Tag Archives: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Koha in Thailand

จาก Koha Newsletter 5,7 (July 2014) ลงข่าวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนการใช้ระบบห้องสมุดเชิงพาณิชย์มาเป็น Koha โดยถือโอกาสการเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบ 80 ปี เปิดตัวการใช้ระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการให้บริการใน 4 วิทยาเขต ความสำเร็จในการย้ายระบบไป Koha ดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การจัดอบรม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน) บริษัท ปันสาร เอเซีย จำกัด (ในการติดตั้งและพัฒนาระบบ) และบริษัท Wiserf Technologies (ในการถ่ายโอนข้อมูล)

 

บรรณานุกรม:

Pongtawat Chippimolchai. Koha in Thailand! Koha Community Newsletter: July 2014. Retreived 8 July, 2104 from http://koha-community.org/koha-community-newsletter-july-2014/

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ภาพด้้านหน้าของศูนย์ฯ
ภาพด้้านหน้าของศูนย์ฯ

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์   (Krom Luang Naradhiwas Rajanagarinda Learning Centre) หรือ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (Self Access Learning Center) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีความทันสมัย ประกอบด้วยสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา ค้นคว้าข้อมูล สื่อ Multimedia เพื่อความรู้และความบันเทิง ห้อง Common Room สำหรับการทำงานหรือประชุม รวมทั้งบริการด้านอาหาร  เครื่องดื่ม และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเล่าเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันของนักศึกษา ศูนย์การเรียนรู้นี้ให้บริการในพื้นที่ประมาณ 15,300 ตารางเมตร อยู่ในบริเวณติดกับอาคารหอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต    สามารถให้บริการแก่นักศึกษาในการศึกษาและคันคว้าความรู้ในด้านต่างๆ อย่างครบวงจร โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลพื้นที่ Continue reading ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

กิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ระบบบริหารจัดการและตรวจสอบวิทยานิพนธ์ (MyCat)

สรุปกิจกรรมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

 เรื่อง ระบบบริหารจัดการและตรวจสอบวิทยานิพนธ์ (MyCat) 

เดือนสิงหาคม 2557 สำนักหอสมุดจัดกิจกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่  อาจารย์  คณะต่างๆ  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จำนวน  8 ครั้ง ดังนี้

22 สิงหาคม 2557  เวลา 9.30-11.30 น.

คณะเศรษฐศาสตร์ภาคภาษาไทย และ วิทยาลัยสหวิทยาการ ณ ห้อง IL U2 หอสมุดปรีดีฯ

25 สิงหาคม 2557  เวลา 14.00-16.00 น.

วิทยาลัยนวัตกรรม  ณ ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 ตึกเอนกประสงค์ 3

26 สิงหาคม 2557  เวลา 10.00-12.00 น.

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์   ณ ห้องคอมฯ คณะ ห้อง 309

27 สิงหาคม 2557  เวลา 10.00-12.00 น.

คณะศิลปศาสตร์     ณ ห้อง IL U2 หอสมุดปรีดีฯ

27 สิงหาคม 2557  เวลา 9.00-12.00 น.

คณะพาณิชย์ฯ    ณ   ห้องคอมฯ ชั้น 4 คณะพาณิชย์ฯ

27 สิงหาคม 2557  เวลา 13.30-15.30 น.

โครงการเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ MBE  วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์   คณะนิติศาสตร์

ณ ห้อง IL U2 หอสมุดปรีดีฯ

29 สิงหาคม 2557  เวลา 9.00-12.00 น.

คณะวารสารศาสตร์  ณ ชั้น 4 อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี ห้อง 410

29 สิงหาคม 2557  เวลา 13.30-15.30 น.

คณะรัฐศาสตร์   อบรมห้องคอมฯ คณะ ชั้น 4

แนะนำบริการดีๆ และวิธีการใช้ห้องสมุด สำนักหอสมุด มธ.

คลิปแนะนำการใช้ห้องสมุด

หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต (Puey Ungphakorn Library)

 

คลิปแนะนำ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มธ.ศูนย์รังสิต (ภาษาไทย)

Puey Ungphakorn Library (English Version)

คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำคู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ในโมดูลต่างๆ  เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การใช้งานระบบห้องสมุดดังกล่าว โดยมีรายละเอียดของแต่ละโมดูล ดังนี้

 

 

เลขหมู่ระบบใหม่ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับกระบวนการทำงานในการกำหนดเลขหมู่หนังสือเพื่อให้สามารถทำตัวเล่ม ออกให้บริการโดยเร็ว และเพื่อสะดวกในการเข้าถึงหนังสือ รวมทั้งเพื่อง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น โดยจำแนกหมวดหมู่ตามสาขาวิชาของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ทั้งสาขาวิชาหลัก และสาขาวิชาย่อย 61 สาขาวิชา เลขหมู่ระบบใหม่จะประกอบด้วย อักษรย่อสาขาวิชา อักษรหมวดในสาขาวิชา ปีพิมพ์ และหมายเลขระเบียนของทรัพยากรสารสนเทศ (คือ หมายเลขระเบียนบรรณานุกรมหรือ Bib No.)

ตัวอย่าง

EDU  หมายถึง  สาขาวิชาหลัก

LA      หมายถึง  สาขาวิชาย่อ History of Education

2014  หมายถึง  ปีพิมพ์

699999  หมายถึง  Bib.No.

รายละเอียดการกำหนดเลขหมู่ใหม่

RDA กับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ: กรณีสำนักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

RDA กับการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ: กรณีสำนักงานหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน โดย ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 9.30-15.30 น. ณ ห้องส่งเสริมการรู้สารสนเทศ 1 ชั้น U1 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เอกสารประกอบการบรรยาย

WordShare ILL : การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ OCLC

ตามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัว WordShare ILL ไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2557 นั้น บริการดังกล่าวเป็นการบริการยืมระหว่างห้องสมุดที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง แต่เป็นการระหว่างห้องสมุดของสมาชิกในเครือข่าย OCLC ทั่วโลก การจะให้บริการยืมดังกล่าวได้ สมาชิกจะต้องนำข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดเข้าในระบบ OCLC นับเป็นห้องสมุดในประเทศไทยแห่งแรกที่เริ่มเปิดการให้บริการดังกล่าว

เมื่อผู้ใช้ของสมาชิกในเครือข่ายสืบค้นรายการที่ต้องการแต่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดแห่งอื่นๆ สามารถติดต่อห้องสมุดเพื่อขอสำเนาเอกสารหรือวัสดุอื่นๆ ได้ โดยปฏิบัติตามระเบียบการยืม ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดผู้ให้ยืมและห้องสมุดผู้ขอยืม ผ่านระบบส่วนกลางของ OCLC ทำให้ห้องสมุดในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ โดยมีระบบการคิดค่าใช้จ่ายที่ตั้งค่าในส่วนของค้าใช้จ่ายต่างๆ อย่างชัดเจนเป็นสากลทั้งในฝั่งที่เป็นผู้ให้ยืม และผู้ขอยืม มีความปลอดภัยในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ เอกสาร หรือเอกสารออนไลน์ต่างๆ ทาง OCLC จะเป็นตัวกลางในการทำ Contact Publisihng อีกทั้งยังมีระบบ Article Exchange ที่สามารถส่งไฟล์เอกสารได้ขนาดที่มากถึง 60 MB รองรับทุกนามสกุลและจะลบโดยอัตโนมัติหากมีการแล้วใน 5 วัน และถ้ายังไม่ได้เปิดอ่าน ระบบจะเก็บไว้ 30 วัน ในส่วนของระบบ Article sharing นั้น ระบบเอื้อให้สามารถแบ่งปันการใช้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย รวมทั้งมีระบบขอยืมAutomatic Deflection สำหรับกรณีที่มีผู้ต้องการยืมมากกว่า 1 แห่ง ห้องสมุดแห่งที่ 1 ไม่สามารถให้ยืมได้ ระบบจะดำเนินการหาห้องสมุดแห่งต่อไปให้โดยอัตโนมัติ และมีการจัดทำรายงานสรุปในภาพรวมเพื่อการวางแผนในการบริหารจัดการสารสนเทศต่อไปได้

รายการอ้างอิง:

OCLC. บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบ (OCLC Interlibrary Loan Service). [2557] (เอกสารสำเนาแจกในงานเปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 26 มิถุนายน 2557)