวอี้ แมวเหมืยวที่อยู่ในห้องสมุดได้อย่างน่ารักและน่าติดตามว่าแมวเหมียวทำไมถึงมาอยู่ในห้องสมุดได้อย่างไร
ห้องสมุดกับสัตว์เลี้ยง? ฟังแล้วน่าสยองพอๆ กับห้องสมุดมีไอติมโคนให้กินไปอ่านไป แต่ในห้องสมุดต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกามักมีแมว ประจำห้องสมุดเพื่อไว้กำจัดหนู นั่นคงเป็นสมัยโบราณก่อนการค้นพบสารหนู
ปัจจุบันมีแมวห้องสมุดอยู่ทั่วโลก พวกมันไม่ต้องทำงานหนักอะไรไปกว่าทำตัวน่ารักและไม่ลับเล็บกับสันหนังสือหรือเบาะเก้าอี้ นอกจากนี้ยังห้ามข่วนกัดพวกเด็กๆ ที่เล่นกับมันแรงๆ เป็นอันขาด หาเรื่องราวของเหมียวห้อง
สมุดเหล่านี้ได้ที่ http://www.ironfrog.com/catsmap.html
ดิวอี้ ก็เป็นอีกหนึ่งเหมียวห้องสมุด แต่เป็นเหมียวที่มีชื่อเสียง
ไปทั้งโลก ออกรายการโทรทัศน์ วิทยุมาแล้วมากมาย และมีรูปขึ้น
ปกนิตยสารสัตว์เลี้ยงมาแล้ว ขณะนี้ดิวอี้อยู่ตามชั้นหนังสือของร้าน
ขายหนังสือและในหน้าเว็บของ Amazon.com เป็นแมวสีส้มขนฟู
ดิวอี้ เหมียวสมุด

ติดตามรายละเอียดได้ที่นี้

ชูมาน ถิระกิจ. ดิวอี้ เหมียวสมุด. โดมทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2552)

Libraries of the World III

The Library of El Escorial, Spain

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e6/Biblioteca_El_Escorial.jpg/320px-Biblioteca_El_Escorial.jpg

This old library is located in the Royal Site of San Lorenzo de El Escorial, the historical residence of the king of Spain.

Continue reading Libraries of the World III

Libraries of the World II

Delft University of Technology Library, The Netherlands.

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5e/Edit-a-thon_expeditions_and_scientific_laws_-_TU_Delft_Library_-_18_October_2014_01.jpg/640px-Edit-a-thon_expeditions_and_scientific_laws_-_TU_Delft_Library_-_18_October_2014_01.jpg

Not all beautiful libraries are old. The Delft University of Technology Library, also called the TU Delft Library, was built in 1997 in Delft, a city in the Netherlands.

Continue reading Libraries of the World II

Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators

บทความน่าสนใจค่ะ เรื่อง Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators โดย Sohail Inayatullah

เนื่องจากการทะลักทะลายของสารสนเทศได้นำไปสู่ห้องสมุดไซเบอร์ (Cybrary) หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ Sohail Inayatullah ได้พูดถึงอนาคตของห้องสมุด บทบาทของห้องสมุดจากเดิมที่เป็น Knowledge keeper หรือ Keeper of the collection ผันมาเป็น Creators

จาก  Inayatullah, Sohail. 2014.  “Library Futures: From Knowledge Keepers to Creators”  The Futurist, November/December 2014. 24-28.

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

images (10)

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

(Library Resources and Educational Media Center, University of Phayao)

 

อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

ประวัติความเป็นมา

เดิมใช้ชื่อว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ณ อาคารวิทยาศาสตร์โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ต่อมาในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้ย้ายที่ทำการห้องสมุดมายังอาคารหลังปัจจุบันซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวมหลังใหม่ เป็นอาคาร 3 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด 11,213 ตารางเมตร และในปีเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ได้รับการยกฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ  และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยพะเยา” ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 44ก ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 และเพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวและสอดคล้องกับภารกิจ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้ยกฐานะเป็น “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนของคณาจารย์และนิสิต ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ให้ความร่วมมือกับภาคีห้องสมุดต่างๆ ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองของชุมชน บุคลากร และนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา

ที่อยู่

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา                                          19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา                                          โทรศัพท์ 054-466705แฟกซ์ 054-466666 ต่อ 3539                      Website: http://www.clm.up.ac.th                                                                        E-mail: clm@up.ac.th                                                                                             Facebook: http://www.facebook.com/ec.up.ac.th

Continue reading ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

คนส่วนใหญ่จะรู้จัก เรื่องคุณภาพแห่งชีวิต ปฎิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ( The Quality of Life of a South East Asian : A Chronicle of Hope from Womb to Tomb) และเป็นที่รู้จักกันดี ในเวลาต่อมาว่า “จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ได้พิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่11: ฉบับที่10 (ตุลาคม2516) ซึ่งในความจริงแล้วงานเขียนนี้เป็นเพียงภาคผนวกของ “ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับ ค.ศ.1980” (Thoughts on South East Asia’s Development for 1980)

บทความนี้ เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับการประชุมที่ New York เดือนมิถุนายน 2516 จัดโดย กลุ่มที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEADAG) ของสมาคมเอเชีย (Asia Society) แบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ความพยายามพัฒนาในอดีตและปัจจุบันเป้าหมายกับการปฏิบัติตอนที่ 2 ความต้องการของปัจเจกชน : อยู่ดีกินดี
ตอนที่ 3 ความรับผิดชอบของรัฐบาล
ตอนที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนา Continue reading มุมป๋วย เพื่ออุษาอาคเนย์ และอาเซียน (Puey’s Corner for South-East Asia and ASEAN)

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น

การเปิดงานและบรรยายพิเศษ
การเปิดงานและบรรยายพิเศษ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นบรรณารักษ์ นักเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการสารสนเทศ เพราะหัวข้อบ่งบอกอย่างตรงๆ ว่า เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจในกิจกรรมบางอย่าง ที่ดำเนินการอยู่ ในการสัมมนาวันนั้น วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง

  1. กรณีเฉพาะ (certain special cases)
  2. ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
  3. ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)

Continue reading ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์