Category Archives: ฐานข้อมูลออนไลน์

Business Database : BMIResearch

บรรณารักษ์บริการอาจคุ้นกับชื่อ  Business Monitor Online หรือ BMO แต่ไม่นานมานี้ฐานข้อมูล BMO เปลี่ยนชื่อเป็น BMIResearch มาดูกันว่าฐานข้อมูลนี้มีเนื้อหาอะไร ใช้งานยากไหม

Content

Daily News รายงานข่าวประจำวัน มุมมองและบทวิเคราะห์เชิงลึก โดยอ่านบน platform ของฐานหรือผ่าน email alerts ที่สมัครไว้ก็ได้ ครอบคลุมภาคการตลาด ภาคการผลิต ทั่วโลก

Reports & Statistic Content ข้อมูลในการตัดสินใจด้านการลงทุนและการวางแผนกลยุทธ์ และรายงานการศึกษาเฉพาะเรื่องของประเทศต่างๆ  ให้ข้อมูลคาดการณ์ 5 และ 10 ปีข้างหน้า วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการตลาดของภาคอุตสาหกรรมสำคัญทั่วโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต

Data & Forecasting ข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์ที่เข้าถึงได้เร็วและง่าย สามารถปรับแต่งแผนภูมิด้วยข้อมูลล่าสุดได้เองก่อนที่จะดาวน์โหลดมาใช้งาน             Continue reading Business Database : BMIResearch

ฐานข้อมูล กับ สถิติการใช้

usage

สำหรับการจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์ เมื่อใช้งานมาระยะหนึ่งควรจะสังเกตสถิติการใช้งาน เมื่อพบว่าฐานข้อมูลใดมีสถิติการใช้ที่ค่อนข้างน้อย ฝ่ายบริหารจัดการฯ จะทำการแจ้งไปยังห้องสมุดคณะที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการใช้งานให้มากขึ้น

หรือการใช้งานน้อยนั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากผู้ใช้ยังไม่ทราบว่าห้องสมุดบอกรับฐานข้อมูลนี้อยู่ ทางฝ่ายจะได้ติดต่อบริษัทให้มาทำการอบรมการใช้ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทราบมากขึ้น

แล้วสถิติการใช้จะมาจากไหนล่ะ ?

ผู้เขียนได้จัดทำคู่มือการดึงสถิติฐานข้อมูลออนไลน์ไว้ สามารถ download ขั้นตอนการดึงสถิติได้ ที่นี่ ค่ะ

นอกจากนี้การพิจารณาสถิติการใช้ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจต่ออายุฐานข้อมูลในปีต่อมาอีกด้วยค่ะ

Business Database : Passport

พวกเราอาจไม่คุ้นกับฐานข้อมูลเฉพาะสาขาของคณะพาณิชย์ฯมากนัก เพราะส่วนใหญ่ไม่มีตัวแทนในประเทศ การอบรมจะมี Client Relationship หรือ Client Services บินตรงจากต่างประเทศมาอธิบายประมาณ 30-45 นาที แล้วบอกให้ดูรายละเอียดใน Help Menu เอาเอง บางทีไม่มาแต่ใช้การสอนทางออนไลน์ นัดเวลาก่อนเมื่อถึงเวลาให้คลิกลิงค์ที่ให้พร้อมฟังบรรยายและสอบถามทางโทรศัพท์ ถ้ามีตัวแทนก็มักมาอบรมให้ช่วง 6 โมงถึง 3 ทุ่มเพราะนักศึกษาทำงานมาตอนกลางวันไม่ได้ นี่คือที่มาของการเขียน Blog ในชุด Business Databases ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์กับตัวเองเวลาทำเอกสารข้อมูลประกอบการขออนุมัติบอกรับจากผู้บริหารคณะ หรือใช้ประกอบการสอน หรือตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆในกลุ่ม IL กับผู้ที่มาช่วยอยู่เวรที่ห้องสมุด หรือผู้สนใจอื่นๆด้วย

Passport เป็นฐานข้อมูลการวิจัยทางการตลาด ให้ข้อมูลเชิงสถิติ รายงานการวิเคราะห์ การสำรวจคู่แข่งทางการตลาด แนวโน้มในอนาคตที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ข่าวสารด้านอุตสาหกรรมและการบริโภค เนื้อหาครอบคลุมมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย Industry Research Data ; Country Reports/Countries and Consumers Research ; Global Perspective Report ; Company Profile เป็นต้น

รายละเอียดการใช้ดูที่ลิงค์ด้านล่าง

https://docs.google.com/document/d/1K2woPidNCRxC1fFH3PqL2SSXAiuxnrH_XtiYoxcTBac/edit?usp=sharing

Full Text Finder ตอน หลังบ้าน

full_text_finder_logo

หลังจากที่ทำความรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน ไปแล้ว บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับตอน หลังบ้าน หรือเบื้องหลังการให้บริการกันต่อนะคะ

เมื่อดำเนินการบอกรับวารสารเรียบร้อยแล้ว สำนักพิมพ์หรือบริษัทตัวแทนจะทำการเปิด access การเข้าใช้ และแจ้งมายังฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และจะนำไปสู่ขั้นตอน การอัพเดตข้อมูลใน Full Text Finder ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าสู่ระบบ EBSCO Admin

adminp

2. ค้นหาวารสารจากชื่อ หรือ ISSN ของวารสาร

admin

Continue reading Full Text Finder ตอน หลังบ้าน

Full Text Finder ตอน หน้าบ้าน

full_text_finder_logo

Full Text Finder เป็นฟังก์ชั่นที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นวารสาร โดยมี EBSCO Discovery Service หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า EDS  เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังวารสารจากสำนักพิมพ์ หรือวารสารในฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุดบอกรับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นบทความภายในวารสารได้อย่างรวดเร็ว

บทความนี้ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกับตอน หน้าบ้าน หรือ ในส่วนการให้บริการ กันก่อนนะคะ

หลายๆท่านอาจจะเคยใช้งานฟังก์ชั่น Full Text Finder ในการสืบค้นกันมาบ้างแล้ว เมื่อพิมพ์ชื่อวารสารลงในกล่อง One Search ระบบจะแสดง Full Text Finder ขึ้นมา ซึ่งหน้าตาของ Full Text Finder ที่รู้จักกันทั่วไป จะเป็นกล่องสืบค้นที่มาพร้อมกับชื่อวารสาร แบบในรูปนี้ค่ะ

ftfbox

เมื่อพิมพ์ชื่อบทความลงในกล่องสืบค้น จะสามารถเชื่อมโยงลิงก์ไปยังบทความนั้นได้

search

และผลการค้นที่ได้จะเป็นบทความเดียวกับ การสืบค้นจากฐานข้อมูลโดยตรง

compare

ข้อดีของ Full Text Finder ก็คือ สามารถค้นได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ เพราะไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้การสืบค้นจากฐานข้อมูลทีละฐาน ซึ่งมีการทำงานร่วมกับ One Search ตามคำกล่าวที่ว่า สามารถสืบค้นได้ในครั้งเดียว

เมื่อรู้จักกับ Full Text Finder ตอน หน้าบ้านกันแล้ว ไปทำความรู้จักกับ
ตอน หลังบ้าน กันต่อเลยค่ะ

รีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แบบอีซี่ๆ ด้วย EZproxy

การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย บอกรับเป็นสมาชิก จะมีวิธีการให้ผู้ใช้ ซึ่งต้องการรีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ โดยการใช้ Proxy และ VPN ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นการให้ผู้ใช้ต้อง set proxy ผู้ใช้ที่ไม่คล่องหรือไม่ชอบเทคโนโลยีด้วยแล้ว อยากจะบอกศาลาในการรีโมทเข้ามาใช้ด้วย Proxy เลยทีเดียว แต่การใช้ VPN มหาวิทยาลัยและหน่วยงานหรือองค์กร ต้องใช้ Resources เยอะ แต่จะช่วยให้ผู้ใช้ของห้องสมุด หน่วยงาน หรือ องค์กรไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงได้ง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และการดูแลรักษาระบบ ดังนั้น ความสะดวก และความง่ายในการรีโมทเข้ามาใช้สำหรับผู้ใช้แล้ว ขอบอกว่า VPN สะดวกกว่าแน่นอน เพราะผู้ใช้ไม่ต้อง set อะไร เพียงแต่ใช้ url ที่องค์กรให้มา และใส่ username กับ password เพียงเท่านี้ ก็เสมือนอยู่ในเครือข่ายขององค์กรแล้ว

สำหรับห้องสมุดหรือองค์กรที่ไม่สามารถใช้หรือมี VPN ในการให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้นั้น ตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ของ OCLC ที่ชื่อว่า EZproxy ออกมาทำให้การรีโมทใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ง่ายขึ้นมาอีกเยอะ สมชื่อ EZproxy เป็นการพัฒนาของ OCLC โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นครั้งแรกโดย Chris Zagar ในปี ค.ศ. 1999 และมีการประกาศใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2008

EZproxy เป็น web proxy server ที่ห้องสมุดจัดหามาเพื่อให้ผู้ใช้รีโมทเข้ามาใช้เครือข่ายของห้องสมุดผ่านเข้ามาใช้ฐานข้อมูลได้ ผู้ใช้ใส่ชื่อ และรหัสผ่านเข้าระบบ และมีการตรวจสอบผู้ใช้ด้วย IP address ที่ฐานข้อมูลที่บอกรับเป็นสมาชิกอนุญาตให้ใช้ เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลออนไลน์หรือฐานอื่นๆ ที่ต้องรีโมทจากทางบ้านหรือที่ไหนก็ได้โดยสะดวกมากกว่าแต่ก่อน แต่เบื้องหลังการ set ค่าต่างๆ ของแต่ละฐานข้อมูลออนไลน์เป็นหน้าที่ของห้องสมุด หรือองค์กร (รายละเอียดทางเทคนิค) ซึ่งน่าจะทำให้สะดวกกว่าเดิมในการไม่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการ set proxy ของผู้ใช้ และทางห้องสมุดหรือองค์กร ก็สามารถเก็บสถิติการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ได้โดยตรงอีกด้วย

รายการอ้างอิง

OCLC.OCLC EZproxy: An Overview (Tutorial overview). Retreived 2015, 4 May from http://www5.oclc.org/downloads/tutorials/ezproxy/default.htm

OCLC. Connect your users to e-content with a single sign-on. Retreived 2015, 4 May from https://www.oclc.org/ezproxy.en.html

Agreement คืออะไร ?

ผู้เขียนมีโอกาสได้ทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ agreement ของฐานข้อมูลออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ (e-reference) พบว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ จึงอยากนำประสบการณ์มาแชร์กันค่ะ

agreement คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสำนักหอสมุดและสำนักพิมพ์ หรือบริษัทผู้เป็นเจ้าของ content ซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ทำการตกลงกันเกี่ยวกับข้ออนุญาต (permitted use) ข้อห้าม (not permitted use) ผู้มีสิทธิ์ใช้ (authorized users) แหล่งที่ได้รับการอนุญาตในการเข้าถึง (authorized sites) และเครือข่ายที่ปลอดภัย (secure network) เป็นต้น โดยสัญญานี้ต้องมีการลงนามโดยผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายจะเก็บ agreement ที่ลงนามเรียบร้อยแล้ว คนละหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานของการจัดหา/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ Continue reading Agreement คืออะไร ?

IET Inspec & Full text Link

InspecBlack_resized

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้บอกรับฐานข้อมูล IET Inspec ซึ่งเป็นฐานข้อมูลให้บริการ abstract สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันฐานข้อมูล IET Inspec มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารถเชื่อมโยง Link ไปยัง Full text ที่อยู่ในฐานข้อมูลอื่นๆที่สำนักหอสมุดบอกรับ และมีข้อมูลอยู่บน WorldCat Knowledge base ได้

ขณะนี้ทาง IET และ OCLC ได้ทำการเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกท่านสามารถใช้งานการ Link Full text ได้ที่นี่ค่ะ 

ในส่วนขั้นตอนการสืบค้นฐานข้อมูล IET INSPEC และการแสดงผล Full text Link ดูได้ที่นี่ค่ะ

LIBLICENSE

สารสนเทศดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทำให้ห้องสมุดและผู้จำหน่ายสารสนเทศต้องพบกับเรื่องท้าทายของสื่อประเภทนี้ ที่โดดเด่นมากคือการทำข้อตกลงกับเจ้าของสารสนเทศ สารสนเทศดิจิทัลต่างจากสารสนเทศในรูปสิ่งตีพิมพ์ ตรงที่ห้องสมุดไม่สามารถซื้อขาด แต่เป็นการอนุญาตให้ใช้ หรือเป็นการให้สิทธิ์การใช้แก่ห้องสมุด (licensed) การอนุญาตลักษณะนี้ปกติใช้รูปแบบการเขียนข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างห้องสมุดกับเจ้าของสิทธิ์

บรรณารักษ์หลายต่อหลายคนที่รับผิดชอบงานสารสนเทศดิจิทัลต่างรู้ดีว่าเอกสารการอนุญาตให้ใช้ หรือการให้สิทธิ์การใช้สารสนเทศดิจิทัลเป็นเอกสารที่มีความยุ่งยาก ยืดยาว เข้าใจยาก มีแต่ศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย อย่างคำว่า indemnity, severability, force majeure เพื่อช่วยบรรณารักษ์ ซึ่งอาจรวมทั้งผู้จำหน่ายสารสนเทศด้วย ให้เข้าใจในประเด็นที่กล่าวถึงในเอกสารประเภทนี้เป็นที่มาของ โครงการวิเคราะห์การทำเอกสารการให้สิทธิ์การใช้สารสนเทศดิจิทัล มีการรวบรวมคำศัพท์ที่พบเห็นทั่วไปในเอกสาร มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็น ทั้งเห็นด้วยและคัดค้านในประเด็นของภาษาเฉพาะที่ใช้ในเอกสาร โดยพยายามนำเสนอด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งห้องสมุดและผู้จำหน่าย มีตัวอย่างของข้อกำหนดต่างๆที่คิดว่าจะเป็นภาระมากเกินไปสำหรับห้องสมุด หรือยังไม่สะท้อนความต้องการของห้องสมุดในการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้

โครงการที่ว่านี้มีชื่อว่า LIBLICENSE ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 1997 โดย Ann Shumelda Okerson ตอนที่เธอเป็น Associate University Librarian ที่ Yale University โครงการได้รับเงินทุนจาก The Commission on Preservation and Access, the Council on Library Resources และ The Digital Library Federation ในเดือนพฤศจิกายน 2011 Center for Research Libraries  รับเป็นเจ้าภาพให้ โครงการ LIBLICENSE (ใครอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ Center for Research Libraries ดูได้ที่  http://www.crl.edu/ ) Continue reading LIBLICENSE

แนะนำ Gale Virtual Reference ☺

gale

Gale Virtual Reference  คือ ฐานข้อมูลที่รวบรวมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาต่างๆที่สำนักหอสมุดและห้องสมุดสาขาจัดซื้อแบบถาวร ซึ่งมีหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่ Business, Environment, History, Information and Publishing, Law, Medicine, Nation and World, Religion, Science, Social Science และ Technology

ในการเข้าดูหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก็มีขั้นตอนที่ง่ายๆ เมื่อเลือกที่ปกหนังสือแล้ว จะปรากฏหน้า Table of Contents ของหนังสือเล่มนั้น ผู้ใช้สามารถเลือกหน้าที่ต้องการอ่านได้ตามความสนใจค่ะ

gale2

 

ภายในเนื้อหาจะมี function ที่หลากหลาย ดังนี้

gale3

 

1. Citation Tools     เครื่องมือสำหรับ export รายการอ้างอิง
2. Email                      ส่งอีเมล์แนะนำหนังสือ
3. Download            สามารถดาวน์โหลดบทความ เป็น PDF หรือ HTMLได้
4. Print                       สั่งพิมพ์
5. Translate Article     แปลบทความเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 20 ภาษา รวมถึงภาษาต่างๆในอาเซียน
6. Listen                      เมื่อ Highlight ข้อความ จะสามารถอ่านออกเสียงได้
7. Download MP3            สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็น MP3 ได้
8. Download PDF to eReader       สามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็นไฟล์ PDF ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ eReader อื่นๆได้
9. Highlights and Notes  สามารถ Highlight ข้อความ และเพิ่มเติม Notes ต่างๆได้

สามารถใช้งานได้ที่ http://www.galesites.com/menu/tuth ค่ะ