ธรรมศาสตรานุกรม 80 ปี รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2477-2557 และนับจากการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ.2477 มหาวิทยาลัยก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญตามหลักหกประการของคณะราษฎร ที่ว่าด้วย “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” และนับแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์ลและเรื่องราวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงไม่อาจแยกขาดจากสังคมไทย หนังสือเล่มนี้ จึงได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญทางสังคมการเมืองของไทยเข้าไว้ด้วย โดยนำเสนอเนื้อหาตามลำดับเวลา
มธ. เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล
“To be a leader in library service and information literacy with the most up-to-date information and technology to create an international network of cooperation between libraries.” หรือ สำนักหอสมุดเป็นผู้นำบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยสารสนเทศและเทคโนโลยีนำสมัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในระดับนานาชาติ
จากวิสัยทัศน์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ดังข้อความข้างต้น สำนักหอสมุด มธ. ได้เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล ในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 27 มิถุนายน 2557 เพื่อแสดงถึงความสำเร็จส่วนหนึ่งที่บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยในวันนี้ (26 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ได้จัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล
แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แนวปฏิบัติที่ดีการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นโยบายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ (Printed materials) (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2560) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขั้นตอนและแนวปฏิบัติการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์
Library Innovation using Linked Open Data
การบรรยาย Library Innovation using Linked Open Data By Professor Vilas Wuwongse, Department of Electrical and Computer Engineering, Faculty of Engineering, Thammasart University วันที่ 10 สิงหาคม 2555 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ หอสมุดปรีด พนมยงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การบันทึกภาพการบรรยาย (ตอนที่ 1)
การบันทึกภาพการบรรยาย (ตอนที่ 2)
Sharing Information Resources across Communities and over Time, metadata, digital libraries and archives, and information schools
การบรรยาย Sharing Information Resources across Communities and over Time, metadata, digital libraries and archives, and information schools By Professor Shigeo Sugimoto, Faculty of Library, Information and Media Studies, and Director of Research Center for Knowledge Communities, University of Tsukuba วันที่ 10 สิงหาคม 2555 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันทน์ หอสมุดปรีด พนมยงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บันทึกภาพการบรรยาย (ตอนที่ 1)
บันทึกภาพการบรรยาย (ตอนที่ 2)
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก โดย โสรัตน์ กาลออง ได้รวบรวมข้อมูลในด้านการป้องกันและวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก และจัดทำเป็นคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณะของหนังสือหายาก ทำไมต้องอนุรักษ์หนังสือหายาก วัสดุอุปกรณ์ในการอนุรักษ์ การใช้ทำตัวทำละลายขจัดรอยเปื้อนบนเอกสาร การทำความสะอาด การลดกรด การซ่อมแซมเล็กน้อย การกำจัดแมลงในทรัพยากรสารสนเทศ การตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้น การทำกล่องและซองเพื่อการเก็บรักษาเอกสารและหนังสือ
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรสารสนเทศที่มีค่าหายาก
แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แนวปฏิบัติ เรื่่อง การกำหนดหัวเรื่องและเลขหมู่ทางการแพทย์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหัวเรื่อง การกำหนดหัวเรื่องภาษาไทย การกำหนดเลขหมู่ เขตข้อมูลที่ใช้ลงรายการทางบรรณานุกรมแก่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในงานจัดการข้อมูลให้มีความเข้าใจและมีแนวปฏิบัติในการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน