Category Archives: กฎ, ระเบียบ, กฎหมาย, พ.ร.บ., ประกาศ

มองสิเออร์ คุสตาฟ โรแลง ยัคแมนส์ (Monsieur Gustave Rolin-Jaequemyns) บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

 

pic1

มองสิเออร์ คุสตาฟ โรแลง  ยัคแมนส์    (Monsieur Gustave Rolin-Jaequemyns )  บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

รูปปั้นสีทองครึ่งตัวของบุคคลสำคัญ ในห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์  มีผู้สอบถามหลายคนว่าท่านผู้นี้เป็นใคร สำคัญอย่างไร   แม้แต่ญาติชาวต่างชาติของท่านยังได้แวะเวียนมาดูถึงห้องสมุดและบอกว่ายังเก็บรักษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ท่านได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 อยู่ ซึ่งผู้เขียนได้เห็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ญาติท่านถ่ายมาให้ดูด้วย และญาติท่านได้บอกว่าจะส่งรูปถ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มาให้ห้องสมุดใหม่ตามที่ผู้เขียนขอไว้ แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้เลยค่ะ คงต้องรอให้ญาติท่านแวะมาใหม่อีกรอบนึง  เพื่อความกระจ่างแจ้งว่าท่านสำคัญอย่างไรมากน้อยแค่ไหน ผู้เขียนจึงไปศึกษาค้นคว้าเพื่อนำมาเผยแพร่ให้ทราบดังนี้ Continue reading มองสิเออร์ คุสตาฟ โรแลง ยัคแมนส์ (Monsieur Gustave Rolin-Jaequemyns) บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

ศัพท์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา

การค้นข้อมูลกฎหมายของอเมริกา ในฐานข้อมูล Westlaw หรือฐานข้อมูล HeinOnline  เรามักจะสับสนกับคำศัพท์ต่างๆว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนจึงไปค้นคว้าหาความรู้ จากหนังสือชื่อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสหรัฐอเมริกา ของ  รศ. มานิตย์ จุมปา  ซึ่งพอจะสรุปให้หายงงได้ดังนี้

  •  BILL     คือ       ร่างกฎหมายที่มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องนั้นๆพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน    
  •  STATUTE     คือ       กฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ จากรัฐสภา และประธานาธิบดีลงนาม เพื่อประกาศใช้ ซึ่งจะประกาศให้ทราบในเอกสารที่เรียกว่า Slip law  ต่อจากนั้นก็นำเอกสารจาก slip law ไปประกาศไว้ในเอกสารที่ชื่อว่า The United  states Code  ซึ่งจะมีการจัดเนื้อหาใหม่แยกไปตาม subject

United  states Code นี้ ค้นได้จาก “Westlaw และ HeinOnline แต่ถ้าห้องสมุดใดยังไม่มีงบประมาณบอกรับสมาชิก ก็ค้นได้จากเว็บไซต์ ของ US Government  Publishing Office Continue reading ศัพท์กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา

กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้าฉบับใหม่

การเปิดงานสัมมนา
การเปิดงานสัมมนา

 

วิทยากรบรรยายทั้ง 4 ท่าน
วิทยากรบรรยายทั้ง 4 ท่าน

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 บุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้าร่วมงานสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้าฉบับใหม่” เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ในการกำหนดความผิดสำหรับการทำซ้ำในโรงภาพยนตร์ และกำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับคนพิการ การคุ้มครองการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง  และร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า ณ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 6 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Continue reading กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายความลับทางการค้าฉบับใหม่

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น

การเปิดงานและบรรยายพิเศษ
การเปิดงานและบรรยายพิเศษ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นบรรณารักษ์ นักเอกสาร หรือผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการสารสนเทศ เพราะหัวข้อบ่งบอกอย่างตรงๆ ว่า เกี่ยวข้องกับการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจในกิจกรรมบางอย่าง ที่ดำเนินการอยู่ ในการสัมมนาวันนั้น วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง

  1. กรณีเฉพาะ (certain special cases)
  2. ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
  3. ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)

Continue reading ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์